|
|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
บทนมัสการ
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น.
ก่อนที่จะเริ่มกิจกรรมทางพระศาสนา จะต้องตั้ง นะโม ๓ ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการใดๆ ทั้งนั้น แม้ที่สุดถวายสังฆทานก็ต้องเริ่มด้วยนะโมฯ ๓ ครั้งก่อน บทนี้ ท่านเรียกกันมาว่า บทนมัสการ หมายความว่า เป็นบทถวายความเคารพแด่พระพุทธเจ้า แต่เป็นการนมัสการพระคุณ มิใช่นมัสการพระองค์
การนมัสการพระคุณเช่นนี้ ทำให้พุทธศาสนิกชนไม่ต้องว้าเหว่ วุ่นวายใจว่า พระพุทธเจ้าดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว เพราะถึงพระองค์จะล่วงลับดับขันธ์ปรินิพพานไปนานแล้ว แต่พระคุณยังคงดำรงอยู่ มิได้ล่วงลับไปตามพระองค์ แม้ในปัจจุบันพระคุณของพระองค์ก็ยังคงปรากฏอยู่ เป็นที่ซาบซึ้งตรึงใจพุทธศาสนิกชนทั่วไป ดังนั้น การนมัสการด้วยบทนมัสการนี้ จึงมีความหมายว่า
“พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นพระผู้ทรงพระภาค เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ขอนมัสการพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น”
บททั้ง ๓ คือ ภควโต ๑ อรหโต ๑ สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ๑ เป็นบทประกาศพระคุณของพระพุทธเจ้าโดยประมวล มีอรรถาธิบายโดยสังเขป ต่อไปนี้
บท ภะคะวะโต แปลไว้ว่า ผู้ทรงพระภาค เล็งถึงพระกรุณาคุณ คือ ทรงแจกพระธรรมอันล้ำเลิศที่ได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ด้วยพระปัญญาอันยิ่งแก่มหาชนชาวโลก ที่ได้นามว่า “พระพุทธศาสนา” อันพระพุทธศาสนานั้น ท่านแต่ก่อนๆท่านเทิดทูน ไม่เรียกเพียงว่า พระพุทธศาสนา เท่านั้น ท่านเติมคำว่า บวร เข้าไปด้วย เป็นพระบวรพระพุทธศาสนาทีเดียว ทั้งนี้ เพราะยุติต้องกันว่า พระพุทธศาสนาเป็นสมบัติเอกอุดมแท้ที่โลกนี้มีอยู่ สมบัติอื่นๆ นั้น มีความวิบัติเสื่อมสลายแปรผัน และเป็นไปเพื่อความคับแค้นได้ ถึงจะเรียกว่าสมบัติ ก็มิใช่เป็นอย่างเอกอุดม
ส่วนพระบวรพระพุทธศาสนานั้น เป็นสมบัติที่ไม่มีวิบัติคอยตัดรอน เป็นสมบัติที่ปราศจากความสูญสลาย เป็นสมบัติที่ไม่แปรผัน ทั้งไม่เป็นไปเพื่อความคับแค้น พระพุทธองค์โปรดประทานไว้แก่ชาวโลกด้วยพระกรุณาอันล้นพ้น เพราะว่าพระธรรมที่ตรัสรู้นั้น เป็นอมตธรรม
ถ้าพระองค์จะทรงหวงแหนไว้ ไม่ตรัสสอน ใครๆ ก็ไม่สามารถจะตำหนิพระองค์อย่างไรได้ แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น พระองค์ทรงเปิดเผยจำแนกแจกจ่ายแก่มหาชน ตามที่ตรัสรู้ทุกประการ มิได้ปิดบังอำพรางความรู้นั้นไว้เลย เป็นพระกรุณาอย่างล้นพ้นทีเดียว
Create Date : 23 มิถุนายน 2565 |
|
0 comments |
Last Update : 27 มิถุนายน 2565 19:10:53 น. |
Counter : 425 Pageviews. |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|