กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2568
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
232425262728 
space
space
12 กุมภาพันธ์ 2568
space
space
space

คาถาที่ ๑

ต่อ

     อย่างที่กล่าวแล้ว ในวันมาฆบูชา หรือวันมาฆปูรณมี  พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ที่เรียกว่า โอวาทปาติโมกข์  (โอวาทปาฏิโมกข์ก็เขียนบ้าง) คือคําสอนแม่บท หรือคําสอนสําคัญที่เป็นหลักเป็นประธาน   เราจึงควรศึกษาเรื่อง โอวาทปาติโมกข์กันบ้าง  ได้บอกเมื่อกี้นี้ว่า โอวาทปาติโมกข์  ประกอบด้วยคาถาสามคาถากึ่ง หรือ จะเรียกว่าเป็น ๓ ตอนก็ได้ 

     เรื่องที่จะอธิบายนี้   อย่าเพิ่งถือเป็นเรื่องหนักสมอง  เวลาพูดให้ฟังอย่างนี้  ก็รู้สึกว่ายากเหมือนกัน  แต่ขอให้ฟังผ่านๆ ไว้ก่อน  เดี๋ยวจึงค่อยจี้จุดที่ต้องการให้รู้อีกทีหนึ่ง

     ลําดับความว่า ในคาถา ๓ ตอนนั้น

ก) คาถาที่ ๑ ซึ่งเป็นตอนแรกว่า

        ขนฺตี  ปรมํ  ตโป ตีติกฺขา

        นิพฺพานํ  ปรมํ  วทนฺติ  พุทฺธา

        น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี

        สมโณ โหติ  ปรํ  วิเหฐยนฺโต ฯ

     คาถาแรกนี้  แสดงอะไรบ้าง ตอบสั้นๆว่า แสดงลักษณะของพระพุทธศาสนา ที่ต่างจากศาสนาพื้นเดิมที่มีอยู่

     พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นใหม่  เมื่อจะแสดงหลักการของพระพุทธศาสนา จุดแรกก็คือ การแยกออกจากศาสนาเดิม ซึ่งจะเป็นข้อสําคัญที่จะให้ชาวพุทธรู้จักตัวเอง คือ รู้จักหลักคําสอนของพระพุทธเจ้าให้ถูกต้อง  มิฉะนั้น  เดี๋ยวจะเอาคําสอนของพระพุทธเจ้าไปเที่ยวปะปนกับลัทธิอื่นๆ

     คําสอนข้อแรก บอกว่า ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา แปลว่า ขันติ  คือ ความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง

     อธิบายว่า ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมานั้น ข้อปฏิบัติสำคัญในศาสนาพื้นเดิมก็คือ เขาชอบบำเพ็ญตบะ  การบำเพ็ญตบะนี้เป็นที่นิยมกันนักหนาว่า  เป็นทางที่จะทำให้บรรลุความบริสุทธิ์หลุดพ้นถึงจุดหมายของศาสนา ศาสนาในยุคนั้นจึงมีการบําเพ็ญตบะกันมาก

     พระพุทธเจ้าได้ทรงประทานคําสอนใหม่ว่า  การที่มาทรมานร่างกายของตนเองด้วยประการต่างๆ เช่น อดข้าว กลั้นลมหายใจ นอนบนหนาม ลงอาบแช่น้ำในฤดูหนาว ยืนตากอยู่กลางแดดในฤดูร้อน อะไรทํานองนี้ไม่ใช่หนทางที่จะทําให้ตรัสรู้ได้   Facebook

     ขอให้สังเกตว่า นักบวชเชน แม้แต่สมัยปัจจุบัน ก็ยังใช้วิธีบําเพ็ญตบะอยู่ เช่น จะโกนผม เขาก็ไม่ใช้มีดโกน แต่เขาถอนผมออกมาทีละเส้นๆ

     อย่างที่เราพบ ที่เรียกว่า สาธวี  ที่มานั่งอยู่ในพิธีเมื่อเช้านี้ที่นาลันทา ที่แต่งชุดขาว แล้วมีอะไรปิดที่จมูกหรือปาก นั่นน่ะ เป็นนักบวชหญิงของเชน  นิกายเศวตัมพร หรือเสตัมพร แปลว่า นุ่งขาว ห่มขาว   ถ้าเป็นอีกนิกายหนึ่ง  ก็เรียกว่า ทิคัมพร แปลว่า นุ่งทิศ คือนุ่งลมห่มฟ้า หมายความว่าไม่นุ่งผ้าเลย

     พระพุทธเจ้าตรัสว่า  การบําเพ็ญตบะทรมานร่างกาย ไม่ใช่วิถีทางแห่งความหลุดพ้น ที่จะเข้าถึงจุดหมายของศาสนา  การที่ตรัสคาถานี้ขึ้นมา ก็เพื่อที่จะให้เกิดความรู้เข้าใจลักษณะที่แตกต่างของพระพุทธศาสนาตั้งแต่ต้น  เริ่มแต่ในด้านวิธีปฏิบัติ  พระองค์จึงตรัสแทนใหม่ว่า ขนฺตี  ปรมํ  ตโป ตีติกฺขา

     “ขันติ”  คือ  การอดได้  ทนได้   นี่แหละ  เป็นตบะอย่างยิ่ง  ตบะไม่อยู่ที่การทรมานร่างกาย แต่อยู่ที่ขันติ  คือความอดทน  โดยใช้สติปัญญา  ทําความเพียรด้วยความเข้มแข็งในจิตใจ โดยมุ่งมั่นที่จะทําการนั้นให้สําเร็จด้วยความอดทน   อย่างนี้จึงจะเป็นตบะจริง ไม่ต้องไปเที่ยวทรมานร่างกายของตน  เมื่อตรัสอย่างนี้ ก็เป็นการบอกให้รู้ไปด้วยว่า  การบําเพ็ญตบะ  อย่างที่เขานิยมทํากันนั้น ไม่มีในพระพุทธศาสนา

     จากข้อปฏิบัติ พระพุทธเจ้าก็ก้าวไปสู่จุดหมายของพระพุทธศาสนา โดยตรัสว่า นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ  พุทฺธา  แปลว่า  พระพุทธเจ้าทั้งหลาย  ตรัสว่านิพพานเป็นบรมธรรม คือนิพพานเป็นธรรมอันสูงสุด หรือ เป็นธรรมอย่างยิ่ง  ข้อนี้  คือ การแสดงจุดหมายของพระศาสนาว่า ได้แก่ พระนิพพาน  ไม่ใช่ลัทธิไปสู่พระพรหมอะไร 

     สมัยนั้น  ศาสนาพราหมณ์เขาถือว่า  จุดหมายของศาสนา  คือ พรหมสหัพยตา  ได้แก่ ภาวะที่รวมเข้ากับพรหม  คำสอนอย่างนี้ท่านคัดค้านไว้ในพระสูตร   เช่นอย่างเตวิชชสูตร ในพระไตรปิฎกทีฆนิกาย เป็นต้น ซึ่งพูดถึงเรื่องพราหมณ์ที่พยายามจะเข้าถึงพรหม ไปอยู่ร่วมกับพระพรหม ด้วยวิธีต่างๆ แล้วพราหมณ์ก็เถียงกันเองว่าวิธีของใครถูกต้อง

     การเข้ารวมกับพระพรหม หรือการเข้าถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับพรหม หรือการเข้าถึงพรหมนั่น  เป็นจุดหมายของศาสนาพราหมณ์  ซึ่งมีอยู่ก่อนพระพุทธเจ้าของเราอุบัติขึ้น

     พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า  เราจะเข้ารวมกับพรหมได้ ก็ด้วยการสร้างความเป็นพรหมให้มีในตัว หรือทําตัวให้เป็นพรหม หรือให้เหมือนกันกับพรหม  ด้วยการเจริญพรหมวิหารธรรม

     
อย่างไรก็ตาม การเข้ารวมกับพรหมก็ยังไม่ใช่อิสรภาพแท้จริง  เราสามารถกล่าวเลยกว่านั้นไปอีก และพระองค์ก็ได้ตรัสแสดงจุดหมายของพระพุทธศาสนาว่า  ได้แก่  นิพพาน  เป็นการบอกให้รู้ชัดไปเลย ไม่ใช่เพียงไปเข้ารวมกับพรหม

     ต่อไป  สิ่งที่ปรากฏของศาสนาข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ นักบวช  ในข้อนี้เราต้องชัดว่า คนประเภทใด  มีลักษณะอย่างไร  จัดว่าเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา

     พระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นหลักว่า คนที่จะเป็นบรรพชิตนั้น ไม่เป็นผู้ทําร้ายผู้อื่น ถ้าเป็นผู้ที่ทําร้ายเบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ หมายความว่า นักบวช หรือสมณะ หรือบรรพชิต มีลักษณะสําคัญอยู่ที่การไม่ทําร้ายคนอื่น  ไม่เบียดเบียนใคร  เป็นผู้ไม่มีภัยมีเวร  เป็นแบบอย่างของการนําสังคมไปสู่สันติ

     ลักษณะสําคัญของพระภิกษุ หรือความเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ไม่ได้อยู่ที่การเป็นสื่อกลางระหว่างเทพเจ้ากับมนุษย์  ต่างจากในศาสนาพราหมณ์ที่นักบวชทําหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างพระพรหม กับ มนษย์ เป็นตัวแทนของเทพเจ้าหรือของสวรรค์ ในโลกมนุษย์ หรือเป็นผู้ผูกขาดพระเวท อันเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่เทพเจ้าสูงสุดเปิดเผยแก่พราหมณ์

     ความเป็นนักบวช เป็นบรรพชิต เป็นสมณะ ไม่ได้อยู่ที่การเป็นตัวแทนสวรรค์ หรือเป็นเจ้าพิธี หรือการมีอํานาจศักดิ์สิทธิ์อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ หรือการปลีกตัวหลีกหนีสังคมไปเข้าฌานอยู่ในป่า เป็นต้น  แต่อยู่ที่การทําสันติให้ปรากฏในชีวิตที่เป็นจริง

 


Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2568
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2568 8:26:02 น. 0 comments
Counter : 36 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space