สาระสำคัญ คือ ให้จัดการบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อย และให้ราษฎรเป็นอยู่ผาสุก ถ้าบ้านเมืองยังมีโจรผู้ร้าย เป็นต้น ไม่ให้เอาแต่ใช้วิธีปราบปรามรุนแรง แต่ให้ราษฎรที่ประกอบเกษตรกรรม พาณิชยกรรม และข้าราชการ ผู้ที่ตั้งใจหมั่นขยัน พึงได้รับการส่งเสริมให้ตรงจุด จนบ้านเมืองมั่งคั่ง ราษฎรชื่นชมยินดี อยู่ปลอดภัย “บ้านเรือนไม่ต้องลงกลอน ให้ลูกฟ้อนบนอก” *
*หลักการนี้ คือธรรมชุดที่ในคัมภีร์บางแห่งเรียกว่า ราชสังคหวัตถุ ๔ ได้แก่
๑. สัสสเมธะ (ฉลาดบํารุงธัญญาหาร)
๒. ปุริสเมธะ (ฉลาดบํารุงข้าราชการ)
๓. สัมมาปาสะ (ผสานใจประชาด้วยอาชีพ)
๔. วาจาเปยยะ (มีวาจาดูดดื่มใจ)
(๕) เกิดผล คือนิรัคคฬะ (เกษมสุข) บ้านเรือนไม่ต้องลงกลอน หลักนี้เป็นนัยพุทธ จาก
มหายัญ 5 ของพราหมณ์ คือ
1. อัสสเมธะ (อัศวเมธ/ฆ่ามาบูชายัญ)
2. ปุริสเมธะ (ฆ่าคนบูชายัญ)
3. สัมมาปาสะ (ยัญลอดบ่วง )
4.วาชเปยยะ (ยัญดื่มเพื่อชัย)
5. นิรัคคฬะ หรือ สรรพเมธะ (ยัญฆ่าครบทุกอย่าง)
Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2567 |
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2567 10:32:41 น. |
|
0 comments
|
Counter : 215 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
|