กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
ตุลาคม 2564
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
10 ตุลาคม 2564
space
space
space

ภิกขุ, ภิกษุ


ภิกขุ มีรูปวิเคราะห์  ดังนี้
 
ภิกฺขติ สีเลนาติ  ภิกฺขุ  (ผู้ใด)  ย่อมขอโดยปกติ เหตุนั้น  (ผู้นั้น)  ชื่อว่าผู้ขอโดยปกติ. ภิกฺข  ธาตุ ในความขอ
 
สํสาเร ภยํ อิกฺขติ สีเลนาติ  ภิกฺขุ  (ผู้ใด) ย่อมเห็นภัยในสังสารวัฏโดยปกติ เหตุนั้น (ผู้นั้น)  ชื่อว่า ภิกขุ (ผู้เห็นภัยในสังสารวัฏโดยปกติ)  อิกฺข ธาตุ ในความเห็น 

ถาม 450

"ภิกษุ"   แปลเป็นภาษาไทยว่า  "ผู้ขอ"   ในแต่ละวันส่วนมากภิกษุจะขออะไรกับคนบ้างคะ?

ดูนี่ก่อน 450

https://www.facebook.com/Tamujin/videos/972912159929230

     คำถามนั่นคงเกิดจากการตีความ "ภิกขุ"  "ภิกษุ"  ที่แปลว่า ผู้ขอ พอไปตีความดังนั้น  ก็เกิดคำถามอีกว่า   เออก็   ถ้าแปลว่าผู้ขอ    แล้วในแต่ละวันๆ ภิกขุ ขออะไรจากคนจากชาวบ้านกันบ้างคะ/ครับ  ชักสงสัย 

     คำตอบ  ก็ต้องย้อนกลับไปเมื่อครั้งพระบรมศาสดารับอาราธนาจากพระเจ้าสุทโธทนะผู้เป็นพระราชบิดา  ให้กลับบ้านกลับเมืองมาโปรดบ้าง (พระพุทธเจ้ามีชื่อเสียงมีผู้คนนับถือในแคว้นมคธ) พ่อก็แก่แล้ว (พูดกันง่ายๆ)  พระพุทธเจ้าก็พาภิกษุเดินทางกลับบ้านเกิดเมืองนอน  หลังแสดงธรรมโปรดพ่อแล้ว  ก็ออกจากวังโดยไม่มีใครนิมนต์ให้มาฉันเช้า   รุ่งเช้าพระพุทธเจ้าก็ออกบิณฑบาตไปตามบ้านเรือนประชาชนทั่วๆไป    ทีนี้คนในวังเห็นเข้า  ก็รีบไปทูลราชาสุทโธทนะๆ  ก็รีบไปพบแล้วต่อว่า  ทำไมลูกถึงทำอย่างนี้  เราเป็นศากยวงศ์เป็นลูกกษัตริย์ถือภาชนะเที่ยวขอเขากินดังขอทาน  มันไม่สมเกียรติสมศักดิ์ศรีนะลูก  (พ่อว่าเข้าไปนั่น)    

    พระพุทธเจ้าก็ตอบ  ประมาณว่า  อาตมาไม่ใช่ศากยวงศ์แล้ว  นี่เป็นอริยวงศ์เป็นพุทธวงศ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆก็ปฏิบัติ  (บิณฑบาต)  เลี้ยงชีพอย่างนี้ 

        
   ตัดภาพ  (ตัดมาจากหัวข้อใหญ่)  มาที่เนื้อๆนี่

   ครั้งหนึ่ง   พระพุทธเจ้า  เสด็จไปบิณฑบาต  ทรงเข้าไปหยุดยืนในเขตไร่นาของพราหมณ์ผู้หนึ่ง  พราหมณ์กราบทูลว่า  "ข้าพเจ้าไถหว่านแล้วจึงได้กิน   แม้ท่านก็จงไถหว่านแล้วบริโภคเถิด"

   พระพุทธเจ้าก็ตรัสตอบเป็นคำร้อยกรอง   ชี้แจงการไถหว่านของพระองค์   ที่มีผลเป็นอมตะ พราหมณ์เห็นชอบด้วย   เกิดความเลื่อมใส   จึงนำเอาอาหารเข้ามาถวาย  พระพุทธเจ้าไม่รับ โดยตรัสว่า ไม่ควรบริโภคโภชนะที่ขับกล่อมได้มา  (ขุ.สุ.25/297/340)

 
   


สำหรับสมณะหรือผู้สละโลก    การใช้แรงงานในหน้าที่   ไม่เป็นเรื่องของอาชีวะ ไม่มีความมุ่งหมายในด้านอาชีวะ หรือไม่เกี่ยวกับอาชีวะเลย คือ ไม่เป็นไปเพื่อได้ผลตอบแทนเป็นปัจจัยเครื่องยังชีพ แต่เป็นไปเพื่อธรรมและเพื่อผดุงธรรมในโลก ถ้าเอาแรงงานที่พึงใช้ในหน้าที่มาใช้ในการแสวงหาปัจจัยเครื่องยังชีพ กลับถือเป็นมิจฉาชีพ และถ้าใช้แรงงานในหน้าที่เพื่อผลตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ดี ร้องขอปัจจัยเครื่องยังชีพโดยมิใช่เป็นความประสงค์ของผู้ให้ที่จะให้เอง ก็ดี ก็ถือว่าเป็นอาชีวะไม่บริสุทธิ์

โดยนัยนี้ นอกจากมิจฉาชีพอย่างชัดเจน คือการหลอกลวง การประจบเขากิน การเลียบเคียง การขู่เข็ญบีบเอา และการเอาลาภต่อลาภแล้ว การหาเลี้ยงชีพด้วยการรับใช้เขา เช่น เป็นคนเดินข่าว ก็ดี ด้วยการประกอบศิลปะและวิชาชีพต่างๆ เช่น ดูฤกษ์ยามทำนายลักษณะ รักษาโรค ก็ดี ก็จัดเข้าเป็นมิจฉาชีพสำหรับพระภิกษุเหมือนกัน

ภิกษุไม่เจ็บไข้   ขอโภชนะอันประณีตหรือแม้แต่กับข้าวหรือข้าวสุกมา เพื่อตนเอง แล้วฉัน ก็เป็นวิบัติแห่งอาชีวะ เอาธรรมทำเป็นดังสินค้า ก็ผิดจรรยาบรรณนักบวช แม้แต่เพียงแสดงธรรมโดยคิดให้เขาชอบแล้วอาจได้อะไรๆ ก็เป็นธรรมเทศนาที่ไม่บริสุทธิ์ หรือเพียงแต่การให้ของเขามีลักษณะเป็นการให้ค่าตอบแทนก็ไม่เป็นการสมควร

ดังตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดกับพระพุทธเจ้า ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้า เสด็จไปบิณฑบาต ทรงเข้าไปหยุดประทับยืนในเขตไร่นาของพราหมณ์ผู้หนึ่ง พราหมณ์กราบทูลว่า "ข้าพเจ้าไถหว่านแล้วจึงได้กิน แม้ท่านก็จงไถหว่านแล้วบริโภคเถิด"  พระพุทธเจ้าก็ตรัสตอบเป็นคำร้อยกรอง ชี้แจงการไถหว่านของพระองค์ ที่มีผลเป็นอมตะ พราหมณ์เห็นชอบด้วย เกิดความเลื่อมใส จึงนำเอาอาหารเข้ามาถวาย พระพุทธเจ้าไม่รับ โดยตรัสว่า ไม่ควรบริโภคโภชนะที่ขับกล่อมได้มา  (ขุ.สุ.25/297/340)
 
ที่มาอันชอบธรรม   และบริสุทธิ์แท้จริงของปัจจัยเครื่องยังชีพสำหรับพระภิกษุ ก็คือ การที่ชาวบ้านมองเห็นคุณค่าของธรรม และเห็นความจำเป็นที่จะต้องช่วยให้บุคคลผู้ทำหน้าที่ผดุงธรรม มีชีวิตอยู่   และทำหน้าที่นั้นต่อไป   จึงเมื่อรู้ความต้องการอาหารของสมณะเหล่านั้น อันแสดงออกด้วยการเที่ยวบิณฑบาตโดยสงบแล้ว   ก็นำอาหารไปมอบด้วยความสมัครใจของตนเอง โดยที่ผู้ให้หรือผู้ถวายนั้นได้รับผล คือ การชำระจิตใจของตนให้ผ่องใส และชักนำจิตของตนให้เป็นไปในทางสูงขึ้น ด้วยการที่ตระหนักว่า   ตนได้ทำสิ่งที่ดีงาม   ช่วยสนับสนุนผู้บำเพ็ญธรรม และมีส่วนร่วมในการผดุงธรรม เรียกสั้นๆว่า ทำบุญ หรือได้บุญ

ฝ่ายภิกษุผู้รับปัจจัยทานนั้น   ก็ถูกกำกับด้วยหลักความประพฤติเกี่ยวกับปัจจัย ๔ อีกว่า พึงเป็นผู้มักน้อยสันโดษ รู้จักประมาณในการรับปัจจัยสี่เหล่านั้น อันตรงข้ามกับการปฏิบัติหน้าที่ เช่น การสั่งสอนแนะนำแสดงธรรม ซึ่งพึงกระทำให้มากเท่าที่จะทำได้ โดยมุ่งแต่ประโยชน์สุขของผู้รับคำสอนฝ่ายเดียว

เต็มๆ จาก

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=25-05-2021&group=18&gblog=14

ขอโดยปกติ  คือ ไม่ใช่ออกปากขอเขา  หรือร้องขอเขา  เขาจะให้เขาก็นิมนต์  เขาไม่นิมนต์ก็ไม่หยุดไม่รับ  นี่ขอโดยปกติ  

นิมนต์    เชิญ  หมายถึงเชิญพระ   เชิญนักบวช



เกิดคำถามอีก  ว่าทำไมผู้หญิงอยู่สูงกว่าพระ  ไม่บาปหรอ ?  พอ พอ  ไม่ต้องสงสัยแล้ว  110  

บิณฑบาตกลางมหานครนิวยอร์ค

https://www.facebook.com/groups/673152756819987/user/100027238876566/

https://www.facebook.com/100027238876566/videos/699155371046948


พุทธอยู่ถิ่นไหน  มีแต่ร่มเย็น  450

https://www.facebook.com/100010632303875/videos/354977122722578

แต่พึงระวังอยู่อย่างหนึ่ง  คือ ถ้าอยู่ในหมู่พาลจะกลายเป็นอ่อนแอ  

 



Create Date : 10 ตุลาคม 2564
Last Update : 15 ธันวาคม 2564 12:34:41 น. 0 comments
Counter : 587 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space