เมื่อเอ่ยถึง
อินโดนีเซีย ภาพแรกที่หลายคนนึกถึงหนีไม่พ้นผู้
คนสวมฮิญาบหรือ
หมวกกะปิเยาะห์เดินบนท้องถนน โดยมี
มัสยิดที่งดงามตั้งตระหง่านอยู่เบื้องหลัง ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจนัก เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีชาว
มุสลิมมากที่สุดในโลก โดยมีจำนวนกว่า 245,168,323 คน คิดเป็นร้อยละ 87.06 ของประชากรทั้งหมด
อย่างไรก็ดี การเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาซึ่งเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาในปีนี้ถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่โดย InJourney ซึ่งเป็น
รัฐวิสาหกิจที่รับผิดชอบเรื่องการท่องเที่ยวของอินโดนีเซีย ร่วมกับ
สมาคมชาวพุทธของอินโดนีเซีย หรือวาลูบี้ (WALUBI) โดยมี
รัฐบาลกลางและท้องถิ่นให้การสนับสนุน ที่ “บุโรพุทโธ” พุทธสถานที่ใหญ่ที่สุดในโลกและได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น
มรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกเมื่อปี พ.ศ. 2534 ตั้งอยู่ในเมืองยอกยาการ์ตา จังหวัดชวากลาง ทางหน่วยงานบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวของ InJourney (TWC) เปิดเผยว่า วันวิสาขบูชาเป็นวันที่ชาวอินโดนีเซียตั้งตารอคอยและมีนักท่องเที่ยวเดินทางมายังบุโรพุทโธมากกว่า 100,000 คน ระหว่างวันที่ 1-13 พฤษภาคมที่ผ่านมา
งานดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นว่าอินโดนีเซียสามารถก้าวข้ามความแตกต่างที่ไม่จำเป็นต้องนำมาสู่ความขัดแย้งเสมอไป และสะท้อนความเป็นสังคมแห่งพหุวัฒนธรรมของอินโดนีเซียให้เป็นที่ประจักษ์ อย่างแท้จริง เพราะไม่ได้มีแค่พุทธศาสนิกชนที่ศรัทธาเข้าร่วมเท่านั้น แต่รวมถึงชาวมุสลิมและศริสตชน ตลอดจนผู้ที่มีความเชื่ออื่นๆ ด้วย
เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ศาสนิกชนต่างศาสนากว่า 45,914 คน ร่วมสวดมนต์และนั่งสมาธิในแบบพุทธโดยมีพระสงฆ์นำพิธี ร่วมรับน้ำพระพุทธมนต์และชมการแสดงโดรนแปรอักษรทางพุทธศาสนา ขณะที่ยังคงรักษาอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของศาสนาที่ตนนับถือไว้ผ่านการแสดงออกถึงความแตกต่างอย่างภาคภูมิใจ บ่งบอกถึงความงดงามของความหลากหลายที่กลมกลืน โดยมีความเป็นชาวอินโดนีเซียตลอดจนความเป็นมนุษย์ที่มีความประสงค์ในการใฝ่หาความสงบและความสุขจากภายในเป็นกาวประสานผู้คนไว้ด้วยกัน
อินตันกล่าวว่า วันวิสาขบูชาไม่ใช่แค่งานทางพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นการเฉลิมฉลอง ‘เอกภาพในความหลากหลาย’ (Unity in Diversity) แม้ว่าบุโรพุทโธจะเป็นพุทธสถานแต่ร้อยละ 90 ของผู้ที่ดูแลสถานที่แห่งนี้เป็นชาวมุสลิม ถือเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าชาวอินโดนีเซียสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด และยินดีในการร่วมการรักษามรดกโลกของประเทศให้ยังคงสามารถดำรงอยู่ต่อไปได้
ขณะที่ฮัน เซทยาวัน นักโบราณคดีและผู้ประสานงานกลุ่มปฏิบัติการอนุรักษ์วัดบุโรพุทโธ ระบุว่า บุโรพุทโธไม่ใช่แค่วัดของศาสนาพุทธเท่านั้นแต่เป็นของชาวอินโดนีเซียทั้งหมด การบำรุงรักษาพุทธสถานดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามคุณค่าของการการให้ความเคารพต่อบรรพบุรุษของชาติ
ด้าน มายา วาโตโน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Injourney กล่าวว่า ช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาสะท้อนให้เห็นคุณค่าของการยอมรับความแตกต่างและความหลากหลาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของอัตลักษณ์ชาวอินโดนีเซีย พร้อมกล่าวว่าการที่มีผู้คนเข้าร่วมงานอย่างล้มหลามครั้งนี้ตอกย้ำบทบาทของบุโรพุทโธ ที่ไม่ใช่แค่ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวอันทรงคุณค่า แต่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อมโยงผู้คนที่มีวิถีชีวิตที่หลากหลายเข้าด้วยกัน
‘วิสาขบูชาในอินโดนีเซีย’ บทสะท้อนเสน่ห์แห่งพหุวัฒนธรรมทำไมอินโดนีเซียถึงเปลี่ยนจากพุทธ ไปนับถืออิสลาม?! #ทำไมไดอะรี่ I แค่อยากเล่า...◄1822►ชาวพุทธในอินโดนีเซียร่วมฉลองวันวิสาขบูชาที่บุโรพุทโธ | ทันโลก กับ Thai PBS | 12 พ.ค. 68"จันทิ" พุทธและฮินดู มหาศรัทธาเเห่งชวากลาง I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.269