ทำไปทำมาจะได้บาปสะเอง

บาป ความชั่ว, ความร้าย, ความชั่วร้าย, กรรมชั่ว, กรรมลามก, อกุศลกรรมที่ส่งให้ถึงความเดือดร้อน, สภาพที่ทำให้ถึงคติอันชั่ว, สิ่งที่ทำจิตให้ตกสู่ที่ชั่ว คือ ทำให้เลวลง ให้เสื่อมลง
บุญ เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กรรมดี, ความประพฤติชอบทางกายวาจาและใจ, กุศลกรรม, ความสุข, กุศลธรรม
ที่กล่าวนั้น เป็นความหมายทั่วไป โดยสรุป ต่อนี้พึงทราบคำอธิบายละเอียดขึ้น เริ่มแต่ความหมายตามรูปศัพท์ว่า "กรรมที่ชำระสันดานของผู้กระทำให้สะอาด" "สภาวะอันทำให้เกิดความน่าบูชา" "การกระทำอันทำให้เต็มอิ่มสมน้ำใจ" ความดี, กรรมที่ดีงามเป็นประโยชน์ ความประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ, กุศล (มักหมายถึงโลกียกุศลหรือความดีที่ยังกอปรด้วยอุปธิ คือ เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ปรารถนากันในหมู่ชาวโลก เช่น โภคสมบัติ) บางทีหมายถึงผลของการประกอบกุศล หรือผลบุญนั่นเอง เช่น ในพุทธพจน์ (ที.ปา.11/33/62) ว่า "ภิกษุทั้งหลาย เพราะการสมาทานกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเหตุ บุญนี้ย่อมเจริญเพิ่มพูนอย่างนี้" และมีพุทธพจน์ (ขุ.อิติ.25/200/240) ตรัสไว้ด้วยว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าได้กลัวต่อบูญเลย คำว่าบุญนี้ เป็นชื่อของความสุข" (บุญ ในพุทธพจน์นี้ ทรงเน้นที่การเจริญเมตตาจิต) พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ศึกษาบุญ ("ปุญฺญเมว โส สิกฺเขยฺย" ขุ.อิติ.25/200/241 ฯลฯ) คือฝึกปฏิบัติหัดทำให้ชีวิตเจริญงอกงามขึ้นในความดีและสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติที่ดี
ในการทำบุญ ไม่พึงละเลยพื้นฐานที่ตรงตามสภาพความเป็นจริงของชีวิต ให้ชีวิตและสิ่งแวดล้อมเจริญงอกงามหนุนกันขึ้นไปสู่ความดีงามสมบูรณ์ เช่น พึงระลึกถึงพุทธพจน์ (สํ.ส.15/146/46) ที่ว่า "ชนเหล่าใด ปลูกสวน ปลูกป่า สร้างสะพาน รวมทั้งจัดเรือข้ามฟาก จัดบริการน้ำดื่ม และบึงบ่อสระน้ำ ให้ที่พักอาศัย บุญของชนเหล่านั้น ให้ที่พักอาศัย บุญของชนเหล่านั้น ย่อมเจริญงอกงาม ทั้งคืนทั้งวัน ตลอดทุกเวลา ชนเหล่านั้น ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้เดินทางสวรรค์ คัมภีร์ทั้งหลาย กล่าวถึงบุญกรรมที่ชาวบ้านควรร่วมกันทำไว้เป็นอันมาก เช่น (ชา.อ.1/299) การปรับปรุงซ่อมแซมถนนหนทาง สร้างสะพาน ขุดสระน้ำ สร้างศาลที่พักและที่ประชุม ปลูกสวนปลูกป่า ให้ทาน รักษาศีล
พระพุทธเจ้าตรัสประมวลหลักการทำบุญที่พึ่งศึกษาไว้ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๓ (ขุ.อิติ.25/238/270) ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ ได้แจกแจงให้เห็นตัวอย่างในการขยายความออกไปเป็น บุญกิริยาวัตถุ ๑๐
  เขาทำวัตรสวดมนต์ ทำลายศาสนายังไง
Create Date : 28 ธันวาคม 2565 |
|
2 comments |
Last Update : 4 มกราคม 2566 8:27:47 น. |
Counter : 500 Pageviews. |
|
 |
|