กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
ตุลาคม 2564
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
9 ตุลาคม 2564
space
space
space

ศ ขึ้นต้น ด

ดวงตาเห็นธรรม     แปลจากคำว่า  ธรรมจักษุ   หมายถึงความรู้เห็นตามเป็นจริงด้วยปัญญาว่า   สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา   สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา

ธรรมจักษุ    ดวงตาเห็นธรรม  คือ ปัญญารู้เห็นความจริงว่า  สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา   สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา;   ธรรมจักษุโดยทั่วไป  เช่น  ที่เกิดแก่ท่านโกณฑัญญะ  เมื่อสดับธรรมจักร  ได้แก่  โสดาปัตติมรรคหรือโสดาปัตติมัคคญาณ   คือ  ญาณที่ทำให้เป็นโสดาบัน

ดับไม่มีเชื้อเหลือ    ดับหมด  คือดับทั้งกิเลสทั้งขันธ์  (= อนุปาทิเสสนิพาน)   


เดน    ของเศษของเหลือที่ไม่ต้องการ, ของเหลืออันเกินจากที่ต้องการ,  “เดน” ตามที่เข้าใจกันในภาษาไทยปัจจุบัน   มีความหมายไม่สู้ตรงกับที่ใช้ในทางพระวินัย    อย่างน้อย  ในภาษาไทย มักใช้แต่ในแง่ที่พ่วงมากับความรู้สึกเชิงว่า ต่ำทราม หรือน่ารังเกียจ   “เดน” ที่ใช้ในทางพระวินัย พึงแยกว่าเป็นคำแปลของคำบาลี ๒ อย่าง คือ

    ๑. ตรงกับคำบาลี  “วิฆาส” หรือ “อุจฉิฏฺฐ” หมายถึง ของเศษของเหลือจากที่กินที่ใช้ เช่น ภิกษุพบเนื้อเดนที่สัตว์กิน  (สีหวิฆาส - เดนราชสีห์กิน พยัคฆวิฆาส - เดนเสือโคร่งกิน โกกวิฆาส - เดนหมาป่ากิน เป็นต้น)   จะให้อนุปสัมบันต้มย่างทอดแกงแล้วฉัน ก็ได้ ไม่เป็นอาบัติ  (วินย.1/137109) มีสิกขาบทห้ามภิกษุณี  มิให้เทหรือสั่งให้เทอุจจาระ ปัสสาวะ  หยากเยื่อหรือขงเป็นเดน ออกไปนอกฝากหรือนอกกำแพง  (วินย.3/175/106...)   มิให้เทของเหล่านี้ลงไปบนพืชพันธุ์ของสดเขียวที่ชาวบ้านปลูกไว้ ทั้งนี้   ภิกษุก็ต้องปฏิบัติตามด้วยเช่นกัน) ฯลฯ


   ๒. ตรงกับคำบาลีว่า  “อติริตฺต” ซึ่งมีรากศัพท์เดียวกับอติเรก หรืออดิเรก แปลว่า ส่วนเกิน เหลือเฟือ เกินใช้ หรือเกินต้องการ   หมายถึงของเหลือ  ซึ่งเกินจากที่ต้องการ  เช่นในคำว่า “คิลานติริตฺต”   ที่แปลว่า   “เดนภิกษุไข้”   ก็คือของเกินฉัน หรือเกินความต้องการของพระอาพาธทั้งนี้   พึงเข้าใจตามความในพระบาลี   

    ดังเรื่องว่า  ภิกษุทั้งหลายนำบิณฑบาตอันประณีตไปถวายพวกภิกษุอาพาธ    ภิกษุอาพาธฉันไม่ได้ดังใจประสงค์   ภิกษุทั้งหลาย  จึงทิ้งบิณฑบาตเหล่านั้นเสีย   พระผู้มีพระภาคทรงสดับเสียงนกการ้องเซ็งแซ่   จึงรับสั่งถามพระอานนท์   เมื่อทรงทราบความตามที่พระอานนท์กราบทูลแล้ว   ได้ทรงอนุญาตให้ฉันอาหารอันเป็นเดน (อติริตต์) ของภิกษุอาพาธได้    แต่ (สำหรับอย่างหลัง)  ทำให้เป็นเดน  โดยบอกว่า “ทั้งหมดนั่น พอแล้ว” และทรงบัญญัติสิกขาบทว่า (วินย.2/500/328)  “ภิกษุใดฉันเสร็จแล้ว   ห้ามภัตแล้ว เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี อันมิใช่เดน เป็นปาจิตตีย์”

ที่ว่าเดน หรือเกินฉัน ก็คือ ๒ อย่าง ได้แก่  เดนของภิกษุอาพาธ  และเดนของภิกษุไม่อาพาธ ดังกล่าวแล้ว   แต่เดนชนิดหลัง คืออติริตต์ ของภิกษุซึ่งมิใช่ผู้อาพาธนั้น จะต้องทำให้ถูกต้องใน ๗ ประการ คือได้ทำให้เป็นกัปปิยะแล้ว, ภิกษุรับประเคนแล้ว, ยกขึ้นส่งให้, ทำในหัตถบาส, เธอฉันแล้วจึงทำ, เธอฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว ยังมิได้ลุกจากอาสนะ ก็ทำ, และเธอกล่าวว่า ”ทั้งหมดนั่น พอแล้ว”

บางทีท่านตัดเป็น ๕ ข้อ คือ ทำให้เป็นกัปปิยะแล้ว ภิกษุรับประเคนแล้ว, (เธอฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว ยังไม่ลุกจากอาสนะ)   ยกขึ้นส่งให้, ทำในหัตถบาส, และกล่าวว่า  ”ทั้งหมดนั่น  พอแล้ว”

 



 


Create Date : 09 ตุลาคม 2564
Last Update : 9 ตุลาคม 2564 20:19:31 น. 1 comments
Counter : 575 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณ**mp5**


 
แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ


โดย: **mp5** วันที่: 12 ตุลาคม 2564 เวลา:10:00:56 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space