กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
พฤษภาคม 2567
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
24 พฤษภาคม 2567
space
space
space

ภาพ เจโตวิมุตติ กับ ปัญญาวิมุตติ


235เอาแต่เนื้อๆ  (จิต กับ ปัญญา) 

      เจโตวิมุตติ  คือ  ความหลุดพ้นทางด้านจิต  แปลกันว่า   ความหลุดพ้นแห่งจิต หรือความหลุดพ้นด้วยกำลังจิต คือ ด้วยสมาธิ  หมายถึง  ภาวะจิตที่ประกอบด้วยสมาธิ  ซึ่งกำราบราคะลงได้ ทำให้หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องผูกมัดทั้งหลาย  (ราคะในที่นี้ และในบาลีทั่วไป ไม่มีความหมายแคบอย่างที่เข้าใจกันในภาษาไทย คือ ไม่ใช่เรื่องกามเท่านั้น แต่หมายถึง ความติดใจ ความใคร่ ในอารมณ์ต่างๆ ทั้งรูปธรรม และนามธรรม  เป็นไวพจน์ของตัณหา และกินความถึงโทสะด้วย เพราะโทสะก็คือแรงผลักที่เป็นปฏิกิริยาของราคะนั่นเอง)
 
      ปัญญาวิมุตติ  คือ ความหลุดพ้นด้านปัญญา   แปลกันว่า   ความหลุดพ้นด้วยปัญญา แต่ควรแปลว่า ความหลุดพ้นแห่งปัญญาด้วย   เพราะหมายถึง   ปัญญาบริสุทธิ์ หรือความรู้ถูกต้องสมบูรณ์ ไม่มีกิเลสบดบังหรือบิดเบือน ซึ่งเกิดขึ้นแก่ผู้บรรลุอรหัตตผล ในเมื่อปัญญานั้นกำจัดอวิชชาได้แล้ว ทำให้ผู้นั้นหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องผูกมัดทั้งปวง ดังบาลีว่า  “เพราะสำรอกราคะได้ จึงมีเจโตวิมุตติ, เพราะสำรอกอวิชชาได้  จึงมีปัญญาวิมุตติ”
 
      อรรถกถาอธิบายว่า  เจโตวิมุตติ  ได้แก่  ผลสมาธิ หรืออรหัตตผลสมาธิ หรืออรหัตตผลจิต  (สมาธิหรือจิตอันตั้งมั่น ที่เป็นผลแห่งการสำเร็จเป็นพระอรหันต์)  และว่า ปัญญาวิมุตติ ได้แก่ ผลญาณ หรือผลปัญญา หรืออรหัตตผลญาณ หรืออรหัตตผลปัญญา  (ฌาน หรือปัญญาที่เป็นผลแห่งการสำเร็จเป็นพระอรหันต์)
 
      ผู้บรรลุอรหัตตผล จะต้องได้เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตตินี้ ครบทั้งสองอย่างทุกบุคคล คำทั้งสองนี้จึงมาคู่กันเสมอ ในข้อความที่กล่าวถึงการบรรลุอรหัตตผล ดังบาลีว่า “เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป จึงทำให้เห็นประจักษ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ที่ไม่มีอาสวะ ในปัจจุบันนี้ทีเดียว”
 
      เจโตวิมุตติเป็นผลของสมถะ  ปัญญาวิมุตติเป็นผลของวิปัสสนา   พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า คำคู่นี้แสดงให้เห็นว่า  สมถะและวิปัสสนา จะต้องมาควบคู่กัน  แม้ในขั้นผล เช่นเดียวกับในขั้นมรรค   (แม้ว่าสมถะที่ต้องการในที่นี้ อาจจะเป็นเพียงสมถะในความหมายอย่างกว้างๆ คือ สมาธิเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่จำต้องเป็นสมถะที่ฝึกกันเป็นงานเป็นการจนได้อภิญญาสมาบัติ)  ข้อนี้สมด้วยบาลีว่า
 
         “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ เป็นวิชชาภาคิยธรรม (ธรรมเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา หรือธรรมข้างฝ่ายวิชชา คือธรรมที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดวิชชา) ได้แก่ สมถะ และ วิปัสสนา”
 
         “สมถะ เจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร  ?  (ตอบ)  จิตจะได้รับการเจริญ, จิตเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ?   (ตอบ)  ละราคะได้”
 
         “วิปัสสนา เจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร?  (ตอบ)  ปัญญาจะได้รับการเจริญ, ปัญญาเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ?   (ตอบ)  ละอวิชชาได้”
 
         “ภิกษุทั้งหลาย   จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ  ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาก็ดี  ที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา   ย่อมเจริญไม่ได้, ด้วยประการดั่งนี้  เพราะสำรอกราคะได้  จึงมีเจโตวิมุตติ, เพราะสำรอกอวิชชาได้  จึงมีปัญญาวิมุตติ”
 
      มีทั้งเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ   มาด้วยกันครบสองอย่าง    จึงเป็นวิมุตติที่สมบูรณ์ 

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=15-11-2023&group=88&gblog=140


 




 

Create Date : 24 พฤษภาคม 2567
0 comments
Last Update : 25 พฤษภาคม 2567 14:15:16 น.
Counter : 188 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space