กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2567
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
23 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

เศรษฐกิจจะพอดี เมื่อมันทำหน้าที่เป็นปัจจัย



 
235 เศรษฐกิจจะพอดี   เมื่อมันทำหน้าที่เป็นปัจจัย  เศรษฐกิจพาวิบัติ  เมื่อมันถูกจัดเป็นจุดหมาย
 

     เป็นอันว่า  วันนี้   ได้พูดเรื่องธรรมวินัย   ที่ผนวกประสานเป็นคู่กัน   วินัยช่วยให้เราปฏิบัติธรรมได้ถูกต้อง และทำให้เราเห็นว่าพระพุทธศาสนาก็ให้ความสำคัญแก่วัตถุ ให้ความสำคัญแก่ปัจจัย ๔ ให้ความสำคัญแก่เศรษฐกิจ  ให้ความสำคัญแก่สังคม โดยมีความหมายโยงไปหาธรรม  ไม่ใช่มีความสำคัญในตัวของมันเอง  โดยเฉพาะมันไม่ใช่จุดหมาย เดี๋ยวจะเข้าใจผิดอีกว่าเศรษฐกิจสำคัญ แล้วหยุดอยู่แค่นั้น
 
     เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องวัตถุ เรื่องปัจจัย ๔ เรื่องสังคม ก็มีความสำคัญ  โดยที่ว่าเมื่อทำให้ถูกต้อง  มันจะเป็นตัวเอื้อต่อธรรม ความสำคัญก็อยู่ที่ตอนโยงนี้แหละ ถ้าไม่โยงก็จะพลาดอีก
 
     ถ้าแยกเดี่ยววินัยออกไป  เหมือนอย่างคนที่บอกว่า วัตถุสำคัญ แล้วไปหยุดอยู่แค่นั้น  ก็ผิด เราพูดว่าวัตถุสำคัญ ต้องจัดสรรให้ดี  เพราะมันเป็นฐานที่จะทำให้เราก้าวไปสู่ธรรมได้
 
     พูดมาถึงตอนนี้  ก็คงจับได้ชัดแล้วว่า ความสำคัญของวัตถุหรือเศรษฐกิจนั้นอยู่ที่จะต้องเอาไปโยงสัมพันธ์กับธรรม
 
     ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุปัจจัย ๔ หรือเศรษฐกิจกับธรรม ก็คือ มันเป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่ธรรม หมายความว่า คุณค่าของมันอยู่ที่การที่ มันจะช่วยให้ธรรมเจริญงอกงาม เป็นประโยชน์แก่ชีวิตและสังคมของ มนุษย์หรือช่วยให้คนพัฒนายิ่งขึ้นไปในธรรมนั้นเอง
 
     ความสัมพันธ์ของวัตถุที่เอื้อต่อธรรมนั้น  ก็คือความหมายของคำที่เราใช้กันเป็นประจำอยู่แล้ว   ซึ่งเป็นคำง่ายๆ คือ คำว่า  “ปัจจัย” นั่นเอง
 
     หมายความวัตถุ ปัจจัย  เรื่องเศรษฐกิจ  มีความหมายที่แท้จริง คือ เป็นปัจจัย  ที่จะเกื้อหนุนให้มนุษย์พัฒนายิ่งขึ้นไป  ในทางสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมให้ดีงามมีสันติสุข  นี้คือฐานะของทรัพย์สินเงินทอง และอำนาจ
 
     คำว่า  “ปัจจัย”  นี้  เราใช้กันอยู่แล้ว  แต่บางทีก็ใช้เพลินๆ ไปโดยไม่รู้ตระหนักถึงความหมาย  จึงต้องยกขึ้นมาทำความเข้าใจกันให้ชัดเจน   เมื่อเข้าใจชัดเจนแล้ว   ก็จะเป็นชาวพุทธที่ปฏิบัติธรรมได้ถูกต้องตลอดสาย ตั้งแต่ธรรมต่อวัตถุ เป็นต้นไป
 
     เมื่อเอาวัตถุเป็นปัจจัย ก็จะเจริญงอกงามในธรรมได้ แต่ถ้ากลับกัน ยึดเอาวัตถุเป็นจุดหมาย ชีวิตและสังคมก็จะต้องแปรปรวนวิปลาส เพราะกลับเอายอดเป็นฐาน และเอาฐานเป็นยอด
 
     น่าสังเกตว่า  เวลานี้สังคมไทย  และทั้งโลก  ดูเหมือนจะยึดเอาวัตถุเสพหรืออามิสเป็นจุดหมาย  ไม่ได้มองมันอย่างถูกต้องในฐานะเป็นปัจจัย
 
     เมื่อจัดสรรวัตถุ จัดสรรปัจจัย ๔ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคมให้เรียบร้อย เข้าสู่วินัยแล้ว ก็เกื้อกูลต่อการก้าวไปในความดีงาม และประโยชน์สุข ช่วยให้การพัฒนาชีวิตและสังคมดำเนินไปในวิถีแห่งสุข สันติและอิสรภาพ นี้คือธรรมมาแล้ว
 
     เป็นอันว่า ธรรมกับวินัย ก็คู่กัน ถ้าเราสามารถใช้หลักการนี้ถูกต้อง เราก็จะมีความเจริญงอกงามในพระศาสนา และพระศาสนาจะเกิดประโยชน์แก่เราอย่างแท้จริง
 
     สรุปว่า จะต้องจับหลักให้ครบ มองดูพุทธศาสนาอย่าให้เว้าๆ แหว่งๆ เวลานี้น่ากลัวมาก เรื่องมองดูพระพุทธศาสนาเว้าๆ แหว่งๆ ได้ด้าน เสียแง่  ก็เลยไม่เกิดมัชฌิมา
 
     มัชฌิมา คือ พอดีความเป็นทางสายกลาง คือพอดีนี้ได้แสดงมาหลายแง่หลายมุมแล้ว และได้เอามาโยงกับความไม่ประมาท คือ ความไม่ประมาทจะเป็นตัวปรับให้มัชฌิมาดำรงอยู่ได้
 
     เรื่องธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสในวันแสดงปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  ได้แก่  มัชฌิมาปฏิปทา  ก็มาบรรจบกับเรื่องความไม่ประมาท  ที่ตรัสไว้เป็นปัจฉิมวาจา  ในวันเสด็จดับขันธพระปรินิพพาน  ที่กุสินารา  แล้วเอามาโยงกับธรรมที่พระองค์ตรัสทั่วไปที่สาวัตถีนี้  ก็เข้ากันหมด
 
 


Create Date : 23 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 23 กุมภาพันธ์ 2567 10:45:14 น. 0 comments
Counter : 419 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space