กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
บุญ
ข้อธัมม์ที่ถาม-เถียงกันบ่อย
หลักปฏิบัติ
สภาวธรรม
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ผู้พิพากษาตั้งตุลา ใ ห้ สั ง ค ม ส ม ดุ ล
คติธรรมสั้นๆ
ภาษาธรรมวันละคำ
รู้เขา รู้เรา
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน,
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
พลังดันคน
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
สวดมนต์
ความจน เ ป็ น ทุ ก ข์ ใ น โ ล ก
เรียนบาลีเพื่อรักษาพุทธพจน์
ศีล-ธรรมไม่มาโลกาจะพินาศ
หลักธรรมสำหรับผู้ยังไม่นับถือศาสนาใดๆ
ก่อนศึกษาพุทธธรรม
ภาค ๑. มัชเฌนธรรมเทศนา
ภาค ๒. มัชฌิมาปฏิปทา
ภาค ๓. อารยธรรมวิถี
วัฒนธรรมประเพณี
จารึกธรรม
สมาธิ,ฌาน
ถ้าหลักธรรมพุทธดีจริง คงไม่สูญจากชมพูทวีปว่าซั่น
ภาวะแห่งนิพพาน
ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม
คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์
จงกรม ไม่ใช่ จงกลม
กรรมฐาน
สติปัฏฐาน
ศีลสำหรับประชาชน
วิธีการแห่งศรัทธา (ปรโตโฆสะที่ดี)
วิธีการแห่งปัญญา (โยนิโสมนสิการ)
ทางดำเนินชีวิตสายกลาง
คุณสมบัติบุคคลโสดาบัน
กาม
ความสุข
อริยสัจ ๔
ธรรมฉันทะ - ตัณหาฉันทะ
กรรม
เถรวาท VS ลัทธิอาจารย์
นิพพาน-อนัตตา ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท
ภาวนา ๔ ภาวิต ๔
สมถะ,วิปัสสนา,เจโตวิมุตติ,ปัญญาวิมุตติ
อนัตตา
สมมุติ
ศีล-สีลัพพตปรามาส
นรก สวรรค์ ในพระไตรปิฎก
วันสำคัญของชาวพุทธไทย
วิธีฝึกหูทิพย์ ตาทิพย์
ลำดับญาณ,ทวนญาณ
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะ ศ.ประจำชาติ
มิถุนายน 2565
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
22 มิถุนายน 2565
แทรกเสริม
ไสยศาสตร์
อานิสงส์พระปริตร
ตำนานพระปริตร
มงคล คาถาที่ ๖-๑๐
มงคล คาถาที่ ๑-๕
สัจจะกิริยา
แทรกเสริม
แทรกเสริม
ตำนานฉัททันต์ปริตร(จบ)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๑๓)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๑๒)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๑๑)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๑๐)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๙)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๘)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๗)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๖)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๕)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๔)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๓)
ตำนานฉัททันต์ปริตร(๒)
ตำนานฉัททันต์ปริตร
ฉัททันตะปริตร
เกี่ยวกับพาหุง(จบ)
บทพาหุง
บทถวายพรพระ
นักขัตยักษ์
ภวตุสัพ
มงคลจักรวาลใหญ่
สักกัตวา(จบ)
สักกัตวา
ชัยปริต
เทวตาอุยโยชนคาถา
อะภะยะปริตร
แทรกเสริม
โพชฌังคะปริตร
ตำนานอังคุลิมาลปริตร
องคุลิมาลปริตร
ตำนานโมรปริต
โมรปริต
ตำนานขันธะปริตร
ขันธะปริต
แทรกเสริม
ตำนานวัฏฏกปริต
วัฏฏะกะปริตร
ตำนานกรณียเมตตสูตร
กรณียเมตตสูตร
แทรกเสริม(สวดมนต์)
ตำนานรัตนสูตร
รัตนสูตร
ตำนานมงคลสูตร
มงคลสูตร
นโมการอัฏฐกคาถา
นะมะการะสิทธิคาถา
สัมพุทเธ
สามวิธีบวช
สรณคมน์
ระเบียบในการตั้งนะโม
???
ตั้งนะโม ๓ จบเสมอ
ปย.นมัสการพระ(๔)
ปย.นมัสการพระ(๓)
ปย.นมัสการพระ(๒)
ประโยชน์นมัสการพระ
ผู้ตั้งบทนมัสการ
การเรียงลำดับพระคุณ
แทรกเสริม
ตั้งนะโม(สัมมาสัมพุทธัสส)
ตั้งนะโม(อรหโต)
ตั้งนะโม
ชุมนุมเทวดา
แทรกเสริม
ไสยศาสตร์
อานิสงส์พระปริตร
ตำนานพระปริตร
พระปริตต์
องค์ประกอบพุทธศาสนา
สวดมนต์เรื่องใหญ่สวดกันทำไมต้องรู้ให้ชัด
ตำนานพระปริตร
เรื่องสวดมนต์เจ็ดตำนานและสิบสองตำนาน
ในงานพิธีต่างๆ ของพุทธศาสนิกชนชาวไทย นิยมนิมนต์พระภิกษุในพระพุทธศาสนามา
สวดพระปริตร
ซึ่งเราเรียกกันเป็นสามัญว่า
สวดมนต์
หรือ
เจริญพระพุทธมนต์
เป็นประเพณีมาช้านาน ตาม
ตำนานพระปริตร
ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า “ประเพณีที่พระสงฆ์สวดพระปริตรเกิดขึ้นในลังกาทวีป ประมาณว่าเมื่อพุทธกาลล่วงแล้วราว ๕๐๐ ปี”
สาเหตุที่จะเกิดประเพณีสวดพระปริตรตามบ้านนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงฯ ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า “ในเรื่องพงศาวดารปรากฏว่า พวกทมิฬมีอำนาจปกครองบ้านเมือง (ลังกา) อยู่นานๆ ก็หลายครั้ง พวกทมิฬนับถือไสยศาสตร์ พาศาสนาพราหมณ์เข้ามาสั่งสอนในลังกาทวีปด้วยก็ตาม คติศาสนาพราหมณ์นั้นนิยมว่าผู้ทรงพระเวทอาจร่ายมนต์ให้เกิดสิริมงคลหรือป้องกันแก้ไขภยันตรายแก่มหาชนได้
สันนิษฐานว่า พวกชาวลังกาแม้ที่นับถือพระพุทธศาสนา ก็ย่อมมีเวลาปรารถนาสิริมงคลและมีเวลาหวาดหวั่นต่อภยันตรายตามธรรมดาสามัญมนุษย์ คงจะขอให้พระสงฆ์เถรานุเถระชาวลังช่วยหาทางในพระพุทธศาสนาสงเคราะห์เพื่อให้เกิดสิริมงคล หรือป้องกันภยันตรายให้แก่ตนบ้าง พระสงฆ์มีความกรุณา จึงคิดวิธีสวดพระปริตรขึ้นให้สมประสงค์ของประชาชน ก็แต่วิธีร่ายเวทมนต์ของพราหมณ์นั้น เขาวิงวอนขอพรต่อพระเป็นเจ้า คติพระพุทธศาสนาห้ามการเช่นนั้น พระสงฆ์จึงค้นในพระไตรปิฎกเลือกเอาพระสูตรและปาฐะพระคาถาสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย อันมีตำนานอ้างว่าเกิดขึ้นเนื่องด้วยเหตุการณ์ต่างๆ มาสวดเป็นมนต์”
การสวดมนต์ดังกล่าวนั้น เรียกว่าสวดพระปริตร หมายถึง สวดพระพุทธวจนะที่มีอานุภาพคุ้มกันอันตรายต่างๆ ได้
พระปริตรปรากฏมี ๒ แบบ คือ มหาราชปริตร ราชปริตรใหญ่ ๒ ตำนาน ๑ จุลฺลราชปริตฺต ราชปริตรน้อย ๗ ตำนาน ๑ ที่เรียกราชปริตรนั้น สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงสันนิษฐานว่า “คงจะเกิดขึ้นโดยพระราชประสงค์ของพระเจ้าแผ่นดิน” และในข้อที่ว่าอันใดจะเกิดก่อนเกิดหลัง มีพระนิพนธ์ไว้ว่า “อย่างไหนจะเป็นแบบเดิม ข้อนี้เคยสันนิษฐานกันมาแต่ก่อนว่า อย่าง ๑๒ ตำนาน เห็นจะเป็นราชปริตรเดิม ครั้นต่อมาภายหลังมีพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งอาจเป็นต่างประเทศกับลังกา ทรงมีดำริเห็นว่ายังยาวนัก จึงโปรดให้ตัดลงเป็นอย่าง ๗ ตำนาน มีราชปริตรเป็น ๒ อย่างขึ้น จึงได้เรียกอย่างยาวว่า มหาราชปริตร เรียกอย่างสั้นว่า จุลราชราชปริตร ดังนี้
แต่เมื่อมาพิจารณากันในคราวจะแต่งตำนานพระปริตรนี้ มีบัณฑิตหลายคน คือ พระพินิจวรรณการ (แสง สาลิตุล) เป็นต้น กลับเห็นว่า อย่าง ๗ ตำนานจะเป็นแบบเดิม อย่าง ๑๒ ตำนานเป็นของปรุงใหม่ต่อภายหลัง อ้างเหตุให้เห็นเช่นนั้น ด้วยพระปริตรต่างๆ ใน ๗ ตำนาน กับ ๑๒ ตำนาน เหมือนกันโดยมาก เป็นแต่ว่าลำดับผิดกัน
ถ้าว่าเฉพาะตัวพระปริตร ไม่ยาวสั้นผิดกันกี่มากน้อยนัก เป็นแต่มีบทขัดตำนานมากกว่ากัน ถ้าประสงค์เพียงจะตัดพระปริตรอย่าง ๑๒ ตำนานให้สั้น คงไม่ทำเช่นที่ปรากฏ
อีกประการหนึ่งสังเกตเห็นว่า ลักษณะที่จัดพระปริตรต่างๆ ทั้งที่เพิ่มคำขัดตำนานขึ้นอย่าง ๑๒ ตำนาน เป็นระเบียบเรียบร้อยดีกว่าอย่าง ๗ ตำนาน จึงสันนิษฐานว่า ราชปริตรเดิมเห็นจะเป็นอย่าง ๗ ตำนาน ต่อมามีผู้รู้คิดแก้ไขให้เป็นอย่าง ๑๒ ตำนาน”
งานที่จะสวดเจ็ดตำนานและสิบสองตำนาน สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงพระนิพนธ์ว่า “การพิธีพุทธศาสนาล้วนๆ แต่ก่อนมา ถ้าเป็นงานมงคลอย่างสามัญ เช่น ทำบุญเรือน หรือฉลองพระ หรือโกนจุก เป็นต้น สวด ๗ ตำนาน
ถ้าเป็นงานมงคลวิเศษกว่าสามัญ เช่น การราชพิธีใหญ่ แต่สวดมนต์วันเดียว ดังพิธีถือน้ำและพิธีแรกนาเป็นต้นก็ดี งานเชลยศักดิ์ซึ่งเป็นงานสำคัญ เช่น งานฉลองอายุและแต่งงานบ่าวสาวเป็นต้นก็ดี ย่อมสวด ๑๒ ตำนาน แต่เดี๋ยวนี้เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไปแล้ว”
การสวดมนต์ในงานมงคลต่างๆ ในปัจจุบันนี้ใช้สวดเจ็ดตำนานโดยทั่วไป สิบสองตำนานไม่ใคร่จะได้สวด ถ้าจะมีการสวดสิบสองตำนาน ต้องบอกพระให้ท่านทราบล่วงหน้าไว้ ในเวลาที่ไปนิมนต์ หรือหมายเหตุไปกับฎีกาที่นำไปถวาย ในที่นี้ จะได้พูดถึงเรื่องของสิบสองตำนานทั้งบาลีคำแปลและตำนาน ตลอดถึงอธิบายข้อที่ควรอธิบาย
Create Date : 22 มิถุนายน 2565
Last Update : 22 มิถุนายน 2565 5:37:15 น.
0 comments
Counter : 384 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
BlogGang Popular Award#20
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com