กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2567
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
22 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

ความไม่ยึดมั่นถือมั่นที่แท้ อีกที

 
 
235 ย้ำ: วินัยเอาปัจจัยพิเศษของมนุษย์เข้าไปใส่กระบวนธรรม
 
     เวลามีเรื่องมีราว  คนทำความผิดความชั่วร้าย   บางคนชอบพูดว่า ไม่ต้องไปยุ่งไปจัดการอะไร  แล้วเขาก็จะได้รับผลกรรมของเขาเอง   การพูดอย่างนี้ต้องระวังให้มาก   ทั้งจะขัดกับหลักการของพระพุทธศาสนา และทำให้ตกอยู่ในความประมาท
 
     ในเรื่องนี้  วินัยของสงฆ์ก็ช่วยให้มีวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง อย่างที่บอกแล้วว่าต้องแยกความรับผิดชอบเป็น ๒ ด้าน คือ
 
     ด้านธรรม   แต่ละคนรับผิดชอบต่อกรรมของตน   ตามกระบวนการของกฎธรรมชาติที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันเอง  นี่เรียกว่ากรรม
 
     แต่อีกด้านหนึ่ง  คือ  ด้านวินัย  เพื่อประโยชน์ของสังคม   เขามีการบัญญัติจัดวางกฎระเบียบกติกา  เพื่อให้ธรรมออกผลแก่หมู่มนุษย์ในเชิงรูปธรรม คือ ให้สังคมมนุษย์ได้ประโยชน์จากธรรม
 
     ดังนั้น  เมื่อมีภิกษุทำความผิด จะไม่มีการพูดว่ารอให้ภิกษุนั้นรับผลกรรมของตนเอง   แต่ในทางวินัย มีกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นบัญญัติฝ่ายวินัย ซึ่งสงฆ์จะใช้เป็นเครื่องมือเพื่อดำเนินคดีและลงโทษ เป็นต้น  แก่ภิกษุที่ทำความผิดนั้นทันที  โดยไม่ต้องรอกรรมฝ่ายธรรมชาติ
 
     (ยิ่งกว่านั้น  เมื่อมีภิกษุทำความผิด  ถ้าภิกษุอื่นๆ ปล่อยปละละเลย  ไม่ดำเนินการ  ภิกษุเหล่านั้นก็อาจจะมีความผิดไปด้วย)
 
     จะต้องไปรอทำไม   เราจงใจทำอะไรเมื่อไร  ก็เป็นกรรมฝ่ายธรรมชาตินั่นแหละทันที   วินัยหรือกฎที่สมมติไว้  จึงให้พระสงฆ์ทำกรรมใส่เหตุปัจจัยใหม่เข้าไปช่วยหนุนหรือผลักดันให้กรรมแสดงผลบางอย่างออกมา  อย่างน้อยผลข้างเคียงที่เกื้อกูลต่อสังคม  ใครรอก็คือไม่รู้ธรรมนั่นเอง
 
     วินัยนั้นถือสงฆ์เป็นใหญ่   มุ่งจะรักษาสงฆ์ที่เป็นส่วนรวมเป็นสำคัญ    พระพุทธศาสนาเรานี้   ดำรงอยู่มาได้ยั่งยืนถึงบัดนี้  ก็เพราะพระสงฆ์ในอดีตได้ปฏิบัติตามหลักการที่ว่ามานี้
 
     ที่จริงนั้น เมื่อมองลึกลงไปถึงขั้นสุดท้าย สังคมทั้งหมดก็ดี  วินัยที่เป็นระบบ ระบอบ ระเบียบต่างๆ ทั้งหลายก็ดี  ก็ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยในกระบวนการของกฎธรรมชาติทั้งนั้น
 
     เพราะฉะนั้น  ถ้าวินัยไม่เกิดจากความรู้เข้าใจความจริงของธรรมชาติแท้จริง และจัดตั้งวางไว้โดยไม่สอดคล้องกับธรรม  วินัยก็จะรักษาสังคมไว้ไม่ได้  วินัยก็จะก่อผลร้าย และสังคมก็จะไม่สามารถดำรงอยู่ด้วยดีหรืออาจถึงความวิบัติ
 
     ได้กล่าวแล้วว่า  วินัยนั้นเกิดจากปัญญาพิเศษของมนุษย์ที่เข้าถึงความจริงของธรรม แล้วจัดตั้งวางระบบเป็นต้น เพื่อให้มนุษย์ได้ประโยชน์จากธรรม
 
     เพราะฉะนั้น เมื่อพูดอีกสำนวนหนึ่ง วินัย ก็คือความสามารถพิเศษของมนุษย์ที่นำเอาปัจจัยธรรมชาติฝ่ายมนุษย์เข้าไปเป็นส่วนร่วมในกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยของธรรมชาติ เพื่อให้บังเกิดผลดีแก่มนุษย์ในทางที่ดีงามพึงปรารถนา
 
     มนุษย์ที่มีปัญญา ได้พัฒนาดีแล้ว เมื่อเข้าไปเป็นส่วนร่วมในกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยของธรรมชาติ  ย่อมเป็นปัจจัยที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง ที่จะช่วยให้กระบวนการแห่งเหตุปัจจัยทั้งหมดดำเนินไปในทางที่จะก่อให้เกิดผลดีที่พึงปรารถนาแก่ชีวิตและสังคมของมนุษย์
 
     เป็นอันว่า คติพระอรหันต์มีข้อควรศึกษาหลายอย่าง รวมทั้งเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรต่างๆ เราดูจากวินัย  เราจะได้คติมากมาย  อย่างที่ว่าความไม่ยึดมั่นถือมั่น  ถ้าเราเอียงไปแง่เดียว เราอาจเข้าใจธรรมผิดไปก็ได้
 
     จะต้องระลึกว่า ความไม่ยึดมั่นถือมั่นที่จริงแท้นั้น  ต้องเกิดจากปัญญา มองเห็นความจริง ที่เป็นสัจธรรม และความไม่ยึดมั่นถือมั่นนั้น จะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ
 
 


Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2567 15:54:40 น. 0 comments
Counter : 310 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space