กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
บุญ
ข้อธัมม์ที่ถาม-เถียงกันบ่อย
หลักปฏิบัติ
สภาวธรรม
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ผู้พิพากษาตั้งตุลา ใ ห้ สั ง ค ม ส ม ดุ ล
คติธรรมสั้นๆ
ภาษาธรรมวันละคำ
รู้เขา รู้เรา
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน,
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
พลังดันคน
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
สวดมนต์
ความจน เ ป็ น ทุ ก ข์ ใ น โ ล ก
เรียนบาลีเพื่อรักษาพุทธพจน์
ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะพินาศ
หลักธรรมสำหรับผู้ยังไม่นับถือศาสนาใดๆ
ก่อนศึกษาพุทธธรรม
ภาค ๑. มัชเฌนธรรมเทศนา
ภาค ๒. มัชฌิมาปฏิปทา
ภาค ๓. อารยธรรมวิถี
วัฒนธรรมประเพณี
จารึกธรรม
สมาธิ,ฌาน
เขาว่า ถ้าพุทธมีหลักธรรมดีจริง คงไม่ 0 สิ้นจากถิ่นเกิด
ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม
คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์
จงกรม
กรรมฐาน
สติปัฏฐาน
ศีลสำหรับประชาชน
วิธีการแห่งศรัทธา (ปรโตโฆสะที่ดี)
วิธีการแห่งปัญญา (โยนิโสมนสิการ)
ทางดำเนินชีวิตสายกลาง
คุณสมบัติบุคคลโสดาบัน
กาม
ความสุข
อริยสัจ ๔
ธรรมฉันทะ - ตัณหาฉันทะ
กรรม
ฅนไทย ใช่กบเฒ่า ?
พระไทย ใช่เขาใช่เรา?
สมถะ,วิปัสสนา,เจโตวิมุตติ,ปัญญาวิมุตติ
อนัตตา
สมมุติบัญญัติ
ศีล-สีลัพพตปรามาส
นรก สวรรค์ ในพระไตรปิฎก
วันสำคัญของชาวพุทธไทย
วิธีฝึกหูทิพย์ ตาทิพย์
ลำดับญาณ,ทวนญาณ
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะ ศ.ประจำชาติ
ภาวะแห่งนิพพาน
ระดับของผู้บรรลุนิพพาน
ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน
อิทธิบาท ๔
รู้ทุกอย่างแต่ปล่อยวางไม่ได้
<<
กุมภาพันธ์ 2567
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
12 กุมภาพันธ์ 2567
ที่ประกาศอิสรภาพของมนุษย์
มุสลีมะอินโด ฯ
ปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไป นามกายเจริญเอง
โปรยธรรมบนเส้นทางสู่ที่ปรินิพพาน
วิธีล้างบาป
ชาวพุทธต้องทำใจ
ถ้าเชื่อก็เป็นแม่ ถ้าไม่เชื่อก็เป็นสายธาร
เอกบุคคลที่เป็นมิจฉาทิฏฐิกับเอกบุคคลที่เป็นสัมมาทิฏฐิผู้เกิดมาในโลก
คนในอดีตบอกอะไรคนปัจจุบัน
ภาพรวมพุทธธรรม
คคห.ทูตอินเดียว่าธรรมะพระพุทธองค์สอดคล้องท้าทายยุคสมัย
ทำไมพุทธศาสนาหายไปจากอินเดีย
กำเนิดพุทธรูปัง
อารยธรรมอินเดีย
อริยสัจ ๔ หัวใจพุทธศาสนาหมายความว่าอะไร
อปุญญาภิสังขาร VS ปุญญาภิสังขาร
อินโดฯ จัดยิ่งใหญ่
ดินแดนที่ตกอยู่ในความวุ่นวาย
หมายเหตุ
ทีนี้ มองดูเกาะใหญ่ ถัดลงไปทางใต้
มะละกาลับหาย สุมาตรา-ชวา เฟื่องฟูขึ้นมาใหม่
มะละกา ที่แดนมาเลเซียขึ้นมาเป็นใหญ่เหนือ ชวา
มุสลิมอินโดฯ
ชวา ขึ้นมาล้ำ สุมาตรา
มลายู ขยายจากสุมาตรา ขึ้นยังมาเลเซีย
อิสลาม เริ่มเข้าที่ สุมาตรา
อินโดนีเซีย: ที่สุมาตรา ย้อนไปถึง ศรีวิชัย
???
อินโดจีน ส่วนล่างกับอดีตเด่นดังที่ ลังกาสุกะ
อินโดจีน ย้อนอดีตถึง ทวารวดี
จีน- อินเดีย แล้วเกิดมี อินโดจีน - อินโดนีเซีย
ภาคผนวก
คู่ต่างคู่เติม เสริมความรู้ธรรมให้เต็ม
พุทธในอินเดียแต่ละยุคๆ
ทัพมุสลิมเตอร์ก เก็บฉาก
ปุษยมิตร - มิหิรกุละ - ศาศางกะ ทำลายพุทธในระหว่าง
ศิวะอวตาร
นารายณ์อวตารเป็นพระพุทธเจ้า
เรื่องเกี่ยวกับโพธิสัตว์
ต้นโพธิ์ พระสถูป พระพุทธรูป
ย้ำอีกที
พระรัตนตรัย:สื่อเชื่อมต่อ และส่งเข้าสู่ทาง
ดูข้างเคียงให้ทั่ว จะเห็นของตัวว่าเป็นอย่างไร
ย้ำ
วัดถ้ำ: พุทธ เชน ฮินดู เปลือกดูคล้าย
เค้าอวสานแห่งพุทธศาสนา
ฮินดูฟื้น พุทธศาสนาสลบ
พุทธศาสนาประกาศอิสรภาพให้แก่มนุษย์
วัดกับถ้ำ
หลังพุทธกาล คามวาสี-อรัญญวาสี จึงมี
ถ้ำกับชีวิตของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
อชันตา เอลโลรา
???
ระบบสัมพันธ์ของธรรม
รู้ทุกข์จึงดับทุกข์ได้ไม่ใช่รู้ทุกข์ไป แล้วกลายเป็นทุกข์
เศรษฐกิจจะพอดี เมื่อมันทำหน้าที่เป็นปัจจัย
ปัญญา
สัญญา
ผู้ปล่อยวางได้ แต่ไม่ปล่อยปละละเลย
ความไม่ยึดมั่นถือมั่นที่แท้ อีกที
ความไม่ยึดมั่นที่แท้ ต้องดูจากคติพระอรหันต์
สมมุติ,บัญญัติ
ธรรมกับวินัยเสริมกัน
วินัยเป็นบรรทัดฐานแห่งพฤติกรรมที่ถูกต้องตามธรรม
วินัย
ดูหัวข้อนี้ให้ชัด
ธรรมที่ตรัสไว้ต่างชุด ดุจเครื่องมือที่ใช้กับต่างงาน
ดุลยภาพในระบบความสัมพันธ์ของธรรม
ความเชื่ออีกแนวหนึ่ง
ความไม่ประมาท ช่วยปรับให้พอดี จึงเป็นทางสายกลาง
สติมา ปัญญาเกิด
มองอินเดียกับฝรั่ง ให้เห็นความแตกต่างที่เป็นคติแก่ไทย
บทบาทหน้าที่ของสติ กับ ปัญญา
ระบบทุกข์ภัยประดิษฐ์ ดีกว่าปล่อยให้มักง่าย
เรียบง่าย แต่ระวัง อย่าให้กลายเป็นมักง่าย
ความประมาท ความไม่ประมาท เป็นไฉน
ผู้ไม่ประมาทใช้ประโยชน์จากอนิจจัง
มนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญต่อความเสื่อมความเจริญ
ความไม่ประมาท คือความสามารถที่จะไม่เสื่อม
ถิ่นปิยชนผู้เปี่ยมด้วยศรัทธา
???
ธรรมานุธรรมปฏิบัติ
สันโดษ ไม่สันโดษ ดีไม่ดี
ได้ดุลพอดี ที่เป็นลักษณะทางสายกลาง
ปัญญา ชี้นำเข้ามาและเดินหน้าในทางสายกลาง
อธิษฐานจิต
ใช้เวลาสักนิด กับ เรื่องภวังคจิต
สายมู
???
สมาธิมีประโยชน์มากมาย ต้องใช้ให้คุ้มและให้ครบ
อย่าทิ้งความคิดปรุงแต่งทันที ปรุงแต่งดีได้ถึงฌานสมาบัติ
พระพุทธเจ้ากับเพลง
จะอาศัยสิ่งกล่อมหรือจะใช้วิริยะและปัญญา
อิสรภาพของมนุษย์ จะได้ด้วยการศึกษาที่ถึงธรรม
พระพุทธเจ้ามา ประกาศอิสรภาพให้แก่มนุษย์
ความรักต้องคู่กับความรู้
คิดปรุงแต่ง กับ คิดวิปัสสนา
พระพุทธเจ้าตรัสรู้เพราะโยนิโสมนสิการ
มีโยนิโสมนสิการ เรื่องร้ายก็กลายเป็นดี
รูปกาย ธรรมกาย
ที่ประกาศอิสรภาพของมนุษย์
มุสลีมะอินโด ฯ
ปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไป นามกายเจริญเอง
โปรยธรรมบนเส้นทางสู่ที่ปรินิพพาน
เส้นทางพุทธกิจ: พุทธคยา ถึง กุสินารา
ถ้าสังเวชเป็น ก็จะได้เห็นธรรมกาย
มุสลิมเตอร์ก มุสลิมมองโกล รุ่งแล้วเลือนลับ
จากยุคมุสลิมอาหรับ เข้าสู่ยุคมุสลิมเตอร์ก
สุหนี่นำอิสลามครองสะเปน จ่อแดนจีน
ชีอะฮ์ แ ย ก อ อ ก ม า
อิสลามแผ่ไพศาล
อิสลามรวมอาหรับ
เมตตาที่มีปัญญา จึงพาโลกสู่สันติสุขได้
???
รักษาแผ่นดินไทย ให้เป็นแผ่นดินธรรม
จุดเริ่มของแผ่นดินธรรม
ถ้าคนประสานกับธรรม ก็มีทางแก้ปัญหาชีวิตและสังคม
พุทธะโยงเราเข้าถึงธรรม
พระรัตนตรัย ต้องรู้จักใช้ให้เป็นสรณะ
มนุษย์ประเสริฐเพราะเป็นสัตว์ที่ฝึกได้
จากเทพสู่ธรรม จากธรรมสู่กรรม
พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว จะประกาศธรรมแสนยาก
ย้ำ
รู้ธรรม คือรู้เรื่องธรรมดา
โพธิพฤกษ์ โพธิญาณ
มหาวิทยาลัยสงฆ์มีไว้ทำไม
???
๕ แคว้น ที่ยิ่งใหญ่
ย้ำอุเบกขา
มาฆบูชา พัฒนาความรักแห่งวาเลนไทน์
ให้รักกับรู้ มาเข้าคู่ดูแลกัน
มนุษย์กับมนุษย์รักกัน แต่มนุษย์ต้องอยู่ให้ดีกับธรรม
ถึงความรักจะดี ก็ไม่พอ
มาฆบูชา กับ วาเลนไทน์
ละชั่ว ทําดียังไม่พอ ต้องต่อด้วย
หัวใจเดียว แต่มีสี่ห้อง
มาฆบูชาขึ้นมาเป็นวันสําคัญในพระพุทธศาสนา
สาระของโอวาทปาติโมกข์
มาฆบูชา กับ หัวใจพระพุทธศาสนา
ราชคฤห์ ศูนย์อํานาจการเมือง
หัวใจธรรม จากจุดศูนย์กลาง
พระพุทธศาสนาในมือของพุทธบริษัท
ร่องรอยที่เหลือ และเค้าการฟื้นฟูหลังหมดสิ้น
อวสานมาถึง เมื่อทัพมุสลิมเตอร์กลงดาบสุดท้าย
เทียบ ปทท.
นาลันทากับความเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนา
วัดพุทธ ต้นกําเนิดมหาวิทยาลัยของโลก
พระพุทธศาสนาเกิดขึ้น ก็เกิดการศึกษาแก่มวลชน
ฟูจิ
เอาธรรมไปเป็นหลักประกันชีวิตและสังคมไว้
ธรรมเป็นอิสระจากคน คนถึงธรรมเป็นอิสระจากสังขาร
ศรัทธากับปัญญา นำเข้าเฝ้าพระพุทธเจ่า
ศูนย์กลางเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ราชสังคหวัตถุ ๔
หลักธรรมที่อโศกราชาใช้ปกครองบ้านเมือง
อโศกราชากล้าหาญในทางสันติ
เทียบกันแล้ว สรุปได้
ดูพุทธพจน์แล้ว อ่านธรรมโองการเทียบ
อโศกธรรม หรือ คหัฐวินัย
ธรรมวิชัย:หลักการใหญ่ที่นําเข้าสู่พุทธธรรม
อโศกมหาราช อโศกธรรม
ศิลาจารึกอโศก เป็นของพระเจ้าอโศกมหาราชแน่หรือ
ทรัพย์และอํานาจ สู่ความหมายและคุณค่าใหม่
ธรรมวิชัย
ไม่ประมาท ก็ไม่เสื่อม
วัดพระราม
ชมพูทวีปในพุทธกาล
สังเวชนียสถาน ๔
ย้อนทางเข้าสู่แดนพุทธภูมิ
ที่ประกาศอิสรภาพของมนุษย์
๙
ที่ประกาศอิสรภาพของมนุษย์
ลุมพินี ในเขตประเทศเนปาล
เสาร์ที่ ๑๘ ก.พ. ๒๕๓๘
เราได้เดินทางมาถึง สังเวชนียสถานแห่งที่ ๔ เป็นที่สุดท้ายในการเดินทางของเรา แต่เป็นลำดับแรกในเหตุการณ์แห่งพุทธประวัติ คือ สถานที่ประสูติ ซึ่งมีเครื่องหมายแสดงให้ทราบด้วยศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกที่ได้ประดิษฐานไว้ มีข้อความเพียงสั้นๆ ว่า
"
พระเจ้าอยู่หัวปิยทัสสีผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ เมื่ออภิเษกได้ ๒๐ พรรษา ได้เสด็จมา และทรงกระทําการบูชา เพราะว่าพระพุทธศากยมุนีได้ประสูติ ณ ที่นี้
"
ได้โปรดให้สร้างรั้วศิลา และโปรดให้ประดิษฐานเสาศิลาจารึกขึ้นไว้
"
ต่อจากนี้มีข้อความอีกเล็กน้อย ศิลาจารึกนี้เป็นหลักฐานสำคัญที่สุด ส่วนหลักฐานอื่นๆ เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาภายหลังเป็นส่วนมาก
พวกอิฐต่างๆ ที่กองอยู่นั้น อาจจะเป็นพวกสถูปบ้าง เป็นซากของกุฎิบ้าง อีกอย่างหนึ่งก็คือ วิหารมายาเทวี ที่อยู่ในวงล้อมผ้าเหลืองที่เขากำลังจัดการขุดแต่ง เมื่ออาตมามาครั้งก่อนโน้น เขายังไม่ได้รื้อ ยังเข้าไปนมัสการได้ แต่เป็นวิหารที่ไม่ใช่ของชาวพุทธเอง คือ เป็นของชาวฮินดูสร้างขึ้น เท่าที่ทราบว่าเป็นของภายหลัง
ฯลฯ
คติจากสังเวชนียสถาน
ที่ว่ามานั้นเป็นเรื่องของสถานที่ ซึ่งก็มีความสําคัญ เพราะว่าเราต้องการให้เกิดผลในทางจิตใจ คือให้เป็นสังเวชนียสถานอย่างแท้จริง หมายถึงเป็นที่ให้เกิด
สังเวช
ในความหมายว่า เป็นเครื่องกระตุ้นเตือน ใจให้เกิดศรัทธาและปัญญา
ทั้งนี้เพราะว่า เมื่อเรามาในสถานที่ ที่เรียกว่า
สังเวชนียสถาน
และสถานที่สําคัญในทางพระพุทธศาสนาทุกแห่ง สิ่งที่เราควรจะได้โดยสรุป ก็มี ๒ อย่าง คือ ศรัทธา กับ ปัญญา
บางท่านก็อาจจะได้เฉพาะศรัทธา คือ ความเลื่อมใสและมั่นอกมั่นใจเข้มแข็งยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเกิดปีติ มีความปลาบปลื้มใจที่เป็นผลจากศรัทธานั้น นั่นก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งบางทีไม่ได้คือ ปัญญา
อย่างไรก็ดี เมื่อได้ศรัทธาไป ก็ยังเรียกว่าได้ผลบ้าง แต่ไม่สมบูรณ์ ถ้าจะให้ดีก็ควรจะได้ปัญญาด้วย อย่างที่ได้กล่าวแล้วว่า ปัญญาที่เกิดขึ้นนี้ หมายถึง
ปัญญาอย่างที่ ๑
คือ ความรู้เข้าใจ มองเห็น
คติ
ธรรมดาของสังขาร อันได้แก่ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ตามหลักพระไตรลักษณ์ ซึ่งจะทำให้เราเห็นความจริงแล้วโน้มธรรมมาปฏิบัติในใจ ปัญญานี้จะโยงไปสู่ความสว่างชัดใน
ธรรมดา
ของสังขาร พร้อมทั้งการที่จะเป็นอยู่ และทําการทั้งหลายด้วยความไม่ประมาท
ปัญญาอย่างที่ ๒
คือ จากเหตุการณ์และสถานที่นั้นๆ ก็เชื่อมโยง ต่อไปให้เราระลึกถึงคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และปฏิบัติตามคําสอนเหล่านั้น ที่มีความหมายเกี่ยวเนื่องกับสถานที่แต่ละแห่ง ตลอดจนพระธรรมเทศนาต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในโอกาสนั้นๆ
ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องทางปัญญา ซึ่งจะได้มากได้น้อย ก็อยู่ที่การรู้จักใช้
โยนิโสมนสิกา
ร คือการ
รู้จักคิด รู้จักพิจารณา
อย่างเราเดินทางมาครบ ๔ แห่งนี้ ความหมายของสังเวชนียสถานแต่ละแห่งนั้น ก็มีต่างๆ กัน ถ้าจะประมวลสรุปแล้ว เราก็ได้แง่คิดหลายแบบ จะยกตัวอย่างง่ายๆ
ทำประโยชน์ของตนให้ถูกให้ดี จะเป็นที่พึ่งของโลกได้
เริ่มต้น สังเวชนียสถาน ๔ นั้น เราเห็นชัดว่า
แห่งแรก เ
ป็นเรื่องเกี่ยวกับการประสูติ คือ การเกิด แล้วต่อไป แห่งสุดท้าย เกี่ยวกับการ
ปรินิพพาน
ก็คือ
การตาย
สองอย่างนี้การเกิด กับ การตาย เป็นของสามัญสําหรับทุกคน ไม่ใช่เฉพาะพระพุทธเจ้า ใครก็ตามที่มีชีวิต ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการเกิด แล้วต้องสิ้นสุดด้วยการตาย
แต่
พระพุทธเจ้า
ทรงมีเพิ่มอีก ๒ อย่าง คือ ระหว่างนั้นท่ามกลางระหว่าง
ประสูติ
กับ
ปรินิพพาน
มี
ตรัสรู้
กับ
แสดงปฐมเทศนา
อันเป็นส่วนพิเศษที่ทําให้พระชนมชีพ หรือชีวิตของพระพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่ประเสริฐ ต่างจากคนทั้งหลาย
การตรัสรู้นั้น ถ้ามองความหมาย ก็คือการที่พระพุทธเจ้าทรงบรรลุจุดหมายที่ทรงประสงค์ เป็นความสําเร็จของพระองค์ทําพระชนมชีพของพระองค์เองให้สมบูรณ์ เรียกว่า เป็นการ
ทําประโยชน์ของตนเอง
ให้เสร็จสิ้น
ต่อมา การแสดง
ปฐมเทศนา
คือการบําเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น คือ การที่พระองค์มีอะไรมอบไว้ให้แก่ชาวโลก
ประโยชน์ ๒ ประการ
นี้ เรียกว่าหลัก
อัตตัตถะ
และ
ปรัตถะ
การ
ตรัสรู้
เป็นการบรรลุความสมบูรณ์แห่ง
อัตตัตถะ
หรืออัตตหิตะ ได้แก่
ประโยชน์ตน
ส่วนการแสดง
ปฐมเทศนา
เป็นจุดเริ่มต้นของการบาเพ็ญ
ปรัตถะ
หรือ
ปรหิตะ
คือ ประโยชน์เพื่อผู้อื่น
ในการ
ปฏิบัติธรรม
นั้น หลักธรรมคู่นี้สําคัญมาก พระพุทธเจ้าทรงย้ำบ่อยๆว่า ให้บําเพ็ญทั้ง
อัตตัตถะ
ประโยชน์ตน และ
ปรัตถะ
ประโยชน์ผู้อื่น
ทั้งสองอย่างนี้เนื่องกัน ผู้ที่จะบําเพ็ญประโยชน์ให้ผู้อื่นได้อย่างดี ก็ต้องพัฒนาตน ยิ่งเราบรรลุประโยชน์ตนมากขึ้นไปเท่าไร เราก็ยิ่งสามารถทําประโยชน์เพื่อผู้อื่นได้มากขึ้นเท่านั้น
ความดีงาม ความสามารถ ความมีสติปัญญา
ที่เกิดจากการพัฒนาตนของเรานี้แหละ คือ
ประโยชน์ตน
ที่แท้จริง
ถ้าเราได้
พัฒนาตนเอง
ทําประโยชน์ตนให้เจริญงอกงาม โดยมีสติปัญญาความสามารถมากขึ้น ก็เท่ากับเป็นความดีงามความประเสริฐแห่ง
ชีวิต
ของเราเอง พร้อมกันนั้น เราก็สามารถที่จะบําเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่นได้ดีขึ้นด้วย
ทั้งนี้เพราะว่า
บุคคล
ที่มีสติปัญญา มีความสามารถ มีความสุข มีชีวิตที่สงบแล้ว จึงจะสามารถบําเพ็ญประโยชน์ ช่วยเหลือผู้อื่น เผื่อแผ่ ความดีงาม สติปัญญา ความรู้และความสุขไปให้แก่คนอื่นได้เต็มที่
เหมือนอย่าง
พระพุทธเจ้า ที่ทรงเป็นผู้บรรลุประโยชน์ตน
แล้ว คือ ได้พัฒนาพระองค์เองให้มีคุณสมบัติทั้งปวงสมบูรณ์แล้ว
จบกิจแห่งการเจริญศีลสมาธิปัญญา
พร้อมด้วยพระปัญญา มหากรุณา และวิสุทธิคุณ มีความสุขเป็นคุณสมบัติประจําพระองค์อยู่แล้วตลอดเวลา ไม่ต้องแสวงหาความสุขที่ไหน และ
ไม่มีอะไรที่จะต้องทําเพื่อพระองค์เองอีกต่อไป
จึงอุทิศพระชนมชีพทั้งหมดให้แก่การบําเพ็ญ
พุทธกิจ
เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเพียงอย่างเดียว จนถึงที่สุดแห่งพุทธกาล
ผู้ใดยังไม่บรรลุประโยชน์ตน ผู้นั้น
ก็ยังทําประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ไม่เต็มที่ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ
ด้านหนึ่ง
ยังมีความสามารถที่จะทําประโยชน์นั้นได้ไม่สมบูรณ์ เช่น ยังพัฒนาตนให้มีความสามารถต่างๆ ได้ไม่เพียงพอ และไม่รู้ชัดเจน จะแจ้งลงไปแม้แต่ว่าอะไรจะเป็นประโยชน์จริงแท้หรือไม่
อีก
ด้านหนึ่ง
ยังมีห่วงกังวลเกี่ยวกับตนเอง อย่างน้อย แม้แต่ไม่ห่วงสุขทุกข์ของตัวแล้ว ก็ยังกังวลกับการที่จะต้องฝึกฝนพัฒนาตนเอง
ผู้ที่จะช่วยคนตกน้ำ ถ้าตัวเองว่ายน้ำไม่เป็น ถึงจะมีใจการุณย์ อย่างยิ่ง จะช่วยเขาได้อย่างดีก็แค่หาวัสดุอุปกรณ์มาฉุด ดึง ลาก พา จูง หรือโยนให้ซ้ำร้าย ถ้าช่วยไม่เป็น กลับก่ออันตราย หรือไม่ปลอดภัย ทั้งแก่ตนเอง และแก่คนที่ตนคิดจะช่วยนั้น
เพราะฉะนั้น ประโยชน์ตน (อัตตัตถะ) คือความพร้อมสมบูรณ์ของตนเอง หรือความมีตนที่ได้พัฒนาอย่างดีเต็มที่แล้ว จึง
เป็นฐาน
ของการบําเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น
ด้วยเหตุนี้ จึงมี
คุณสมบัติของพระอรหันต์
ที่ว่า เป็นผู้ได้บรรลุประโยชน์ตนแล้ว จนกระทั่งไม่ต้องทําอะไรเพื่อตัวเองอีก เพราะมีความสมบูรณ์ในตัว ทั้งสติปัญญา ทั้งความสุข ความสงบ ความเป็นอิสระ
เมื่อมีภาวะที่พัฒนาดีแล้วเหล่านี้พร้อมในตัว ก็นําเอาความสุข ความเป็นอิสระเป็นต้นนี้ไปเผื่อแผ่ แจกจ่ายแก่ผู้อื่นด้วยเมตตากรุณาต่อไป
อย่างไรก็ตาม พึงทราบว่า การทําประโยชน์แก่ผู้อื่นนั้น ท่านถือว่า เป็นการบําเพ็ญประโยชน์ตน คือเป็นอัตตัตถะอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการพัฒนาตนให้มีทั้งความดีงาม และความสามารถมากขึ้น
ยิ่งเราพยายามช่วยเหลือ ทําประโยชน์แก่ผู้อื่นเท่าใด ไม่ว่าจะในระดับบุคคล หรือในระดับชุมชนสังคมส่วนรวม เราก็ยิ่งมีความดีงาม และแกร่งกล้าสามารถมากขึ้นเท่านั้น
การช่วยเหลือผู้อื่น หรือทําประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นวิธีปฏิบัติ ส่วนหนึ่งในการพัฒนาบุคคลให้สมบูรณ์
เรื่องนี้เห็นได้ง่ายๆ ดังที่เรามีพระโพธิสัตว์ไว้เป็นแบบอย่าง
เรารู้กันดีว่า พระโพธิสัตว์ คือ ท่านที่กำลังบำเพ็ญบารมี การบำเพ็ญบารมี มีหลายข้อหลายขั้น แต่ส่วนสําคัญก็คือการสละตนเอง ทั้งทรัพย์ อวัยวะ ตลอดถึงชีวิต เพื่อช่วยเหลือทําประโยชน์แก่ผู้อื่นได้อย่างเต็มที่
การบําเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ทั้งหมดนี้ ก็เป็น
อัตตัตถะ
คือ เป็นการ
พัฒนาตน
เอง ให้มีคุณสมบัติความดีงามความสามารถเพิ่มพูน จนเต็มเปี่ยมสมบูรณ์พอแก่การบรรลุโพธิญาณ ที่จะเป็นพระพุทธเจ้า
จึงเป็นความประสานกัน ระหว่างอัตตัตถะ กับ ปรัตถะ หรือ ระหว่างประโยชน์ตน กับ ประโยชน์ผู้อื่น ในระดับต้น หรือขั้นในระหว่าง คือ สําหรับคนทั่วไป จนถึงพระโพธิสัตว์ ที่เหมือนกับว่าการทําปรัตถะ เป็นส่วนหนึ่งของอัตตัตถะ แต่ที่จริงก็คืออิงอาศัย และหนุนเสริมกันไป
ความประสานกัน ระหว่าง
อัตตัตถะ
กับ
ปรัตถะ
หรือระหว่างประโยชน์ตนกับประโยชน์ผู้อื่นนั้น มาบรรจบสมบูรณ์ ในขั้นสุดท้าย หรือในระดับสูงสุด คือท่านผู้บรรลุประโยชน์ตนแล้ว ได้แก่พระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย ซึ่งจบกิจแห่งการพัฒนาตนแล้ว ไม่มีอะไรจะต้องทําเพื่อตนต่อไปอีก
อัตตัตถะ
ที่สมบูรณ์หรือเต็มแล้วนั้น จึงมีไว้เพื่อให้สามารถทําปรัตถะคือประโยชน์เพื่อผู้อื่นได้อย่างดีที่สุดสืบไป
พูดรวมตลอดว่า
> เมื่อพัฒนาตัวเองให้มีอัตตัตถะมากขึ้น ก็มีความพร้อมความสามารถที่จะทําปรัตถะบําเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นได้มากขึ้น
> ยิ่งบําเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นทําปรัตถะมากขึ้น ตนเองก็ยิ่งพัฒนามีสติปัญญาความรู้ความดีงามความสามารถที่เป็นอัตตัตถะมากขึ้น กระบวนธรรมดําเนินไปอย่างนี้จนในที่สุด
> เมื่อพัฒนาตนจนมีอัตตัตถะเต็มบริบูรณ์แล้ว ก็พร้อมที่จะทําปรัตถะได้โดยสมบูรณ์
เพิ่มอีกหน่อยว่า ผู้ที่บำเพ็ญประโยชน์ตน คือ พัฒนาตนให้มีอัตตัตถะพร้อมดีแล้ว ก็เป็น
อัตตนาถ
คือพึ่งตนได้
ผู้ที่ทําประโยชน์แก่ผู้อื่นบําเพ็ญ
ปรัตถะ
ได้ผล ก็เป็น
ปรนาถ
คือ เป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่น
ถ้ามีอัตตัตถะเต็ม เป็นอัตตนาถสมบูรณ์แล้ว ทําปรัตถะได้เต็มที่ คือเป็นพระพุทธเจ้า ก็เป็น
โลกนาถ
คือเป็นที่พึ่งของชาวโลกทั้งหมด
ทุกคนควรเป็นทั้ง
อัตตนาถ
และ
ปรนาถ
โดยให้ความเป็นอัตตนาถ และปรนาถ นั้น ประสานอิงอาศัยเสริมหนุนกัน ตามหลักการที่พระโลกนาถได้ตรัสแสดงไว้
สถาน
ที่พระพุทธเจ้า
ตรัสรู้
และประกาศ
ปฐมเทศนา
เป็นเครื่องหมายของการที่พระองค์ทรงบรรลุแล้ว ซึ่งความสมบูรณ์แห่งอัตตัตถะ คือ การบําเพ็ญประโยชน์ตนจนพัฒนาพระองค์เองสมบูรณ์แล้ว และการที่ทรงทําประโยชน์แก่ชาวโลก เป็นการบําเพ็ญปรัตถะ ถึงขั้นที่ทรงเป็น
พระโลกนาถ
อย่างที่ได้กล่าวมา
ฉะนั้น สังเวชนียสถาน ๔ จึงเป็นเครื่องเตือนใจชาวพุทธว่า ท่ามกลางคติธรรมดาแห่งชีวิตที่เราเกิดมาจนกระทั่งตายไป เราควรจะได้ทํากิจ ๒ อย่างนี้ให้สําเร็จ
กล่าวคือ สําหรับชีวิตของตัวเอง เราก็ควรจะเข้าถึงสิ่งที่ดีงาม ประเสริฐ พัฒนาตัวเราให้สมบูรณ์ที่สุด พร้อมกันนั้น เราก็ควรจะมีอะไร ให้แก่โลกด้วย โดยบําเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น และแก่สังคม
นี่เป็น
คติธรรม
อย่างหนึ่งที่ควรจะได้จากสังเวชนียสถาน ๔ อัน เป็นความหมายอย่างง่ายๆ นอกจากนั้น ยังมีความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปอีก ดังได้กล่าวไปแล้ว
Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2567 20:49:03 น.
0 comments
Counter : 237 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com