กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
ธันวาคม 2566
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
20 ธันวาคม 2566
space
space
space

อักษร ก.





   กุศลธรรม    ธรรมที่เป็นกุศล, ธรรมฝ่ายกุศล ธรรมที่ด, ธรรมฝ่ายดี

   กุศลบุญจริยา   ความประพฤติที่เป็นบุญเป็นกุศล, การทำความดีอย่างฉลาด

   กุศลวิตก    ความตริตรึกที่เป็นกุศล, ความนึกคิดที่ดีงาม  มี ๓  คือ  ๑. เนกขัมมวิตก  ความตรึกปลอดจากกาม  ๒. อพยาบาทวิตก  ความตรึกปลอดจากพยาบาท  ๓. อวิหิงสาวิตก  ความตรึกปลอดจากเบียดเบียน

   กัมมัฏฐาน   ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิตใจ และเจริญปัญญา   (นิยมเขียน กรรมฐาน)

   กาย, กาย-  (กายยะ)  น.  ตัว  เช่น  ไม่มีผ้าพันกาย, และ มักใช้เข้าคู่กับคำว่า ร่าง  เป็น ร่างกาย,  ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส  หมายความว่า หมู่, พวก เช่น พลกาย หมู่ทหาร.

   กาย   กอง, หมวดหมู่, ที่รวม, ชุมนุม เช่น สัตวกาย  (มวลสัตว์)  พลกาย  (กองกำลังทหาร) รถกาย  (กองทหารรถ)  ธรรมกาย  (ที่รวมหรือที่ชุมนุมแห่งธรรม)  1.  ที่รวมแห่งอวัยวะทั้งหลาย หรือ ชุมนุมแห่งรูปธรรม  คือ  ร่างกาย  บางทีเรียกเต็มว่า  รูปกาย  2 ประชุมแห่งนามธรรม หรือกองแห่งเจตสิก  เช่น  ในคำว่า “กายปัสสัทธิ”  (ความสงบเย็นแห่งกองเจตสิก)  บางทีเรียกเต็มว่า นามกาย  (แต่ในบางกรณี นามกาย หมายถึง นามขันธ์ ทั้งหมด ทั้ง ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ หรือ ทั้งจิต และเจตสิก)

   นอกจากความหมายพื้นฐาน ๒ อย่างนี้แล้ว ยังมีความหมายปลีกย่อย และความหมายเฉพาะ ตามข้อความแวดล้อมอีกหลายอย่าง  เช่น  ในคำว่า  “กายสัมผัส”  (สัมผัสทางกาย) หมายถึง กายอินทรีย์ที่รับรู้โผฏฐัพพะคือสิ่งต้องกาย,  ในคำว่า  “กายทุจริต”  (ทุจริตด้วยกาย) หมายถึง กายทวาร  ที่ใช้ทำกรรม คือ เคลื่อนไหวแสดงออกและทำการต่างๆ  ในคำว่า  “กายสุข”  (สุขทางกาย)  หมายถึง ทางทวาร ทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย  ซึ่งคู่กับเจโตสุข หรือสุขทางใจ, ในคำว่า  “กายภาวนา”  (การพัฒนากาย)  หมายถึง  อินทรียสังวร คือ ความรู้จักปฏิบัติให้ได้ผลดีในการใช้ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ดังนี้ เป็นต้น

   กรัชกาย  (กะรัดชะ) (แบบ) น. ร่างกาย เช่น เจ้างามยามประจงจัดกรัชกาย. (กลบทบัวบานกลีบขยาย) (ป. ก= สรีร + รช = ธุลี + กาย = กรชกาย = กายอันเกิดด้วยธุลีในสรีระ) (ลิปิ). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย ฯ พ.ศ. 2525

   กรวดน้ำ   ตั้งใจอุทิศบุญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ พร้อมไปกับหลั่งรินน้ำเป็นเครื่องหมาย และเป็นเครื่องรวมกระแสจิตที่ตั้งใจอุทิศนั้นให้แน่วแน่, เริ่มรินน้ำเมื่อพระองค์หัวหน้าเริ่มสวดยถา รินน้ำหมดพร้อมกับพระหัวหน้าสวดยถาจบ และพระทั้งหมดเริ่มสวดพร้อมกัน จากนั้นวางที่กรวดน้ำลงแล้วประนมมือรับพรต่อไป, คำกรวดน้ำอย่างสั้นว่า "อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ"  แปลว่า  "ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่.... (ออกชื่อผู้ล่วงลับ) และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด" จะต่ออีกก็ได้ว่า "สุขิตา โหนตุ ญาตโย"  แปลว่า "ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด"


   กุศล  1.  “สภาวะที่เกี่ยวตัดสลัดทิ้งสิ่งเลวร้ายอันน่ารังเกียจ”  “ความรู้ที่ทำความชั่วร้ายให้เบาบาง"  "ธรรมที่ตัดความชั่วอันเป็นดุจหญ้าคา"  สภาวะหรือการกระทำที่ฉลาด  กอปรด้วยปัญญา หรือเกิดจากปัญญา  เกื้อกูล เอื้อต่อสุขภาพ ไม่เสียหาย ไร้โทษ ดีงาม เป็นบุญ มีผลเป็นสุข, ความดี (กุศลธรรม), กรรมดี (กุศลกรรม)

   ตามปกติ กุศล กับ บุญ เป็นคำที่ใช้แทนกันได้  แต่ กุศล มีความหมายกว้างกว่า คือ กุศล มีทั้งโลกิยะ (กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร)  และโลกุตระ  ส่วน บุญ โดยทั่วไปใช้กับโลกิยกุศล ถ้าจะหมายถึงระดับโลกุตระ มักต้องมีคำขยายกำกับไว้ด้วย เช่นว่า "โลกุตรบุญ"  พูดอีกอย่างหนึ่งว่า บุญ   มักใช้ในความหมายที่แคบกว่า หรือใช้ในขั้นต้นๆ   หมายถึง  ความดีที่ยังประกอบด้วยอุปธิ (โอปธิก) คือ ยังเป็นสภาพปรุงแต่งที่ก่อผลในทางพอกพูน ให้เกิดสมบัติ อันได้แก่ความพรั่งพร้อม เช่น ร่างกายสวยงามสมบูรณ์ และมั่งมีทรัพย์สิน
แต่กุศลครอบคลุม หรือเลยต่อไปถึง นิรูปธิ  (ไร้อุปธิ)  และเน้นที่นิรูปธินั้น คือ มุ่งที่ภาวะไร้ปรุงแต่ง ความหลุดพ้นเป็นอิสระ โดยไปถึงนิพพาน,  พูดอีกอย่างง่ายๆ  เช่นว่า  บุญ มุ่งเอาความสะอาดหมดจดในแง่ที่สวยงามน่าชื่นชม  แต่ กุศล มุ่งถึงความสะอาดหมดจดในแง่ที่เป็นความบริสุทธิ์ ไม่มีอะไรติดค้าง ปลอดโปร่ง โล่ง ว่าง เป็นอิสระ,  ขอให้ดูตัวอย่างที่ บุญ กับ กุศล มาด้วยกันในคาถาต่อไปนี้   (ขุ.อิติ.25/262/290)

     กาเยน กุสลํ กตฺวา    วาจาย กุสลํ พหุํ

     มนสา กุสลํ กตฺวา    อปฺปมาณํ นิรูปธึ ฯ

     ตโต โอปธิกํ ปุญฺญํ    กตฺวา ทาเนน ตํ พหุํ

     อญฺเญปิ มจฺเจ สทฺธมฺเม   พฺรหฺมจริเย นิเวสย

   (ท่านจงทำให้มาก ทั้งด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ ซึ่งกุศล อันประมาณมิได้ (อัปปมาณ แปลว่า มากมาย ก็ได้ เป็นโลกุตระ ก็ได้)  อันไร้  อุปธิ  (นิรูปธิ)  แต่นั้น  ท่านจงทำบุญ อันระคนอุปธิ ให้มาก ด้วยทาน แล้วจง  (บำเพ็ญธรรมทาน) ชักจูงแม้คนอื่นๆ ให้ตั้งอยู่ในพระสัทธรรม ในพรหมจริยะ)

   คาถานี้  แม้จะเป็นคำแนะนำแก่เทวดา ก็ใช้ได้ทั่วไป คือเป็นคำแนะนำสำหรับผู้ที่จะอยู่เป็นคฤหัสถ์ว่า  ในด้านแรกคือด้านหลัก  ให้ทำกุศล  ที่เป็นนิรูปธิ  ซึ่งเป็นการศึกษาหรือปฏิบัติเพื่อให้ได้สาระของชีวิต  โดยพัฒนาตนให้เป็นอริยชน  โดยเฉพาะเป็นโสดาบัน  จากนั้น  อีกด้านหนึ่ง ในฐานะเป็นอริยชน  ก็ทำความดี หรือ กรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ที่มีผลในทางอุปธิ เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุข  ซึ่งเป็นไปตามธรรมดาของมัน  และที่เป็นเรื่องสามัญในสังคมคฤหัสถ์ได้ ไม่เสียหาย  เพราะเป็นผู้มีคุณความดีที่เป็นหลักประกันให้เกิดแต่ผลดีทั้งแก่ตนเอง และแก่สังคมแล้ว, ตรงข้ามกับอกุศล.   เทียบ  บุญ   2.   บางแห่ง   (เช่น ขุ.เถร.26/170/268)  กุศล  หมายถึง  ความเกษม, ความปลอดภัย, สวัสดิภาพ, ความหวังดี, ความมีเมตตา

 




 

Create Date : 20 ธันวาคม 2566
0 comments
Last Update : 20 ธันวาคม 2566 18:08:57 น.
Counter : 172 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space