กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
บุญ
ข้อธัมม์ที่ถาม-เถียงกันบ่อย
หลักปฏิบัติ
สภาวธรรม
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ผู้พิพากษาตั้งตุลา ใ ห้ สั ง ค ม ส ม ดุ ล
คติธรรมสั้นๆ
ภาษาธรรมวันละคำ
รู้เขา รู้เรา
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน,
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
พลังดันคน
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
สวดมนต์
ความจน เ ป็ น ทุ ก ข์ ใ น โ ล ก
เรียนบาลีเพื่อรักษาพุทธพจน์
ศีล-ธรรมไม่มาโลกาจะพินาศ
หลักธรรมสำหรับผู้ยังไม่นับถือศาสนาใดๆ
ก่อนศึกษาพุทธธรรม
ภาค ๑. มัชเฌนธรรมเทศนา
ภาค ๒. มัชฌิมาปฏิปทา
ภาค ๓. อารยธรรมวิถี
วัฒนธรรมประเพณี
จารึกธรรม
สมาธิ,ฌาน
ถ้าหลักธรรมพุทธดีจริง คงไม่สูญจากชมพูทวีปว่าซั่น
ภาวะแห่งนิพพาน
ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม
คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์
จงกรม ไม่ใช่ จงกลม
กรรมฐาน
สติปัฏฐาน
ศีลสำหรับประชาชน
วิธีการแห่งศรัทธา (ปรโตโฆสะที่ดี)
วิธีการแห่งปัญญา (โยนิโสมนสิการ)
ทางดำเนินชีวิตสายกลาง
คุณสมบัติบุคคลโสดาบัน
กาม
ความสุข
อริยสัจ ๔
ธรรมฉันทะ - ตัณหาฉันทะ
กรรม
เถรวาท VS ลัทธิอาจารย์
นิพพาน-อนัตตา ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท
ภาวนา ๔ ภาวิต ๔
สมถะ,วิปัสสนา,เจโตวิมุตติ,ปัญญาวิมุตติ
อนัตตา
สมมุติ
ศีล-สีลัพพตปรามาส
นรก สวรรค์ ในพระไตรปิฎก
วันสำคัญของชาวพุทธไทย
วิธีฝึกหูทิพย์ ตาทิพย์
ลำดับญาณ,ทวนญาณ
ความสำคัญของพุทธศาสนาในฐานะ ศ.ประจำชาติ
<<
กรกฏาคม 2565
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
16 กรกฏาคม 2565
ตำนานโมรปริต
โมรปริต
ตำนานขันธะปริตร
ขันธะปริต
แทรกเสริม
ตำนานวัฏฏกปริต
วัฏฏะกะปริตร
มงคล คาถาที่ ๖-๑๐
มงคล คาถาที่ ๑-๕
สัจจะกิริยา
แทรกเสริม
แทรกเสริม
ตำนานฉัททันต์ปริตร(จบ)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๑๓)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๑๒)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๑๑)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๑๐)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๙)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๘)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๗)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๖)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๕)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๔)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๓)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๒)
ตำนานฉัททันต์ปริตร
ฉัททันตะปริตร
เกี่ยวกับพาหุง(จบ)
บทพาหุง
บทถวายพรพระ
นักขัตยักษ์
ภวตุสัพ
มงคลจักรวาลใหญ่
สักกัตวา(จบ)
สักกัตวา
ชัยปริต
เทวตาอุยโยชนคาถา
อะภะยะปริตร
แทรกเสริม
โพชฌังคะปริตร
ตำนานอังคุลิมาลปริตร
องคุลิมาลปริตร
ตำนานโมรปริต
โมรปริต
ตำนานขันธะปริตร
ขันธะปริต
แทรกเสริม
ตำนานวัฏฏกปริต
วัฏฏะกะปริตร
ตำนานกรณียเมตตสูตร
กรณียเมตตสูตร
แทรกเสริม(สวดมนต์)
ตำนานรัตนสูตร
รัตนสูตร
ตำนานมงคลสูตร
มงคลสูตร
นโมการอัฏฐกคาถา
นะมะการะสิทธิคาถา
สัมพุทเธ
สามวิธีบวช
สรณคมน์
ระเบียบในการตั้งนะโม
???
ตั้งนะโม ๓ จบเสมอ
ปย.นมัสการพระ(๔)
ปย.นมัสการพระ(๓)
ปย.นมัสการพระ(๒)
ประโยชน์นมัสการพระ
ผู้ตั้งบทนมัสการ
การเรียงลำดับพระคุณ
แทรกเสริม
ตั้งนะโม(สัมมาสัมพุทธัสส)
ตั้งนะโม(อรหโต)
ตั้งนะโม
ชุมนุมเทวดา
แทรกเสริม
ไสยศาสตร์
อานิสงส์พระปริตร
ตำนานพระปริตร
พระปริตต์
องค์ประกอบพุทธศาสนา
สวดมนต์เรื่องใหญ่สวดกันทำไมต้องรู้ให้ชัด
ตำนานวัฏฏกปริต
ตำนานวัฏฏกปริต
พระปริตรบทนี้มีความพิสดารอยู่ในอรรถกถาชาดก เอกนิบาต มีชื่อเรื่องว่า
วัฏฏชาดก
แปลว่า ชาดกแสดงเรื่องนกคุ่มเกิดแล้วในอดีต หรือจะแปลว่า นิทานนกคุ่มก็ได้ ขอเก็บความมาเล่าโดยย่อ ดังต่อไปนี้
สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จอยู่ ณ มคธรัฐ เช้าวันหนึ่งเสด็จบิณฑบาตพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ยังบ้านตำบลหนึ่ง และเสด็จกลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังอาหาร ขณะเสด็จดำเนินอยู่ระหว่างทาง เกิดไฟไหม้ป่าขึ้นอย่างใหญ่หลวง และไฟลุกลามโอบล้อมเข้ามาทุกด้าน
พระพุทธเจ้ากับพระภิกษุสงฆ์ตกอยู่ในวงล้อม ไฟป่ากำลังโหมเข้ามาทุกขณะ
พระภิกษุบางรูปคิดอ่านแก้ไขด้วยวิธีจุดไฟรับ แต่บางรูปตักเตือนว่า อย่ามองข้ามพระพุทธเจ้าไปเสียเลย พระองค์ทรงมีพระกำลังมาก มาเถิด พวกเราไปเฝ้าให้ใกล้ชิดพระพุทธองค์กันเถิด
ภิกษุทั้งหลาย พากันไปยืนอยู่ในสำนักของพระพุทธเจ้า ผู้ประทับยืนอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง ขณะนั้น ไฟป่าลุกลามโหมเข้ามา ราวกับจะท่วมทับพระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ แต่ครั้นเข้ามาใกล้ประมาณ ๑๖ กรีสโดยรอบ ไฟป่าเหล่านั้นก็ดับไปเองเหมือนคบไฟถูกจุ่มน้ำ ภิกษุทั้งหลายเห็นเป็นความมหัศจรรย์
ดังนั้น ในเวลาต่อมา เมื่อภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภา จึงยกความมหัศจรรย์ของเรื่องนี้ขึ้นเป็นหัวข้อสนทนา ความทราบถึงพระพุทธเจ้าจึงรับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฟป่าไม่ไหม้ภูมิประเทศแห่งหนึ่งหาใช่เป็นเพราะกำลังของเราในบัดนี้ไม่ หากเป็นเพราะแรงสัตยาธิษฐานของเราในปางก่อน ภูมิประเทศแห่งนี้ มีชื่อเรียกว่า กัปปัฏฐิติปาฏิหาริย์ คือเป็นปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้น เพราะแรงสัตยาธิษฐานเพียงครั้งเดียว ดำรงอยู่ได้ถึงกัลป์หนึ่ง
พระภิกษุทั้งหลายจึงทูลอาราธนา ขอให้เล่าเรื่องในหนหลัง ได้ทรงนำเรื่องในอดีตมาเล่าโปรดพระภิกษุทั้งหลาย มีใจความว่า
ในอดีตกาล สมัยหนึ่งพระองค์เสวยพระชาติเป็นนกคุ่ม อาศัยอยู่ ณ บริเวณป่านี้ ในเวลาที่เจาะฟองไข่ออกมาได้ไม่นาน ขนปีกยังไม่แข็ง เท้าก็ยังเดินไม่ได้ อาศัยพ่อแม่หาเหยื่อมาป้อน นอนอยู่ในรัง ไฟป่าเกิดขึ้นก็ไหม้ลุกลามเสียงสนั่นอยู่โดยทั่วไป บรรดาฝูงวิหคนกไพรที่แข็งแรง ก็พากันบินหนีอัคคีภัย
ส่วนตัวใดบินหนีไม่ได้ ก็ตกเป็นเหยื่อไฟป่า นกคุ่มหน่อพระโพธิสัตว์ฟังเสียงไฟไหม้ป่าดังใกล้เข้ามา จึงรำพึงในใจว่า ปีกของเราก็ยังไม่แข็งพอจะบินได้ เท้าของเราก็ยังอ่อนเดินไม่ได้ พ่อแม่ของเราก็บินหนีเอาตัวรอดไปแล้ว บัดนี้เราไม่มีที่พึ่งและที่ป้องกันต้านทาน ควรจะกระทำอะไรสักอย่างหนึ่ง จึงตกลงใจทำสัจจกิริยา พร้อมกับสัจจกิริยานั้น ไฟป่าที่ลุกลามใกล้รังของนกคุ่มหน่อพระโพธิสัตว์ในระยะ ๑๖ กรีส ก็ดับไปเองคล้ายกับถูกน้ำ หมู่สัตว์ผู้อาศัยอยู่ในเนื้อที่มีปริมณฑลโดยรอบ ๑๖ กรีสนั้น ก็รอดพ้นจากอัคคีภัยครั้งนี้ด้วย เพราะแรงสัจจกิริยา ซึ่งนกคุ่มหน่อพระโพธิสัตว์ได้กระทำในครั้งนั้น เป็นเหตุให้พื้นที่บริเวณนั้นเกิดมีปาฏิหาริย์ คือ ไฟไม่ไหม้เป็นเวลาถึงกัลปหนึ่ง เพราะฉะนั้น ภูมิประเทศแห่งนี้ วันนั้น ไฟป่าจึงไม่ไหม้
หมายเหตุ.
เรื่องนี้ถ้าจะพิจารณาตามเรื่อง ก็จะเห็นว่า เล่าความกระเดียดไปข้างผสมผสาน โยงเรื่องปัจจุบันต่อกับเรื่องอดีต เป็นการยากลำบากในการวินิจฉัย แต่ถ้าจะพิจารณาอีกทางหนึ่ง ก็จะเห็นว่ามีสาระควรสนใจ เพราะภยันตรายต่างๆ ย่อมเกิดขึ้นได้ทุกโอกาส ไม่เลือกเวลาและสถานที่ภยันตรายบางอย่างอยู่ในวิสัยพอจะแก้ไขได้ บางอย่างก็เหลือวิสัย เป็นภัยอันตรายนอกอำนาจ
ท่านผู้อ่านโปรดพลิกไปอ่านบทปริตรนี้อีกครั้ง ก็จะพบว่า ภัยที่เกิดแก่นกคุ่ม เป็นภัยชนิดเหลือวิสัยนอกอำนาจ ภัยอันตรายเช่นว่านี้ย่อมจะมีได้เสมอ เช่น ชุมนุมชนที่ปลูกอาคารบ้านเรือนอยู่กันหนาแน่น เมื่ออัคคีภัยเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดเพราะความประมาท หรือเพราะจงใจของบุคคลเพียงคนเดียวหรือพวกเดียว
ส่วนคนอื่นหรือพวกอื่นก็พลอยได้รับอันตรายไปด้วย คนที่พลอยได้รับอันตรายเช่นนี้ เรียกว่าประสบภัยเหลือวิสัยนอกอำนาจ ถึงอย่างนั้น ถ้าร่างกายแข็งแรงดี ก็ยังพอหนีเอาตัวรอด แม้ทรัพย์สมบัติจะวอดวายไป แต่ชีวิตยังเหลืออยู่ ถ้าประจวบกับเวลาเจ็บไข้ลุกเหินเดินไม่ได้ ก็ย่อมจะสิ้นชีพอยู่ในกองเพลิงนั้นเอง หากไม่คำนึ่งถึงปัญหานี้ โดยตัดทิ้งไปเสีย ก็เป็นอันแล้วไป
สำหรับผู้ที่วิตกกังวลต่ออันตรายประเภทนี้และคิดจะแก้ไข ก็อาศัยพระปริตรนี้เป็นแนวปฏิบัติได้ เพราะปริตบทนี้แสดงยุทธวิธีของผู้ที่หมดกำลังทางกายแล้วเหลืออยู่แต่เพียงกำลังทางใจอย่างเดียวเท่านั้น
สรุปความในภาคปฏิบัติได้ว่า ทำความสงบใจด้วยวิธีเสี่ยงบารมีเป็นการต่อสู้ครั้งสุดท้าย ดีกว่าตายไปพร้อมกับความหวาดกลัว ที่เรียกว่าหลงตาย ก็เป็นการตายอย่างทุรนทุราย ผู้ที่รู้ตัวว่าไม่มีบารมีจะเสี่ยง ก็จะใช้ปริตรบทนี้สวดเพื่อป้องกันไฟดังกล่าวแล้ว ภายหลังจึงเรียกพระปริตบทนี้ว่า “คาถากันไฟ” ดังนี้แล.
Create Date : 16 กรกฎาคม 2565
Last Update : 16 กรกฎาคม 2565 7:51:10 น.
0 comments
Counter : 356 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
BlogGang Popular Award#20
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com