|
|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
บทสวดมนต์ต่างๆท่านเรียกพระปริตต์
ปริตต์ มีความหมายหลายนัย นำนัยที่สามให้ดู
ปริตต์, ปริตร ๓. (ปะ-หริด) “เครื่องคุ้มครองป้องกัน” บทสวดที่นับถือเป็นพระพุทธมนต์ คือ บาลีภาษิตดั้งเดิมในพระไตรปิฎก ซึ่งได้ยกมาจัดไว้เป็นพวกหนึ่งในฐานะเป็นคำขลัง หรือคำศักดิ์สิทธิ์ ที่มีอานุภาพคุ้มครองป้องกันช่วยให้พ้นจากภยันตรายและเป็นสิริมงคลทำให้เกษมสวัสดีมีความสุขความเจริญ (ในยุคหลังมีการเรียบเรียงปริตรเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากบาลีภาษิตในพระไตรปิฎกบ้าง พึงทราบตามคำอธิบายต่อไป และพึงแยกว่า บทสวดที่มักสวดเพิ่มหรือพ่วงกับพระปริตรในพิธีหรือในโอกาสเดียวกัน มีอีกมาก มิใช่มาจากพระไตรปิฎก แต่เป็นของนิพนธ์ขึ้นภายหลัง มิใช่พระปริตร แต่เป็นบทสวดประกอบ โดยสวดนำบ้าง สวดต่อท้ายบ้าง)
กล่าวได้ว่า การสวดพระปริตรเป็นการปฏิบัติสืบเนื่องจากความนิยมในสังคมซึ่งมีการสวดสาธยายร่ายมนต์ (มันตสัชฌายน์, มันตปริชัปปน์) ที่แพร่หลายเป็นหลักสำคัญอย่างหนึ่งในศาสนาพราหมณ์ แต่ได้ปรับแก้จัดและจำกัดทั้งความหมาย เนื้อหา และการปฏิบัติ ให้เข้ากับคติแห่งพระพุทธศาสนา อย่างน้อยเพื่อช่วยให้ชนจำนวนมากที่เคยยึดถือมาตามคติพราหมณ์ และยังไม่เข้มแข็งมั่นคงในพุทธคติ หรืออยู่ในบรรยากาศของคติพราหมณ์นั้น และยังอาจหวั่นไหว ให้มีเครื่องมั่นใจและให้มีหลักเชื่อมต่อที่จะช่วยพาพัฒนาก้าวต่อไป ฯลฯ
นอกจากนั้น หลายครั้งพระพุทธเจ้าทรงแนะนำพระสาวก ให้เจริญเมตตาต่อสัตว์ทั้งหลาย เช่น งูบ้าง ให้ทำสัจกิริยา คือ อ้างสัจจะอ้างคุณธรรมบ้าง ให้ระลึกถึงคุณ และเคารพนบน้อมพระรัตนตรัยบ้าง เป็นกำลังที่คุ้มครองรักษา แล้วพระดำรัสนั้นก็ได้รับความนับถือจัดเป็นปริตรชื่อต่างๆ ที่กล่าวนี้ พอให้เห็นความเป็นมาของพระปริตร
รวมแล้ว ในเรื่องปริตรนี้ ข้อสำคัญอยู่ที่ต้องมีจิตใจเป็นกุศล นอกจากมีเมตตานำหน้าและมั่นในสัจจะบนฐานแห่งธรรมแล้ว ก็พึ่งรู้เข้าใจสาระของปริตรนั้นๆ โดยมีกัมมัสสกตาปัญญาอันมองเห็นความมีกรรมเป็นของตน ซึ่งผลจะสำเร็จด้วยความพากเพียรในการกระทำของตน เมื่อมีใจโล่งเบาสดชื่นผ่องใสด้วยมั่นใจในคุณพระปริตรที่คุ้มครองป้องกันภัยอันตรายให้แล้ว ก็จะได้มีสติมั่นมีสมาธิแน่วมุ่งหน้าทำการนั้นๆ ให้ก้าวหน้าต่อไปด้วยความเข้มแข็งมีกำลังหนักแน่นและแจ่มใสชัดเจนจนถึงความสำเร็จ
สำหรับพระภิกษุต้องตั้งใจปฏิบัติในเรื่องปริตรนี้ต่อคฤหัสถ์ด้วยจิตเมตตากรุณา พร้อมไปกับความสังวรระวังมิให้ผิดพลาดจากพระวินัย
Create Date : 21 มิถุนายน 2565 |
|
0 comments |
Last Update : 24 ธันวาคม 2566 16:54:32 น. |
Counter : 402 Pageviews. |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|