 |
|
|
|
 |
|
ธรรมที่ตรัสไว้ต่างชุด ดุจเครื่องมือที่ใช้กับต่างงาน |
|
ธรรมที่ตรัสไว้ต่างชุด ดุจเครื่องมือที่ใช้กับต่างงาน
ที่ว่าพระพุทธเจ้าตรัสธรรมไว้เป็นชุดๆ นั้น ที่จริงมีความหมายหลายแง่ แต่พูดไปก็ยิ่งยาว ขอให้ดูในเชิงเปรียบเทียบอย่างง่ายๆ กับสิ่งของเครื่องใช้ที่เป็นรูปธรรม อาชีพหลายอย่างมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานของตัว เช่น ศัลยแพทย์ มีมีด กรรไกร คีม เข็ม เทป ค้อน เป็นต้น ช่างไม้ ก็มีมีด เลื่อย ค้อน สว่าน สิ่ว ฯลฯ ช่างไฟฟ้า ก็มีมีด คีม เทป ไขควง เลื่อย ฯลฯ ช่างทำรองเท้า ก็มีมีด คีม ค้อน กรรไกร ฯลฯ จะเห็นว่า งานต่างกันบางอาชีพมีอุปกรณ์ทั้งที่มีชื่อและเป็นชนิดเดียวกัน และที่ต่างชื่อต่างชนิดกัน แต่ละอาชีพมีอุปกรณ์สำคัญเป็นชุดของตน อุปกรณ์บางอย่างพอจะขาดได้ แต่บางอย่างขาดไม่ได้เลย ถ้าให้ดีควรมีครบทั้งชุด ศัลยแพทย์ มีมีด คีม กรรไกร ช่างทำรองเท้า ก็มีมีด คีม กรรไกร แต่มีด และคีม เป็นต้น ของสองงานนั้น มีรูปลักษณะ ขนาด และคุณสมบัติอื่น เช่นความคม ความประณีต ไม่เหมือนกัน นอกจากนั้น ต่างฝ่ายต่างก็มีอุปกรณ์อื่นที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องใช้ ทีนี้ ดูในการปฏิบัติธรรม โพชฌงค์ (ธรรมด้านการพัฒนาจิต ปัญญาให้บรรลุโพธิ) มี ๗ รวมทั้ง สติ วิริยะ และปัญญาที่เรียกชื่อพิเศษ ว่าธัมมวิจยะ/ธรรมวิจัย นาถกรณธรรม (หลักการสร้างที่พึ่ง ซึ่งเป็นธรรมสำหรับการพัฒนาตัวและดำรงตนในชีวิตประจำวันและในสังคม) ๑๐ ข้อ ก็มีสติ วิรยะ และปัญญา รวมอยู่ด้วย ขอให้ศึกษาดูเถิด สติ วิริยะ และปัญญา ในธรรมสองหมวดนั้น มีความหมาย ความลึกละเอียด ตลอดจนแง่มุมระดับการใช้ ไม่เหมือนและไม่เท่ากัน (โพชฌงค์ ๗ ดูแนวที่ สํ.ม.๑๙/๓๗๓–๒๘๐ นาถกรณธรรม ๑๐ ดูแนวที่ องฺ.ทสก.๒๔/๑๗)
โพชฌงค์ ๗ มีธรรมด้านจิตใจหลายข้อ คือ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา ซึ่งนาถกรณธรรม ๑๐ ไม่มี นาถกรณธรรม ๑๐ ก็มีธรรมด้านชีวิตประจำวัน และการอยู่ร่วมสังคมหลายอย่าง ซึ่งโพชฌงค์ ๗ ไม่มี (ได้แก่ มีศีล เป็นพหูสูต มีมิตรดี รู้จักฟังคนอื่น ใส่ใจดูว่ามีอะไรที่จะร่วมมือช่วยเหลือกัน รักธรรม ใฝ่หาความรู้จริง และไม่เห็นแก่การเสพบริโภค) ลึกลงไปอีก โพชฌงค์ ๗ เป็นเรื่องของภาวะจิตใจที่เป็นธรรมชาติ องค์ประกอบทั้ง ๗ ข้อ ทำงานประสานและเป็นปัจจัยหนุนกันไปตามกระบวนการที่เป็นกฎของธรรมชาติอันแน่นอน เมื่อองค์ทั้ง ๗ สมบูรณ์พร้อม ก็เกิดผลคือการตรัสรู้ ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปตามธรรมดาของมัน ที่เป็นและจะต้องเป็นอย่างนั้นเอง ส่วนนาถกรณธรรม ๑๐ เป็นเรื่องของคุณสมบัติที่ออกสู่พฤติกรรมในสังคม ธรรม ๑๐ ข้อ ที่จัดเข้าชุดเข้าหมวดกันนั้น เป็นการจัดระบบขึ้นตามที่มันควรจะเป็นเท่านั้น อย่างที่เดี๋ยวนี้เรียกกันว่าจริยธรรม เป็นชุดเชิงสังคม คือไม่ใช่เรื่องภายในของชีวิตเอง แต่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างชีวิต กับ สังคม การออกผลต้องดูสองชั้น โดยเฉพาะในระดับสังคม
Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2567 |
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2567 13:24:20 น. |
|
0 comments
|
Counter : 169 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|