กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2567
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
21 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

ดุลยภาพในระบบความสัมพันธ์ของธรรม



235 ดุลยภาพในระบบความสัมพันธ์ ทำให้ชีวิต และสังคมอยู่พอดี

 
     อยากให้โยมมองเห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นระบบความสัมพันธ์  ได้ยกตัวอย่างเรื่องพรหมวิหาร ว่าเป็นระบบแห่งดุลยภาพ   เป็นเรื่องของความพอดีคือ มัชฌิมา
 
     การรักษาความเป็นมัชฌิมา  ต้องมีฐานจากปัญญารู้เข้าใจ  เช่นว่า  กินเพื่ออะไร  รู้ความมุ่งหมายของการกิน  ก็เอาปัญญาที่รู้ความมุ่งหมายของการกินมาปรับ  ทำให้เกิดการกินพอดี  เป็นมัชฌิมา  นี่ก็เรื่องง่ายๆ
 
     อีกแง่หนึ่ง ก็คือระบบดุลยภาพแห่งองค์รวมที่ว่า ธรรมทั้งหลายนั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นชุดๆ ต้องปฏิบัติให้ครบชุด ไม่ใช่ปฏิบัติ กระจัดกระจาย เว้าๆ แหว่งๆ ได้โน่นขาดนี่ อันนี้ทำอันนั้นไม่ทำ
 
     เอาแต่เมตตากรุณา สัมพันธ์กับบุคคลดี  แต่ขาดความสัมพันธ์กับธรรม  อุเบกขาไม่เอาเสียนี่ หรือเอาแต่อุเบกขา  เอาแต่ธรรม  แต่ความสัมพันธ์กับบุคคลไม่เอา เอียงสุดไปข้างโน้นหรือมาข้างนี้  เลยไม่พอดีสักที  ถ้าปรับให้ได้พรหมวิหารครบ ๔ อย่างถูกต้องตามสถานการณ์ ก็จะเกิดดุลยภาพ
 
     ดุลยภาพในระบบความสัมพันธ์อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมาก คือ ความประสานปัจจัยแห่งธรรมที่มาประกอบกัน ที่บอกแล้วว่า ธรรมเดียวกัน ออกผลต่างกันเมื่อองค์ประกอบร่วมเปลี่ยนไป
 
     เพราะฉะนั้น  จะต้องปฏิบัติธรรมโดยคำนึงถึงธรรมอื่นที่จะมาเป็นองค์ประกอบร่วม คือต้องปฏิบัติธรรมแต่ละอย่างพร้อมกับธรรมอื่นที่เป็นองค์ประกอบร่วมที่ถูกต้องของมัน
 
     ต้องรู้ว่า  ตัวนี้ต้องไปประกอบกับตัวโน้น เช่น ศรัทธา กับ ปัญญา นี่ก็เป็นความพอดีชนิดหนึ่ง
 
     ศรัทธานั้น  เป็นกุศลธรรม  ท่านที่ชอบอภิธรรมย่อมทราบดี ศรัทธา สติ  หิริ โอตตัปปะ เป็นต้น  เป็นกุศลธรรม เป็นโสภณเจตสิก
 
     โสภณเจตสิก เป็นเจตสิกที่ดีโดยตัวของมันเอง  แต่เวลาใช้  ถ้าเอาไปประกอบใช้ผิด ก็เกิดโทษ  ฉะนั้นเวลาประกอบใช้  ถ้าจะทำให้เกิดมัชฌิมาเป็นทางสายกลาง  จะต้องดูตัวประกอบว่า ธรรมตัวนี้ไปประกอบกับธรรมตัวไหน
 
     ถ้าไปประกอบผิดตัว  ดังที่เคยยกตัวอย่างทางวิทยาศาสตร์ที่ได้พูดแล้ว ว่าเอาไฮโดรเจน ๒ บวกกับออกซิเจน ๑ เป็น H2O เกิดเป็นน้ำเป็นประโยชน์   แต่ถ้าเอาคาร์บอน ๑ บวกกับออกซิเจน ๒ กลายเป็น CO2 คือคาร์บอนไดออกไซด์กลายเป็นพิษ (แก่คน) ไปเลย หรือร้ายกว่านั้นอีก   เอาคาร์บอน ๑ บวกกับออกซิเจน ๑ กลายเป็น CO คือคาร์บอนมอนอกไซด์คนยิ่งแย่
 
     ออกซิเจนเหมือนกัน แต่ไปประกอบกับธาตุคนละอย่าง และในสัดส่วนที่แตกต่าง เกิดดีเกิดเสียได้องค์ธรรมก็คล้ายๆทำนองนั้น
 
     องค์ธรรมนี้อาจจะดี  แต่หากองค์ประกอบร่วมของมันเสีย หรือไปประกอบกับองค์ธรรมอื่นที่เป็นปฏิปักษ์กัน หรือแม้แต่ไปประกอบกับองค์ร่วมที่ดีแต่ผิดสัดส่วนไป อาจจะเกิดผลร้ายได้
 
     แม้แต่องค์ธรรมเดียวกันที่ดี  ก็สามารถเป็นปัจจัยแก่องค์ธรรมที่ไม่ดีได้  เรียกว่ากุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล ซึ่งท่านยกตัวอย่างไว้ในคัมภีร์โดยเฉพาะอภิธรรม
 
     อกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศลก็ได้   กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลก็ได้   เช่น   คนที่ศรัทธาทำความดี  ทำบุญ ทำกุศล เกิดความภูมิใจว่า ตัวได้ปฏิบัติบำเพ็ญธรรม ได้ก้าวหน้าในธรรม เกิดความสันโดษพอใจ   เกียจคร้านขึ้นมา เฉื่อยชา ประมาท เป็นอกุศล  เรียกว่า กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล   หรือเกิดลำพองใจว่า  เรานี้เก่งกว่าเหนือกว่าคนอื่น ได้ทำบุญมาก ก็เกิดเป็นมานะ นี่ก็กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล  อย่างนี้เป็นต้น
 
     ฉะนั้น   เรื่องธรรมที่พอดี  ต้องมองระบบสัมพันธ์แห่งความเป็นเหตุปัจจัยต่อกัน การมาเป็นตัวประกอบร่วมก็อย่างศรัทธาที่ว่าเมื่อกี้
 
     ศรัทธาโดยตัวมันเองเป็นกุศล  แต่ไปประกอบผิด  ไปเข้ากับโมหะ  ก็กลายเป็นความงมงาย และถ้าเกิดวิริยะขึ้นมา  อาจจะเอาความเชื่อถือลัทธิศาสนาของตัวไปบีบคั้นเบียดเบียนคนอื่น กลายเป็นเกิดโทษรุนแรงไปเลย  ลัทธิศาสนาต่างๆ จึงเป็นเหตุให้คนฆ่าฟันเบียดเบียน ทำสงครามกันได้
 
     ในพุทธศาสนาบอกว่า  ศรัทธามา  ต้องเอาปัญญาประกบทันที  ตัวประกอบร่วมต้องมา  พอศรัทธามา  ปัญญาประกบ  ก็ทำให้ศรัทธาตั้งอยู่บนฐานของเหตุผล   มีวิจารณญาณ  และศรัทธานั้นต้องเป็นไปเพื่อปัญญา
 
     ปัญญาไม่มีศรัทธาช่วย   กลายเป็นคนจับจด   นั่นก็จะเอา  นี่ก็จะเอา  รู้อันนี้นิดแล้วไปรู้อันโน้นหน่อย ไม่เอาจริงสักเรื่องหนึ่ง   พอเอาศรัทธามาประกอบ  ศรัทธาทำให้ใจพุ่งดิ่ง ทำให้จับเป้า  จับจุดแน่ลงไป   พอศรัทธาจับให้   ปัญญาก็เจาะศึกษาเรื่องนั้นอย่างจริงจังลงลึกเลย และพุ่งเป้า  ทำให้มีกำลังในการศึกษา   ก็ทำให้เกิดปัญญาจริงจัง
 
     ศรัทธาช่วยปัญญา   ทั้งในแง่ที่จับจุดให้   ทำให้มีทิศทางแน่นอน  และทำให้มีกำลังเอาจริงเอาจัง  ศรัทธาจึงหนุนปัญญา  ช่วยให้เกิดปัญญา  และนำไปสู่ปัญญา  จนกระทั่งศรัทธาหมดหน้าที่   ก็ยกส่งภาระให้ปัญญา  ในขั้นสุดท้าย  อันนี้เรียกว่า องค์ธรรมที่มาประกอบกันนั้นสำคัญมาก
 
     เพราะฉะนั้น เราจะมองธรรมโดดๆไม่ได้   จะบอกว่าธรรมข้อนี้ก็ดีแล้วนะไม่ได้  บางทีเอาไปประกอบกับตัวผิดเข้า  เกิดผลร้ายหนักเข้าไปอีก
 

235 ศรัทธา ปัญญา  อยู่ในชุดของอินทรีย์ ๕  พละ ๕ 



 


Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2567 10:14:38 น. 0 comments
Counter : 160 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space