กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
บุญ
ข้อธัมม์ที่ถาม-เถียงกันบ่อย
หลักปฏิบัติ
สภาวธรรม
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ผู้พิพากษาตั้งตุลา ใ ห้ สั ง ค ม ส ม ดุ ล
คติธรรมสั้นๆ
ภาษาธรรมวันละคำ
รู้เขา รู้เรา
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน,
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
พลังดันคน
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
สวดมนต์
ความจน เ ป็ น ทุ ก ข์ ใ น โ ล ก
เรียนบาลีเพื่อรักษาพุทธพจน์
ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะพินาศ
หลักธรรมสำหรับผู้ยังไม่นับถือศาสนาใดๆ
ก่อนศึกษาพุทธธรรม
ภาค ๑. มัชเฌนธรรมเทศนา
ภาค ๒. มัชฌิมาปฏิปทา
ภาค ๓. อารยธรรมวิถี
วัฒนธรรมประเพณี
จารึกธรรม
สมาธิ,ฌาน
เขาว่า ถ้าพุทธมีหลักธรรมดีจริง คงไม่ 0 สิ้นจากถิ่นเกิด
ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม
คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์
จงกรม
กรรมฐาน
สติปัฏฐาน
ศีลสำหรับประชาชน
วิธีการแห่งศรัทธา (ปรโตโฆสะที่ดี)
วิธีการแห่งปัญญา (โยนิโสมนสิการ)
ทางดำเนินชีวิตสายกลาง
คุณสมบัติบุคคลโสดาบัน
กาม
ความสุข
อริยสัจ ๔
ธรรมฉันทะ - ตัณหาฉันทะ
กรรม
เถรวาท VS ลัทธิอาจารย์
นิพพาน-อนัตตา ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท
สมถะ,วิปัสสนา,เจโตวิมุตติ,ปัญญาวิมุตติ
อนัตตา
สมมุติบัญญัติ
ศีล-สีลัพพตปรามาส
นรก สวรรค์ ในพระไตรปิฎก
วันสำคัญของชาวพุทธไทย
วิธีฝึกหูทิพย์ ตาทิพย์
ลำดับญาณ,ทวนญาณ
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะ ศ.ประจำชาติ
ภาวะแห่งนิพพาน
ระดับของผู้บรรลุนิพพาน
ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน
อิทธิบาท ๔
รู้ทุกอย่างแต่ปล่อยวางไม่ได้
<<
กุมภาพันธ์ 2567
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
8 กุมภาพันธ์ 2567
พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว จะประกาศธรรมแสนยาก
ย้ำ
รู้ธรรม คือรู้เรื่องธรรมดา
โพธิพฤกษ์ โพธิญาณ
วิธีล้างบาป
ชาวพุทธต้องทำใจ
ถ้าเชื่อก็เป็นแม่ ถ้าไม่เชื่อก็เป็นสายธาร
เอกบุคคลที่เป็นมิจฉาทิฏฐิกับเอกบุคคลที่เป็นสัมมาทิฏฐิผู้เกิดมาในโลก
คนในอดีตบอกอะไรคนปัจจุบัน
ภาพรวมพุทธธรรม
คคห.ทูตอินเดียว่าธรรมะพระพุทธองค์สอดคล้องท้าทายยุคสมัย
ทำไมพุทธศาสนาหายไปจากอินเดีย
กำเนิดพุทธรูปัง
อารยธรรมอินเดีย
อริยสัจ ๔ หัวใจพุทธศาสนาหมายความว่าอะไร
อปุญญาภิสังขาร VS ปุญญาภิสังขาร
อินโดฯ จัดยิ่งใหญ่
ดินแดนที่ตกอยู่ในความวุ่นวาย
หมายเหตุ
ทีนี้ มองดูเกาะใหญ่ ถัดลงไปทางใต้
มะละกาลับหาย สุมาตรา-ชวา เฟื่องฟูขึ้นมาใหม่
มะละกา ที่แดนมาเลเซียขึ้นมาเป็นใหญ่เหนือ ชวา
มุสลิมอินโดฯ
ชวา ขึ้นมาล้ำ สุมาตรา
มลายู ขยายจากสุมาตรา ขึ้นยังมาเลเซีย
อิสลาม เริ่มเข้าที่ สุมาตรา
อินโดนีเซีย: ที่สุมาตรา ย้อนไปถึง ศรีวิชัย
???
อินโดจีน ส่วนล่างกับอดีตเด่นดังที่ ลังกาสุกะ
อินโดจีน ย้อนอดีตถึง ทวารวดี
จีน- อินเดีย แล้วเกิดมี อินโดจีน - อินโดนีเซีย
ภาคผนวก
คู่ต่างคู่เติม เสริมความรู้ธรรมให้เต็ม
พุทธในอินเดียแต่ละยุคๆ
ทัพมุสลิมเตอร์ก เก็บฉาก
ปุษยมิตร - มิหิรกุละ - ศาศางกะ ทำลายพุทธในระหว่าง
ศิวะอวตาร
นารายณ์อวตารเป็นพระพุทธเจ้า
เรื่องเกี่ยวกับโพธิสัตว์
ต้นโพธิ์ พระสถูป พระพุทธรูป
ย้ำอีกที
พระรัตนตรัย:สื่อเชื่อมต่อ และส่งเข้าสู่ทาง
ดูข้างเคียงให้ทั่ว จะเห็นของตัวว่าเป็นอย่างไร
ย้ำ
วัดถ้ำ: พุทธ เชน ฮินดู เปลือกดูคล้าย
เค้าอวสานแห่งพุทธศาสนา
ฮินดูฟื้น พุทธศาสนาสลบ
พุทธศาสนาประกาศอิสรภาพให้แก่มนุษย์
วัดกับถ้ำ
หลังพุทธกาล คามวาสี-อรัญญวาสี จึงมี
ถ้ำกับชีวิตของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
อชันตา เอลโลรา
???
ระบบสัมพันธ์ของธรรม
รู้ทุกข์จึงดับทุกข์ได้ไม่ใช่รู้ทุกข์ไป แล้วกลายเป็นทุกข์
เศรษฐกิจจะพอดี เมื่อมันทำหน้าที่เป็นปัจจัย
ปัญญา
สัญญา
ผู้ปล่อยวางได้ แต่ไม่ปล่อยปละละเลย
ความไม่ยึดมั่นถือมั่นที่แท้ อีกที
ความไม่ยึดมั่นที่แท้ ต้องดูจากคติพระอรหันต์
สมมุติ,บัญญัติ
ธรรมกับวินัยเสริมกัน
วินัยเป็นบรรทัดฐานแห่งพฤติกรรมที่ถูกต้องตามธรรม
วินัย
ดูหัวข้อนี้ให้ชัด
ธรรมที่ตรัสไว้ต่างชุด ดุจเครื่องมือที่ใช้กับต่างงาน
ดุลยภาพในระบบความสัมพันธ์ของธรรม
ความเชื่ออีกแนวหนึ่ง
ความไม่ประมาท ช่วยปรับให้พอดี จึงเป็นทางสายกลาง
สติมา ปัญญาเกิด
มองอินเดียกับฝรั่ง ให้เห็นความแตกต่างที่เป็นคติแก่ไทย
บทบาทหน้าที่ของสติ กับ ปัญญา
ระบบทุกข์ภัยประดิษฐ์ ดีกว่าปล่อยให้มักง่าย
เรียบง่าย แต่ระวัง อย่าให้กลายเป็นมักง่าย
ความประมาท ความไม่ประมาท เป็นไฉน
ผู้ไม่ประมาทใช้ประโยชน์จากอนิจจัง
มนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญต่อความเสื่อมความเจริญ
ความไม่ประมาท คือความสามารถที่จะไม่เสื่อม
ถิ่นปิยชนผู้เปี่ยมด้วยศรัทธา
???
ธรรมานุธรรมปฏิบัติ
สันโดษ ไม่สันโดษ ดีไม่ดี
ได้ดุลพอดี ที่เป็นลักษณะทางสายกลาง
ปัญญา ชี้นำเข้ามาและเดินหน้าในทางสายกลาง
อธิษฐานจิต
ใช้เวลาสักนิด กับ เรื่องภวังคจิต
สายมู
???
สมาธิมีประโยชน์มากมาย ต้องใช้ให้คุ้มและให้ครบ
อย่าทิ้งความคิดปรุงแต่งทันที ปรุงแต่งดีได้ถึงฌานสมาบัติ
พระพุทธเจ้ากับเพลง
จะอาศัยสิ่งกล่อมหรือจะใช้วิริยะและปัญญา
อิสรภาพของมนุษย์ จะได้ด้วยการศึกษาที่ถึงธรรม
พระพุทธเจ้ามา ประกาศอิสรภาพให้แก่มนุษย์
ความรักต้องคู่กับความรู้
คิดปรุงแต่ง กับ คิดวิปัสสนา
พระพุทธเจ้าตรัสรู้เพราะโยนิโสมนสิการ
มีโยนิโสมนสิการ เรื่องร้ายก็กลายเป็นดี
รูปกาย ธรรมกาย
ที่ประกาศอิสรภาพของมนุษย์
มุสลีมะอินโด ฯ
ปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไป นามกายเจริญเอง
โปรยธรรมบนเส้นทางสู่ที่ปรินิพพาน
เส้นทางพุทธกิจ: พุทธคยา ถึง กุสินารา
ถ้าสังเวชเป็น ก็จะได้เห็นธรรมกาย
มุสลิมเตอร์ก มุสลิมมองโกล รุ่งแล้วเลือนลับ
จากยุคมุสลิมอาหรับ เข้าสู่ยุคมุสลิมเตอร์ก
สุหนี่นำอิสลามครองสะเปน จ่อแดนจีน
ชีอะฮ์ แ ย ก อ อ ก ม า
อิสลามแผ่ไพศาล
อิสลามรวมอาหรับ
เมตตาที่มีปัญญา จึงพาโลกสู่สันติสุขได้
???
รักษาแผ่นดินไทย ให้เป็นแผ่นดินธรรม
จุดเริ่มของแผ่นดินธรรม
ถ้าคนประสานกับธรรม ก็มีทางแก้ปัญหาชีวิตและสังคม
พุทธะโยงเราเข้าถึงธรรม
พระรัตนตรัย ต้องรู้จักใช้ให้เป็นสรณะ
มนุษย์ประเสริฐเพราะเป็นสัตว์ที่ฝึกได้
จากเทพสู่ธรรม จากธรรมสู่กรรม
พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว จะประกาศธรรมแสนยาก
ย้ำ
รู้ธรรม คือรู้เรื่องธรรมดา
โพธิพฤกษ์ โพธิญาณ
มหาวิทยาลัยสงฆ์มีไว้ทำไม
???
๕ แคว้น ที่ยิ่งใหญ่
ย้ำอุเบกขา
มาฆบูชา พัฒนาความรักแห่งวาเลนไทน์
ให้รักกับรู้ มาเข้าคู่ดูแลกัน
มนุษย์กับมนุษย์รักกัน แต่มนุษย์ต้องอยู่ให้ดีกับธรรม
ถึงความรักจะดี ก็ไม่พอ
มาฆบูชา กับ วาเลนไทน์
ละชั่ว ทําดียังไม่พอ ต้องต่อด้วย
หัวใจเดียว แต่มีสี่ห้อง
มาฆบูชาขึ้นมาเป็นวันสําคัญในพระพุทธศาสนา
สาระของโอวาทปาติโมกข์
มาฆบูชา กับ หัวใจพระพุทธศาสนา
ราชคฤห์ ศูนย์อํานาจการเมือง
หัวใจธรรม จากจุดศูนย์กลาง
พระพุทธศาสนาในมือของพุทธบริษัท
ร่องรอยที่เหลือ และเค้าการฟื้นฟูหลังหมดสิ้น
อวสานมาถึง เมื่อทัพมุสลิมเตอร์กลงดาบสุดท้าย
เทียบ ปทท.
นาลันทากับความเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนา
วัดพุทธ ต้นกําเนิดมหาวิทยาลัยของโลก
พระพุทธศาสนาเกิดขึ้น ก็เกิดการศึกษาแก่มวลชน
ฟูจิ
เอาธรรมไปเป็นหลักประกันชีวิตและสังคมไว้
ธรรมเป็นอิสระจากคน คนถึงธรรมเป็นอิสระจากสังขาร
ศรัทธากับปัญญา นำเข้าเฝ้าพระพุทธเจ่า
ศูนย์กลางเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ราชสังคหวัตถุ ๔
หลักธรรมที่อโศกราชาใช้ปกครองบ้านเมือง
อโศกราชากล้าหาญในทางสันติ
เทียบกันแล้ว สรุปได้
ดูพุทธพจน์แล้ว อ่านธรรมโองการเทียบ
อโศกธรรม หรือ คหัฐวินัย
ธรรมวิชัย:หลักการใหญ่ที่นําเข้าสู่พุทธธรรม
อโศกมหาราช อโศกธรรม
ศิลาจารึกอโศก เป็นของพระเจ้าอโศกมหาราชแน่หรือ
ทรัพย์และอํานาจ สู่ความหมายและคุณค่าใหม่
ธรรมวิชัย
ไม่ประมาท ก็ไม่เสื่อม
วัดพระราม
ชมพูทวีปในพุทธกาล
สังเวชนียสถาน ๔
ย้อนทางเข้าสู่แดนพุทธภูมิ
รู้ธรรม คือรู้เรื่องธรรมดา
ตรัสรู้ธรรม คือรู้เรื่องธรรมดา
การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
นั้น เกิดขึ้นอย่างไร เราก็เรียนพุทธประวัติกันมาพอสมควรแล้ว ลำดับเหตุการณ์นั้น คงไม่จำเป็นจะต้องเล่าให้ฟังอีก แต่มีจุดเฉพาะสำคัญๆ ที่ควรสังเกต
จึงขอย้อนรำลึกไปถึงคำที่อาตมาเคยเล่าให้ฟังว่า
การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
นั้น คือ
การค้นพบสัจธรรมความจริง
และความจริงที่ว่านี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมดา ตามพุทธพจน์ที่ได้เคยอ้างไว้ว่า
ตถาคตทั้งหลาย จะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดก็ตาม หลักความจริงก็ดำรงอยู่ตามธรรมดาของมันอยู่แล้วว่าดังนี้ๆ
ตถาคต (คือพระพุทธเจ้า) ทั้งหลาย ได้ค้นพบความจริงนั้นแล้ว จึงนำมาเปิดเผย แสดง ชี้แจงให้เข้าใจง่ายและวางเป็นหลักลงว่า ดังนี้ๆ
(อ้างแล้ว = องฺ.ติก.๒๐/๕๗๖)
นี่คือพุทธพจน์ที่ตรัสแสดงหลักความจริงที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ว่าเป็นเรื่องของธรรมดา แห่งธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระองค์จึงได้ทรงเปล่งอุทานว่า
ยทา หเว ปาตุภวนฺติธมฺมา
เป็นต้น ซึ่งมีคำแปลเริ่มต้นว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ คำว่า “พราหมณ์” ในที่นี้ หมายถึง ท่านผู้บำเพ็ญเพียรปฏิบัติ เพื่อเข้าถึงจุดหมายที่ดีงามสูงสุด คือ เป็นคำเก่าที่เขาใช้กันสืบมา พระองค์ทรงนำมาใช้ด้วย
“
เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ทั่วถึงธรรมพร้อมทั้งเหตุ
”
(ขุ.อุ.๒๕/๓๘)
อันนี้เป็นพุทธพจน์ที่แสดงหลักความจริงที่ตรัสรู้ส่วนหนึ่ง คือ แสดงถึง
กฎธรรมชาติ
แห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัย
ความจริงที่บอกว่ามีอยู่ตามธรรมดา ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนี้ คืออะไร ก็คือมาค้นพบความจริงของกฎธรรมชาติแห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัย คือ การที่ผลเกิดจากเหตุ และเหตุก่อให้เกิดผล ที่เรียกกันง่ายๆว่า
กฎปฏิจจสมุปบาท
หรือเรียกเต็มว่า
อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท
นั่นเอง
ต่อจากนั้น พระองค์ก็ตรัสต่อไปเป็น
คาถาที่ ๒
มีข้อความคล้ายๆ กันว่า
(ขุ.อุ.๒๕/๓๙)
“
เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยของพราหมณ์นั้น ย่อมหมดสิ้นไป เพราะได้รู้ธรรมอันเป็นที่สิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย
”
อันนี้ก็คือการที่พระองค์ตรัสอ้างอิงไปถึง
ธรรม
อันเป็นที่สิ้นเหตุปัจจัย ที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ ได้แก่
นิพพาน
ท่อนที่ ๑
แสดงหลัก
ปฏิจจสมุปบาท
อันว่าด้วยปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัย
ท่อนที่ ๒
แสดงถึงพระ
นิพพาน
ที่เป็นธรรมพ้นจากปัจจัยปรุงแต่ง
ท่อนที่ ๓
ต่อจากนั้น เมื่อได้ตรัสรู้
อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท
พร้อมทั้ง
นิพพาน
แล้ว
คาถาสุดท้าย
ก็แสดงถึง
ผล
ของการตรัสรู้ว่า พระปัญญาตรัสรู้ของพระองค์
ทำลายความมืดแห่งอวิชชา
ให้หมดไป เหมือนอย่างดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นมาทอแสง ทำให้เห็นสิ่งทั้งหลายในโลกนี้สว่างกระจ่างชัดเจน
"
เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์ย่อมกำจัดมาร และเสนามารเสียได้ ดุจดวงอาทิตย์กำจัดมืดส่องฟ้าให้สว่างเจิดจ้า
"
(ขุ.อุ.๒๕/๔๐)
สามคาถา
นี้คือ
พุทธพจน์
ที่เรียกว่าเป็น
ปฐมพุทธพจน์
คือพระดำรัสครั้งแรกของพระพุทธเจ้า ตามที่อรรถกถาอธิบายไว้
เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ความจริงแห่ง
สภาวะที่มีอยู่ตามธรรมดา
คือ กฎธรรมชาติแห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัย พร้อมทั้งธรรมที่พ้นจากปัจจัยปรุงแต่ง คือ
นิพพาน
นี่แหละเป็นเรื่องที่ดูคล้ายว่าง่ายๆ เพราะ
ถ้าเราจะตอบชาวบ้าน
เวลาเขาถามว่า
พระพุทธศาสนาสอนอะไร
หรือ
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
เราตอบในความหมายหนึ่งง่ายๆ ก็บอกว่า
ตรัสรู้ธรรมดา
นี่เอง เพราะว่า
ตรัสรู้ธรรม
ก็คือ
ตรัสรู้ธรรมดา
แต่ว่า
ธรรมดา
นี่แหละ เป็นเรื่องที่ยากที่สุด
ความจริงนั้นมีอยู่ เป็นของธรรมดา มันมีอยู่ตลอดกาล ไม่ว่าใคร จะรู้หรือไม่รู้ใครจะเห็นหรือไม่เห็น ความจริงก็มีอยู่อย่างนั้น
แต่
เพราะมนุษย์ไม่รู้ความจริงที่เป็นธรรมดา
นี่แหละ เขาจึงดำเนินชีวิตไม่ถูกต้อง แล้วก็ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ทั้งปัญหาใน
ชีวิต
ของตนเอง ปัญหาใน
สังคม
และปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม ทุกอย่างทุกประการ
แต่
ถ้ามนุษย์รู้ความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดานี้เมื่อใด
เมื่อนั้น
เขาก็ปฏิบัติถูกต้องต่อทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อปฏิบัติถูกต้อง ก็ไม่เกิดปัญหา ทุกอย่างก็ดำเนินไปด้วยดี เรียบร้อย ชีวิตก็ดีงาม ประเสริฐ มีความสุข
ฉะนั้น ปัญหาของมนุษย์นี้ ในที่สุด เมื่อสืบสาวลึกลงไป ก็อยู่ที่การไม่รู้ไม่เข้าใจความจริงเท่านั้นเอง แล้วจึงมาถึงขั้นปฏิบัติไม่ถูกต้อง แล้วก็เกิดปัญหา
ดังนั้น เมื่อมองในแง่หนึ่ง เรื่องของ
การตรัสรู้
นี้ก็เหมือนกับว่าไม่มีอะไรมาก ก็คือการเข้าถึงธรรมดา หรือความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดา แต่
ตัวความจริง ตัวธรรม
หรือ
ธรรมดา
อันนี้แหละ ที่เป็นสิ่งประเสริฐที่สุด ถ้าเราเข้าถึงความจริงเมื่อใด ทุกอย่างก็ลงตัวเรียบร้อย
แม้แต่
วิทยาศาสตร์
อย่างที่เรารู้จักกันนี้ ก็ไม่ได้ทำการพิเศษอะไร วิทยาศาสตร์ก็ค้นพบธรรมดานี่แหละ คือค้นพบความจริงตามธรรมดาของธรรมชาติ พูดสั้นๆว่าค้นพบธรรม และเป็น
ธรรมเพียงด้านเดียว
คือ วุ่นอยู่แค่
รูปธรรม
แต่ก็เพียรพยายามทำกันมาเป็นกิจการใหญ่โต ลงทุน ลงแรงไปไม่รู้เท่าไร เพื่อจะหาความจริงตามธรรมดานี่แหละ แล้วก็ค้นพบกันมาทีละน้อยๆ
ไปๆ มาๆ วิทยาศาสตร์ก็ค้นพบความจริงทางด้านวัตถุด้านเดียว และก็ยังไม่ทั่วตลอด ไม่ถึงที่สุด
แม้แต่ความจริงเพียง
ด้านวัตถุ
อย่างเดียว ก็ยังใช้เวลาและแรงงานกันไม่รู้ว่าเท่าไร และบัดนี้ก็ยังหาได้ถึงความจริงนั้นไม่
สิ่งที่ค้นพบในทางวิทยาศาสตร์สมัยหนึ่ง
ว่าอย่างนี้ๆ นึกว่าค้นพบความจริงแท้แล้ว แต่เวลาผ่านไปอีก ๒๐ ปี ๕๐ ปี ๑๐๐ ปี
นักวิทยาศาสตร์รุ่นหลัง
ที่มีเครื่องมือทันสมัยยิ่งขึ้น และมีประสบการณ์จากคนรุ่นก่อนทำไว้ให้มากกว่า ก็ค้นพบว่าสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์รุ่นก่อนค้นพบไว้นั้นไม่จริงแท้เสียแล้ว เพราะว่ามองความจริงไม่ทั่วถึง มองเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์โยงกันไม่รอบด้าน ก็กลายเป็นว่า สิ่งที่ค้นพบเก่านั้น เป็นเท็จไป
เมื่อค้นพบความจริงใหม่ ก็ประกาศว่า อันนี้ถึงจะจริง ต่อไปก็ค้นพบอีกว่า อันนั้นก็อาจจะไม่จริงอีก ก็เป็นอย่างนี้กันเรื่อยมา
จุดยอดปรารถนา
หรือความต้องการสูงสุด ก็อันเดียว คือ ต้องการเข้าถึงความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดานี่เอง แต่มนุษย์ก็วนเวียนอยู่กับแง่มุมต่างๆ ของมัน
สำหรับ
ธรรมที่เปิดเผย
ไว้ด้วยปัญญาตรัสรู้ในพระพุทธศาสนานั้น เรามองเห็นกันว่า เป็นความจริงที่ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง ความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนั้น เป็นหลักการใหญ่ที่ไม่จํากัดเฉพาะ
ด้านวัตถุ
อย่างเดียว และไม่จํากัดเฉพาะ
นามธรรม
แต่ท่านมองครอบทุกอย่าง ทั้ง
รูปธรรม
และ
นามธรรม
ที่เราเรียกกันว่า
นามรูป
เราถือว่า
ชีวิต
มนุษย์นี้เป็น
สุดยอด
ของสิ่งทั้งหลายบรรดามีในโลก ถ้าเราไปค้นพบแต่เพียง
วัตถุ
เราก็ได้เพียงด้านเดียวของธรรม และเข้ามาถึงตัวเราก็แค่ด้าน
ร่างกายเ
ท่านั้นเอง
ยิ่งกว่านั้น ในเมื่อ
รูปธรรมกับนามธรรม
มันอิงอาศัยกันอยู่ การรู้เพียงอย่างหนึ่งอย่างเดียว ก็ไม่ทำให้เข้าใจแม้แต่อย่างเดียวนั้นได้ถูกต้องถ่องแท้
ชีวิต
ของมนุษย์
นี้
เป็นสิ่งที่มีทุกอย่างรวมอยู่พร้อมในตัว
จะว่าทาง
ด้านวัตถุ
ก็คือส่วนที่เรียกกันง่ายๆ ว่า ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งกลั่นกรองมาสุดยอด จึงมาเป็น
ร่างกาย
ของเรา นอกจากร่างกายแล้ว เรายังมีส่วน
จิตใจ
อีก ซึ่งเป็น
นามธรรม
รวมเรียกว่า
ขันธ์ ๕
มีรูป มีเวทนา มีสัญญา มี สังขาร มีวิญญาณ ทั้ง ๕ อย่างนี้ละ เป็น
ชีวิตของมนุษย์
พระพุทธเจ้าทรงค้นพบธรรม ตรัสรู้ความจริงแห่งกฎธรรมชาติที่ครอบคลุมทั้งเรื่องนามธรรมและรูปธรรม เพราะฉะนั้น จึงเป็นความจริงที่มีความสมบูรณ์ในตัว ไม่ใช่เป็นความจริงเฉพาะด้าน
เวลานี้ การค้นคว้าทางวิชาการต่างๆ ที่ว่าเป็นวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้ามามาก แต่ไปเน้นเพียงด้านวัตถุ ก็จึงจํากัดตัวเองให้ค้นพบความจริงไม่ทั่วถึง ยังจะต้องพิสูจน์ค้นคว้ากันต่อๆ ไป
จนกระทั่งมาถึง
ปัจจุบัน
นี้ วิทยาศาสตร์เริ่มหันมาสนใจเรื่องจิตใจ
เปลี่ยนจากแต่ก่อนนี้ที่ถือว่าจิตใจเป็นเรื่องที่ไม่ชัดเจน
เป็นเรื่องที่ขึ้นต่อความรู้สึก ไม่เกี่ยวกับความจริงในธรรมชาติ แล้วยังแถมแยกคนออก เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากธรรมชาติอีกด้วย เป็นกันมาตลอด
ประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตก
จนกระทั่งเวลานี้จึงกลับหันมาสนใจเรื่อง
นามธรรม
และถามเอาจริงเอาจังขึ้นมาว่า
จิตใจคืออะไร
ถ้ามนุษย์จะเข้าถึงความจริงแท้ เขาหนีไม่พ้นที่จะต้องเข้าใจตัวมนุษย์เอง
ถ้าเข้าใจตัวมนุษย์เองแล้ว กล่าวได้ว่าเข้าใจหมดทุกอย่าง เพราะว่า ตัวมนุษย์นี้เป็นสุดยอดของสิ่งทั้งหลายบรรดามีในโลก และในสากลพิภพ ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนให้เราค้นพบตัวเอง
ให้รู้จักตัวเอง
ให้เข้าถึง
ความจริง
ที่มีอยู่ในขันธ์ ๕ นี้
เมื่อใดเข้าถึงความจริงนี้แล้ว ก็จะทำให้เราปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายถูกต้อง ทั้ง
ภายใน
และ
ภายนอก
ถ้าปฏิบัติต่อชีวิตจิตใจของตัวเองยังไม่ถูกต้อง ก็ปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายภายนอกให้ถูกต้องไม่ได้ด้วย และก็จะแก้ปัญหาไม่จบไม่สิ้น
ปัญหาทุกอย่างนั้น มันโยงกันไปหมด มีเหตุปัจจัยถึงกันทั้งรูปธรรมและนามธรรม ในที่สุดมนุษย์จะหนีไม่พ้น ที่จะต้องทำความเข้าใจตัวมนุษย์เองให้ชัดเจน
คนจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง
ซึ่งประกอบด้วยทั้งกายและใจ ทั้งนามธรรมและรูปธรรม พระพุทธเจ้าได้ทรงจับจุดของความจริงนี้ คือค้นพบความจริงของชีวิตนี้ทั้งหมด ทั้งนามธรรมและรูปธรรม โดยมองเห็น
ระบบความสัมพันธ์
แห่งเหตุปัจจัยที่ครอบคลุม
เพราะฉะนั้น โพธิญาณของพระองค์ จึงเป็นสิ่งที่ให้ถึงสัจจะ ไม่มีการเคลื่อนคลาดเปลี่ยนแปลง แม้เวลาจะผ่านมาสองพันห้าร้อยกว่าปีแล้ว ถึงปัจจุบันนี้ ก็ไม่เห็นว่าจะมีการคลาดเคลื่อนไป ยิ่งเวลาผ่านไป เราก็ยิ่งเห็นคุณค่าแห่งพระธรรมที่พระองค์ประกาศไว้มากขึ้นทุกที
Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2567 13:37:55 น.
0 comments
Counter : 292 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com