กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2567
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
7 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

ละชั่ว ทําดียังไม่พอ ต้องต่อด้วย


235 ละชั่ว  ทําดียังไม่พอ  ต้องต่อด้วยไม่มีกิเลสเหลือในใจ

     ขอย้อนกลับเข้ามาเรื่องคาถาโอวาทปาติโมกข์อีกครั้งหนึ่ง จะพูดเฉพาะคาถาที่รู้จักกันทั่วไปที่ว่า ไม่ทําชั่ว ทําดีทําใจให้ผ่องใส ซึ่งบอกแล้วว่าอยู่ในอริยสัจข้อที่ ๔ คือ มรรค เป็นรูปแบบหรือถ้อยคําสําหรับสื่อให้ง่ายสําหรับ ศีล สมาธิ ปัญญา

     ขอตั้งข้อสังเกตแถมอีกนิดหนึ่ง  เวลาแปล  ถ้าเราแปลว่า ละชั่ว แล้วก็ทําดี และทําใจให้ผ่องใส บางทีก็มีผู้เถียง ๒ อย่าง

        ๑) เถียงว่า อ้อ ถ้าละชั่ว ก็แสดงว่า ท่านมีชั่วอยู่แล้ว ท่านจึงต้องละ ถ้าอย่างนั้น คำแปลนี้ก็ไม่สมบูรณ์ ที่จริงความชั่วนั้น ถ้าเรายังไม่ทำ ก็อย่าไปทำมันเลย ไม่ต้องรอว่าไปทำมาแล้วจึงคิดจะละ ฉะนั้น จึงควรบอกว่า ไม่ทำชั่ว

        ๒) เถียงว่า ตัวบาลีเองก็ไม่มีคำว่า “ละ” บาลี อกรณํ แปลว่า การไม่กระทำ ไม่ได้แปลว่า ละ

     เพราะฉะนั้น คำแปลที่ตรงที่สุด จึงต้องว่า ไม่กระทำความชั่ว หรือ ไม่ทำชั่ว ทำดีให้ถึงพร้อม และทำใจให้ผ่องใส

     ข้อสังเกตในคำสอน ๓ ข้อนี้ มีมากมายเหลือเกิน แต่เป็นที่ยอมรับกันว่า คำสอนในพระพุทธศาสนาภาคปฏิบัติแค่นี้มีความสมบูรณ์มาก ในศาสนาต่างๆจะมีไม่ครบ ศาสนาทั่วไปจะมีแค่ละชั่ว หรือไม่ทำชั่ว แล้วก็ทำดี ส่วนข้อว่าทำใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสนี่ มักจะไม่ถึง

     การทำใจให้ผ่องใสบริสุทธิ์  ที่จะสมบูรณ์นั้น ก็คือผ่องใสบริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลายทั้งปวง

     ถึงจะเว้นชั่ว และทำดี ก็ยังไม่ปลอดภัย  บางทีเว้นชั่ว และทำดีนั้น ยังต้องมีอะไรคอยกำกับหรือบังคับ บางทีก็มีเครื่องเร้าล่อ  บ้างก็อาศัยแรงหนุนหลังบางอย่าง  จะให้มั่นให้แท้ ต้องเว้นชั่วและทำดีโดยมีใจที่สะอาดปราศกิเลส  ต้องถึงขั้นนี้  จึงจะหมดชั่วแน่ และดีนั้นจึงจะแท้

     ในบรรดากิเลสทั้งหลายทั้งปวงที่ทำให้จิตใจเศร้าหมองนั้น ตัวรากเหง้าที่สุดก็คือ โมหะ ฉะนั้น การที่ว่าทำให้บริสุทธิ์  จึงหมาย ถึงบริสุทธิ์จนกระทั่งหลุดพ้นจากโมหะ ไม่ใช่แค่โลภะ โทสะ เท่านั้น

     เดี๋ยวจะว่า ใจบริสุทธิ์ ก็น่าจะมีได้ทั่วไป ทำใจให้ผ่องใสก็คล้ายๆกับว่า ใจดี สบาย อย่างคนที่มีเมตตา กรุณา ก็น่าจะใจผ่องใส แต่ในพระพุทธศาสนานั้น ใจผ่องใสนี้ในที่สุดจะต้องถึงหมดอวิชชา ความไม่รู้เลยทีเดียว

     ฉะนั้น การที่จิตผ่องใสทั่วๆไป อย่างใจดีมีเมตตา เป็นต้น ยังไม่พอ ถ้ามีใจผ่องใสด้วยเมตตากรุณา หรือด้วยคุณธรรมอย่างเช่นศรัทธา แค่นี้ ยังไม่มั่นคงยั่งยืน และจิตยังไม่สะอาดแท้ ยังอยู่แค่ข้อ ๒ คือทำกุศลให้เพิ่มพูนขึ้นเท่านั้น อันนี้ จะต้องทำความเข้าใจกันให้ชัดเจน

     ตรงนี้ อยากจะพูดเจาะเฉพาะนิดหน่อย คือ ที่บอกว่า ไม่ทำชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใสนั้น ถ้าพูดในแง่ความประณีต พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง จากหยาบมาหาละเอียด คือ

        ๑. ไม่ทำชั่ว นี่คือ หยาบที่สุด พอไม่ทำชั่วแล้ว

        ๒. ทำความดีให้ถึงพร้อม ก็ประณีตขึ้นมา เมื่อไม่ทำชั่ว ต่อนั้นไปก็ตั้งใจทำความดีให้สมบูรณ์ ทำทุกอย่าง มีดีอะไรให้ทำก็ทำ เมื่อทำกุศล คือทำแต่ความดี ก็ประณีตขึ้น แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์

        ๓. ในขั้นที่ละเอียดประณีต ต้องทำใจให้บริสุทธิ์หมดจดอีกขั้นหนึ่ง จึงจะหลุดพ้นจากความชั่ว และตั้งอยู่ในความดีได้จริงแท้และยั่งยืน

     หลักปฏิบัตินี้ ถ้าว่าโดยลำดับ ก็คือจากหยาบไปหาละเอียด เพราะฉะนั้น ท่านจึงเทียบว่าเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา

     ไม่ทำชั่ว  ก็อยู่ในระดับศีล  ทำดีให้ถึงพร้อม  ก็อยู่ในระดับจิตใจ เรียกว่า สมาธิ แล้วก็ทำใจให้ผ่องใส คือทำใจให้บริสุทธิ์จากโมหะ การที่โมหะจะหมดไป ก็ต้องมีปัญญา ในที่สุดจึงต้องถึงขั้นปัญญา

     คำสอนที่มีความสมบูรณ์ต้องครบถ้วนทุกระดับอย่างนี้ จึงทำให้มีข้อสังเกตว่า คนทำความดีนั้นยังไม่สมบูรณ์ ถ้าตราบใดยังไม่ชำระใจให้ผ่องใส มองในแง่หนึ่ง เราอาจจะเทียบกับเรื่องคณิตศาสตร์

        ๑. ไม่ทำชั่ว ก็เป็นลบ ความชั่วเป็นสิ่งที่ไม่ดี เป็นเรื่องที่ลบอยู่แล้วในตัว เมื่อเราไปลบเจ้าตัวลบนั้น ก็กลายเป็นบวก ลบกับลบกลายเป็นบวก อันนี้คือไม่ทำชั่ว

        ๒. ทำความดีให้ถึงพร้อม นี่เป็นบวก บวกๆ ให้มากขึ้นไป ตัวบวกนี่บวกต่อไปก็เพิ่มเรื่อย คือ เพิ่มพูนความดีให้ยิ่งขึ้นไปๆ

        ๓. ทำใจให้บริสุทธิ์ ตอนนี้เป็นความว่างเลย ไม่บวกไม่ลบแล้ว

     ถ้าบวกอยู่ ก็ยังไม่สมบูรณ์ ก็บวกกันเรื่อยไป และบวกบางทีมีปัญหาเหมือนกัน เดี๋ยวจะอธิบาย ถ้าบวกมากนักบางทีก็เสียดุล พอเสียดุลก็เกิดความยุ่งยาก

     เพราะฉะนั้น การทำความดีจึงต้องระวังเหมือนกัน หลักของพระพุทธศาสนาก็คือการแสดงความจริงตามธรรมดาของธรรมชาติ ซึ่งต้องมองหลายชั้นหลายเชิง หลายแง่หลายมุม

     การทำความดี  ทำมากเกินไปแล้วเสียดุล ก็เสีย ทำความดีแต่ทำไม่ถูกที่ถูกทางก็เสียได้ ทำความดีแต่ไม่เป็นธรรมานุธรรมปฏิบัติ ก็มี คือ เป็นการปฏิบัติธรรมไม่ถูกหลัก โบราณเรียกว่า “ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม” แล้วเราทำไม่ได้ตามนั้น ก็เสียอีก ดังนั้น ปฏิบัติธรรม แม้จะเป็นการทำความดีก็ต้องระวัง

     อีกอย่างหนึ่ง ความดี หรือกุศลนั้น เป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลได้ด้วย อกุศลก็เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ความดีก็เป็นปัจจัยให้เกิดความชั่วได้ ความชั่วก็เป็นปัจจัยให้เกิดความดีได้

     จะยกตัวอย่างให้ง่ายที่สุดสักข้อหนึ่งในเรื่องนี้ เพื่อจะให้เห็นความสมบูรณ์ในการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า

 


Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2567 10:50:25 น. 0 comments
Counter : 243 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space