 |
|
|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | |
|
 |
|
|
- ต่อ
ให้รักกับรู้ มาเข้าคู่ดูแลกัน ทั้งโลกจนถึงลูก จะสุขสันต์แท้จริง
ตกลงว่า นี่ครบแล้ว และเพราะฉะนั้น ความรักจึงยังไม่พอ เริ่มด้วยพ่อแม่จะเอาแต่รักลูกๆ ตามใจลูกเท่านั้นไม่ได้ ลูกจะไม่เติบโต ไม่เจริญงอกงาม แต่ต้องใช้ เมตตา กรุณา มุทิตา นี้ โดยมีดุลยภาพ กับ อุเบกขา
หมายความว่า ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหมู่มนุษย์นี้ จะต้องได้ดุลยภาพ มีความสมดุลกับความสัมพันธ์ กับ กฎธรรมชาติ หรือความจริงแห่งธรรมด้วย
พ่อแม่มีหน้าที่ต้องวาง อุเบกขา ต่อลูก ใน ๓ สถานการณ์ โดยไม่ให้เมตตา กรุณา มุทิตา เป็นตัวนำ แต่วางใจเป็นกลางให้เขารับผิดชอบตัวเอง คือ
๑) เมื่อเด็กสมควรฝึกหัดรับผิดชอบตัวเอง ถ้าเด็กสมควรจะต้องทำอะไรต่ออะไรให้เป็น เพื่อประโยชน์แก่ชีวิตของเขาในระยะยาว พ่อแม่อย่าไปเที่ยวทำแทนให้หมด ต้องหัดให้เขารู้จักทำเอง นี่คือ รักลูกระยะยาว ถ้ารักระยะสั้น ก็ทำให้เขาหมด แล้วเขาจะช่วยตัวเองไม่ได้ต่อไป ถ้ารักระยะยาว เราต้องรู้จักอุเบกขา วางเฉยบ้าง เพื่อให้โอกาสที่เขาจะพัฒนาตัวเอง ช่วยเขาโดยดูให้เขาทำให้ถูกต้อง และเป็นที่ปรึกษา ไม่ใช่ว่าอะไรๆ ก็ทำให้เขาหมด
๒) เมื่อเด็กสมควรรับผิดชอบต่อการกระทำของเขา ในวันข้างหน้า เด็กจะต้องออกไปอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง ออกไปอยู่ในสังคมที่มีกฎเกณฑ์กติกา ใครทำผิดก็ว่าไปตามผิด ใครทำถูกก็ว่าไปตามถูก ครอบครัวจะต้องเตรียมเด็กไว้ให้พร้อมที่จะไปรับผิดชอบต่อกฎเกณฑ์กติกาของสังคม ในครอบครัวจึงต้องมีวินัย และให้เด็กรับผิดชอบการกระทำของเขาตามกฎกติกานั้นๆ
๓) เมื่อลูกเติบโตรับผิดชอบตัวเองได้แล้ว เมื่อลูกจบการศึกษา มีการมีงานทำ และมีครอบครัวของเขาเอง พ่อแม่จะต้องวางอุเบกขาคอยดูอยู่ห่างๆ ปล่อยให้เขารับผิดชอบชีวิต และครอบครัวของเขา คอยช่วยแนะนำหรือพร้อมที่จะช่วย เมื่อเขาเพลี่ยงพล้ำหรือต้องการคำแนะนำ แต่ไม่เข้าไปก้าวก่ายในครอบครัวของเขา ไม่เข้าไปเจ้ากี้เจ้าการจัดแจงว่า ลูกอยู่กันอย่างนั้นอย่างนี้นะ จัดอะไรๆ อย่างนั้นอย่างนี้ แล้วทำให้ครอบครัวของเขาอึดอัด ไม่มีความสุข ถ้าทำอย่างนี้เรียกว่า ขาดอุเบกขา
ตกลงว่า ถ้าพ่อแม่ทำถูก มีอุเบกขาแล้ว ชีวิตของลูกจะสมบูรณ์ ลูกจะเติบโตอย่างมีความสุขและเข้มแข็ง เป็นบุคคลที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง
ถ้าพ่อแม่ขาดอุเบกขา ลูกจะเสียหลายอย่าง คือ ไม่รู้จักโต ไม่รู้จักรับผิดชอบทั้งต่อตัวเอง และต่อผู้อื่น หรือต่อสังคม อ่อนแอ มีชีวิตที่ไม่สมบูรณ์ มักจะมีปัญหา แม้แต่กับพ่อแม่เองด้วย อันนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่ง
ฉะนั้น จะต้องก้าวจากความรักของเมตตา กรุณา มุทิตา ไปสู่เหตุผล และความเป็นจริงของอุเบกขา โดยมีปัญญามาช่วยสร้างดุลยภาพในสถานการณ์ต่างๆ
สำหรับข้อ ๑ ถึง ๓ นั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ปัญญามาก คือ เป็นเรื่องของความรู้สึก ไม่ต้องใช้ความรู้และความคิดเหตุผล พอพ่อแม่เห็นลูกเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็มีความรู้สึกที่จะแสดงความรักออกไปได้เลย เขาอยู่ปกติ เราก็เมตตา เขามีทุกข์ เราก็กรุณา เขาสุข สำเร็จ เราก็มุทิตาได้ง่ายทันที
แต่อุเบกขานี่ยาก ต้องมีปัญญา ต้องใช้ความรู้ความคิด ต้องรู้ว่าอะไรที่เขาควรรับผิดชอบตัวเอง อะไรที่เขาควรจะหัด จะฝึก อะไรเป็นธรรม อะไรเป็นกฎระเบียบกติกา จึงจะวางอุเบกขาได้
นอกจากนั้น อุเบกขา นี้ ไม่ใช่เฉยเมิน หรือ เฉยเมย แต่เป็นเฉยมอง อุเบกขา แปลว่า เฉยมอง
ที่จริง อุเบกขา แปลว่า เข้าไปมองอยู่ หรือมองอยู่ใกล้ๆ คือเฉย แต่มองดูอยู่ตลอดเวลา หมายความว่า ถ้าเขาเพลี่ยงพล้ำ ก็พร้อมที่จะช่วย
ถ้าเฉยเมย หรือ เฉยเมิน ท่านเรียกว่าเป็น อัญญาณุเบกขา แปลว่า เฉยโง่ เป็นอกุศล เป็นบาป เพราะฉะนั้น ถ้าใครเฉยไม่รู้เรื่อง ไม่เอาเรื่องเอาราวนี่ ท่านติเตียนเลย เป็นอัญญาณุเบกขา คือเฉยโง่
การที่จะเฉยอย่างถูกต้อง ต้องมีปัญญา อุเบกขา นี่สำคัญมาก ต้องมีปัญญาประกอบจึงปฏิบัติได้ อันนี้แหละเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าเราจะต้องมีการพัฒนา
เวลานี้ การฉลองวันวาเลนไทน์ เป็นสักว่าอาการตื่นเต้นฟู่ฟ่ากันไป ไม่ได้หลักได้เกณฑ์อะไรเลย แม้แต่คติจะให้คนมีความเจริญในการดำเนินชีวิตอย่างดี ถ้าขืนอยู่กันอย่างนี้ เด็กก็ไม่ได้พัฒนาอะไรขึ้นมา สังคมก็เซ่อซ่า เสื่อมถอย
Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2568 |
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2568 13:27:38 น. |
|
0 comments
|
Counter : 67 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|