 |
|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 | |
|
 |
|
ศิลาจารึกอโศก เป็นของพระเจ้าอโศกมหาราชแน่หรือ |
|
- มาถึงถิ่นพระเจ้าอโศกแล้ว ต้องรู้ไว้
ศิลาจารึกอโศก เป็นของพระเจ้าอโศกมหาราชแน่หรือ
โยม: ขอนมัสการเรียนถามหลวงพ่อ คือวัตถุประสงค์ที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างศิลาจารึก นอกจากแสดงพระราชอํานาจแล้วยังเป็นการสอนประชาชนทั่วไปให้เข้าใจถึงว่า ทรัพย์และอํานาจหรือยศนั้น เป็นสิ่งที่อนิจจังแล้ว มีหลักฐานอีกไหมที่แสดงว่า อันนี้เป็นศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช นอกจากคําที่จารึกไว้ เช่น อาจจะเป็นรูปธรรมจักร พระเจ้าอโศกเป็นวงศ์โมริยะ ซึ่งแปลว่านกยูง มีอะไรเป็นหลักฐานไหมที่ว่า ศิลาจารึกนี้พระเจ้าอโศกสร้างไว้
พระธรรมปิฎก: เจริญพร ศิลาจารึกพระเจ้าอโศกนี้มีข้อความเขียนไว้สั่งสอนแนะนํา แสดงนโยบายของพระเจ้าอโศกแก่ประชาชน เช่น ขอให้คนที่เป็นเจ้าหน้าที่ คล้ายๆ กํานันอะไรพวกนี้นําเอาข้อความต่อไปนี้ไปบอกแก่ประชาชนของตนๆ แสดงว่าพระองค์ใช้ศิลาจารึกเป็นเครื่องมือในการสั่งสอนและบริหารราชการแผ่นดิน เพราะในสมัยนั้นไม่มีการใช้กระดาษแบบทุกวันนี้ ก็เลยใช้ศิลา ให้เจ้าหน้าที่เขียนไว้ตามที่ ต่างๆ เช่น โขดหิน เขา ภูผา เป็นต้น แล้วก็ให้มาอ่านไปบอกกัน
เรื่องนี้ก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทําให้ประชาชนสมัยนั้นมีการศึกษา ใน Encyclopaedia Britannica เคยบอกว่า อินเดียในสมัยพระเจ้าอโศกนี้ ประชาชนรู้หนังสือมากกว่ายุคปัจจุบัน จะจริงหรือไม่จริง แต่ฝรั่งเขาว่า ไว้อย่างนั้น แสดงว่าในสมัยนั้นมีการศึกษาดีและวัดก็เป็นศูนย์กลางการศึกษาอยู่แล้ว
และที่คุณหมอถามอีกอย่างหนึ่งคือ มีเครื่องหมายอะไรที่แสดงว่า พระเจ้าอโศกสร้างไว้
ศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกนี้ มีคําขึ้นต้นบอกไว้ชัดทุกครั้งไป “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปิยทัสสี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ตรัสไว้ว่า” หรือทำนองนี้ และข้อความที่เล่าไว้ในจารึกหลายแห่งก็บอกเหตุการณ์ที่ทําให้นักประวัติศาสตร์มั่นใจว่า เป็นพระเจ้าอโศก เช่น เล่าถึงการสงครามกับแคว้นกลิงคะ
นอกจากข้อความในศิลาจารึกทั่วไปอย่างนี้แล้ว ก็ยังมีศิลาจารึกบางแห่งที่ทําเป็นหลัก หรือเป็นเสาไว้ประกาศ เช่น ที่สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติก็จะบอกว่า ณ สถานที่นี้ (คือลุมพินีวัน) พระพุทธศากยมุนี ได้ประสูติ เป็นต้น และบนยอดเสาก็มีเครื่องหมายของพระองค์เช่น หัวสิงห์และที่เป็นรูปธรรมจักรก็มี
ยอดเสาที่สมบูรณ์จริงๆ เราจะไปเห็นในพิพิธภัณฑ์ข้างหน้า และ จะได้เห็นศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกเป็นตัวอย่างด้วย
อย่างไรก็ตามศิลาจารึกเหล่านี้ เมื่อเวลาผ่านไป ก็ถูกทำลายบ้าง ถูกภัยธรรมชาติบ้าง ได้หักโค่น แตกกร่อน กระจัดกระจายไป คนยุคหลังๆ ก็เอามาจัดตั้งอย่างที่เราเห็นกัน เพื่อแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างของอดีต และยังจะได้ดูกันต่อไปอีก
การพิสูจน์ว่า รู้ได้อย่างไรว่าศิลาจารึกนี้เป็นของพระเจ้าอโศกมหาราช คือพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้นั้น ที่จริงเป็นเรื่องของนักประวัติศาสตร์-โบราณคดีที่เขาได้ศึกษาและวินิจฉัยกันไว้ซึ่งเราคงต้องไปฟังไปอ่านเรื่องที่เขารวบรวมเขียนไว้
แต่ถ้าจะพูดรวบรัดเฉพาะหน้า ว่าตามที่นึกเห็นได้มีจุดสําคัญหนึ่ง ที่ศิลาจารึกมาบรรจบกับหลักฐานในคัมภีร์ ซึ่งทําให้เห็นว่า องค์ “เทวานัมปิยะ ปิยทัสสี ราชา” หรือ “เทวานามปริยะ ปริยทรรศี ราชา” ในศิลาจารึกนั้น เป็นองค์เดียวกับพระเจ้าอโศกมหาราชในคัมภีร์
ขอยกข้อความตอนหนึ่งในศิลาจารึกมาให้ดูกัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศีผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ได้มีพระบรมราชโองการให้ประกาศแก่มหาอํามาตย์ทั้งหลาย ณ พระนครปาฏลีบุตรและ ณ นครอื่นๆ ว่า
สงฆ์ (อันข้าฯ) ได้ทําให้สามัคคีเป็นอันเดียวกันแล้ว (“สํเฆ สมเค กเฏ”) บุคคลใดๆ จะเป็นภิกษุ หรือภิกษุณีก็ตาม ไม่อาจทําลายสงฆ์ได้
ก็แล หากบุคคลผู้ใด จะเป็นภิกษุ หรือภิกษุณีก็ตาม จักทําสงฆ์ให้แตกกัน บุคคลผู้นั้นจักต้องถูกบังคับให้นุ่งห่มผ้าขาวและไปอาศัยอยู่ ณ สถานที่อื่น (นอกวัด)
พึงแจ้งสาสน์พระบรมราชโองการนี้ให้ทราบทั่วกัน ทั้งในภิกษุสงฆ์ และในภิกษุณีสงฆ์
ด้วยประการฉะนี้ พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพได้ตรัสไว้ ดังนี้:- ก็ประกาศพระบรมราชโองการเช่นนี้ ท่านทั้งหลายพึงนําไปติดไว้ ณ ทางสัญจรภายในเขตใกล้เคียง ของท่านทั้งหลายฉบับหนึ่ง และจงเก็บรักษาประกาศพระบรมราชโองการอันเดียวกันนี้แล ไว้ในเขตใกล้เคียงของอุบาสกทั้งหลายอีกฉบับหนึ่ง
ทุกๆ วันอุโบสถ บรรดาอุบาสกเหล่านั้น พึงทําตนให้มีความรู้ความเข้าใจแนบแน่นในประกาศพระบรมราชโองการนี้ และทุกๆ วันอุโบสถ มหาอํามาตย์ทุกๆ คน พึงไปร่วมในการรักษาอุโบสถด้วยเป็นประจํา เพื่อจักได้เกิดความคุ้นเคยแนบสนิท และรู้เข้าใจทั่วถึง ซึ่งประกาศพระบรมราชโองการนั้นแล
ทั่วทุกหนทุกแห่งที่อํานาจบริหารราชการของท่านทั้งหลายแผ่ไปถึง ท่านทั้งหลายพึงขับไล่ (บุคคลผู้ทําลายสงฆ์) ออกไปเสีย และในทํานองเดียวกันนั้น ท่านทั้งหลายพึงขับไล่ (บุคคลที่ทําลายสงฆ์) ในเมืองด่าน และในท้องถิ่นทั้งหลาย ออกไปเสียโดยให้เป็นไปตามข้อความในประกาศนี้.
ธรรมโองการนี้ ในศิลาจารึกเองก็บอกไว้ว่าได้โปรดให้ติดประกาศทั่วไปทุกหนแห่ง แต่เฉพาะที่นักโบราณคดีขุดค้นพบแล้ว ๓ แห่ง (จารึก หลักศิลา ฉบับย่อยที่ ๑-๒-๓) มีข้อความยาวสั้นกว่ากันบ้าง แต่ทุกแห่งมีตอนสําคัญ คือ ย่อหน้า ๒-๓ ที่มีความเริ่มต้นว่า “สงฆ์ (อันข้าฯ) ได้ ทําให้สามัคคี”
สามแห่งที่พบจารึกนี้ คือ ที่สารนาถ ที่โกสัมพี และที่สาญจี การที่ในจารึกต่างแห่งบอกเหมือนกันว่า “ข้าฯ ได้ทําให้สงฆ์สามัคคี กันแล้ว” แสดงว่าเป็นเหตุการณ์ใหญ่ของส่วนรวมทั่วทั้งแว่นแคว้น ไม่ใช่เรื่องเฉพาะของที่นั้นๆ (สารนาถวัดระยะทางผ่านโกสัมพีไป ถึงสาญจี= ๖๐๐ กิโลเมตร) และข้อความตอนท้ายๆ ของจารึกเอง ก็บอกให้มหาอํามาตย์ดําเนินการรักษาสามัคคีนี้ทั่วทุกหนแห่ง
การทําให้สงฆ์สามัคคี ก็แสดงว่าได้มีการแตกแยก และได้แก้ปัญหาความแตกแยกนั้นเสร็จแล้ว นี่ก็คือการสังคายนาครั้งที่ ๓ ที่ เมืองปาฏลีบุตร ที่พระเจ้าอโศกทรงอุปถัมภ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕ ซึ่ง คัมภีร์สมันตปาสาทิกาได้เล่าไว้ และบอกด้วยว่าพระที่ก่อปัญหา (ท่านว่าปลอมบวชเข้ามา) ได้ถูกบังคับให้นุ่งผ้าขาว (= ให้สึกออกไป) ดังความตอนหนึ่งในสมันตปาสาทิกานั้น (วินย.อ.๖๐) ว่า
ในวันที่ ๗ พระราชา (อโศก) โปรดให้ประชุมภิกษุสงฆ์ที่อโศการาม…ทรงทราบว่า พวกนี้มิใช่ภิกษุ พวกนี้เป็นอัญเดียรถีย์ พระราชทานผ้าขาวแก่บุคคลเหล่านั้น ให้สึกเสีย…ลําดับนั้น พระราชาตรัสว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญ บัดนี้ พระศาสนาบริสุทธิ์แล้ว ขอภิกษุสงฆ์จงทําอุโบสถเถิด” พระราชทานอารักขาแล้ว เสด็จคืนสู่พระนคร สงฆ์ซึ่งสามัคคีกันแล้ว ได้กระทําอุโบสถ
ตามศิลาจารึกแสดงว่า แม้สงฆ์จะสามัคคีกันได้แล้ว มาตรการที่จะรักษาความสามัคคีนั้นให้หนักแน่นมั่นคง พร้อมทั้งป้องกันปัญหา อันอาจจะมีขึ้นอีก ก็ยังดําเนินต่อไป โดยให้มหาอํามาตย์ดูแลรับผิดชอบตามความในจารึกนั้น
Create Date : 30 มกราคม 2567 |
Last Update : 30 มกราคม 2567 16:27:25 น. |
|
0 comments
|
Counter : 375 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|