กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
บุญ
ข้อธัมม์ที่ถาม-เถียงกันบ่อย
หลักปฏิบัติ
สภาวธรรม
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ผู้พิพากษาตั้งตุลา ใ ห้ สั ง ค ม ส ม ดุ ล
คติธรรมสั้นๆ
ภาษาธรรมวันละคำ
รู้เขา รู้เรา
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน,
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
พลังดันคน
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
สวดมนต์
ความจน เ ป็ น ทุ ก ข์ ใ น โ ล ก
เรียนบาลีเพื่อรักษาพุทธพจน์
ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะพินาศ
หลักธรรมสำหรับผู้ยังไม่นับถือศาสนาใดๆ
ก่อนศึกษาพุทธธรรม
ภาค ๑. มัชเฌนธรรมเทศนา
ภาค ๒. มัชฌิมาปฏิปทา
ภาค ๓. อารยธรรมวิถี
วัฒนธรรมประเพณี
จารึกธรรม
สมาธิ,ฌาน
เขาว่า ถ้าพุทธมีหลักธรรมดีจริง คงไม่ 0 สิ้นจากถิ่นเกิด
ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม
คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์
จงกรม ไม่ใช่ จงกลม
กรรมฐาน
สติปัฏฐาน
ศีลสำหรับประชาชน
วิธีการแห่งศรัทธา (ปรโตโฆสะที่ดี)
วิธีการแห่งปัญญา (โยนิโสมนสิการ)
ทางดำเนินชีวิตสายกลาง
คุณสมบัติบุคคลโสดาบัน
กาม
ความสุข
อริยสัจ ๔
ธรรมฉันทะ - ตัณหาฉันทะ
กรรม
เถรวาท VS ลัทธิอาจารย์
นิพพาน-อนัตตา ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท
ภาวนา ๔ ภาวิต ๔
สมถะ,วิปัสสนา,เจโตวิมุตติ,ปัญญาวิมุตติ
อนัตตา
สมมุติบัญญัติ
ศีล-สีลัพพตปรามาส
นรก สวรรค์ ในพระไตรปิฎก
วันสำคัญของชาวพุทธไทย
วิธีฝึกหูทิพย์ ตาทิพย์
ลำดับญาณ,ทวนญาณ
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะ ศ.ประจำชาติ
ภาวะแห่งนิพพาน
ระดับของผู้บรรลุนิพพาน
ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน
อิทธิบาท ๔
<<
กุมภาพันธ์ 2567
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
9 กุมภาพันธ์ 2567
พระรัตนตรัย ต้องรู้จักใช้ให้เป็นสรณะ
มนุษย์ประเสริฐเพราะเป็นสัตว์ที่ฝึกได้
จากเทพสู่ธรรม จากธรรมสู่กรรม
วิธีล้างบาป
ชาวพุทธต้องทำใจ
ถ้าเชื่อก็เป็นแม่ ถ้าไม่เชื่อก็เป็นสายธาร
เอกบุคคลที่เป็นมิจฉาทิฏฐิกับเอกบุคคลที่เป็นสัมมาทิฏฐิผู้เกิดมาในโลก
คนในอดีตบอกอะไรคนปัจจุบัน
ภาพรวมพุทธธรรม
คคห.ทูตอินเดียว่าธรรมะพระพุทธองค์สอดคล้องท้าทายยุคสมัย
ทำไมพุทธศาสนาหายไปจากอินเดีย
กำเนิดพุทธรูปัง
อารยธรรมอินเดีย
อริยสัจ ๔ หัวใจพุทธศาสนาหมายความว่าอะไร
อปุญญาภิสังขาร VS ปุญญาภิสังขาร
อินโดฯ จัดยิ่งใหญ่
ดินแดนที่ตกอยู่ในความวุ่นวาย
หมายเหตุ
ทีนี้ มองดูเกาะใหญ่ ถัดลงไปทางใต้
มะละกาลับหาย สุมาตรา-ชวา เฟื่องฟูขึ้นมาใหม่
มะละกา ที่แดนมาเลเซียขึ้นมาเป็นใหญ่เหนือ ชวา
มุสลิมอินโดฯ
ชวา ขึ้นมาล้ำ สุมาตรา
มลายู ขยายจากสุมาตรา ขึ้นยังมาเลเซีย
อิสลาม เริ่มเข้าที่ สุมาตรา
อินโดนีเซีย: ที่สุมาตรา ย้อนไปถึง ศรีวิชัย
???
อินโดจีน ส่วนล่างกับอดีตเด่นดังที่ ลังกาสุกะ
อินโดจีน ย้อนอดีตถึง ทวารวดี
จีน- อินเดีย แล้วเกิดมี อินโดจีน - อินโดนีเซีย
ภาคผนวก
คู่ต่างคู่เติม เสริมความรู้ธรรมให้เต็ม
พุทธในอินเดียแต่ละยุคๆ
ทัพมุสลิมเตอร์ก เก็บฉาก
ปุษยมิตร - มิหิรกุละ - ศาศางกะ ทำลายพุทธในระหว่าง
ศิวะอวตาร
นารายณ์อวตารเป็นพระพุทธเจ้า
เรื่องเกี่ยวกับโพธิสัตว์
ต้นโพธิ์ พระสถูป พระพุทธรูป
ย้ำอีกที
พระรัตนตรัย:สื่อเชื่อมต่อ และส่งเข้าสู่ทาง
ดูข้างเคียงให้ทั่ว จะเห็นของตัวว่าเป็นอย่างไร
ย้ำ
วัดถ้ำ: พุทธ เชน ฮินดู เปลือกดูคล้าย
เค้าอวสานแห่งพุทธศาสนา
ฮินดูฟื้น พุทธศาสนาสลบ
พุทธศาสนาประกาศอิสรภาพให้แก่มนุษย์
วัดกับถ้ำ
หลังพุทธกาล คามวาสี-อรัญญวาสี จึงมี
ถ้ำกับชีวิตของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
อชันตา เอลโลรา
???
ระบบสัมพันธ์ของธรรม
รู้ทุกข์จึงดับทุกข์ได้ไม่ใช่รู้ทุกข์ไป แล้วกลายเป็นทุกข์
เศรษฐกิจจะพอดี เมื่อมันทำหน้าที่เป็นปัจจัย
ปัญญา
สัญญา
ผู้ปล่อยวางได้ แต่ไม่ปล่อยปละละเลย
ความไม่ยึดมั่นถือมั่นที่แท้ อีกที
ความไม่ยึดมั่นที่แท้ ต้องดูจากคติพระอรหันต์
สมมุติ,บัญญัติ
ธรรมกับวินัยเสริมกัน
วินัยเป็นบรรทัดฐานแห่งพฤติกรรมที่ถูกต้องตามธรรม
วินัย
ดูหัวข้อนี้ให้ชัด
ธรรมที่ตรัสไว้ต่างชุด ดุจเครื่องมือที่ใช้กับต่างงาน
ดุลยภาพในระบบความสัมพันธ์ของธรรม
ความเชื่ออีกแนวหนึ่ง
ความไม่ประมาท ช่วยปรับให้พอดี จึงเป็นทางสายกลาง
สติมา ปัญญาเกิด
มองอินเดียกับฝรั่ง ให้เห็นความแตกต่างที่เป็นคติแก่ไทย
บทบาทหน้าที่ของสติ กับ ปัญญา
ระบบทุกข์ภัยประดิษฐ์ ดีกว่าปล่อยให้มักง่าย
เรียบง่าย แต่ระวัง อย่าให้กลายเป็นมักง่าย
ความประมาท ความไม่ประมาท เป็นไฉน
ผู้ไม่ประมาทใช้ประโยชน์จากอนิจจัง
มนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญต่อความเสื่อมความเจริญ
ความไม่ประมาท คือความสามารถที่จะไม่เสื่อม
ถิ่นปิยชนผู้เปี่ยมด้วยศรัทธา
???
ธรรมานุธรรมปฏิบัติ
สันโดษ ไม่สันโดษ ดีไม่ดี
ได้ดุลพอดี ที่เป็นลักษณะทางสายกลาง
ปัญญา ชี้นำเข้ามาและเดินหน้าในทางสายกลาง
อธิษฐานจิต
ใช้เวลาสักนิด กับ เรื่องภวังคจิต
สายมู
???
สมาธิมีประโยชน์มากมาย ต้องใช้ให้คุ้มและให้ครบ
อย่าทิ้งความคิดปรุงแต่งทันที ปรุงแต่งดีได้ถึงฌานสมาบัติ
พระพุทธเจ้ากับเพลง
จะอาศัยสิ่งกล่อมหรือจะใช้วิริยะและปัญญา
อิสรภาพของมนุษย์ จะได้ด้วยการศึกษาที่ถึงธรรม
พระพุทธเจ้ามา ประกาศอิสรภาพให้แก่มนุษย์
ความรักต้องคู่กับความรู้
คิดปรุงแต่ง กับ คิดวิปัสสนา
พระพุทธเจ้าตรัสรู้เพราะโยนิโสมนสิการ
มีโยนิโสมนสิการ เรื่องร้ายก็กลายเป็นดี
รูปกาย ธรรมกาย
ที่ประกาศอิสรภาพของมนุษย์
มุสลีมะอินโด ฯ
ปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไป นามกายเจริญเอง
โปรยธรรมบนเส้นทางสู่ที่ปรินิพพาน
เส้นทางพุทธกิจ: พุทธคยา ถึง กุสินารา
ถ้าสังเวชเป็น ก็จะได้เห็นธรรมกาย
มุสลิมเตอร์ก มุสลิมมองโกล รุ่งแล้วเลือนลับ
จากยุคมุสลิมอาหรับ เข้าสู่ยุคมุสลิมเตอร์ก
สุหนี่นำอิสลามครองสะเปน จ่อแดนจีน
ชีอะฮ์ แ ย ก อ อ ก ม า
อิสลามแผ่ไพศาล
อิสลามรวมอาหรับ
เมตตาที่มีปัญญา จึงพาโลกสู่สันติสุขได้
???
รักษาแผ่นดินไทย ให้เป็นแผ่นดินธรรม
จุดเริ่มของแผ่นดินธรรม
ถ้าคนประสานกับธรรม ก็มีทางแก้ปัญหาชีวิตและสังคม
พุทธะโยงเราเข้าถึงธรรม
พระรัตนตรัย ต้องรู้จักใช้ให้เป็นสรณะ
มนุษย์ประเสริฐเพราะเป็นสัตว์ที่ฝึกได้
จากเทพสู่ธรรม จากธรรมสู่กรรม
พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว จะประกาศธรรมแสนยาก
ย้ำ
รู้ธรรม คือรู้เรื่องธรรมดา
โพธิพฤกษ์ โพธิญาณ
มหาวิทยาลัยสงฆ์มีไว้ทำไม
???
๕ แคว้น ที่ยิ่งใหญ่
ย้ำอุเบกขา
มาฆบูชา พัฒนาความรักแห่งวาเลนไทน์
ให้รักกับรู้ มาเข้าคู่ดูแลกัน
มนุษย์กับมนุษย์รักกัน แต่มนุษย์ต้องอยู่ให้ดีกับธรรม
ถึงความรักจะดี ก็ไม่พอ
มาฆบูชา กับ วาเลนไทน์
ละชั่ว ทําดียังไม่พอ ต้องต่อด้วย
หัวใจเดียว แต่มีสี่ห้อง
มาฆบูชาขึ้นมาเป็นวันสําคัญในพระพุทธศาสนา
สาระของโอวาทปาติโมกข์
มาฆบูชา กับ หัวใจพระพุทธศาสนา
ราชคฤห์ ศูนย์อํานาจการเมือง
หัวใจธรรม จากจุดศูนย์กลาง
พระพุทธศาสนาในมือของพุทธบริษัท
ร่องรอยที่เหลือ และเค้าการฟื้นฟูหลังหมดสิ้น
อวสานมาถึง เมื่อทัพมุสลิมเตอร์กลงดาบสุดท้าย
เทียบ ปทท.
นาลันทากับความเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนา
วัดพุทธ ต้นกําเนิดมหาวิทยาลัยของโลก
พระพุทธศาสนาเกิดขึ้น ก็เกิดการศึกษาแก่มวลชน
ฟูจิ
เอาธรรมไปเป็นหลักประกันชีวิตและสังคมไว้
ธรรมเป็นอิสระจากคน คนถึงธรรมเป็นอิสระจากสังขาร
ศรัทธากับปัญญา นำเข้าเฝ้าพระพุทธเจ่า
ศูนย์กลางเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ราชสังคหวัตถุ ๔
หลักธรรมที่อโศกราชาใช้ปกครองบ้านเมือง
อโศกราชากล้าหาญในทางสันติ
เทียบกันแล้ว สรุปได้
ดูพุทธพจน์แล้ว อ่านธรรมโองการเทียบ
อโศกธรรม หรือ คหัฐวินัย
ธรรมวิชัย:หลักการใหญ่ที่นําเข้าสู่พุทธธรรม
อโศกมหาราช อโศกธรรม
ศิลาจารึกอโศก เป็นของพระเจ้าอโศกมหาราชแน่หรือ
ทรัพย์และอํานาจ สู่ความหมายและคุณค่าใหม่
ธรรมวิชัย
ไม่ประมาท ก็ไม่เสื่อม
วัดพระราม
ชมพูทวีปในพุทธกาล
สังเวชนียสถาน ๔
ย้อนทางเข้าสู่แดนพุทธภูมิ
พระรัตนตรัย ต้องรู้จักใช้ให้เป็นสรณะ
พระรัตนตรัย ต้องรู้จักใช้ให้เป็นสรณะ
ตอนนี้ขอให้สังเกต มีคําว่า
ธัมม์
/ทัมม์ ๒ ตัว
ตัวที่ ๑
ที่พระพุทธเจ้าดึงคนจากเทพสู่ธรรม เขียนเป็นภาษาบาลีคือ “ธัมม์” = “ธมฺม” นี่ คือธรรม ที่พระพุทธเจ้าต้องการชี้ให้เราทุกคนเข้าใจ
ทีนี้หันมาดูที่ตัวเรา ก็เจอ
ตัวที่ ๒
“ทัมม์” เขียนอย่างบาลี = “ทมฺม” แปลว่า ผู้ที่ฝึกได้ อยู่ที่ตัวเราเอง
เอาใจใส่แค่สองตัวนี่พอเลย ชาวพุทธจะเข้าสู่ทางที่ถูกต้อง และเจริญก้าวหน้า
ตัวที่ ๑
เป็นหลักการใหญ่ ที่อยู่ล้อมรอบครอบตัวเราทั้งหมด ชีวิตของเราก็อยู่ใต้อำนาจของมันก็คือ
ธัมมะ
ธ
ธง (= ธรรม) ได้แก่ ความจริงของธรรมชาติ เฉพาะอย่างยิ่ง ธรรมดาแห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัย
ส่วนตัวเราเองเป็นอย่าง
ที่ ๒ คือ ทัมมะ
ท
ทหาร
ทัมมะ
ที่อยู่ที่ตัวเรานี้ ทําให้เรามั่นใจในศักยภาพที่จะเข้าถึง และได้ประโยชน์จาก
ธัมมะ
(ธรรม) เมื่อเจาะจุดถูกแล้ว เราก็ฝึกตัวเองไป เราก็จะเข้าถึงธรรมตัวที่หนึ่งที่เป็น
ธ
ธงได้ แล้วชีวิตของเราก็จะเป็นชีวิตที่ดีงาม
มนุษย์ผู้ทัมมะ
(ท ทหาร) ท่านแรก ฝึกฝนตนเอง พัฒนาปัญญา ขึ้นมาจนบรรลุโพธิญาณ เข้าถึง
ธัมมะ
/
ธรรมะ
(ธ ธง) เป็นพุทธะไปแล้ว ก็นำเอาธัมมะ /ธรรมะ (ธ ธง) มาชี้แจงประกาศสั่งสอนมนุษย์อื่นให้รู้ตาม
มนุษย์ผู้เป็น
ทัมมะ
(ท ทหาร) คนอื่นต่อมา ก็สามารถเข้าถึงธัมมะ/ธรรมะ (ธ ธง) นั้นด้วย แล้วประกอบกันเข้าเป็นชุมชน หรือหมู่ชนผู้พัฒนาตนเป็นพุทธะอย่างเดียวกับพระพุทธเจ้า ชุมชนนี้เป็นชุมชน หรือหมู่ชนพิเศษ ได้ชื่อว่า
สังฆะ
ถึงตอนนี้ เราก็ได้สิ่งที่เป็นหลักใหญ่ ๓ อย่าง เรียกว่า
พระรัตนตรัย
ซึ่งเป็นองค์ประกอบของพระพุทธศาสนา พระรัตนตรัยก็เกิดขึ้น
หลักพระรัตนตรัยนี้ เอามาใช้เป็นเครื่องรําลึกเตือนใจ สําหรับพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เพื่อจะน้อมจิตเข้าสู่การปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา และจะได้ไม่เขว ถ้าเราระลึกถึงพระรัตนตรัยถูกต้องแล้ว ก็จะไม่พลาดไปจากพระพทธศาสนา
ถ้าเราเข้าใจพระรัตนตรัยไม่ถูก
ไม่รําลึกถึงพระรัตนตรัยให้เป็น เครื่องเตือนใจตัวเอง บางทีเราก็เขวออกไป ดีไม่ดีเดี๋ยวก็ถูกดึง หรือดีดตัวเองออกไปสู่เทพอีกตามเคย แทนที่จะอยู่กับธรรมก็ออกไปสู่เทพอีก
หลักพระรัตนตรัย จากที่พูดมาก็ชัดเจนแล้วว่า
มนุษย์
(ทัมมะ) นี้ พัฒนาตัวเองจนเข้าถึงธัมมะ/ธรรม ก็กลายเป็น
พุทธะ
หลักพุทธะนี้ จะมาเตือนใจเรา ให้เราได้ประโยชน์เมื่อระลึกถึงหลายอย่างหลายประการ
ประการที่ ๑
เป็นเครื่องชี้โยงมาถึงตัวเราเอง เวลาระลึกถึงพระพุทธเจ้า ก็เตือนใจเราให้ระลึกว่า
พระพทธเจ้า
ก็เคยเป็นมนุษย์อย่างเรานี้แหละ แต่ด้วยศักยภาพ หรือความสามารถที่คลี่บานออกมาได้ด้วยการฝึกตัวเองนี้ พระองค์ก็พัฒนาพระองค์จนเป็นพุทธะไป ในตัวเราที่เป็นมนุษย์ ก็มีศักยภาพอันนี้อยู่ ที่เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ สามารถที่จะฝึกฝนพัฒนาตัวไปให้เป็นอย่างพุทธะนั้น
เมื่อระลึกอย่างนี้ ก็เกิดความมั่นใจในศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวเอง ซึ่งเรียกว่าเป็น
ศรัทธา
ขั้นเบื้องต้น ที่จะเป็นพื้นฐานของการที่จะฝึกฝนพัฒนาตนต่อไป
ประการที่ ๒
เมื่อระลึกอย่างนั้น ก็รู้ตระหนักพร้อมไปด้วยว่า ถึงเราจะเป็นมนุษย์ มีศักยภาพนี้อยู่ แต่ถ้าเราไม่ศึกษา ไม่ฝึกฝนพัฒนาตน ก็จะไม่เกิดผลอะไร ความประเสริฐก็จะไม่เกิดขึ้น การที่ศักยภาพนั้นจะมีผลออกมา ก็อยู่ที่ตัวเรานี่แหละจะต้องทํา คือต้องศึกษา ต้องฝึกฝนพัฒนา เพราะฉะนั้น จึงเท่ากับเตือนให้ระลึกถึงหน้าที่ของมนุษย์ คือการที่จะต้องฝึกฝนพัฒนาตัวเองนั้น ให้มีผลเป็นจริงขึ้นมา
ประการที่ ๓
ก็ทำให้
เกิดกำลังใจ
ในการที่จะพัฒนาฝึกฝน เราอาจจะนึกว่ายาก เมื่อยากเราก็จะท้อ แต่พอเราระลึกถึงพระพุทธเจ้า เราก็นึกว่ามีตัวอย่างเป็นจริงนี่ มีผู้เข้าถึงความจริงเป็นพุทธะอย่างนี้ได้แล้ว มีผู้ที่พัฒนาตนสูงสุดอย่างนี้ได้จริง พอนึกถึงพระพุทธเจ้าทีไร เราก็เกิดกำลังใจว่า เราทําได้เราทําได้แน่ เมื่อใดชักจะท้อใจ ระลึกถึงแบบอย่างแห่งการบําเพ็ญเพียรในประวัติของพระองค์ เราก็คึกคักเข้มแข็ง สู้ต่อไป
ประการที่ ๔
ได้แบบอย่าง
วิธีปฏิบัติ
พระพุทธเจ้าทํามาอย่างไร ท่านเดินหน้านําทางให้เราแล้ว เราง่ายขึ้นแล้ว เราไม่ต้องไปเที่ยวลองผิดลองถูกอีกแล้ว ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่างให้เรา เราคงลําบากแย่ เราจะต้องลองผิดลองถูก เมื่อไรจะถึงสักที แต่นี่พระพุทธเจ้าทรงทํามาก่อน และยังแถมบอกวิธีให้มากมายด้วย เราก็ได้ตัวอย่างและวิธีการจากประสบการณ์ของพระองค์ที่ได้ทรงนํามาตรัสบอกไว้ให้แล้ว ชี้ทางไว้ให้แล้ว ลัดเข้ามา เราสะดวกสบายมากมาย
เพราะฉะนั้น การระลึกถึงพระพุทธเจ้าจึงได้ประโยชน์ ๔ ประการ เป็นอย่างน้อย
๑. เกิดความมั่นใจใน
ศักยภาพ
ของมนุษย์ที่มีในตัวเองว่าจะฝึกฝน พัฒนาได้
๒. เตือนใจให้
ระลึกถึงหน้าที่
ของเราเองที่จะ
ต้องฝึกฝนพัฒนาตน
๓. ทําให้เราเกิด
มีกําลังใจ
ที่จะฝึกฝนพัฒนาตนอย่างนั้น
๔. ได้แบบอย่าง
วิธีปฏิบัติ
ที่จะทําให้เราทําได้ง่ายขึ้น
เมื่อพระพุทธเจ้าชี้มาที่ตัวเรา ให้เราพร้อมที่จะศึกษาฝึกฝนพัฒนาตนแล้ว พระองค์ก็ชี้ต่อไปว่า การที่จะพัฒนาตนสําเร็จได้เราต้องเข้าถึงธรรม เธอจะ
ต้อง
รู้
และ
ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามธรรม
เพราะการพัฒนาตัวของเรานี้ ต้องเป็นไปตามความจริงของธรรมชาติ ตามกฎแห่งเหตุปัจจัยทั้งนั้น ถ้าเราพัฒนาตนเองไม่ตรงตามเหตุปัจจัย
ไม่ทําให้ตรงตามกฎธรรมชาติ ไม่ตรงตามธรรม ก็ไม่สําเร็จ
เพราะฉะนั้น เราจะต้องยึดถือธรรมเป็นสรณะ เอาธรรมเป็นมาตรฐาน เป็นเกณฑ์ตลอดเลยตั้งแต่ต้นจนจบ ในการดําเนินชีวิตที่ดีของเรา เราต้องปฏิบัติตามนี้แหละ
ธรรม
ต้องเป็นสรณะ เป็นที่พึ่ง เป็นที่ระลึก เป็นเครื่องเตือนใจ และเป็นหลักตลอดเวลา เริ่มตั้งแต่ในชีวิตประจำวันมีประสบการณ์ต่างๆ เข้ามาทาง
ตา หู
ฯลฯ ก็ต้องมองในแง่ของธรรม คือมองตามเหตุปัจจัย
พอเริ่มเอาธรรมคือความเป็นไปตามเหตุปัจจัยมาใช้เป็นหลัก เราก็เริ่มฝึกตัวเองแล้ว
แต่ก่อนนี้
เราเคยมองสิ่งทั้งหลายตามชอบใจ-ไม่ชอบใจ พอเจออารมณ์อะไรเข้ามาทาง
ตา หู จมูก ลิ้น กาย
ถ้ามันสบาย ก็ชอบใจ ถ้าไม่สบาย ก็ไม่ชอบใจ อยู่ด้วยความชอบใจ-ไม่ชอบใจ แล้วก็
คิดปรุงแต่งไป
ตามที่ยินดียินร้าย
มนุษย์ที่ไม่ฝึกฝนพัฒนา
ท่านเรียกว่า
อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน
แปลว่า
ปุถุชนที่ไม่ได้สดับ ไม่ได้เรียนรู้ เป็นคนไม่มีหลัก
ก็จะเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น คือ มีการรับรู้ด้วยความชอบ และชัง ยินดีและยินร้าย
แต่
พอเริ่มฝึกตน
จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นอริยชน หรือเป็นอริยสาวก ก็จะรับรู้โดยมองตามเหตุปัจจัย โดยใช้ปัญญา
พอเริ่มมองเห็นตามเหตุปัจจัย คือ
มองตามความเป็นจริง
ก็จะป้องกันและกําจัดความยินดียินร้ายชอบชังได้
จิตใจ
ก็จะสบายโปร่งโล่ง ปราศจากปัญหา พร้อมกันนั้น ก็จะได้เรียนรู้ ทําให้ปัญญาพัฒนา เกิดความรู้ความเข้าใจอะไรๆ มากขึ้น
ไมใช่มองด้วยจิต
ที่วนเวียนจมอยู่ใน โลภะ โทสะ โมหะ แล้วก็ตามมาด้วย
ปัญหา
นี่เป็นตัวอย่างเบื้องต้นของการเอาธรรมมาใช้ คือเป็นที่พึ่ง เป็นสรณะ เป็นหลักแห่งการดําเนินชีวิตของเรา แม้แต่ในชีวิตประจําวัน
รวมความก็คือ ชีวิตของเราต้องเดินตามธรรม และเอาความรู้ในธรรมมาใช้โดยตลอด จนกระทั่งในที่สุด เมื่อเข้าถึงธรรมจริงๆ เข้าถึงตัวความจริงที่เรียกว่าเป็นหลักการใหญ่แล้ว
เราก็กลายเป็นพุทธะด้วย
เช่น
เดียวกับพระพุทธเจ้า
Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2567 17:24:03 น.
1 comments
Counter : 479 Pageviews.
Share
Tweet
ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณRain_sk
อรุณสวัสดิ์ครับผม... ชอบธรรมะ วันนี้มากๆ แถมได้ความรู้ คำว่า ธัมม์ กับ ทัมม์? ชอบๆครับ
ผมยังอ่านไม่จบ เดียวจะพยายาม กลับมาอ่านบล็อกนี้ให้จบครับ
โดย:
Rain_sk
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา:6:45:13 น.
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com
ผมยังอ่านไม่จบ เดียวจะพยายาม กลับมาอ่านบล็อกนี้ให้จบครับ