กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มีนาคม 2567
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
1 มีนาคม 2567
space
space
space

ทีนี้ มองดูเกาะใหญ่ ถัดลงไปทางใต้


 
 
235 ทีนี้  มองดูเกาะใหญ่  ถัดลงไปทางใต้ ต่อจากสุมาตรา คือ ชวา ว่า เป็นอย่างไร
 

     ใน ค.ศต. 16 เมื่อรัฐสุลต่านแห่งมะละกา ที่มาเลเซียล่มไปนั้น  ที่ชวาได้มีรัฐมุสลิมอิสระเกิดขึ้นแล้วหลายอาณาจักร
 
     ในบรรดารัฐเหล่านี้ รัฐสำคัญที่ยิ่งใหญ่สุดท้าย ซึ่งแผ่อำนาจไปจนคุมชวาได้เกือบหมดทั้งเกาะ อันควรกล่าวถึงไว้เล็กน้อย คือ รัฐสุลต่าน แห่งมาตาราม  ที่ทำให้นาม “มาตาราม” ของอาณาจักรฮินดู-พุทธ อันหายไปเมื่อหลังปี 1019/๑๕๖๒ กลับมีขึ้นใหม่ และสืบอายุยืนยาวต่อไป เกือบ ๒๐๐ ปี (1584/๒๑๒๗-1755/๒๒๙๘)
 
     มาตารามใหม่นี้  เดิมเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรชื่อว่าปชัง (Pajang-ปะชัง) แต่ผู้นำได้ปราบปชังลงได้แล้วขึ้นเป็นราชาองค์แรก มีพระนามว่า เสนาปติ  อิงคะลคะ (Senapati Ingalaga; อ่านแบบไทยก็คือ เสนาบดี  อิงคลัค) และต่อมาเรียกกันว่า อาทิวิโชโย (Adiwijoyo คืออาทิวิชยะ  เรียกแบบไทยเป็นอาทิวิชัย  แปลว่า  ผู้มีชัยชนะเป็นต้นแรก  หรือผู้เริ่มต้นแห่งชัยชนะ  คือเป็นผู้เริ่มสร้างชัยชนะให้แก่ประเทศชาติ)
 
     แต่ราชาสำคัญที่ปรากฏนามใน พ.ศ.๒๑๕๘ ใช้คำนำพระนามเป็น สุลต่าน (คือ Sultan Agung/สุลต่านอากุง, ครอง 1613-1645) ซึ่งได้ปรับศาสนาอิสลามให้เข้ากับวัฒนธรรมประเพณีดังเดิมที่เป็นฮินดูแบบชวา  รวมทั้งจัดทำปฏิทินขึ้นใหม่ที่เข้ากับวิถีปฏิบัติทั้งอย่างอิสลามและแบบชวา
 
     (มีเรื่องเล่ากันมาในอินโดนีเซียว่า เมื่อราชาองค์แรกที่ยังเป็นพุทธหรือฮินดูสวรรคต โอรสสององค์รบชิงราชย์กัน องค์พี่ที่ชนะเปลี่ยนเป็น มุสลิม องค์น้องหนีไปบาหลีและลั่นวาจาว่า อีก ๕๐๐ ปีจะกลับมา)
 
     อนึ่ง  ขอพูดแทรกว่า ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น การแผ่ขยายเข้ามา ของศาสนาอิสลามในดินแดนแถบที่เป็นมาเลเซียและอินโดนีเซียนี้  ดำเนินไปกับวิถีของการค้าขาย  มิใช่มากับกองทัพอย่างที่เป็นไปบนแผ่นดินใหญ่เช่นชมพูทวีป  ดังนั้น  โดยทั่วไปจึงเป็นการแผ่ขยายโดยทางสันติ
 
     อย่างไรก็ดี นักประวัติศาสตร์ได้ชี้ลึกลงไปให้เห็นข้อพึงสังเกต เฉพาะอย่างยิ่งที่เกาะชวานี้  (ซึ่งโยงมาให้เข้าใจปัจจุบันด้วย้) ว่า แต่เดิมมา ในยุคของศรีวิชัย และมัชปาหิต ชาวชนบท โดยเฉพาะตามชายฝั่งทะเล ซึ่งอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางความเจริญ ยังเข้าไม่ค่อยถึงพุทธศาสนา และศาสนาฮินดูไม่ซึมซาบนักในวัฒนธรรมที่มากับศาสนาทั้งสองนั้น
 
     ในภาวะเช่นนี้ พ่อค้ามุสลิมจากอินเดียและอาหรับก็เข้ามาค้าขาย ตลอดจนเขาตั้งถิ่นฐานอยู่ตามชายฝั่งทะเล คนเหล่านี้มีฐานะดีตามวิถีของพาณิชย์ นำชุมชนใหม่ๆ ให้เจริญขยายตัวรวดเร็ว พร้อมนั้นก็เผยแพร่ศาสนาอิสลามแก่ชาวบ้านชาวถิ่น ซึ่งไม่เพียงเข้ามาตามทางแห่งศรัทธาเท่านั้น  แต่เพื่อได้โอกาสที่จะเจริญก้าวหน้าในวงธุรกิจการค้าขายด้วย
 
     ต่อมาก็เกิดอาณาจักรใหม่ๆ ขึ้นแถบชายทะเล ปรากฏว่าอาณาจักรมุสลิมที่เกิดใหม่เหล่านี้ได้นำวิธีบังคับเข้ามาใช้ด้วย ในการทำให้คนนับถืออิสลาม และได้ดำเนินการตามวิธีนี้ ทั้งที่ชวาภาคตะวันตก และแม้บนเกาะสุมาตราภาคใต้ถึงปาเล็มบัง ต่อมา อาณาจักรมุสลิมใหม่ๆ นี้ ก็ผนวกการบังคับคนให้นับถือศาสนานั้น  เข้ากับการเมืองการทหารในการขยายดินแดน  ดังที่อาณาจักรเดมัก (Demak) ได้ยกทัพบุกลึกเข้ามายังส่วนในของชวา เมื่อกลาง ค.ศต. 16 (ราว พ.ศ.๒๑๐๐)
 
     ปฏิบัติการนี้ แม้จะยังไม่ประสบความสำเร็จ แต่ทำให้อาณาจักรในแผนดิน (inland  หรือ interior kingdom)  ที่อยู่ลึกเข้ามา ซึ่งยังแนบแน่นในวัฒนธรรมเดิม และถือตัวว่าเป็นพวกชวาแท้เกิดความขัดเคืองมาก
 
     เหตุการณ์ถึงจุดเดือด  เมื่ออาณาจักรมาตาราม ในชวาภาคกลาง ที่แม้จะนับถืออิสลาม  แต่สืบวัฒนธรรมเดิม  เรืองอำนาจขึ้นมา และในกลาง ค.ศต.17 (ราว พ.ศ.๒๒๐๐; คงกลัวด้วยว่าพวกรัฐชายฝั่งทะเลจะไปทำลายพวกตน) ได้ออกหน้านำทัพมาทำลายรัฐมุสลิมแถบชายฝั่งทะเลให้แหลกไป
 
     การณ์ครั้งนี้เป็นเหตุให้ศาสนาอิสลามแถบนั้นชงักหยุดแผ่ขยายตัวมาอีกนาน  แล้วยังมาเจอกับสถานการณ์ใหม่อีกแบบหนึ่ง   ในยุคที่พวกดัทช์เข้ามา  จนกระทั้งสิ้น ค.ศต.19  (หลัง พ.ศ.๒๔๕๐)  จึงฟื้นกำลังเฟื่องฟูได้ใหม่
 
     พวกดัทช์ (ฮอลันดา หรือ เนเธอร์แลนด์)  ได้เข้าตั้งฐานในชวาตั้งแต่ปี  1602/๒๑๔๕ นับแต่นั้นมา มาตารามก็ต้องต่อสู้กับการขยายตัวของลัทธิอาณานิคม ซึ่งระยะแรกมาตารามยังเป็นต่อ แต่หลังสิ้นสุลต่านองค์ที่ ๓ แล้ว มาตารามก็มีแต่เสื่อมอำนาจและสูญเสียดินแดนไปเรื่อยๆ
 
     พอถึงปี 1749/๒๒๙๒ มาตารามก็กลายเป็นเมืองขึ้นของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (Dutch East India Company) จากนั้นอีก ๖ ปี เกิดศึกสืบราชย์กันเองภายใน เมื่อปี 1755/ ๒๒๙๘ ทำให้แบ่งออกเป็นเขตตะวันตก กับตะวันออก กลายเป็น ๒ แดน คือ Surakarta กับ Yogyakarta/Jogjakarta/Djokjakarta และอีก ๒ ปีต่อมา ก็ถูกจัดแบ่งเป็น  ๓ เขต มาตารามก็ถึงวาระแห่งอวสาน
 
     ครั้นถึงปี 1799/๒๓๔๒ เนื่องจากบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา ได้ล้มละลายลง และถูกยุบ รัฐบาลฮอลันดา/เนเธอร์แลนด์ จึงเข้าครอบครองควบคุมสมบัติของบริษัทนั้นทั้งหมด แล้วดินแดนแถบนี้ก็ถูกเรียกรวมกันว่า เป็นหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของฮอลันดา  (Dutch East Indies; ถือว่าเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ ตั้งแต่ปี  1816/๒๓๕๙)
 
     ต่อมาระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองหมู่เกาะนี้ใน ปี 1942/๒๔๘๕ และได้สนับสนุนให้ชาวถิ่นเรียกร้องอิสรภาพ แล้วเกิดการดิ้นรนขวนขวายจนถึงปี 1945/๒๔๘๘ ขบวนการชาตินิยมมีซูการ์โน (Sukarno) เป็นผู้นำ  ได้ประกาศอิสรภาพ แต่ก็ยังต่อสู้กันอีก ๔ ปี  เนเธอร์แลนด์  จึงยอมให้เป็นเอกราช ในปี 1949/๒๔๙๒ เรียกว่า สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) โดยมีซูการ์โนเป็นประธานาธิบดีคนแรก
 
     คนไทยผู้เดินทางไปอินโดนีเซียที่สังเกต  ได้บอกความรู้สึกประทับใจว่าชาวบ้านอินโดนีเซียทั่วๆ ไปที่ได้พบ  มีอาการกิริยาแสดงน้ำใจไมตรีต่อชาวพุทธที่เป็นอาคันตุกะเป็นอันดี  ทั้งนี้พอจะเห็นว่า อินโดนีเซียมีบรรยากาศแห่งความรู้สึกผูกพัน และภูมิใจต่อความรุ่งเรืองของศรีวิชัย เป็นต้น  ที่เป็นอดีตแห่งชนชาติของตน พร้อมทั้งต่อบรรพบุรุษชาวพุทธที่เคยมี
 
     ถ้อยคำที่ใช้กันทั่วไปในอินโดนีเซีย  โดยเฉพาะในภาษาเขียน ตลอดจนชื่อคนที่นิยมตั้งกัน ก็เป็นคำจากบาลี-สันสกฤตมาก
 
     แม้แต่อุดมการณ์แห่งชาติของอินโดนีเซีย  ที่ตราไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 1945/๒๔๘๘ ตั้งแต่ประกาศอิสรภาพของชาติ  ซึ่งยังใช้อยู่จนบัดนี้ (เคยเปลี่ยนใช้ฉบับอื่นเมื่อปี 1950/๒๔๙๓ แต่พอถึงปี 1959/๒๕๐๒ ก็กลับ ประกาศใช้อย่างเดิม)  ก็เรียกว่า “ปัญจศีล”  (Pancasila; คือหลักการ  ๕ ข้อ ซึ่งเป็นศีล ๕ ทางการเมือง  ไม่ใช่ศีล ๕ ในความหมายอย่างเดิมที่เรารู้กัน)
 
     เรื่องของดินแดนมาเลเซีย และอินโดนีเซีย เท่าที่เกี่ยวกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนา และฮินดูู   จนถึงอิสลาม  เห็นว่าควรเล่าไว้เท่านี้ก่อน
 
 


Create Date : 01 มีนาคม 2567
Last Update : 1 มีนาคม 2567 8:05:53 น. 0 comments
Counter : 208 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space