Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เจอข้อมูลข่าวสารสุขภาพออนไลน์ ทำไงจึงไม่ถูกหลอก ? โดย มะไฟ



ทุกวันนี้เรามีข้อมูลทางสุขภาพที่ถูกแชร์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และโลกออนไลน์เป็นจำนวนมาก ด้วยความที่ใครๆ ก็สามารถเขียนข่าวเขียนบทความแล้วแชร์ไปให้คนอื่นได้ง่ายๆ การเผยแพร่ข่าวสารที่เป็นเท็จหรือความเชื่อที่ไม่ถูกต้องจึงเกิดขึ้นมากเป็นเงาตามตัว (ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ทั้งที่มีผลประโยชน์แอบแฝงและไม่มี) แล้วเราจะทำยังไงจึงจะไม่หลงกลตกเป็นเหยื่อของข้อมูลลวงเหล่านี้? ไปดูวิธีกันฮะ!
...

การพิจารณาสื่อออนไลน์เกี่ยวกับข้อมูลสุขภาพที่เราได้รับมานั้น อาจจะพิจารณาแยกเป็นประเด็นได้คือ 1.แหล่งที่มาของข้อมูล 2.เนื้อหาภายใน และ 3.เอกสารอ้างอิง (ถ้ามี) เราจะดูกันยังไงบ้างในแต่ละข้อ?

1.แหล่งที่มาของข้อมูล ในกรณีที่เราได้รับทราบข่าวนั้นจาก account ทางการของสถาบันทางการแพทย์หรือสาธารณสุข หรือ account ของบุคลากรทางการแพทย์/สาธารณสุขที่เชื่อถือได้ และไม่มีผลกำไรหรือผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง จะทำให้เรามั่นใจได้มาก ว่าข่าวสารข้อมูลนั้นน่าจะเป็นจริง ... ในขณะที่ข้อมูลที่ถูกแชร์ต่อๆ กันมาผ่าน social media หรือห้องแชทต่างๆ โดยไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วมีที่มาจากที่ไหน มีการแอบปรับเปลี่ยนข้อความเนื้อหาก่อนจะส่งต่อหรือไม่ ข้อมูลแบบนี้มีโอกาสที่จะเป็นข่าวลวงสูง ให้คิดไว้ก่อนว่าไม่ควรเชื่อถือ

2.เนื้อหาภายใน เนื้อหาที่นำเสนอควรจะเป็นไปได้ด้วยหลักทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่รู้และเข้าใจกันโดยสากล (ข้อนี้มีสิ่งที่ต้องระวังคืออาจจะมีการแอบอ้างกลไกหรือเหตุผลบางอย่าง ที่จริงๆ ถูกกุขึ้นมา หรืออาจยังไม่มีการพิสูจน์ และยังไม่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป) ... โดยส่วนใหญ่แล้วเรื่องทางการแพทย์มักจะไม่มียาวิเศษที่จะรักษาโรคใดๆ ได้แบบทันทีหรือใช้ได้แบบครอบจักรวาล ดังนั้นถ้ามีการอ้างว่าสมุนไพรตัวนั้นสารตัวนี้สามารถรักษาได้ทุกโรค แก้มะเร็งได้ทุกชนิด ให้คิดไว้ก่อนว่าน่าจะเป็นข่าวปลอมฮะ

3.เอกสารอ้างอิง ในกรณีที่มีเอกสารอ้างอิง ควรลองเปิดดูในอินเตอร์เน็ตและค้นข้อมูลว่า แหล่งข้อมูลที่ว่านั้นมีอยู่จริงหรือไม่ ต้นฉบับเขียนว่าอย่างไร มีบ่อยครั้งที่มีการอ้างข้อมูลจากแหล่งที่มีจริง แต่เนื้อความถูกบิดเบือนไประหว่างการแปลหรือสรุปความ (ทั้งที่จงใจและไม่จงใจ) สิ่งที่เห็นบ่อยๆ ในข่าวปลอมอย่างหนึ่งคือการพยายามแอบอ้างชื่อบุคคลหรือสถาบันที่ดูน่าเชื่อถือ เพื่อให้ดูว่าเป็นข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นแม้จะมีการอ้างอิงชื่อบุคคลหรือสถาบันที่น่าเชื่อถือ ก็อย่าเพิ่งปักใจเชื่อเสมอไปนะฮะ

แล้วเราจะทำยังไงดีเพราะใน 3 ข้อที่กล่าวข้างต้นนี้ หลายครั้งเราเองก็ไม่สามารถรู้ได้ทุกอย่าง ให้ถือหลักไว้ว่า อะไรก็ตามที่เรา "ไม่มั่นใจ" ว่าจะเป็นของจริง จง "อย่าแชร์" สิ่งนั้น เพราะเราอาจตกเป็นเหยื่อและเครื่องมือของกระบวนการเผยแพร่ข่าวลวงทางสุขภาพได้ อย่าลืมนะฮะว่าถ้าเป็นข่าวจริงข้อมูลจริง แม้เราจะไม่แชร์เดี๋ยวสักพักก็จะมีผู้รู้ออกมาประกาศออกมาประชาสัมพันธ์ให้ทราบอยู่ดี (แค่เพื่อนฝูงเราอาจจะรู้ช้าไปบ้าง) แต่ถ้าเป็นข่าวปลอมแล้วเราแชร์ไป เพื่อนฝูงของเราจะได้รับพิษจากข่าวลวงก็เป็นได้ ที่หวังดีจะกลายเป็นร้ายซะเปล่าๆ ฮะ..

นอกจากนี้สิ่งที่พอกระทำได้ก็คือ การสอบถามบุคคลที่มีความรู้และเรามั่นใจว่าเชื่อถือได้ ว่าข้อมูลนี้เป็นจริงหรือไม่ นอกจากนี้แล้วก็ยังมีเว็บไซต์ต่างๆ ที่คอยสอดส่องข้อมูลข่าวลวง เช่น "ชัวร์ก่อนแชร์" ซึ่งเราสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ฮะว่าข่าวที่เราได้รับมานี้จริงหรือไม่จริง

มะไฟก็หวังว่า หลังจากอ่านจบแล้วทุกคนคงจะมีภูมิต้านทานต่อข่าวลวงมากขึ้นไม่มากก็น้อย ตอนนี้มะไฟขอตัวก่อนนะฮะ มะไฟ (ตัวจริง) โดนตามไปดูลูกแล้วละฮะ.. โชคดีทุกคน แล้วเจอกันใหม่เมื่อมีโอกาสนะฮะ! สวัสดีฮะ!



**ตอนนี้เป็นตอนสุดท้ายของ Series "เรื่องหมอง้ายง่าย..กับมะไฟ" แล้วฮะ ขอบคุณผู้อ่านที่ติดตามกันมาถึง 68 ตอน ต่อจากนี้มะไฟไม่ได้เขียนลงมติชนสุดสัปดาห์แล้วเนื่องจากภาระที่เพิ่มขึ้นไม่สามารถเขียนบทความและวาด infographic ได้ทันทุกอาทิตย์ แต่ในหน้า Facebook มะไฟจะยังมา update เรื่องราวสาระต่างๆ เป็นระยะๆ สามารถติดตามต่อได้นะฮะ!

เดรดิต FB @มะไฟ  https://www.facebook.com/Mafai.the.dragon/
https://www.facebook.com/Mafai.the.dragon/photos/a.354182974785238/1059739820896213/?type=3&theater

 


Create Date : 11 สิงหาคม 2562
Last Update : 11 สิงหาคม 2562 22:12:13 น. 0 comments
Counter : 2963 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]