 |
|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | |
|
 |
|
|
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=25-11-2024&group=122&gblog=4
- ซ้ำอีกทีสั้นๆ
ญาณ ๑๖ ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมายคือมรรคผลนิพพาน ๑๖ อย่าง ญาณ ๑๖ นี้ มิใช่เป็นหมวดธรรมที่มาครบชุดในพระบาลีเดิมโดยตรง แต่พระอาจารย์ปางก่อนได้ประมวลจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ และวิสุทธิมัคค์แล้วสอนสืบกันมา บางทีเรียกให้เป็นชื่อชุดเลียนคำบาลีว่า "โสฬสญาณ" หรือเรียกกึ่งไทยว่า "ญาณโสฬส" ทั้งนี้ ท่านตั้งวิปัสสนาญาณ ๙ เป็นหลักอยู่ตรงกลางแล้วเติมญาณขั้นต้นๆ ที่ยังไม่จัดเป็นวิปัสสนาญาณ เพิ่มเข้าก่อนข้างหน้าและเติมญาณขั้นสูงที่เลยวิปัสสนาญาณไปแล้ว เข้ามาต่อท้ายด้วย ให้เห็นกระบวนการปฏิบัติตลอดแต่ต้นจนจบจึงเป็นความปรารถนาดีที่เกื้อกูลแก่การศึกษาไม่น้อย ญาณ ๑๖ นั้น ดังนี้ (ในที่นี้ จัดแยกให้เห็นเป็น ๓ ช่วง เพื่อความสะดวกในการศึกษา) คือ
ก) ก่อนวิปัสสนาญาณ: ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป (นามรูปปริคคหญาณ หรือ สังขารปริจเฉทญาณ ก็เรียก) ๒. (นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป (บางทีเรียก กังขาวิตรณญาณ หรือธัมมัฎฐิติญาณ) ๓. สัมมาสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์
ข) วิปัสสนาญาณ ๙: ๔. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป ๕. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา ๖. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฎเป็นของน่ากลัว ๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ ๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย ๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย ๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง ๑๑. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร ๑๒. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์
ค) เหนือวิปัสสนาญาณ: ๑๓. โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตร คือหัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน ๑๔. มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค ๑๕. ผลญาณ ญาณในอริยผล ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน
อนึ่ง คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ถือต่างจากที่กล่าวมานี้บ้าง โดยจัดญาณที่ ๓ (สัมมสนญาณ) เป็นวิปัสสนาญาณด้วย จึงเป็นวิปัสสนาญาณ ๑๐ อีกทั้งเรียกชื่อญาณหลายข้อให้สั้นลง เป็น ๔. อุทยัพพยญาณ ๕. ภังคญาณ ๖. ภยญาณ ๗. อาทีนวญาณ ๘. นิพพิทาญาณ ๑๐. ปฏิสังขาญาณ ๑๒. อนุโลมญาณ (นอกนั้นเหมือนกัน) ทั้งนี้ พึงทราบเพื่อไม่สับสน
มีข้อพึงทราบพิเศษว่า เมื่อผู้ปฏิบัติก้าวหน้ามาจนเกิดวิปัสสนาญาณข้อแรก คือ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ชื่อว่าได้ ตรุณวิปัสสนา (วิปัสสนาอ่อนๆ) และในตอนนี้ วิปัสสนูปกิเลสจะเกิดขึ้น ชวนให้สำคัญผิดว่าถึงจุดหมาย แต่เมื่อรู้เท่าทัน กำหนดแยกได้ว่าอะไรเป็นทางอะไรมิใช่ทาง ก็จะผ่านพ้นไปได้ อุทยัพพยญาณ นั้นก็จะพัฒนาเป็นมัคคามัคคญาณ เข้าถึงวิสุทธิคือความบริสุทธิ์ที่สำคัญขั้นหนึ่ง เรียกว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (วิสุทธิข้อที่ ๕) อุทยัพพยญาณ ที่ก้าวมาถึงตอนนี้ คือเป็นวิปัสสนาญาณที่เดินถูกทาง ผ่านพ้นวิปัสสนูปกิเลสได้แล้ว ได้ชื่อว่าเป็น พลววิปัสสนา (วิปัสสนาที่มีกำลัง หรือแข็งกล้า) ซึ่งจะเดินหน้าพัฒนาเป็นวิปัสสนาญาณที่สูงขึ้นต่อๆไป
บางทีท่านกล่าวถึงตรุณวิปัสสนาและพลววิปัสสนา โดยแยกเป็นช่วงซึ่งกำหนดด้วยญาณต่างๆ คือ ระบุว่า (ช่วงของ) ญาณ ๔ คือ สังขารปริจเฉทญาณ กังขาวิตรณญาณ สัมมสนญาณ และมัคคามัคคญาณ เป็นตรุณวิปัสสนา และ (ช่วงของ) ญาณ ๔ คือ ภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนวญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ และสังขารุเปกขาญาณ เป็นพลววิปัสสนา
ในญาณ ๑๖ นี้ ข้อ ๑๔ และ ๑๕ (มัคคญาณ และผลญาณ) เท่านั้น เป็นโลกุตรญาณ อีก ๑๔ อย่างนอกนั้น เป็นโลกียญาณ.
ญาณ ความรู้, ปรีชาหยั่งรู้, ปรีชากำหนดรู้ (ญาณ ก็เป็นชื่อหนึ่งของปัญญา)
ปัญญา ที่เป็นตัวความรู้ในสังขารขันธ์นั้น เป็นสิ่งที่จะต้องทำให้เกิดให้มีขึ้น ต้องฝึกปรือ ทำให้เจริญเพิ่มพูนขึ้นไปโดยลำดับ ปัญญาจึงมีหลายขั้นหลายระดับ และมีชื่อเรียกต่างๆ ตามขั้นของความเจริญบ้าง ตามทางเกิดของปัญญานั้นบ้าง ตามลักษณะเฉพาะของปัญญาชนิดนั้นบ้าง จะขอยกชื่อของปัญญามาให้ดูเป็นตัวอย่าง เช่น สัมปชัญญะ วิปัสสนา ปริญญา ญาณ วิชชา อัญญา อภิญญา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ เป็นต้น
Create Date : 08 เมษายน 2568 |
|
0 comments |
Last Update : 8 เมษายน 2568 13:02:25 น. |
Counter : 334 Pageviews. |
|
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|