 |
|
|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | |
|
 |
|
|
ตรงนี้ อยากจะพูดเจาะเฉพาะนิดหน่อย คือ ที่บอกว่า ไม่ทำชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส นั้น ถ้าพูดในแง่ความประณีต พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง จากหยาบมาหาละเอียด คือ
๑. ไม่ทำชั่ว นี่คือ หยาบที่สุด พอไม่ทำชั่วแล้ว
๒. ทำความดีให้ถึงพร้อม ก็ประณีตขึ้นมา เมื่อไม่ทำชั่ว ต่อนั้นไปก็ตั้งใจทำความดีให้สมบูรณ์ ทำทุกอย่าง มีดีอะไรให้ทำก็ทำ เมื่อทำกุศล คือทำแต่ความดี ก็ประณีตขึ้น แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์
๓. ในขั้นที่ละเอียดประณีต ต้องทำใจให้บริสุทธิ์หมดจดอีกขั้นหนึ่ง จึงจะหลุดพ้นจากความชั่ว และตั้งอยู่ในความดีได้จริงแท้และยั่งยืน
หลักปฏิบัตินี้ ถ้าว่าโดยลำดับ ก็คือจากหยาบไปหาละเอียด เพราะฉะนั้น ท่านจึงเทียบว่าเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา
ไม่ทำชั่ว ก็อยู่ในระดับศีล ทำดีให้ถึงพร้อม ก็อยู่ในระดับจิตใจ เรียกว่าสมาธิ แล้วก็ทำใจให้ผ่องใส คือทำใจให้บริสุทธิ์จากโมหะ การที่โมหะจะหมดไป ก็ต้องมีปัญญา ในที่สุดจึงต้องถึงขั้นปัญญา
คำสอนที่มีความสมบูรณ์ต้องครบถ้วนทุกระดับอย่างนี้ จึงทำให้มีข้อสังเกตว่า คนทำความดีนั้นยังไม่สมบูรณ์ ถ้าตราบใดยังไม่ชำระใจให้ผ่องใส มองในแง่หนึ่ง เราอาจจะเทียบกับเรื่องคณิตศาสตร์
๑. ไม่ทำชั่ว ก็เป็นลบ ความชั่วเป็นสิ่งที่ไม่ดี เป็นเรื่องที่ลบอยู่แล้วในตัว เมื่อเราไปลบเจ้าตัวลบนั้น ก็กลายเป็นบวก ลบกับลบกลายเป็นบวก อันนี้คือไม่ทำชั่ว
๒. ทำความดีให้ถึงพร้อม นี่เป็นบวก บวกๆ ให้มากขึ้นไป ตัวบวกนี่บวกต่อไปก็เพิ่มเรื่อย คือ เพิ่มพูนความดีให้ยิ่งขึ้นไปๆ
๓. ทำใจให้บริสุทธิ์ ตอนนี้เป็นความว่างเลย ไม่บวกไม่ลบแล้ว
ถ้าบวกอยู่ ก็ยังไม่สมบูรณ์ ก็บวกกันเรื่อยไป และบวกบางทีมีปัญหาเหมือนกัน เดี๋ยวจะอธิบาย ถ้าบวกมากนักบางทีก็เสียดุล พอเสียดุลก็เกิดความยุ่งยาก
เพราะฉะนั้น การทำความดีจึงต้องระวังเหมือนกัน หลักของพระพุทธศาสนาก็คือการแสดงความจริงตามธรรมดาของธรรมชาติ ซึ่งต้องมองหลายชั้นหลายเชิง หลายแง่หลายมุม
การทำความดี ทำมากเกินไปแล้วเสียดุล ก็เสีย ทำความดีแต่ทำไม่ถูกที่ถูกทางก็เสียได้ ทำความดีแต่ไม่เป็นธรรมานุธรรมปฏิบัติ ก็มี คือ เป็นการปฏิบัติธรรมไม่ถูกหลัก โบราณเรียกว่า “ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม” แล้วเราทำไม่ได้ตามนั้น ก็เสียอีก ดังนั้น ปฏิบัติธรรม แม้จะเป็นการทำความดีก็ต้องระวัง
อีกอย่างหนึ่ง ความดี หรือกุศลนั้น เป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลได้ด้วย อกุศลก็เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ความดีก็เป็นปัจจัยให้เกิดความชั่วได้ ความชั่วก็เป็นปัจจัยให้เกิดความดีได้
จะยกตัวอย่างให้ง่ายที่สุดสักข้อหนึ่งในเรื่องนี้ เพื่อจะให้เห็นความสมบูรณ์ในการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า

- ข้อต่อๆไป
Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2568 |
Last Update : 14 กุมภาพันธ์ 2568 6:57:18 น. |
|
0 comments
|
Counter : 108 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|