|
|
|
|
|
|
|
เต็มๆในหนังสือสวดมนต์ ตรงนี้ ฯลฯ ไว้
๑. พาหุํ สหสฺสมภินิมฺมิตสาวุธนฺตํ คฺรีเมขลํ อุทิตโฆรสเสนมารํ
ฯลฯ
คำแปลทั้งหมด: ปางเมื่อพระยามารนิรมิตแขน ถืออาวุธครบตั้งพันแขน ขี่ขับช้างคิริเมขละ สะพรึบพร้อมด้วยพลเสนามาร โห่ร้องก้องกึกพิลึกสะพรึงกลัว เข้ามาประจัญ พระจอมมุนีทรงใช้วิธีทางธรรม คือ ทรงเสี่ยงบารมี มีทาน เป็นต้น เข้าผจญ ได้ชัยชำนะด้วยเดชแห่งองค์พระผู้พิชิตมารนั้น ขอชัยมงคลจึงมีแก่ท่าน
๒. มาราติเรกมภิยุชฺฌิตสพฺพรตฺตึ โฆรมฺปนาฬวกมกฺขมถทฺธยกฺขํ
ฯลฯ
คำแปลทั้งหมด: ปางเมื่ออาฬวกยักษ์ ผู้ดุร้ายหยาบช้า เหี้ยมโหด ไม่เลือกหน้า เข้ามากระทำยุทธนาการอยู่ตลอดคืน ยิ่งเสียกว่าเมื่อครั้งผจญพระยามาร (ซึ่งพ่ายไปก่อนอาทิตย์อัสดง) พระจอมมุนีทรงใช้วิธีปราบด้วยขันติคุณ ได้ชัยชำนะ ด้วยเดชแห่งองค์พระผู้พิชิตยักษ์นั้น ขอชัยมงคลจึงมีแก่ท่าน
๓. นาฬาคิรี คชวรํ อติมตฺตภูตํ ทาวคฺคิจกฺกมสนีว สุทารุณนฺตํ
ฯลฯ
คำแปลทั้งหมด: ปางเมื่อพระยาช้างนาฬาคีรี ซึ่งกำลังเมามันเต็มที่ ดุร้ายนัก แปร๋แปร้นแล่นเข้ามา ราวกับไฟไหม้ป่า หรือมิฉะนั้น เหมือนจักราวุธอันแรงร้าย หรือเหมือนสายฟ้าฟาด พระจอมมุนีทรงใช้วิธีรดด้วยน้ำ คือ เมตตา ได้ชัยชำนะ ด้วยเดชแห่งองค์พระผู้พิชิตช้าง ขอชัยมงคลจึงมีแก่ท่าน
๔. อุกฺขิตฺตขคฺคมติหตฺถสุทารุณนฺตํ ธาวนฺติโยชนปถงฺคุลิมาลวนฺตํ
ฯลฯ
คำแปลทั้งหมด: ปางเมื่อมหาโจร ผู้มีฉายาว่า องคุลิมาล สันดานบาปหยาบช้า มือถือดาบเงื้อร่า วิ่งไล่ติดตามพระองค์ไปเป็นระยะทางถึง ๓ โยชน์ พระจอมมุนีทรงบันดาลด้วยฤทธิ์ทางใจ ได้ชัยชำนะ ด้วยเดชแห่งองค์พระผู้พิชิตโจรนั้น ขอชัยมงคลจึงมีแก่ท่าน
๕. กตฺวาน กฏฺฐมุทรํ อิว คพฺภินียา จิญฺจาย ทุกฺฐวจนํ ชนกายมชฺเฌ
ฯลฯ
คำแปลหมด: ปางเมื่อนางจิญจมาณวิกา เอาผ้าห่อไม้ผูกเข้าที่ท้อง แสร้งทำเป็นหญิงมีครรภ์มากล่าวคำใส่ร้ายต่อพระองค์ในท่ามกลางชุมนุมชน พระจอมมุนีทรงผจญด้วยวิธีสงบนิ่ง วางพระองค์เป็นสง่าผ่าเผย เฉยอยู่ดังดวงจันทร์เพ็ญลอยเด่นอยู่ในนภากาศ ได้ชัยชำนะ ด้วยเดชแห่งองค์พระผู้พิชิตคำใส่ร้อยนั้น ขอชัยมงคลจึงมีแก่ท่าน
๖. สจฺจํ วิหายมติสจฺจกวาทเกตุํ วาทาภิโรปิตมนํ อติอนฺธภูตํ
ฯลฯ
คำแปลทั้งหมด: ปางเมื่อสัจจกนิครนถ์ ผู้เชิดชูลัทธิของตนว่าจริงแท้เลิศลอยราวกับชูธงขึ้นฟ้า ทำให้มืดมิดปิดปัญญาที่จะรู้ความจริงเสียสิ้น มุ่งมาจะโต้วาทะกับพระพุทธองค์ พระจอมมุนีทรงจุดประทีปคือปัญญาขึ้นส่องให้เห็นความจริง ได้ชัยชำนะ ด้วยเดชแห่งองค์พระผู้พิชิตนิครนถ์นั้น ขอชัยมงคลจึงมีแก่ท่าน
๗. นนฺโทปนนฺทภุชคํ วิพุธํ มหิทฺธึ ปุตฺเตน เถรภุชเคน ทมาปยนฺโต
ฯลฯ
คำแปลทั้งหมด: ปางเมื่อนันโทปนันทนาคราช ผู้หลงผิดเป็นพาล ซ้ำมีฤทธิ์มากด้วย ทะนงจิตบังอาจสำแดงฤทธิ์แผ่พังพานกั้นฉนวนอากาศ ปิดทางพุทธโคจร พระจอมมุนีจึงโปรดให้พระพุทธบุตร (คือพระมหาโมคคัลลานะ) ผู้เป็นเถรภุชงค์ไปปราบ ได้ชัยชำนะ ด้วยวิธีแสดงฤทธิ์สู้ฤทธิ์ จนสิ้นพยศรู้ผิดรู้ชอบ ด้วยเดชแห่งองค์พระผู้พิชิตนาคนั้น ขอชัยมงคลจึงมีแก่ท่าน
๘. ทุคฺคาหทิฏฺฐภุชเคน สุทฏฺฐหตฺถํ พฺรหฺมํ วิสุทฺธิชุติมิทฺธิพกาภิธานํ
ฯลฯ
คำแปลทั้งหมด: ปางเมื่อพรหมชื่อพกะ ผู้สำคัญตนว่ามีความบริสุทธิ์ มีรัศมี มีอำนาจและมีฤทธิ์ ไม่มีใครยิ่งกว่าเลยเกิดความเห็นผิดไปว่า ชีวิตของพรหมเป็นสัสสตะ เป็นอมตะ เป็นปฏิปักษ์กับพระพุทธศาสนา เปรียบเสมือนว่า ถูกงูกัดเอาที่มือเข้าแล้ว พระจอมมุนีทรงใช้วิธีวางยา คือพระญาณแสดงความรู้ที่กว้างกว่า ลึกกว่า ทำให้พรหมหายความเห็นผิด ได้ชัยชำนะ ด้วยเดชแห่งองค์พระผู้พิชิตพรหมนั้น ขอชัยมงคลจึงมีแก่ท่าน
เอตาปิ พุทฺธชยมงฺคลอฏฺฐคาถา โย วาจโน ทินทิเน สรเตมตนฺที หิตฺวานเนกวิวิธานิ จุปทฺทวานิ โมกฺขํ สุขํ อธิคเมยฺย นโร สปญฺโญ ฯ
แม้นนรชนใดไม่เกียจคร้าน สวดก็ดี ระลึก (คือบริกรรมในใจ) ก็ดี ซึ่งพุทธชัยมงคลคาถา ๘ บทนี้ทุกวันๆ นรชนนั้น จะพึงละล่วงเสียได้ ซึ่งอุปัทวะทุกสิ่งทุกอย่าง จะเป็นผู้มีปัญญา ถึงซึ่งสุขอันเป็นโมกษะ แล ฯ
หมายเหตุ บท “พาหุํ” ที่ประพันธ์เป็นฉันท์ เรียกชื่อว่า วสันตดิลก ทั้ง ๙ คาถานี้ เรียกกันว่า “ถวายพรพระ” จะเป็นชื่อที่เรียกมาแต่ครั้งไหน ก็ยากที่จะสืบสาวได้
ตามรูปความที่แปลไว้นั้น เป็นทำนองว่าเป็นคาถาที่ประพันธ์ขึ้น เพื่ออวยชัยให้พรแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง ตามแบบฉบับของอลังการที่ถูกต้อง กล่าวคือการนำชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในพระประวัติ พร้อมทั้งวิธีที่ทรงชนะมาร ประพันธ์เป็นสัตยาธิษฐานขอให้บันดาลชัยมงคลให้ ทั้งนี้เป็นวิธีการที่ถูกต้อง ตามหลักที่ว่า “ผู้ให้ต้องมีสิ่งที่ตนให้ ไม่มี ก็ให้ไม่ได้” ฉะนั้น จึงต้องอ้างถึงพระอานุภาพของพระพุทธเจ้ามาเป็นหลัก เพราะพระอานุภาพของพระองค์ปรากฏอยู่แล้ว เป็นอันว่าแม้ตนเองจะไม่มี ก็ขอจากผู้ที่มีมาให้ นี้เป็นวิธีที่ถูกต้อง เป็นประการแรก
Create Date : 19 กรกฎาคม 2565 |
Last Update : 25 ธันวาคม 2566 9:56:38 น. |
|
0 comments
|
Counter : 361 Pageviews. |
|
|
|
|
|
|
|
|
|