กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
บุญ
ข้อธัมม์ที่ถาม-เถียงกันบ่อย
หลักปฏิบัติ
สภาวธรรม
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ผู้พิพากษาตั้งตุลา ใ ห้ สั ง ค ม ส ม ดุ ล
คติธรรมสั้นๆ
ภาษาธรรมวันละคำ
รู้เขา รู้เรา
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน,
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
พลังดันคน
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
สวดมนต์
ความจน เ ป็ น ทุ ก ข์ ใ น โ ล ก
เรียนบาลีเพื่อรักษาพุทธพจน์
ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะพินาศ
หลักธรรมสำหรับผู้ยังไม่นับถือศาสนาใดๆ
ก่อนศึกษาพุทธธรรม
ภาค ๑. มัชเฌนธรรมเทศนา
ภาค ๒. มัชฌิมาปฏิปทา
ภาค ๓. อารยธรรมวิถี
วัฒนธรรมประเพณี
จารึกธรรม
สมาธิ,ฌาน
เขาว่า ถ้าพุทธมีหลักธรรมดีจริง คงไม่ 0 สิ้นจากถิ่นเกิด
ภาวะแห่งนิพพาน
ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม
คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์
จงกรม ไม่ใช่ จงกลม
กรรมฐาน
สติปัฏฐาน
ศีลสำหรับประชาชน
วิธีการแห่งศรัทธา (ปรโตโฆสะที่ดี)
วิธีการแห่งปัญญา (โยนิโสมนสิการ)
ทางดำเนินชีวิตสายกลาง
คุณสมบัติบุคคลโสดาบัน
กาม
ความสุข
อริยสัจ ๔
ธรรมฉันทะ - ตัณหาฉันทะ
กรรม
เถรวาท VS ลัทธิอาจารย์
นิพพาน-อนัตตา ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท
ภาวนา ๔ ภาวิต ๔
สมถะ,วิปัสสนา,เจโตวิมุตติ,ปัญญาวิมุตติ
อนัตตา
สมมุติ
ศีล-สีลัพพตปรามาส
นรก สวรรค์ ในพระไตรปิฎก
วันสำคัญของชาวพุทธไทย
วิธีฝึกหูทิพย์ ตาทิพย์
ลำดับญาณ,ทวนญาณ
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะ ศ.ประจำชาติ
ระดับของผู้บรรลุนิพพาน
พฤศจิกายน 2567
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
11 พฤศจิกายน 2567
เทศกาลท้ายฝน
วันเข้าพรรษา
คำถวายดอกไม้ธูปเทียน วันอาสาฬหบูชา
คำถวายดอกไม้ธูปเทียน วันมาฆบูชา
คำถวายดอกไม้ธูปเทียน วันวิสาขบูชา
ทำการบูชาให้สมค่าของวันวิสาขบูชา
ค.ม.วันวิสาขบูชา ในแง่ปรากฏการณ์ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ
ความหมายวันวิสาขบูชา ในแง่คติจากพระชนมชีพของพระบรมศาสดา
วันวิสาขบูชา,ความสำคัญของวันวิสาขบูชา
คติธรรมวันสงกรานต์
เรื่องของวันตรุษวันสงกรานต์
สารธรรมวันมาฆบูชา
เทศกาลท้ายฝน
วันเข้าพรรษา
ประเพณีวันอาสาฬหบูชา
ความสำคัญของอาสาฬหบูชา
ความหมายของอาสาฬหบูชา
ผลจากการแสดงปฐมเทศนา
ใจความปฐมเทศนา
ต้นกำเนิดวันอาสาฬบูชา
เรื่อง ตักบาตรเทโว
เรื่อง ปวารณา
เรื่อง กฐิน
อารัมภบท
เทศกาลท้ายฝน
เทศกาลท้ายฝน
ชีวิตของชาวไทยในชนบท ซึ่งเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ และส่วนมากเป็นชาวไร่ชาวนา ต้องพึ่งฟ้าพึ่งฝน ฤดูฝนจึงเป็นฤดูกาลสำคัญ เป็นฤดูกาลที่หล่อเลี้ยงชีวิตของประชาชน บรรยากาศที่ชุ่มฉ่ำ และพืชพันธุ์ธัญญาหารที่งอกงามเขียวขจีในฤดูนี้ เป็นเครื่องชุบกายและฟื้นใจให้สดชื่นมีชีวิตชีวา
แต่ในเวลาเดียวกัน ถนนหนทางและพื้นแผ่นดินที่เฉอะแฉะ มีโคลนเลน เป็นหลุมเป็นบ่อ ก็เป็นอุปสรรคแก่การเดินทาง และการดำเนินชีวิตในที่แจ้ง ทำให้เกิดความอึดอัดขัดข้อง ไม่คล่องแคล่วสะดวกดาย
พระภิกษุทั้งหลาย ซึ่งในยามปกติ ย่อมเที่ยวจาริกไปในถิ่นต่างๆ เพื่อปฏิบัติศาสนกิจเผยแพร่พุทธธรรม ครั้นฤดูฝนย่างเข้ามา ก็หยุดสัญจร เข้าพำนักอยู่ประจำที่ ณ วัดใดวัดหนึ่งตลอดเวลา ๓ เดือน เพื่อหลีกเว้นเหตุที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่พืชพันธุ์ที่พึ่งจะเริ่มงอกงาม และเปิดโอกาสให้ชาวชนบทประกอบการกสิกรรมโดยไม่ต้องห่วงกังวลถึงพระสงฆ์ที่จะเดินทางออกไปต่างถิ่น หรือเข้ามาจากถิ่นอื่นๆ อีกทั้งตัวพระสงฆ์นั้นเอง ก็ไม่ต้องประสบปัญหาอันเกิดจากการเดินทางที่ยากลำบากด้วย
นอกเหนือจากเหตุผลอันเกี่ยวด้วยดินฟ้าอากาศแล้ว การที่พระสงฆ์หยุดอยู่ประจำที่ในฤดูฝน ได้อำนวยโอกาสให้กิจกรรมเกี่ยวกับการศึกษาและปฏิบัติธรรมในแต่ละท้องถิ่นดำเนินไปได้อย่างเข้มแข็งจริงจังยิ่งขึ้น
พระสงฆ์ที่เป็นผู้ใหญ่ มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญในธรรมวินัย เป็นนักเผยแผ่ ก็ได้มีโอกาสหยุดพักผ่อน ทบทวนงาน คิดการที่จะทำต่อไป และอำนวยความรู้ความชำนาญแก่พระสงฆ์อื่นที่พำนักร่วมอยู่
พระสงฆ์ที่มีความรู้ความชำนาญน้อยลงมา ก็มีโอกาสที่จะได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และปรึกษาสอบถามท่านผู้มีความรู้ความชำนาญมากกว่า
แม้พุทธศาสนิกชนชาวบ้านทั้งหลาย ก็มีโอกาสได้สดับธรรม และสนทนาสอบถามเรื่องราวทางพระศาสนากับพระสงฆ์ผู้อยู่ประจำที่ได้สม่ำเสมอยิ่งขึ้น
นอกจากนั้น ยังได้
เกิดประเพณีที่ให้ชายหนุ่มอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์แล้วอุปสมบท
เพื่อรับการศึกษาอบรมทางพระศาสนาอย่างจริงจัง ดังที่เรียกกันมาว่า
บวชเรียน
ในช่วงที่มีบรรยากาศเหมาะสมนี้อีกด้วย
เพราะเหตุที่เทศกาลฝน หรือเทศกาลพรรษา มีความหมายและคุณค่าอย่างนี้ ในสมัยต่อมา แม้ปัญหาเกี่ยวด้วยดินฟ้าอากาศจะลดความสำคัญลง แต่ความหมายของเทศกาลพรรษา ก็ยังทรงคุณค่าอยู่ได้อย่างมั่นคง
ปีหนึ่ง มี ๑๒ เดือน พระสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆ ประมาณ ๘-๙ เดือน อยู่ประจำที่ในเทศกาลพรรษา ๓ เดือน
เสมือนว่า ทำงานนอกสถานที่ ๓ ส่วน ในสถานที่ ๑ ส่วน ทำงานกระจายเพื่อประชาชนทั่วไป ๓ ส่วน ทำงานเจาะจงเพื่อชุมชนหนึ่งโดยเฉพาะ ๑ ส่วน ออกไปเผื่อแผ่แจกให้เขา ๓ ส่วน กลับมาตระเตรียมฟื้นตัวใหม่ ๑ ส่วน ในลักษณะหนึ่ง เป็นเหมือนเครื่องประจุไฟฟ้า (แบตเตอรี่) ที่จ่ายกระแสไฟฟ้าไประยะหนึ่งแล้วกลับมาอัดกระแส เตรียมพร้อมที่จะใช้งานใหม่ต่อไป
เทศกาลพรรษา เริ่มต้นด้วยงานพิธีเป็นเครื่องหมายให้รู้กัน ฉันใด ก็สิ้นสุดลงด้วยมีงานพิธีเป็นเครื่องหมาย ฉันนั้น เริ่มต้นพรรษาเรียกว่า
เข้าพรรษา
สิ้นสุดพรรษา เรียกว่า
ออกพรรษา
อย่างไรก็ดี ลักษณะงานพิธี สาหรับเริ่มต้นพรรษา และสิ้นสุดพรรษานั้น หาได้เหมือนกันอย่างแท้จริงไม่
เมื่อเริ่มต้นพรรษา มีวันหนึ่งกำหนดไว้โดยเฉพาะสำหรับเริ่มต้น เรียกว่าเข้าพรรษา (แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘) และพิธีกรรมก็เป็นพิธีสำหรับเข้าพรรษา โดยพระสงฆ์กล่าวคำแสดงความตั้งใจ หรือตัดสินใจว่า “ข้าพเจ้าจะจำพรรษาตลอดเวลา ๓ เดือนในวัดนี้”
เมื่อสิ้นสุดพรรษา วันที่พรรษาสิ้นสุดลงมีจริง เรียกว่า
วันออกพรรษา
(ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) แต่พิธีกรรมที่จะให้พรรษาสิ้นสุดลงหามีไม่ เพราะเมื่อวันเวลาที่อยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนเต็มตามที่กล่าวคำตั้งใจแล้ว การจำพรรษา ย่อมสิ้นสุดลงโดยตัวของมันเอง เป็นของอัตโนมัติ
แทนที่จะมีพิธีสำหรับให้พรรษาสิ้นสุดลง กลับมีงานมีพิธีที่มีลักษณะเป็นการเริ่มต้น คือเริ่มต้นเวลาหลังจากพรรษาสิ้นสุดแล้ว
พูดอีกอย่างหนึ่งว่า มีพิธีเริ่มต้นเวลาในพรรษา ที่เรียกว่า
เข้าพรรษา
กับ พิธีเริ่มต้นเวลานอกพรรษา ที่จะพูดถึงต่อไป
พิธีเริ่มต้นเวลานอกพรรษานั้น มีความหมายเชื่อมโยงเวลาในพรรษา กับ เวลานอกพรรษา ให้สัมพันธ์กัน คือ อ้างอิงหรืออาศัยเวลาที่ผ่านมาในพรรษานั้นเป็นฐาน เพื่อเริ่มต้นกิจการงานในเวลานอกพรรษา ที่จะมีมาต่อไป ให้ได้ผลดี
วัสสานกาล
หรือ
พรรษากาล
หรือ
ฤดูฝน
นั้น ความจริงมี ๔ เดือน พระสงฆ์จำพรรษาเพียง ๓ เดือน
เดือนสุดท้ายของฤดูฝนจึงยังเหลืออยู่ ๑ เดือน ขอเรียกว่า เดือนท้ายฝน (แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) เป็นเดือนที่เหลือไว้เตรียมตัวให้พร้อม สำหรับงานหรือศาสนกิจนอกพรรษาต่อไป งานพิธีในเวลาช่วงนี้ขอเรียกว่า เทศกาลท้ายฝน
พิธีกรรม และงานพิธีในท้ายฝนนี้มีถึง ๓ อย่าง บางอย่างเป็นพิธีที่ต้องทำในวันสิ้นสุดพรรษา บางอย่างทำได้ตลอดเดือนท้ายฝน บางอย่างเป็นพิธีตามบทบัญญัติในวินัยของพระสงฆ์ บางอย่างเป็นพิธีอันมีมาตามประเพณี บางอย่างเป็นทั้งบทบัญญัติในวินัยสงฆ์ และเป็นพิธีอันมีมาตามประเพณี
พิธีกรรม และงานพิธี ๓ อย่างนี้ มีชื่อว่า
พิธีมหาปวารณา
(เรียกง่ายๆ ว่า พิธีปวารณา) งาน
ตักบาตรเทโวโรหณะ
(ชาวบ้านเรียกว่า ตักบาตรเทโว) และงาน
ทอดกฐิน
งานใดเป็นอย่างไร มีความหมายอย่างไร จะได้พูดต่อไป
Create Date : 11 พฤศจิกายน 2567
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2567 19:09:36 น.
0 comments
Counter : 85 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com