 "ขอม" กับ "เขมร" เป็นชาติพันธุ์คนละกลุ่มกัน มีตัวตนอยู่คนละยุคสมัย ก่อนการมีแผนที่สมัยใหม่ที่กำหนดโดยพวก "ฝรั่ง"
เมื่อ 1,000 ปีมาแล้วนั้น อาณาบริเวณต่างๆ ในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ยังไม่ระบุชื่อประเทศแน่ชัดแบบทุกวันนี้ เป็นชื่อ ประเทศไทย, กัมพูชา, ลาว, พม่า หรือ มลายู
แต่เรียกในแผนที่ทางภูมิศาสตร์ เป็น อาณาจักรพุกาม, อาณาจักรขอม, อาณาจักรน่านเจ้า เป็นต้น (ดูในแผนที่)
พื้นที่ของสยามรัฐ (หรือประเทศไทย) เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอม มีศูนย์กลางอยู่ตั้งแต่เมืองละโว้ (ลพบุรี) พาดผ่านไปถึงเมืองพระนคร (นครวัด - นครธม) ในปัจจุบัน อยู่ที่เมืองเสียมราฐในกัมพูชา
และไม่เคยมีพรมแดน หรือเส้นแบ่งเขตแดนที่ชัดเจน แต่กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ราบลุ่ม ที่เหมาะทำการการเกษตร ต้องอยู่ใกล้แม่น้ำ เพื่อการยังชีพและเลี้ยงสัตว์ ผู้คนเคลื่อนย้ายชุมชนและถิ่นฐานไปมา โดยไม่จำแนกเผ่าพันธุ์ ที่ใดอุดมสมบูรณ์ก็ตั้งรกรากอยู่กินกันที่นั่น
พร้อมกับการนำ "อารยธรรม" ศาสนา และวิถีชีวิต ไปไว้ ณ ที่นั้นด้วย
"ขอม" กับ "เขมร" จึงเป็นคนละชาติพันธ์ และคนละยุคกัน
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าชาวกัมพูชาตั้งแต่อดีตไม่เคยเรียกตนเองว่า "ขอม" เลย คำว่าขอมนี้ปรากฏเฉพาะก็แต่ในเอกสารของไทยเท่านั้น
โดยอาจจะแผลงมาจากคำว่า "ขแมร์กรอม" ซึ่งหมายถึงเขมรต่ำ ส่วนคำว่าเขมรนั้นเป็นคำที่ชาวเขมรใช้เรียกตัวเอง ซึ่งเห็นได้จากจารึกโบราณหลายหลัก
ชื่อศิลปะเขมร หรือศิลปะขอม จึงเกิดขึ้นจากการใช้ "เชื้อชาติ" มาเป็นชื่อเรียกศิลปกรรม
การเรียกศิลปะกลุ่มนี้ว่าศิลปะเขมร หรือศิลปะขอมนั้น นอกจากกระแสการแบ่งศิลปกรรมออกตามเชื้อชาติแล้ว ยังคำนึงถึงความไม่เหมาะสมของชื่อ ถ้าจะเรียกว่าศิลปะลพบุรี
และตามข้อเท็จจริงแล้ว อาณาจักรขอมโบราณ ที่เคยอยู่ในดินแดนของประเทศไทยนั้น กษัตริย์ของอาณาจักรขอม ได้เป็นผู้อุปถัมภ์ ให้สร้างโบราณสถานวัตถุต่างๆ ที่เรียกว่า "ปราสาท" เหล่านี้ขึ้น
Create Date : 08 กรกฎาคม 2568 |
|
0 comments |
Last Update : 8 กรกฎาคม 2568 11:03:28 น. |
Counter : 32 Pageviews. |
|
 |
|