กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2567
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
19 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

มนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญต่อความเสื่อมความเจริญ


 
 
235 จะเจริญอย่างเดียวไม่เสื่อมก็ได้  ปัจจัยสำคัญที่สุดคือตัวมนุษย์ และในตัวมนุษย์ ปัจจัยสำคัญที่สุด คือกรรมแห่งความไม่ประมาท
 
 
     บัดนี้   เราก็ได้เดินทางมาจนกระทั่งครบพุทธสังเวชนียสถาน ทั้ง ๔ แห่ง และยังผนวกเอาสถานที่สำคัญที่พระพุทธเจ้าเคยประทับอย่างที่สาวัตถีนี้เข้าไปด้วย
 
     เมื่อเดินทางครบถ้วนอย่างนี้แล้ว   เราก็ควรนำเอาธรรมที่พระองค์ ได้ตรัสครั้งสุดท้าย เมื่อจบพุทธกิจทั้งหมดนี้  มาสนทนากัน
 
      เรื่องอัปปมาทธรรม คือความไม่ประมาทนี้  ที่จริงพระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสเฉพาะเป็นปัจฉิมวาจาเท่านั้น  ขณะที่พระองค์ประทับอยู่ที่เมืองสาวัตถีนี้  ก็เคยตรัสกับพระเจ้าปเสนทิโกศล
 
     คราวนั้น   ตรัสถึงความเจริญงอกงามและความมั่นคงของแว่นแคว้น ซึ่งเป็นเรื่องของฝ่ายบ้านเมืองว่า การที่บ้านเมืองจะเจริญรุ่งเรือง  มั่นคงอยู่ได้  ต้องอาศัยพระราชา ซึ่งต้องมีกัลยาณมิตร เช่น มีมหาอำมาตย์  มีข้าราชบริพาร ที่มีความสามารถ  มีสติปัญญา เปี่ยมด้วยคุณธรรม ความซื่อสัตย์และต้องมีความไม่ประมาท
 
     พระพุทธองค์ตรัสกับพระเจ้าปเสนทิโกศล โดยทรงเน้นหลักความไม่ประมาท   (สํ.ส.๑๕/๓๘๔)
 
     นอกจากนั้น  ในที่อี่นๆ  พระองค์ยังได้ตรัสอีกว่า  ความไม่ประมาทนั้น   เป็นดุจรอยเท้าช้าง กล่าวคือรอยเท้าสัตว์บกทั้งหลาย ไม่มีรอยเท้าใดใหญ่เกินรอยเท้าช้าง   รอยเท้าทุกอย่างลงในรอยเท้าช้างได้ทั้งหมด ฉันใด ธรรมทุกอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสก็รวมลงในความไม่ประมาทได้ทั้งสิ้น ฉันนั้น (สํ.ม.๑๙/๒๕๓)
 
     ทำไมพระพุทธเจ้าทรงย้ำนักหนาในเรื่องความไม่ประมาท  อยากจะเอามาพูดกัน ในแง่หนึ่งเท่ากับเป็นการสรุปรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าไปด้วย เพราะว่าธรรมทุกข้อรวมลงได้ในความไม่ประมาท และเรื่องความไม่ประมาทก็มีพุทธพจน์ที่ตรัสที่เมืองสาวัตถีด้วย
 
     ขอให้พิจารณาถึงความเป็นไปของสิ่งทั้งหลาย ที่เราบอกว่ามีความไม่เที่ยง มีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป
 
     ในเรื่องของความไม่เที่ยงเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปนี้  ก็รวมถึงสังคมมนุษย์ด้วย สังคมมนุษย์ของเรา แม้แต่สังคมที่เล็กที่สุดคือครอบครัว วงศ์ตระกูล  ขยายไปจนกระทั่งเป็นชุมชน ถิ่นฐาน แว่นแคว้น ประเทศชาติและอารยธรรมของมนุษย์ทั้งหมด  เราจะเห็นว่าล้วนตกอยู่ในคตินี้ คือเจริญขึ้น แล้วก็เสื่อมลง  เป็นอย่างนี้กันมาเรื่อยตลอดเวลา
 
     อย่างไรก็ตาม  ความเจริญและความเสื่อม ที่เป็นเรื่องของความไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นั้น เราก็เห็นได้ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ว่ามันไม่ใช่เป็นไปอย่างเลื่อนลอย แต่มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย
 
     เหตุปัจจัยแห่งความเสื่อมและความเจริญเหล่านั้น   ส่วนหนึ่งซึ่งสำคัญที่สุด ก็คือการกระทำของมนุษย์เอง หมายความว่า   มนุษย์นี้เป็นเหตุปัจจัยอย่างหนึ่ง ในบรรดาเหตุปัจจัยทั้งหลาย แต่ไม่ใช่ทั้งหมด  ขยายความว่า  ที่จะเจริญและจะเสื่อมไปนั้น  เหตุปัจจัยอย่างอื่นก็มี   แต่เหตุปัจจัยที่สำคัญยิ่ง   ก็คือตัวมนุษย์เอง ซึ่งได้แก่การกระทำของมนุษย์นั้น
 
     การกระทำของมนุษย์เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก คือกรรมที่จะทำให้เกิดความเสื่อมและความเจริญ
 
     ปัจจัยในส่วนของมนุษย์   คือกรรมของมนุษย์นั้น  เป็นปัจจัยใหญ่ที่จะไปจัดการกับเหตุปัจจัยอื่นได้ด้วย  รวมทั้งจัดการกับเหตุปัจจัยในธรรมชาติ   สิ่งทั้งหลายจะเป็นอย่างไร  เป็นเพราะมนุษย์ไปจัดไปทำนั้นมากมาย
 
     อย่างเรื่องธรรมชาติแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในทางเสื่อมก็ดี   ทางเจริญก็ดี   มนุษย์ทำได้มาก  เช่นต้นไม้  มนุษย์จะไปปลูกก็ได้    จะไปตัดไปโค่นก็ได้   ป่าไม้ที่หมดไปในยุคนี้   ส่วนใหญ่ก็เกิดจากมนุษย์เป็นผู้ทำลาย
 
     ด้วยเหตุนี้  ปัจจัยในส่วนของมนุษย์จึงมีความหมายไม่เฉพาะการกระทำที่ตัวมนุษย์เอง หรือในส่วนของมนุษย์ กับ มนุษย์ด้วยกันเองเท่านั้น   แต่รวมถึงแรงผลักดันที่มนุษย์ไปจัดการสิ่งอื่นๆ ทั่วไปด้วย  เช่น   ต่อธรรมชาติแวดล้อม  เป็นต้น  เพราะฉะนั้น  เราจะต้องให้ความสำคัญแก่เหตุปัจจัยในส่วนของมนุษย์ให้มาก
 
     ทีนี้เรามามองด้านสังคมว่า สังคมมนุษย์มีความเสื่อมความเจริญ และความเสื่อมความเจริญนี้   เป็นไปตามเหตุปัจจัย และเหตุปัจจัยที่สำคัญก็คือตัวมนุษย์เอง
 
     ตัวมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเสื่อมความเจริญ เพราะฉะนั้น ถ้าจะดูว่าสังคมหรือโลกจะเสื่อมหรือเจริญ ก็ต้องดูที่ตัวมนุษย์เป็นสำคัญ   เราก็คอยตรวจดูว่าตัวมนุษย์เวลานี้เป็นอย่างไร   เป็นมนุษย์ที่จะทำให้เสื่อมหรือทำให้เจริญ
 
     ที่ว่าจะเจริญหรือเสื่อมอยู่ที่มนุษย์   เช่นว่า  ถ้าสมัยใดมนุษย์มีความเข้มแข็ง มีความเอาใจใส่  ใช้สติปัญญา ตั้งใจทำการงาน  มีความเพียรพยายาม   ตั้งใจเรียนรู้และสร้างสรรค์  สังคมตั้งแต่ครอบครัวขึ้นไปจนถึงประเทศชาติก็เจริญมั่นคง แต่สมัยใดมนุษย์เกียจคร้าน   ไร้ความเพียร  มีแต่ความหลงมัวเมา  ฝากชีวิตและความสุขไว้กับการเสพบริโภค ไม่ใฝ่รู้และคิดถึงจุดหมายอะไรที่ดีงามสูงขึ้นไป  เมื่อนั้น  สังคมก็เสื่อม
 
     จะเห็นว่า  อารยธรรมต่างๆ ได้เป็นมาอย่างนี้  อารยธรรมหลายอารยธรรมที่เจริญขึ้นมานั้น สมัยก่อนก็ยังไม่มีความเจริญ   คนอยู่กันลำบากยากแค้น   ต้องเร่ร่อนหาที่ทำกิน   แต่ปรากฏว่าบรรพบุรุษมีความขยันหมั่นเพียร   ตั้งใจสร้างสรรค์ความเจริญ   อารยธรรมนั้นๆ ก็รุ่งเรืองขึ้นมา
 
     แต่พอเจริญรุ่งเรืองแล้ว  ถึงยุคที่มีความสุขสำราญ   พรั่งพร้อมทุกอย่าง   คนในยุคนั้นก็เริ่มหลงมัวเมาติดเพลินในความสุข ไม่ขยันหมั่นเพียร ไม่ตั้งใจทำกิจหน้าที่   สังคมก็กลับเสื่อมลงไป
 
     พอเสื่อมแล้ว  เจอความทุกข์  ก็กลับดิ้นรนขวนขวาย  แล้วก็เจริญขึ้นมาใหม่   เป็นอย่างนี้สลับกันไป  (แต่บางสังคมหรือบางอารยธรรมก็เสื่อมสิ้นหรือสูญไปเลย)
 
     เราเลยได้เห็นวงจรแห่งความเจริญและความเสื่อมของสังคมมนุษย์   เข้าหลักที่ว่า  มนุษย์เมื่อถูกทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม   ก็จะกระตือรือร้นขวนขวาย   แล้วก็เจริญขึ้นมา  แต่เมื่อไรมีความสุขสบาย  ก็มีความโน้มเอียงไปในทางที่จะเพลิดเพลิน  ลุ่มหลง  มัวเมา  เกียจคร้าน  เฉื่อยชา  แล้วก็กลับเสื่อมโทรมลงไป
 
     พูดสั้นๆว่า    เมื่อถูกทุกข์บีบคั้น  ถูกภัยคุกคาม  ก็ลุกขึ้นดิ้นรน  ขวนขวาย  เมื่อสุขสบาย ก็หลงละเริงมัวเมา นอนเสพหาความสุข


 
 



Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2567 7:55:36 น. 0 comments
Counter : 164 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space