กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2564
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
space
space
6 พฤษภาคม 2564
space
space
space

ศ. ขึ้นต้นตัว ส
 


235 คิดโยงไปให้ถึงการกำหนดรู้สภาวะภาคปฏิบัติกรรมฐานด้วย  นี่แหละที่ท่านให้กำหนดรู้ตามที่มันเป็น  เป็นยังไงก็กำหนดยังงั้น




    สัญญา    การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ หมายรู้ไว้ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และอารมณ์ที่เกิดกับใจว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา  เสียงคน เสียงแมว เสียงระฆัง กลิ่นทุเรียน รสมะปราง  เป็นต้น   และจำได้ คือ รู้จักอารมณ์นั้นว่าเป็นอย่างนั้นๆ ในเมื่อพบเข้าอีก (ข้อ ๓ ในขันธ์ ๕)  มี ๖  อย่าง  ตามอารมณ์ที่หมายรู้นั้น เช่น รูปสัญญา หมายรู้รูป สัททสัญญา หมายรู้เสียง  เป็นต้น   ความหมายสามัญในภาษาบาลีว่า เครื่องหมาย  ที่สังเกตความสำคัญว่าเป็นอย่างนั้นๆ,  ในภาษาไทย   มักใช้หมายถึง ข้อตกลง, คำมั่น

    สัญญา ๑๐ ความกำหนดหมาย, สิ่งที่ควรกำหนดหมายไว้ในใจ มี ๑๐ อย่าง คือ

๑. อนิจจสัญญา     กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร

๒. อนัตตสัญญา     กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง

๓. อสุภสัญญา      กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย

๔. อาทีนวสัญญา     กำหนดหมายโทษแห่งกาย คือ มีอาพาธต่างๆ

๕. ปหานสัญญา     กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรม

๖. วิราคสัญญา     กำหนดหมายวิราคะ คือ อริยมรรคว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต

๗. นิโรธสัญญา     กำหนดหมายนิโรธ คือ อริยผล ว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต

๘. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา     กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง

๙. สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา      กำหนดหมายความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง

๑๐. อานาปานสติ      สติกำหนดลมหายใจเข้าลมหายใจออก

       สำเหนียก    กำหนด,  จดจำ,  คอยเอาใจใส่,   ฟัง, ใส่ใจคิดที่จะนำไปปฏิบัติ, ใส่ใจสังเกตพิจารณาจับเอาสาระเพื่อจะนำไปปฏิบัติให้สำเร็จประโยชน์  (คำพระว่า  สิกขา หรือ ศึกษา)

       สิกขา     การศึกษา, การสำเหนียก, การเรียน, การฝึกฝนปฏิบัติ, การเล่าเรียนให้รู้เข้าใจ และฝึกหัดปฏิบัติให้เป็นคุณสมบัติที่เกิดมีขึ้นในตน หรือให้ทำได้ทำเป็น ตลอดจนแก้ไขปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปจนถึงสมบูรณ์, ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมพัฒนาบุคคล, สิกขา ๓ คือ

        ๑. อธิสีลสิกขา     สิกขาคือศีลอันยิ่ง, อธิศีลอันเป็นข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติเพื่อการฝึกอบรมพัฒนาศีลอย่างสูง

           (ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ เป็นศีล, ปฏิโมกขสังวรศีล เป็นอธิศีล แต่ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ที่รักษาด้วยความเข้าใจ ให้เป็นเครื่องหนุนนำออกจากวัฏฏะ ก็เป็นอธิศีล)

        ๒. อธิจิตตสิกขา     สิกขาคือจิตอันยิ่ง, อธิจิตอันเป็นข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติเพื่อการฝึกอบรมพัฒนาจิตใจให้มีสมาธิเป็นต้นอย่างสูง

          (กุศลจิตทั้งหลายจนถึงสมาบัติ ๘ เป็นจิต, ฌานสมาบัติที่เป็นบาทแห่งวิปัสสนา เป็นอธิศีล แต่สมาบัติ ๘ นั่นแหละ ถ้าปฏิบัติด้วยความเข้าใจ มุ่งให้เป็นเครื่องหนุนนำออกจากวัฏฏะ ก็เป็นอธิจิต)

         ๓. อธิปัญญาสิกขา      สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, อธิปัญญาอันเป็นข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติเพื่อการฝึกอบรมพัฒนาปัญญาอย่างสูง

           (ความรู้เข้าใจหลักเหตุผลถูกต้องอย่างสามัญ อันเป็นกัมมัสสกตาญาณ คือ ความรู้จักว่าทุกคนเป็นเจ้าของแห่งกรรมของตน เป็นปัญญา, วิปัสสนาปัญญาที่กำหนดรู้ความจริงแห่งไตรลักษณ์ เป็นอธิปัญญา แต่โดยนัยอย่างเพลา กัมมัสสกตาปัญญาที่โยงไปให้มองเห็นทุกข์ที่เนื่องด้วยวัฏฏะ หรือแม้กระทั่งความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ก้าวไปในมรรค ก็เป็นอธิปัญญา)

      สิกขา ๓ นี้ นิยมเรียกว่า ไตรสิกขา และเรียกข้อย่อยทั้งสามง่ายๆสั้นๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา


      สัตว์ "ผู้ติดข้องอยู่ในรูปารมณ์ เป็นต้น"    สิ่งที่มีความรู้สึก และเคลื่อนไหวไปได้เอง   รวมตลอดทั้งเทพ  มาร  พรหม  มนุษย์  เปรต อสุรกาย  ดิรัจฉาน  และสัตว์นรก  ในบาลีเพ่งเอามนุษย์ก่อนอย่างอื่น    ไทยมักเพ่งเอาดิรัจฉาน  (รูปารมณ์ = รูป+อารมณ์ = อารมรณ์คือรูป สัททารมร์  คันธารมณ์  รสารมณ์  โผฏฐัพพารมณ์  ธัมมารมณ์)

16

สังขาร  มีหลายนัย ให้ดู 3 นัย

     สังขาร 1. สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง. สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรม ก็ตาม เป็นนามธรรม ก็ตาม, ได้แก่ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด, ตรงกับคำว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น   2. สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล ที่กลางๆ เป็นอัพยากฤต ได้แก่ เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือ เจตสิกทั้งปวง เว้น เวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว, ตรงกับสังขารขันธ์  ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้ เป็นต้น  อีกปริยายหนึ่ง  สังขารตามความหมายนี้   ยกเอาเจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่ สัญเจตนา คือเจตนาที่แต่งกรรม หรือ  ปรุงแต่งการกระทำ   มี ๓ อย่าง  คือ   ๑. กายสังขาร  สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา    ๒.วจีสังขาร    สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา    ๓. จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา   3. สภาพที่ปรุงแต่งชีวิต  มี ๓ คือ    ๑. กายสังขาร    สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือ หายใจเข้า ลมหายใจออก   ๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตก และวิจาร  ๓. จิตตสังขาร  สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่  สัญญาและเวทนา

     สังขารทุกข์   ทุกข์เพราะเป็นสังขาร  คือ  เพราะเป็นสภาพอันถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น  จึงต้องผันแปรไปตามเหตุปัจจัย เป็นสภาพอันปัจจัยบีบคั้นขัดแย้ง  คงทนอยู่มิได้

     สังขาร ๒. คือ   ๑. อุปาทินนกสังขาร    สังขารที่กรรมครอบครอง   ๒. อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมไม่ครอบครอง แปลโดยปริยายว่า สังขารที่มีใจครอง และสังขารที่ไม่มีใจครอง

     สังขารโลก  โลกคือสังขาร  ได้แก่ชุมนุมแห่งสังขารทั้งปวงอันต้องไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย

     สังขารุเปกขาญาณ  ปรีชาหยั่งรู้ถึงขั้นเกิดความวางเฉยในสังขาร,   ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร  คือ รู้เท่าทันสภาวะของสังขารว่าที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นต้นนั้น  มันเป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา  จึงเลิกเบื่อหน่าย เลิกคิดหาทางแต่จะหนี  วางใจเป็นกลางต่อมันได้ เลิกเกี่ยวเกาะและให้ญาณแล่นมุ่งสู่นิพพานอย่างเดียว
 

 



Create Date : 06 พฤษภาคม 2564
Last Update : 19 ธันวาคม 2566 7:55:20 น. 0 comments
Counter : 621 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space