คาถาที่ ๖ = ๑๙ อารดี วิรตี ปาปา เว้นจากความชั่ว ๒๐. มชฺชปานา จ สญฺญโม เว้นจากการดื่มน้ำเมา ๒๑. อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
คาถาที่ ๗ = ๒๒ คารโว จ ความเคารพ, การแสดงออกที่แสดงถึงความเป็นผู้รู้จักคุณค่าของบุคคล สิ่งของ หรือกิจการนั้นๆ และรู้จักให้ความสำคัญและความใส่ใจเอื้อเฟื้อโดยเหมาะสม ๒๓. นิวาโต จ ความสุภาพอ่อนน้อม, ถ่อมตน ๒๔. สนฺตุฏฺฐี จ ความสันโดษ, ความเอิบอิ่ม พึงพอใจในผลสำเร็จที่ได้สร้างขึ้นหรือในปัจจัยลาภที่แสวงหามาได้ ด้วยเรี่ยวแรงความเพียรพยายามของตนเองโดยทางชอบธรม ๒๕. กตญฺญุตา มีความกตัญญู ๒๖. กาเลน ธมฺมสฺสวนํ ฟังธรรมตามกาล, หาโอกาสแสวงความรู้ ในเรื่องที่แสดงหลักความจริง..
คาถาที่ ๘ = ๒๗. ขนฺตี จ มีความอดทน ๒๘. โสวจสฺสุตา เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย ๒๙. สมณานญฺจ ทสฺสนํ พบเห็นสมณะ, เยี่ยมเยือนเข้าหาท่านผู้สงบกิเลส ๓๐. กาเลน ธมฺมสากจฺฉา สนทนาธรรมตามกาล, หาโอกาสสนทนาถกเถียงเกี่ยวกับหลักความจริงและหลักความถูกต้องดีงาม
คาถาที่ ๙ = ๓๑. ตโป จ มีความเพียรเผากิเลส, รู้จักบังคับควบคุมตน ไม่ปรนเปรอตามใจอยาก ๓๒. พฺรหฺมจริยญฺจ ประพฤติพรหมจรรย์, ดำเนินตามอริยมรรค, การรู้จักควบคุมตนในทางเพศ หรือถือเมถุนวิรัติตามควร ๓๓. อริยสจฺจาน ทสฺสนํ เห็นอริยสัจจ์, เข้าใจความจริงของชีวิต ๓๔. นิพพานสจฺฉิกิริยา จ ทำพระนิพพานให้แจ้ง, บรรลุนิพพาน
คาถาที่ ๑๐ = ๓๕. ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ ถูกโลกธรรม จิตไม่หวั่นไหว ๓๖. อโสกํ จิตไร้เศร้า ๓๗. วิรชํ จิตปราศจากธุลีคือกิเลส ๓๘. เขมํ จิตเกษม.
พระพุทธะแสดงธรรมที่ลุ่มลึกไปตามลำดับ ทางภายนอกที่สัมผัสได้ก็ เช่น ทางสังคม คือ การคบเพื่อน รู้จักสมาคม ฯลฯ ถึงขั้นเข้าใจชีวิต ขั้นจิตถูกโลกธรรมถูกต้องก็ไม่เศร้าโศก เป็นจิตเกษมอยู่ได้
Create Date : 15 ตุลาคม 2565 |
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2565 10:06:09 น. |
|
0 comments
|
Counter : 638 Pageviews. |
|
|
|
|
|
|
|