Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

การตั้งท้องคือความเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง และ การคลอด ก็คือ การเข้าสู่สมรภูมิรบ




#ทุกการคลอดมีความเสี่ยง ณ วันนี้ยังมีแม่ที่ต้องเสียชีวิตจากการคลอดลูกในทุกประเทศทั่วโลก ไม่ว่าประเทศนั้นจะมีความเจริญทางการแพทย์มากเพียงใดก็ตาม #คลอดลูกตายได้ไง

ข้อมูลล่าสุด ประเทศไทยมีการคลอดปีละกว่า 700,000 คน แต่มีแม่ผู้โชคร้ายที่เสียชีวิตจากการคลอดราว 100 คน สาเหตุหลักๆ 5 อันดับแรก คือ ตกเลือดหลังคลอด ติดเชื้อในกระแสเลือด ครรภ์เป็นพิษ ภาวะแทรกซ้อนของโรคทางอายุรกรรม และน้ำคร่ำอุดหลอดเลือดที่ป

ซึ่งอาการเหล่านั้นบางอย่างก็สามารถวินิจฉัยได้ล่วงหน้า ป้องกันจากหนักเป็นเบาได้ แต่บางอาการเป็นเรื่องของโชคชะตา!!

เริ่มจาก..ตกเลือดหลังคลอด เป็นสาเหตุการตาย 1 ใน 3 ของการตายทั้งหมดของแม่ เกิดจากมดลูกไม่แข็งตัว มีการฉีกขาดของช่องคลอดมาก มดลูกแตก รกค้าง มารดามีเลือดแข็งตัวผิดปกติ และการท้องนอกมดลูก ฯลฯ ภาวะเหล่านี้หากมีการฝากท้องที่ดี อาจสามารถป้องกันอันตรายได้บางส่วน เช่น ตรวจพบท้องนอกมดลูกระยะเริ่มแรกซึ่งยังไม่ตกเลือดในช่องท้อง

ตามมาด้วยการติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดจากการติดเชื้อโรค ไวรัส แบคทีเรีย ฯลฯ ในแม่ที่ภูมิต้านทานบกพร่อง หรือจากการดูแลหลังคลอดที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และการติดเชื้อจากการทำแท้ง

สำหรับกรณีครรภ์เป็นพิษนั้น นับว่าอันตรายมาก หากเป็นชนิดรุนแรงความดันโลหิตสูงมาก การรักษามีเพียงทางเดียวคือ ต้องให้เด็กคลอดโดยเร็วที่สุด ไมเช่นนั้นอาจสูญเสียทั้งแม่และลูก

ส่วนภาวะแทรกซ้อนของโรคทางอายุรกรรม คือปัญหาด้านสุขภาพของแม่จากโรคต่างๆ ที่มีอยู่ก่อนการตั้งครรภ์ เช่น ความดันโลหิตสูง หอบหืด ลมชัก โรคปอด ไต ตับ มะเร็ง ลิ้นหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจตีบ สามารถส่งผลให้เสียชีวิตได้ ทั้งในช่วงก่อนคลอด ระหว่างคลอด และ หลังคลอด ในบางกรณีเช่นโรคหัวใจ การไม่ตั้งครรภ์เลยจะเป็นการปลอดภัยที่สุด

และอันดับสุดท้าย คือ น้ำคร่ำอุดหลอดเลือดที่ปอด เป็นภาวะซึ่งหมอไม่สามารถจะทำนายล่วงหน้าได้เลยว่าจะเกิดกับใคร หากเกิดขึ้นแล้วมีโอกาสเสียชีวิตสูง

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว อดคิดไม่ได้ว่ากว่าจะเป็นแม่คนได้นี่ มันช่างเสี่ยงอันตรายเหลือเกิน แต่แม่ก็ยังช่วยลดโอกาสเสี่ยงเหล่านี้ได้ ด้วยการเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ ฝากครรภ์โดยเร็ว คือ ฝากครรภ์ทันทีเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ และควรฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 3 เดือน ฝากครรภ์สม่ำเสมอ ไปตามหมอนัด ปฎิบัติตามคำแนะนำของหมอ ดูแลตัวเองให้ดี นับลูกดิ้น สังเกตอาการผิดปกติของตัวเอง และควรคลอดลูกในสถานพยาบาลที่มีบุคลากรที่มีเครื่องมือพร้อม สามารถผ่าตัดได้ หรือส่งต่อได้อย่างรวดเร็ว

สุดท้าย..แม้จะทำทุกอย่างครบแล้ว แต่คงต้องขอให้เผื่อใจไว้สักนิด เพราะทุกการคลอดคือความเสี่ยง มนุษย์ยังแพ้ธรรมชาติ ยังไม่มีวิทยาการใดที่จะสามารถป้องกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์

คำกล่าวทิ้งท้ายจาก ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย....“แม้ว่าเราจะดูแลคนไข้อย่างดีที่สุดแล้วก็ตามอาจมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ แต่พวกเราก็ไม่ได้ย่อท้อหรือยอมแพ้ จะยังคงทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อคนไข้ทุกคน”

 


Create Date : 21 มิถุนายน 2562
Last Update : 21 มิถุนายน 2562 21:50:30 น. 1 comments
Counter : 2858 Pageviews.  

 
“ผ่าท้องคลอดไม่ใช่คำตอบสุดท้าย” ไขปมความไม่รู้และความเข้าใจผิดของเหล่าพ่อแม่มือใหม่ กับ ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=09-05-2017&group=4&gblog=128

การตั้งครรภ์เกินกำหนด Postterm Pregnancy
https://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=446:postterm-pregnancy&catid=38&Itemid=480

ครรภ์เป็นพิษ ..... พญ. ชัญวลี ศรีสุโข
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=11-06-2013&group=4&gblog=100

ทารกตายในครรภ์ (fetal death)
https://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=1089:fetal-death&catid=38&Itemid=480

ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นปอด (Amniotic fluid embolism syndrome)
https://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=679:amniotic-fluid-embolism-syndrome&catid=45&Itemid=561

มดลูกเกือบแตก
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=07-02-2009&group=7&gblog=15

มดลูกแตก ..... ( ความรู้ ประกอบการติดตามข่าว )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-02-2009&group=4&gblog=68

โรคน้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือด .... ( ความรู้ ประกอบ การติดตามข่าว )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-02-2009&group=4&gblog=69



โดย: หมอหมู วันที่: 21 มิถุนายน 2562 เวลา:21:52:56 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]