กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
บุญ
ข้อธัมม์ที่ถาม-เถียงกันบ่อย
หลักปฏิบัติ
สภาวธรรม
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ผู้พิพากษาตั้งตุลา ใ ห้ สั ง ค ม ส ม ดุ ล
คติธรรมสั้นๆ
ภาษาธรรมวันละคำ
รู้เขา รู้เรา
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน,
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
พลังดันคน
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
สวดมนต์
ความจน เ ป็ น ทุ ก ข์ ใ น โ ล ก
เรียนบาลีเพื่อรักษาพุทธพจน์
ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะพินาศ
หลักธรรมสำหรับผู้ยังไม่นับถือศาสนาใดๆ
ก่อนศึกษาพุทธธรรม
ภาค ๑. มัชเฌนธรรมเทศนา
ภาค ๒. มัชฌิมาปฏิปทา
ภาค ๓. อารยธรรมวิถี
วัฒนธรรมประเพณี
จารึกธรรม
สมาธิ,ฌาน
เขาว่า ถ้าพุทธมีหลักธรรมดีจริง คงไม่ 0 สิ้นจากถิ่นเกิด
ภาวะแห่งนิพพาน
ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม
คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์
จงกรม ไม่ใช่ จงกลม
กรรมฐาน
สติปัฏฐาน
ศีลสำหรับประชาชน
วิธีการแห่งศรัทธา (ปรโตโฆสะที่ดี)
วิธีการแห่งปัญญา (โยนิโสมนสิการ)
ทางดำเนินชีวิตสายกลาง
คุณสมบัติบุคคลโสดาบัน
กาม
ความสุข
อริยสัจ ๔
ธรรมฉันทะ - ตัณหาฉันทะ
กรรม
เถรวาท VS ลัทธิอาจารย์
นิพพาน-อนัตตา ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท
ภาวนา ๔ ภาวิต ๔
สมถะ,วิปัสสนา,เจโตวิมุตติ,ปัญญาวิมุตติ
อนัตตา
สมมุติ
ศีล-สีลัพพตปรามาส
นรก สวรรค์ ในพระไตรปิฎก
วันสำคัญของชาวพุทธไทย
วิธีฝึกหูทิพย์ ตาทิพย์
ลำดับญาณ,ทวนญาณ
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะ ศ.ประจำชาติ
พฤศจิกายน 2567
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
9 พฤศจิกายน 2567
ใจความปฐมเทศนา
คำถวายดอกไม้ธูปเทียน วันอาสาฬหบูชา
คำถวายดอกไม้ธูปเทียน วันมาฆบูชา
คำถวายดอกไม้ธูปเทียน วันวิสาขบูชา
ทำการบูชาให้สมค่าของวันวิสาขบูชา
ค.ม.วันวิสาขบูชา ในแง่ปรากฏการณ์ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ
ความหมายวันวิสาขบูชา ในแง่คติจากพระชนมชีพของพระบรมศาสดา
วันวิสาขบูชา,ความสำคัญของวันวิสาขบูชา
คติธรรมวันสงกรานต์
เรื่องของวันตรุษวันสงกรานต์
สารธรรมวันมาฆบูชา
เทศกาลท้ายฝน
วันเข้าพรรษา
ประเพณีวันอาสาฬหบูชา
ความสำคัญของอาสาฬหบูชา
ความหมายของอาสาฬหบูชา
ผลจากการแสดงปฐมเทศนา
ใจความปฐมเทศนา
ต้นกำเนิดวันอาสาฬบูชา
เรื่อง ตักบาตรเทโว
เรื่อง ปวารณา
เรื่อง กฐิน
อารัมภบท
ใจความปฐมเทศนา
- ต่อ
ใจความของปฐมเทศนา
ปฐมเทศนา
หรือที่เรียกตามชื่อเฉพาะว่า
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
นั้น แสดงหลักธรรมสำคัญ ๒ ประการ คือ
(ก)
มัชฌิมาปฏิปทา
คือ ข้อปฏิบัติที่เป็นกลางๆ หรือทางสายกลาง
(ข)
อริยสัจจ์ ๔
คือ หลักความจริงของอริยชน ๔ อย่าง หรือสัจธรรม ๔ ข้อ ซึ่งทำให้ผู้ที่รู้กลายเป็นอารยชน
ก. ที่เรียกว่า
ทางสายกลาง
หรือ มัชฌิมาปฏิปทา ก็เพราะเป็นทางดำเนินชีวิต หรือข้อปฏิบัติที่เป็นกลางๆ ถูกต้อง พอเหมาะพอดีที่จะให้บรรลุผลสำเร็จถึงจุดหมาย มิใช่เป็นการปฏิบัติ หรือ
การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ๒ อย่าง
อย่างหนึ่งอย่างใด คือ
๑. การหมกมุ่นมัวเมาอยู่กับความสุขทางกาย ลุ่มหลงใน
รูป รส กลิ่น เสียง
และ
สัมผัส
เพลิดเพลินในการปรนเปรอปล่อยใจให้โลดไปตามกระแสกิเลส สยบตัวลงเป็นทาสของโลก และเนื้อหนัง อุทิศชีวิตของตนให้แก่การแสวงหาเชื้อเพลิงมาเติมไฟกิเลส ทุ่มเทพลังงานเพื่อการติดตามกินเหยื่อล่อ
ในวิถีชีวิตอย่างนี้คนต่างก็เที่ยวไขว่คว้าเก็บเอาสิ่งต่างๆมากมายมาพอกพูนห่อหุ้มตัวจนหนาหนักและกินที่ ทั้งที่สิ่งเหล่านี้ไม่อาจรวมเข้าเป็นเนื้อตัวแท้จริงของตนได้และผูกมัดตัวติดกับสิ่งเหล่านั้นอย่างเหนียวแน่น จนกลายเป็นก่อความทุกข์ให้แก่ตนเอง หมดความปลอดโปร่ง ไม่เป็นอิสระ เป็นภาระท่วมทับสลัดไม่ออก และยังให้โทษแก่ผู้อื่นด้วย โดยทำให้หลงลืมที่จะเหลียวแลกันเสียบ้าง ให้เก็บเอาสิ่งเกินความจำเป็นมาพอกพูนเต็มล้นเสียที่เดียว จนขาดแคลนแก่ที่อื่นบ้าง ให้แย่งชิงเบียดเบียนข่มเหงวิวาทกัน เพราะต่างฝ่ายต่างก็จะเอาบ้าง
รวมความว่า เป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นใน
กามสุข
เรียกเป็นคำศัพท์ว่า
กามสุขัลลิกานุโยค
๒. การสร้างความยากลำบากแก่ตน เหนื่อยแรงเสียเปล่าด้วยการเชื่อถือ ประพฤติปฏิบัติตัว ดำเนินชีวิตในทางที่ไขว่เขวเฉไถล เลี่ยงหลบหรือข้ามเลยไปเสียจากชีวิตจริง ปฏิบัติไปอย่างมืดบอดตามที่สักแต่ว่ายึดมั่นถือมั่นเอาไว้ ดำเนินไปสู่จุดหมายที่เลื่อนลอย นำมาซึ่งผลที่ไม่ตรงกับจุดหมาย และไม่บังเกิดคุณค่าแท้จริงแก่ชีวิต ทำให้หลงเตลิดหนักยิ่งขึ้น ตัวอย่าง เช่น
๑)
อย่างหยาบ
ที่สุด ที่มองเห็นง่าย เป็นรูปธรรม เช่นบำเพ็ญตบะ ทรมาน บีบคั้นร่างกายด้วยประการต่างๆ มีการอดอาหาร ยืนกลางแดด นอนบนหนาม เป็นต้น ด้วยหวังจะให้กิเลสแห่งเหือดหาย และทำให้จิตหลุดพ้นจากพันธนาการของกายอย่างที่ปฏิบัติกันแพร่หลายในประเทศอินเดียสมัยโบราณ และยังมีอยู่มากมายจนกระทั่งบัดนี้ ซึ่งพระพุทธเจ้าเคยทรงทดลองปฏิบัติมาแล้วในระยะ ๖ ปี แห่งการคิดค้นแสวงหา
ตบะ
นั้น เป็น
ลัทธิ
ที่หลงเตลิดไป เพราะมอง
เห็นความสัมพันธ์
ระหว่าง
กาย
กับ
จิต
อย่างผิดพลาด เป็นการเอียงสุดอีกด้านหนึ่ง โดยเข้าใจผิดไปว่า เมื่อกายขาดการบำรุงแล้ว จิตก็ขาดเครื่องบำรุงกิเลสไปด้วย จึงสามารถบริสุทธิ์หลุดพ้นอิสระ เป็นความเชื่อถือตรงข้ามกับพวกที่เห็นเอียงสุดไปอีกด้านหนึ่งว่า เมื่อกายได้รับการบำรุงดีแล้ว จิตพลอยได้รับการบำรุงด้วย ก็จะดีไปเอง
สำหรับคนสองพวกนี้ สิ่งที่ดีสำหรับพวกหนึ่ง กลายเป็นชั่วร้ายสำหรับอีกพวกหนึ่ง สิ่งชั่วร้ายสำหรับพวกหนึ่ง กลายเป็นสิ่งดีที่ต้องการสำหรับอีกพวกหนึ่ง ต่างก็ไม่รู้ไม่เข้าใจตามความเป็นจริงว่า กายกับจิตเป็นสิ่งสัมพันธ์กันก็จริง แต่ความดีงามและชั่วร้ายที่เกิดจากความสัมพันธ์นั้น ก็เป็นสิ่งสัมพันธ์ ต้องอาศัยปัจจัยอย่างอื่นประกอบด้วย
จิตใจ
และ
ชีวิต
จะก้าวไปในคุณความดีได้เบื้องต้นต้องอาศัยการที่มีปัจจัยสิ่งบำรุงกายส่วนหนึ่งก่อน
แต่ปัจจัยที่บำรุงกายนั้น ก็มีขอบเขตของความจำเป็นที่จัดได้ว่าเป็นความพอดีอยู่ในระดับหนึ่ง
เมื่อ
มีปัจจัยบำรุงกาย
พร้อมถึงระดับที่ว่านี้แล้ว
วัตถุ
จะเป็นอุปกรณ์สำหรับชีวิตที่จะก้าวหน้างอกงามสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นคุณก็ได้ หรืออาจทำให้จิตใจตกเป็นทาสของวัตถุพอกพูนความทุกข์ความชั่วร้ายก็ได้ ทั้งนี้ต้องอาศัยการชักนำของปัจจัยอย่างอื่นด้วย ทั้งที่เป็นสิ่งแวดล้อม และที่อยู่ภายใน
พวกที่มองความสำคัญเฉพาะแต่ความเพียบพร้อมทาง
วัตถุ
เป็นเกณฑ์ตัดสิน ย่อมกลายเป็นพวก
เอกันตวาท
ในฝ่าย
วัตถุนิย
มทางเศรษฐกิจ
พวกที่มองแต่ความสำคัญของจิต โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยที่อุดหนุนกาย ย่อมกลายเป็นพวก
เอกันตวาท
ในฝ่าย
จิตนิยม
ต่างก็เป็นพวกที่มองโลกและชีวิตสุดทางไปคนละซีก
๒) ใน
ทางนามธรรม
ซึ่งเป็นขั้นละเอียดลึกซึ้ง มีการขบคิดถกเถียงปัญหาทางอภิปรัชญา พยายามเข้าถึงสิ่งที่เหตุผลหยั่งไม่ถึงด้วยการถกเถียงหาเหตุผล พยายาม
หาคำตอบให้แก่ปัญหา
ที่ตนตั้งขึ้นจากความ
ไม่รู้
หรือ
เข้าใจผิด
พยายามอธิบายสิ่งที่มองไม่เห็นให้เห็นด้วยคำพูด
วิถีความคิดแบบนี้ทำให้ใช้เวลาสิ้นเปลืองไปด้วยการคาดคะเนและตีวาทะเกี่ยวกับปัญหาที่พิสูจน์ไม่ได้และไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นคุณประโยชน์อะไรแก่ชีวิต ทำให้หลงใหลเพลิดเพลินอยู่กับความคิดที่เลื่อนลอยห่างไกลชีวิตจริง ทำให้ทุกข์ยากลำบากจิตเหนื่อยสมอง เหนื่อยความคิดเปล่าๆ ได้แก่ ทฤษฎี ที่เรียกว่า
อันตคาหิกทิฏฐิ
หรือปัญหาที่เรียกว่า
อัพยากตปัญหา
เช่น ปัญหาเกี่ยวกับมูลการณ์ (ต้นกำเนิด) และปริโยสาน (ที่สิ้นสุด) ของโลก
๓) อย่างตื้นลงที่เป็นเรื่องใกล้เข้ามาในทางปฏิบัติ คือ การคอยพึ่งอาศัยอำนาจของสิ่งลึกลับศักดิ์สิทธิ์ ที่มองไม่เห็น และอยู่พ้นวิสัย โดยหวังการอ้อนวอนหรือความขลังมาช่วยบันดาลให้ได้สำเร็จผลที่ปรารถนา
ความเชื่อและหวังพึ่งแบบนี้ ถ้าเป็นอย่างรุนแรง ย่อมทำให้มอบตัวมอบความไว้วางใจแก่สิ่งนั้นสิ้นเชิง ไม่คิดและไม่ลงมือทำการแก้ปัญหาด้วยเรี่ยวแรงความเพียรพยายามของตนเอง จัดว่าเป็นความงมงาย ตัวอย่างในพุทธกาล เช่น
ลัทธิบูชาไฟ
อย่างเพลาลงมา ในฐานะที่เป็นปุถุชนผู้อยู่ใต้อำนาจอวิชชา ซึ่งยังระแวงระวังต่อสิ่งที่มองไม่เห็น และยังไม่เข้มแข็งพอก็เพียงแค่อาศัยสิ่งลึกลับไว้เสริมกำลังใจ ในการกระทำกิจซึ่งตนลงมือกระทำอยู่แล้ว
แต่จะในกรณีใดก็ตาม ก็ยังเป็นการกระทำที่ไม่ดำเนินไปด้วยความรู้ความเข้าใจ ยังเป็นการแก้ปัญหาอย่างมองไม่เห็นว่าการแก้ดำเนินไปอย่างไร และตนเองเข้าไปจัดการอะไรไม่ได้จึงจัดเข้าในพวกสร้างความลำบากเสียแรงเปล่า
การดำเนินชีวิต หรือประพฤติในแบบที่ก่อความทุกข์ยากลำบากเดือดร้อนแก่ตน เหนื่อยแรง เหนื่อยสมอง เหนื่อยความคิดเหล่านี้มีชื่อเรียกเป็นคำศัพท์ว่า
อัตตกิลมถานุโยค
ขอปฏิบัติในทางพุทธศาสนา ละเว้น ห่างจากความประพฤติปฏิบัติที่เอียงสุดเหล่านี้ จึงเรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” แปลว่า ข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง หรือทางสายกลาง
ผู้ที่งอกงามในพระพุทธศาสนา ก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งละเว้นข้อปฏิบัติที่เอียงสุดได้มากขึ้นเท่านั้นโดยลำดับ ถ้าถึงขั้นเป็นบรรพชิต คือบวชในพระธรรมวินัยแล้ว ก็ถือว่าไม่ควรข้องแวะทีเดียว ควรดำเนินแน่วแน่มั่นคงในมัชฌิมาปฏิปทา
ประการสำคัญ
มัชฌิมาปฏิปทา
นี้ เป็นทางแห่งปัญญา ยิ่งเข้าถึงมัชฌิมาปฏิปทามากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งทำการต่างๆ ด้วยความรู้ความเข้าใจ ด้วยการใช้ปัญญา และแก้ปัญหาด้วยปฏิบัติการที่อยู่ในวิสัยของตนมากขึ้นเท่านั้น
มัชฌิมาปฏิปทา
เป็นทางดำเนินชีวิตด้วยปัญญา มีปัญญาเป็นฐาน เป็นมรรคาที่นำไปสู่จุดหมายได้ และก่อให้เกิดคุณค่าแก่ชีวิตอย่างแท้จริง โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ๘ ประการ ทำให้ผู้ดำเนินตามเป็นอริยะ หรืออารยะ อย่างแท้จริง จึงเรียกเป็นคำศัพท์ว่า
อริยอัฏฐังคิกมัคค์
กล่าวคือ
๑.
สัมมาทิฏฐิ
เห็นชอบ คือรู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
๒.
สัมมาสังกัปปะ
ดำริชอบ คือคิดสุจริต ตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
๓.
สัมมาวาจา
เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
๔.
สัมมากัมมนตะ
กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
๕.
สัมมาอาชีวะ
อาชีพชอบ คือประกอบสัมมาชีพ ทำอาชีพที่สุจริต
๖.
สัมมาวายามะ
พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
๗.
สัมมาสติ
ระลึกชอบ คือทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
๘.
สัมมาสมาธิ
ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตได้แน่วแน่มั่นคง ไม่ฟุ้งซ่าน
องค์ประกอบ ๘ ประการของมรรคนี้ แต่ละข้อมีรายละเอียดพิสดาร
เพราะเป็นประมวลข้อปฏิบัติหรือหลักจริยธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนา ในที่นี้ มิใช่โอกาสที่จะพรรณนาความพิสดารในเรื่องนี้
จึงกล่าวถึงแต่เพียงความหมายสั้นๆ ไว้ก่อน
ขอย้ำเพียงว่า
มรรคา
นี้เริ่มต้นด้วย
ปัญญา
และมีปัญญาเป็นรากฐาน องค์ประกอบข้อแรกจึงเป็นเรื่องของปัญญา คือ
สัมมาทิฏฐิ
"สัมมาทิฏฐิ" นี้ อย่างง่ายๆ หมายถึง ความเห็นที่ถูกต้องตามคลองธรรม เช่น เชื่อหลักกรรม เห็นว่า ทำดีเกิดผลดีทำชั่วเกิดผลชั่ว เป็นต้น
แต่ในความหมายที่ตรงหลักวิชายิ่งขึ้น ท่านอธิบายว่า
สัมมาทิฏฐิ
คือ รู้ทุกข์ รู้สมุทัย รู้นิโรธ รู้มรรค หรือมองเห็นความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายตามความสัมพันธ์สืบทอดของเหตุปัจจัยที่เรียกว่า
ปัจจยาการ
หรือ
ปฏิจจสมุปบาท
พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ เมื่อประสบสิ่งติดขัดเป็นปัญหา พึงกำหนดรู้ ตามความเป็นจริงให้เห็นชัดก่อนว่า อะไรเป็นตัวปัญหา ปัญหานั้นมีขอบเขตแค่ไหนเพียงไร (ทุกข์) แล้วศึกษาให้รู้ต่อไปว่า ปัญหานั้นเกิดจากมูลเหตุอะไร มีอะไรเป็นสมุฏฐาน (สมุทัย) แก้ไขได้ หรือไม่ ที่จุดใด จุดหมายคืออะไร (นิโรธ) มีวิธีการแก้ไขให้บรรลุถึงจุดหมายได้อย่างไร ตามรายละเอียดลำดับขั้นตอนอย่างไร (มรรค)
พูดอีกนัยหนึ่งว่า วิเคราะห์ปัญหาตามกระบวนการของเหตุปัจจัยว่า ปัญหานั้นมีองค์ประกอบอะไร องค์ประกอบเหล่านั้นสัมพันธ์กันอย่างไร เป็นเหตุปัจจัยแก่กันอย่างไรจึงก่อให้เกิดปัญหาขึ้น เมื่อจะแก้ไขหรือดับปัญหา จะต้องแก้ที่องค์ประกอบหรือจุดไหนให้ต่อเนื่องกันไปอย่างไร (ปฏิจจสมุปบาท)
การประพฤติปฏิบัติ หรือดำเนินชีวิตตามหลักองค์มรรค ๘ ประการ โดยเริ่มด้วยมีความรู้ความเข้าใจเป็นพื้นฐานอย่างนี้ย่อมเป็นการแก้ปัญหา หรือการทำให้ไม่มีปัญหาอยู่ในตัว เป็นการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์หรือดำเนินชีวิตอย่างไม่มีทุกข์โดยตัวของมันเองอยู่ตลอดเวลา
ถ้าสังเกต จะเห็นได้ว่า
มรรคาสายกลาง
นี้ เป็นเรื่องของการกระทำในชีวิตจริง และอยู่ในวิสัยของมนุษย์ทั้งสิ้น กล่าวคือองค์มรรคทั้ง ๘ ข้อ เป็นข้อปฏิบัติสำหรับคนทุกคน และทุกคนปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องอ้อนวอน คอยการบันดาล หรือรอใครมาช่วยทำให้ เป็นข้อปฏิบัติที่ทำได้ภายในขอบเขตของชีวิตนี้ วางไว้สำหรับชีวิต เป็นเรื่องของชีวิตโดยตรง เป็นระบบการดำเนินชีวิตที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะมองเห็นความสำคัญทั้งของ
วัตถุและของจิตใจ
ครอบคลุมทั้ง
ด้านกายและด้านจิต
มรรคา
นี้ เป็นระบบ
จริยธรรม
และระบบ
การศึกษา
ที่สมบูรณ์ เพราะสอนให้
ฝึกฝนอบรมระเบียบวินัย
ทาง
กาย วาจา
และ
อาชีพ
(ศีล) ให้
ฝึกฝน
ระเบียบวินัยทาง
จิตใจ
สร้างความเจริญงอกงาม และความเข้มแข็งมั่นคงทางด้านคุณธรรม (สมาธิ) และให้
ฝึกฝน
อบรมปัญญา สร้างความรู้ความเข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง เพื่อมีชีวิตอยู่อย่างผู้ที่รู้เท่าทันโลกและชีวิตรู้จักร่วมมือกับธรรมชาติเพื่อดำรงอยู่ด้วยกันได้อย่างกลมกลืนประสานประโยชน์ และรักษาอิสรภาพของทั้งสองฝ่าย (ปัญญา)
ทางสายกลาง
นี้ เป็นระบบที่มีขอบเขตจํากัด แต่ยืดหยุ่นอย่างกว้างขวางมาก คืออยู่ในวงจํากัดของความดีงามและแนวทางของ
ศีล สมาธิ ปัญญา
แต่ผู้ที่ประพฤติดำเนินชีวิตอยู่ในระบบ สามารถดำรงอยู่ ณ ตำแหน่งต่างๆ ที่ห่างกันได้หลายขั้น หลายระดับ แล้วแต่ความพร้อมของตน
ดังตัวอย่าง เช่นว่า ถ้าจะอยู่ครองเรือนก็ได้ แต่พึงประพฤติธรรมให้ถูกหน้าที่ที่จะเป็นคนครองเรือนที่ดี
ถ้าเบื่อหน่ายชีวิตเหย้าเรือน หรือต้องการแสวงสุขทางจิตอย่างสูง ก็สามารถออกบวชครองเพศบรรพชิต ถ้าเบื่อหน่ายอีกก็สามารถสละเพศออกมาเป็นชาวบ้านได้
ถ้ามีคุณสมบัติมีความสามารถ และพอใจจะเป็นนักปกครอง ก็ดำรงตำแหน่งหน้าที่ปกครองได้ แต่ต้องบริหารอำนาจและโภคทรัพย์ให้เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน มิใช่บริหารประชาชนให้เป็นไปเพื่ออำนาจ และโภคทรัพย์ของตน ดังนี้ เป็นต้น
ระบบแห่งมรรค ประกอบด้วยสภาพการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันหลากหลาย แต่ทั้งหมดรวมอยู่กลมกลืนเข้าได้ในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นับเป็นระบบที่มีความเสมอภาคเพราะทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมที่จะอยู่ ณ ที่ต่างๆ กัน เพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่กัน โดยสวมหน้าที่ที่เหมาะสมกับฐานะนั้น
มรรคานี้เป็นระบบที่ให้เสรีภาพอย่างสูง เพราะเปิดโอกาสแก่การเลือกโดยสมัครใจ แต่มิใช่เลยขอบเขตจนกลายเป็นตามอำเภอใจ เพราะเมื่อสมัครใจเลือกเอาอย่างใดแล้ว ก็มีความผูกพันที่จะทำให้ถูกให้ชอบต่อภาวะอย่างนั้นด้วย
มรรค
เป็นระบบที่ไม่มีการบีบบังคับ แต่ก็มิใช่ปล่อยเรื่อยเปื่อยไปตามใจชอบ เพราะเป็น
ระบบแห่งการฝึกฝน
จึงแนะนำ กระตุ้นเตือนเร่งเร้าให้ฝึกอบรมแก้ไขปรับปรุงตนให้ก้าวหน้าขึ้นสู่ความดีงามที่ยิ่งๆ ขึ้นไปอยู่เสมอ จนกว่าจะบรรลุถึงจุดหมายสูงสุดของมรรคา ที่เรียกว่า
มัชฌิมาปฏิปทา
นั้น
ข.
อริยสัจจ์ ๔
แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ หรือความจริงของอริยะ หรือสัจธรรมที่รู้แล้วจะทำให้กลายเป็นอริยะหรืออารยชน ๔ ประการ
อริยะ
หรืออารยชน คือบุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ห่างไกลอวิชชา ห่างไกลวิหิงสา เป็นผู้เจริญแล้วอย่างแท้จริง จะเป็นอริยะหรืออารยชนที่แท้จริงได้ก็ต้องรู้เข้าใจความจริง และดำรงชีวิตอยู่อย่างสอดคล้องกับความจริงของชีวิต ที่จะทำให้ชีวิตเป็นอิสระหลุดพ้นจากความมืดบอด เป็นไท ไม่ต้องฝากความวางใจไว้กับอำนาจลึกลับพ้นวิสัยอย่างใดๆ
อริยสัจจ์ ๔
ประการนั้น คือ
๑)
ทุกข์
ได้แก่ ปัญหาทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นแก่มนุษย์ในรูปของความบีบคั้น ขัดข้อง ติดขัด อัดอั้นต่าง ๆ
บุคคลจะต้องกำหนดรู้
หรือ
ทำความรู้จักมัน
ให้
รู้เท่าทันตามความเป็นจริง
ว่า มันคืออะไร อยู่ที่ไหน และแค่ไหนเพียงไร กล่าวคือ ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง แม้จะเป็นสิ่งที่นึกว่าน่ากลัว ไม่เป็นที่ชอบใจ
เริ่มต้น
ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
สภาวะ
ของสิ่งทั้งหลาย ที่รวมเรียกว่าโลก และ
ชีวิต
นี้ว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ล้วนเกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ปรุงแต่งกันเข้า ไม่เที่ยงแท้ ไม่ยั่งยืน ไม่คงตัว และหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปต่างๆ ตามเหตุปัจจัยที่เข้ามาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ไม่มีหยุดนิ่ง
สิ่ง
ทั้งหลายก็ตาม
ชีวิตนี้ที่เรียกตัวเองว่าฉัน ว่าเราก็ตาม ไม่มีอำนาจในตัวเองเด็ดขาด
ไม่เป็นตัวเองโดยสิ้นเชิง ที่จะเรียกร้องสั่งบังคับให้สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น รวมทั้งสิ่งที่เรียกว่าตัวเองให้เป็นไปตามปรารถนา
สิ่งทั้งหลายมันเป็นของมันอย่างนั้นเอง
ตามเหตุตามปัจจัย ไม่เกี่ยวกับความชอบใจหรือไม่ชอบใจของเรา เมื่อเหตุปัจจัยมาประจวบให้ปรากฏในรูปที่ตรงกับใจปรารถนา เราก็ชอบใจ เมื่อปรากฏในรูปที่ไม่ตรงกับใจปรารถนา เราก็ไม่ชอบใจ
เมื่อ
ยึดถือติดคา
อยู่ว่าจะต้องเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งมั่นหมายลงไป ครั้นสิ่งต่างๆ นั้นหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ตรงกับที่ยึดอยากมั่นหมาย เราก็ถูกบีบคั้นกดกระชาก บดขยี้ เป็นภาวะที่เรียกว่าความทุกข์ ซึ่งโดยสาระก็เป็นเพียงความขัดแย้งกระทบฉีกกระชากกัน ระหว่างอาการเปลี่ยนแปลงแปรผ่านไปของสิ่งทั้งหลาย กับเส้นเชือกแห่งความยึดความอยากที่เราสร้างขึ้นเท่านั้นเอง
การที่จะแก้ไขป้องกันปัญหา หรือความทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้น มิใช่ไปนั่งปั่นเส้นเชือกแห่งความยึดความอยาก แล้วเอาไปผูกรัดเหนี่ยวรั้งสิ่งทั้งหลายไว้ซึ่งมีแต่ทำให้เหนื่อยเปล่า ซ้ำจะถูกฉุดกระชากเอาไปบดขยี้ ทำให้ทุกข์ทรมานยิ่งขึ้นอีก
วิธีที่ถูกต้อง
คือ
รู้เข้าใจเท่าทันความจริง
ของสิ่งเหล่านั้น รู้เหตุปัจจัยของภาวะที่เป็นไปอย่างนั้น รู้ว่าอะไรจะเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้ แค่ไหนเพียงไร แล้วเข้าไปจัดการกับสิ่งเหล่านั้น ตรงตัวเหตุตัวปัจจัย ที่จะให้เป็นไปอย่างนี้หรืออย่างนั้น ตามที่รู้เข้าใจชัดแล้วนั่นเอง
๒)
สมุทัย
ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา เมื่อรู้เท่าทันความทุกข์ เข้าใจปัญหาแล้ว ก็สาวหาสาเหตุของทุกข์ หรือต้นตอของปัญหาต่อไป ตามหลักแห่งความสัมพันธ์สืบทอดของเหตุปัจจัย หรือตามหลักใหญ่ที่ว่า
ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุและจะดับไปเพราะเหตุดับ
วิเคราะห์ให้เห็นชัดว่าอะไรบ้างเป็นปัจจัย ปัจจัยไหนเป็นตัวการสำคัญเจ้าบทบาทใหญ่ ปัจจัยเหล่านั้นสัมพันธ์สืบทอดกันมาอย่างไร จึงปรากฏออกมาเป็นรูปปัญหาอย่างนั้น
เมื่อว่าโดยรวบรัด ตัวการสำคัญแห่ง
ทุกข์ของชีวิต
ก็คือ
ตัณหา
หรือเส้นเชือกแห่งความอยาก ที่มนุษย์เอาไปเกี่ยวเกาะคล้องรัดสิ่งทั้งหลายนั้นเอง
ปัจจัยตัวการนี้สัมพันธ์สืบทอดกันมากับปัจจัยอื่นๆ โดยเฉพาะที่สำคัญยิ่ง คือ
อวิชชา
ความไม่รู้ ความไม่มีปัญญา ไม่ใช้ปัญญา จึงปรากฏเป็นปัญหาในรูปต่างๆ ที่เรียกรวมๆ กันว่า
ทุกข์
ความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัยที่จะต้องรู้ในข้อนี้ มีชื่อเฉพาะว่า
ปฏิจจสมุปบาท
๓)
นิโรธ
ได้แก่ ความดับทุกข์ ภาวะที่สิ้นปัญหา หรือภาวะที่ว่างโล่งปลอดโปร่งจากปัญหา เริ่มด้วยชีวิตที่เป็นอิสระ ไม่ถูกฉุดกระชากลากไปด้วยเส้นเชือกแห่งความอยาก มีจิตใจเบิกบาน ผ่องใส สะอาด สงบ ด้วยความเป็นอยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา
๔)
มรรค
ได้แก่ มรรคาอันนำไปสู่ความดับทุกข์ หรือกระบวนวิธีแห่งการแก้ปัญหา กล่าวคือ มรรคามีองค์ ๘ ประการ หรือ มัชฌิมาปฏิปทาที่กล่าวแล้วข้างต้นนั่นเอง
มรรคานี้ เป็นระบบจริยธรรมทั้งหมดของพระพุทธศาสนาหรือทางดำเนินชีวิตของชาวพุทธ ซึ่งมีปัญญาคือความรู้ความเข้าใจเท่าทันสภาวะของสิ่งทั้งหลาย เป็นพื้นฐาน และเป็นแกนนำ
ชาวพุทธที่แท้ ต้องเจริญก้าวหน้าเติบโตขึ้นเรื่อยไปในวิถีการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ถ้าแต่ก่อนเป็นอยู่ด้วยความเขลางมงายมาก เคยทำได้แค่นั่งถือเส้นเชือกแห่งความอยาก คอยคล้องรัดสิ่งต่างๆ อยู่เรื่อยๆ ต่อไปนี้จะต้องมีพลังใจเข้มแข็ง ฝึกฝนตนให้ใช้ปัญญามากขึ้น มีความรู้เท่าทันโลกและชีวิตมากขึ้น เรียนรู้วิธีคิดแบบวิเคราะห์เหตุปัจจัยให้มากขึ้น เข้าเกี่ยวข้องจัดการกับสิ่งต่างๆ ที่ตัวเหตุตัวปัจจัยด้วยความรู้ความเช้าใจให้มากขึ้น ทำจิตใจให้ปลอดโปร่งผ่องใสเป็นอิสระได้บ่อยครั้งขึ้น
อย่างน้อย เมื่อปั่นเส้นเชือกรัดตัวขึ้นแล้ว ก็รู้จักตัดเชือกนั้นในคราวที่ควรจะตัดได้บ้าง
การที่
จะดำเนินชีวิตด้วยปัญญาที่รู้เท่าทัน มีจิตใจเป็นอิสระ สงบ สะอาด ใสสว่างอยู่เสมอนั้น โดยปกติมิใช่เป็นสิ่งที่ทำได้เร็วพลันทันที
เพราะ
การดำเนินชีวิตแห่งปัญหาเป็นสิ่งที่
เราสั่งสมสร้างมาด้วยอาศัยความเคยชิน
ตลอดเวลายาวนาน
การที่จะแก้ไขชำระล้างหรือ
เดินทางใหม่ จึงต้องอาศัยวินัย
ความเข้มแข็งมั่นคง และการ
ฝึกหัด
อยู่เสมอให้เคยชินอย่างใหม่ขึ้นมาแทน
ด้วยเหตุดังนี้ กระบวนการฝึกอบรมในวิถีแห่งมรรค จึงประกอบด้วยหลักการที่เรียกว่า
สิกขา ๓ ศีล สมาธิ
และ
ปัญญา
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการฝึกหัดนี้ คือความมีสติ ผู้
ฝึกตน
ควรพยายามสร้างสติขึ้นไว้เสมอๆ
สติ
เป็นตัวยั้งจากทางผิดและชักเข้าสู่ทางถูก เมื่อสติเกิดแล้ว นั่นคือตัดเส้นเชือกที่รัดตัวเสียได้ปัญญาจะตามมาละลายล้างทางผิดและส่องทางถูก
จากนั้น
อาศัยสมาธิ
คือความแน่วแน่มั่นคงเข้มแข็งของจิตใจ ก็จะใช้วิริยะ คือ ความเพียร เดินรุดหน้าไปในทางถูก หันห่างทางผิดไกลออกไปโดยลำดับ
เมื่อทำได้สม่ำเสมอ ผลสำเร็จก็จะตามมา คือความเป็นชาวพุทธที่สมบูรณ์และชีวิตที่เป็นสุขตามอริยมรรคา
ที่กล่าวมานี้ คือการทำความเข้าใจกันอย่างสังเขปเกี่ยวกับมัชฌิมาปฏิปทา และอริยสัจจ์ ๔ ที่เป็นใจความของปฐมเทศนา
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
Create Date : 09 พฤศจิกายน 2567
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2567 16:19:21 น.
0 comments
Counter : 68 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com