 |
|
|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | |
|
 |
|
|
- ต่อ
ข) คาถาที่ ๒ คือตอนกลาง
เมื่อทรงแสดงหลัก และลักษณะสําคัญที่เป็นจุดปรากฏของศาสนาแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงหลักขั้นปฏิบัติการของพระพุทธศาสนา โดยตรัสต่อไปว่า
สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ
การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ การทำความดีหรือกุศลให้ถึงพร้อม ๑ การทําใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส ๑ นี้เป็นคําสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พระองค์ไม่ได้ตรัสว่า เป็นคําสอนของพระพุทธเจ้าองค์นี้ แต่พระองค์ตรัสว่า พุทฺธานํ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ไม่ว่าพระพุทธเจ้าองค์ไหนก็สอนอย่างนี้หมด
คาถานี้ เป็นคาถาที่ชาวพุทธรู้จักมากที่สุด และพระก็นิยมเอามาย้ำ เพราะเป็นหลักที่จะนําไปปฏิบัติ คาถาที่หนึ่งข้างต้นนั้น แสดงลักษณะสําคัญของพระพุทธศาสนา ส่วนคาถาที่สองนี้ เป็นคําสอนภาคปฏิบัติเลยว่า คนเราจะต้องทําอะไรบ้าง
๑. ไม่ทําชั่ว
๒. ทําความดี
๓. ทําใจให้ผ่องใส
สามอย่างนี้จํากันได้ดี เพราะฉะนั้น ก็ไม่ต้องอธิบายมาก แต่อาจจะย้อนกลับมาพูดอีกทีหนึ่ง
Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2568 |
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2568 8:44:33 น. |
|
0 comments
|
Counter : 25 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
|
|
|