กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
มีนาคม 2568
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
space
space
16 มีนาคม 2568
space
space
space

ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา จบ


ต่อ จบ


     ขอยกความจากบาลี  มาเป็นเครื่องทบทวนความเข้าใจ  เริ่มตั้งแต่ความหมายของคำว่า อิทธิไปทีเดียว

     อิทธิ  แปลว่า ความสำเร็จ

        "คำว่า อิทธิ หมายความว่า  ความสำเร็จ  ความสัมฤทธิ์ การสำเร็จ การสำเร็จด้วยดี การได้ การได้จำเพาะ การถึง สมบัติ การสัมผัส การประจักษ์แจ้ง การบำเพ็ญให้ถึงพร้อม ซึ่งธรรมเหล่านั้น"  (อภิ.วิ.๓๕/๕๐๘/๒๙๓)

     อิทธิ  แปลว่า ฤทธิ์ อย่างที่เรียกว่า อิทธิปาฏิหาริย์

        “ภิกษุทั้งหลาย  อิทธิเป็นไฉน ?  กล่าวคือภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมประกอบฤทธิ์ต่างๆได้มากมายหลายอย่าง คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดิน เหมือนน้ำก็ได้เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ใช้มือจับต้องลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ซึ่งมีกำลังฤทธิ์เดชมากมายถึงเพียง นี้ก็ได้ ใช้อำนาจทางกายถึงพรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ”

        “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาทเป็นไฉน ? มรรคาใด ปฏิปทาใด ย่อมเป็นไปเพื่อการได้อิทธิ เพื่อประสบอิทธิ มรรคา ปฏิปทานี้ เรียกว่า อิทธิบาท”

        “อิทธิบาทภาวนา  (การเจริญอิทธิบาท) เป็นไฉน ?  ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิ และปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาท ที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิ และปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิ และปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาท ที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา” * (สํ.ม.19/1175-6/355)

        “ภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุอาศัยฉันทะ จึงได้สมาธิ จึงได้ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว นี้เรียกว่าฉันทสมาธิ ภิกษุนั้น ยังฉันทะให้เกิด พยายามระดมความเพียร ยกชูจิตไว้ มุ่งมั่น (๑) เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันชั่วร้ายที่ยังไม่เกิดขึ้น .... (๒) เพื่อละอกุศลธรรมอันชั่วร้ายที่เกิดขึ้นแล้ว ... (๓) เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ... (๔) เพื่อความตั้งอยู่ได้ ไม่เลือนหาย เพื่อภิยโยภาพ เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เต็มบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นแล้ว เหล่านี้ เรียกว่า ปธานสังขาร

        “ฉันทะนี้ด้วย ฉันทสมาธินี้ด้วย  ปธานสังขารเหล่านี้ด้วย นี้เรียกว่า อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิ  (สมาธิที่เกิดจากฉันทะ) และปธานสังขาร  (ความเพียรสร้างสรรค์)

        “หากว่าภิกษุอาศัยวิริยะ  จึงได้สมาธิ  จึงได้ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว นี้เรียกว่า วิริยสมาธิ ... วิริยะนี้ด้วย วิริยสมาธินี้ด้วย ปธานสังขารเหล่านี้ด้วย นี้เรียกว่า อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิ และปธานสังขาร

        “หากว่าภิกษุอาศัยจิตตะ  จึงได้สมาธิ  จึงได้ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว นี้เรียกว่า จิตตสมาธิ ... จิตตะนี้ด้วย  จิตตสมาธินี้ด้วย  ปธานสังขารเหล่านี้ด้วย  นี้เรียกว่า อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิ และปธานสังขาร

        “หากว่าภิกษุอาศัยวิมังสา จึงได้สมาธิ จึงได้ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว นี้เรียกว่าวิมังสาสมาธิ ... วิมังสานี้ด้วย วิมังสาสมาธินี้ด้วย ปธานสังขารเหล่านี้ด้วย นี้เรียกว่า อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร"*  (สํ.ม.19/1150-3/341-6)

        “ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นไฉน ?  มรรคามีองค์ ๘ ประการ อันเป็นอริยะนี้แหละ กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี่เรียกว่า ปฏิปทาให้ถึงอิทธิบาทภาวนา” (สํ.ม.19/1177/355)

        “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ อย่างเหล่านี้ เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการไปจากที่มิใช่ฝั่ง (มิใช่จุดหมาย) สู่ที่อันเป็นฝั่ง (คือจุดหมาย)” (สํ.ม.19/1108/322)

        

135

* คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์  กล่าวถึงอิทธิ หรือฤทธิ์ไว้ ๑๐ ประเภท ฤทธิ์อย่างที่แสดงในพุทธพจน์นี้ เป็นประเภทที่ ๑, ฤทธิ์ประเภทที่ ๑๐ ได้แก่ ความสำเร็จเพราะประกอบถูกต้องในเรื่องนั้นๆ และข้อสุดท้ายในประเภทที่ ๑๐ ได้แก่ ฤทธิ์ คือ การละกิเลสได้หมดสิ้น ด้วยอรหัตมรรค (ขุ.ปฏิ.31/679-694/589-601) วิสุทธิมัคค์นำมาอธิบายพิเศษในด้านอิทธิปาฏิหาริย์ (วิสุทฺธิ.2/212-244) แต่ก็ได้อ้างความหมายแง่อื่นๆ ไว้ด้วย เช่น ความสำเร็จที่เกิดจากศิลปะในยุทธวิธี หรือแม้แต่การไถหว่าน ก็เป็นฤทธิ์ในประเภทที่ ๑๐ (วิสุทฺธิ.2/211) ดังนั้น อิทธิบาท จึงใช้เพื่อความสำเร็จได้ ในกิจทุกอย่าง


* ในอภิธรรม  แสดงคำจำกัดความฉันทสมาธิ เป็นต้น แปลกไปเล็กน้อย เช่นว่า "ภิกษุทำฉันทะให้เป็นใหญ่  จึงได้สมาธิ  จึงได้ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว นี้เรียกว่าฉันทสมธิ"  ดังนี้ เป็นต้น  (ดู อภิ.วิ.35/505-541/292-306)

 



 

- ชาวพุทธบ้านเราพูดเน้นๆแต่อิทธิความหมายที่สอง คือ จะเหาะเหินเดินอากาศแหวกน้ำดำดินบินอย่างนก    9

https://www.facebook.com/reel/1277906019977162

 

 




 

Create Date : 16 มีนาคม 2568
0 comments
Last Update : 17 มีนาคม 2568 8:13:26 น.
Counter : 166 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space