 |
 |
|
|
 |
หมอหมู |
|
 |
|
Location :
กำแพงเพชร Thailand
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]

|
ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )
หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป ) นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ
ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ
นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )
ปล.
ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com
ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..
|
|
|
5กค.68
คดีทางจริยธรรมคดีนี้
ผู้ป่วยชายอายุ30ต้น
มาโรงพยาบาลด้วยเรื่องอ่อนแรงขาและเท้าทั้งสองข้าง
หลังจากได้รับอุบัติเหตุ
และปัสสาวะไม่ออก
แพทย์ระบบประสาท ตรวจร่างกาย เอกซเรย์เบื้องต้นแล้ววินิจฉัยเป็นCauda equina syndrome (CES)
แนะนำผ่าตัด
ผู้ป่วยปฏิเสธการผ่าตัด ขอรอดูอาการ
อีก 4 วันอาการไม่ดีขึ้น แพทย์ได้ส่งตรวจ MRI กระดูกสันหลัง
ยืนยันการวินิจฉัยเดิม แนะนำผ่าตัด
ได้ผ่าตัดผู้ป่วยในวันที่ 5 ของการนอนโรงพยาบาล
หลังผ่าตัดอาการดีขึ้น
แต่ยังอ่อนแรงและขับถ่ายไม่ได้
ผู้ป่วยและญาติฟ้อง แพทย์ว่าไม่ได้อยากผ่าตัด
แพทย์ผ่าตัดแต่ไม่สามารถทำให้อาการหาย กลับมาเป็นปกติได้
ราชวิทยาลัยประสาทศัลยกรรมให้ความเห็นว่า
ภาวะCESเป็นภาวะรุนแรง ฉุกเฉิน ควรต้อง ตรวจวินิจฉัยให้ได้โดยเร็วและผ่าตัดแก้ไขโดยเร็ว
การผ่าตัดวันที่ 5 ของการวินิจฉัยนั้นถือว่าล่าช้า
ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
ในรายนี้ ที่ผ่าตัดช้า
แพทย์ให้การว่า เพราะผู้ป่วยปฏิเสธการผ่าตัด
แพทย์และรพ อาจพ้นผิด
ถ้ามีบันทึก ลายเซ็นไม่ยินยอม
แต่หากเป็นคำบอกเล่า
เมื่อเกิดปัญหา
ทางแพทย์และรพ.ก็ไม่มีหลักฐานยืนยัน
บทเรียนคือ
โรคหรืออาการที่เป็นภาวะฉุกเฉิน แพทย์ต้องตรวจรักษาโดยเร็ว ถ้าผู้ป่วยปฏิเสธการรักษาต้องมีเอกสารหลักฐานยืนยัน และมีพยานรู้เห็น
ขอทบทวนภาวะCES
CES เป็นภาวะที่เกิดจากรากประสาทที่อยู่ที่ฐานของประสาทสันหลัง ถูกกด เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องการ การวินิจฉัยและรักษาโดยเร็ว
เส้นประสาทที่ถูกดในภาวะนี้อยู่ล่างสุด
มีลักษณะเหมือนหางม้า
จึงชื่อ cauda equina
สาเหตุอาจจะเกิดจากการบาดเจ็บ อักเสบ ติดเชื้อ หรือมีเนื้องอก กดทับเส้นประสาทบริเวณเอวส่วนล่าง ทำให้เกิดอาการปวดร้าวลงขา ขาอ่อนแรง ชาขา ชาหลัง โดยเฉพาะบริเวณรอบก้น ขับถ่ายไม่ได้ มีปัญหาด้านเพศ เช่น ไม่มีการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย
โรคนี้ต้องการการตรวจวินิจฉัย โดยเร็ว ผ่าตัดแก้ไขทันที ทำกายภาพบำบัดหลังผ่าตัด จะทำให้ร่างกายกลับคืนมาสู่เกณฑ์ปกติได้
ชัญวลี ศรีสุโข หมอหวิว
https://www.facebook.com/chanwaleesrisukho/posts/pfbid0Eie8Zi5BWTDKr43YHP8P1rg9YgFQuyBdRX47uWgf9zoSFoFqNsrsHFxv6TEagaNol
แถม ความเห็นผม ..
เอกสาร นอกจากเป็นตัวอักษร ลายเซ็น แล้ว ภาพถ่าย ก็ช่วยได้ โดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัด .. ถ่ายไปให้ครบทั้ง ก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และ หลังผ่าตัด เพราะ เวลาเกิดปัญหาตามมา โดยเฉพาะการรักษา ไม่ออกมาตามที่หวัง ถ้าไม่มีภาพก่อนผ่าตัด ก็คุยกันยาก โดยเฉพาะ "ญาติ เพื่อนบ้านฯลฯ" ที่ ไม่เคยมาดูมาเห็นสภาพผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
ปล. ตอนอยู่ รพ.รัฐ ผมถ่ายภาพไว้หมด มีสองรายที่ภาพถ่ายช่วยผมไว้ ไม่งั้นก็โดนฟ้องจากกลุ่มญาติ ที่ไม่เคยเห็นผู้ป่วยเลย แถมผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ก็ไม่พูดอะไร 😭
สมัยนั้น ก็เคยเสนอให้มี กล้องถ่ายภาพไว้ที่ห้องฉุกเฉินและห้องผ่าตัด แต่ปัจจุบัน คงไม่จำเป็นแล้ว