เรือกับตัวเลข

รู้ไปโม้ด
nachart@yahoo.com



เก็บคำตอบมาจากเว็บไซต์โรงเรียนนายเรือ ได้ความรู้ว่า ตัวเลขที่เห็นคือ หมายเลขประจำตัวของเรือ หรือ Hull Number

ซึ่งจะเขียนไว้ที่หัวเรือ (ส่วนในเรือ ดำน้ำ หมายเลขตัวเรือ เขียนไว้บริเวณหอกล้องตาเรือ)

เหตุที่เขียนไว้ตรงจุดนั้น เพราะชนิดของเรือโดยทั่วไปจะเห็นเด่นชัดอยู่แล้ว แต่หมายเลขตัวเรือจะช่วยยืนยันรูปพรรณของเรือ



การกำหนดหมายเลขเรือของเรือรบราชนาวีไทย หมายเลขตัวที่ 1 (เลขแรกสุด หรือเลขหลักร้อย) แสดงประเภทเรือ (Types of Warship) ซึ่งกำหนดไว้ 9 ประเภท ดังนี้


หมายเลข 1 เรือบัญชาการและสนับสนุนการยกพลขึ้นบก (amphibious command and support ship)


หมายเลข 2 เรือดำน้ำ (submarine)

หมายเลข 3 เรือเร็วโจมตี (fast attack craft)

หมายเลข 4 เรือพิฆาต (destroyer), เรือฟริเกต (frigate), เรือคอร์เวต (corvette)

หมายเลข 5 เรือตรวจการณ์ (patrol vessel)

หมายเลข 6 เรือทุ่นระเบิด (mine ship)

หมายเลข 7 เรือยกพลขึ้นบก (landing ship)

หมายเลข 8 เรืออุทกศาสตร์, เรือช่วยรบ และเรือประเภท อื่นๆ และ

หมายเลข 9 เรือบรรทุกเครื่องบิน/เฮลิคอปเตอร์ (aircraft/helicopter carrier)



หมายเลขตัวที่ 2 (เลขหลักสิบ ตัวกลาง) แสดงชั้นหรือชุดของเรือ (Class) โดยเรือที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกันจะจัดรวมไว้ชุดเดียวกัน

ทั้งนี้ความหมายของชั้นหรือชุดของเรือ (ที่แสดงในหมายเลขตัวที่ 2) สืบเนื่องจากว่า เรือรบที่สร้างขึ้นแต่ละครั้ง มักจะไม่ได้ต่อขึ้นเพียงลำเดียว แต่จะต่อหลายลำ โดยเรือในชุดที่ต่อขึ้นนั้น ทุกลำจะมีคุณลักษณะของเรือที่เหมือน หรือคล้ายคลึงกัน

เรียกว่าเป็นเรือในชั้น (class) เดียวกัน เหมือนเรือ OPV 2 ลำที่ต่อจากจีน ทั้ง 2 ลำเป็นเรือในชั้นเดียวกัน หรือเรือดำน้ำชั้นมัจฉานุของไทยในอดีตก็เป็นเรือในชั้นเดียวกัน คุณลักษณะทั่วไปของเรือจะเหมือนกัน ยกเว้น ร.ล.พลายชุมพล ที่มีขนาดเรือต่างไปจากลำก่อนหน้าบ้าง

ชื่อชั้นเรือจะตั้งตามชื่อเรือลำแรกสุดของชั้นนั้นที่ต่อเสร็จและปล่อยเรือลงน้ำก่อน ยกตัวอย่างเช่น เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ของอเมริกา ชั้นนิมิตซ์ (Nimitz Class) ซึ่งตั้งชื่อตามนามจอมพลเรือ นิมิตซ์ ผู้บัญชาการกองทัพเรือสหรัฐ อเมริกาภาคพื้นแปซิฟิกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์สร้างขึ้นทั้งสิ้น 9 ลำ โดยลำแรกคือ USS Nimitz ขึ้นระวางประจำการในปี ค.ศ.1975 ต่อมาคือ USS Dwight D Eisenhower (CVN 69) ปี 1977

 

 


ลำล่าสุดซึ่งจัดเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ USS Ronald Reagan (CVN 76) เข้าประจำการในปี 2003 ดังนั้นเรือในชั้นหรือชุดเดียวกัน

มีแบบซึ่งเมื่อเวลากำหนดลักษณะเรือถือว่าเป็นแบบเดียวกัน ยกเว้นคำสั่งเปลี่ยนแปลงที่ออกตามมาอาจทำให้เรือเหล่านี้มีความแตกต่างในบางอย่าง แต่ก็ยังถือว่าเป็นเรือในชั้นหรือชุดเดียวกัน



 

หมายเลขตัวที่ 3 (เลขหลักหน่วย ตัวท้ายสุด) แสดงลำดับที่ของเรือในชุดนั้นๆ โดยเรียงจากลำดับที่หนึ่ง เรียงต่อกันไปตามลำดับ

หากเรือชุดนั้นมีเกิน 9 ลำ ลำที่สิบจะเพิ่มหมายเลขเป็น 4 ตัว ดังนี้ ลำดับของเรือในชั้นเดียวกัน (ที่แสดงในหมายเลขตัวเรือตัวที่ 3) เรือที่กำหนดสร้างเป็นลำแรก และสร้างเสร็จก่อน ปล่อยเรือลงน้ำเป็นลำแรก จะเป็นเรือลำในลำดับที่ 1 หรือเรียกง่ายๆ ว่า เรือลำที่ 1, เรือที่สร้างเสร็จปล่อยเรือลงน้ำเป็นลำที่ 2 ก็คือเรือลำดับที่ 2...ลำดับที่ 3...4...5...6... ต่อๆ กันไป ดังนั้น จะดูว่าเรือลำนั้นเป็นเรือประเภทอะไร (เรือฟริเกต, คอร์เวต หรือเรือบรรทุกเครื่องบิน เป็นต้น)


ต่อไปนี้คือตัวอย่าง

ร.ล. พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (หมายเลข 461) และ

ร.ล. พุทธเลิศหล้านภาลัย (หมายเลข 462)

เป็นเรือประเภทเรือฟริเกต และเป็นเรือในชั้นเดียวกัน โดยหมายเลขตัวที่ 1 คือเลข 4 ตั้งตามกฎ คือ เรือพิฆาต เรือฟริเกต และเรือคอร์เวต กำหนดด้วยหมายเลข 4 หมายเลขตัวที่ 2 คือเลข 6 แสดงชั้นหรือชุดของเรือนี้ (ชื่อชั้นเรือน่าจะเป็นชั้นเรือหลวงพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก) หมายเลขตัวที่ 3 แสดงลำดับที่ของเรือในชุดนั้นๆ โดยเรียงจากเรือลำดับที่หนึ่ง คือ ร.ล. พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (461) (1) และเรือลำดับที่ 2 คือ ร.ล. พุทธเลิศหล้านภาลัย (462)(2)

หรือเรือบรรทุกเครื่องบินของราชนาวีไทย ร.ล. จักรีนฤเบศรหมายเลขตัวเรือคือ 911 หมายเลขตัวที่ 1 คือ 9 ตั้งตามกฎ คือ เรือบรรทุกเครื่องบิน/เฮลิคอปเตอร์ กำหนดด้วยหมายเลข 9


หมายเลขตัวที่ 2 คือเลข 1 แสดงชั้นของเรือนี้

หมายเลขตัวที่ 3 แสดงลำดับของเรือในชั้น คือ ร.ล. จักรีนฤเบศรเป็นเรือลำที่ 1 ของชั้นเรือนี้

และสมมติว่า รัฐบาลไทยสั่งต่อเรือบรรทุกเครื่องบินเพิ่มจากสเปนอีก 1 ลำ โดยกำหนดสเป๊กของเรือให้เหมือนกับ ร.ล. จักรีนฤเบศร และกำหนดให้เรือลำใหม่เป็นเรือชั้นเดียวกันกับ ร.ล. จักรีนฤเบศร เรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สองของไทย ก็น่าจะได้หมายเลขตัวเรือ 912 เป็นต้น

หน้า 24

ขอบคุณ
ข่าวสดออนไลน์
รู้ไปโม้ด
nachart

สิริสวัสดิ์ภุมวารค่ะ 




Create Date : 31 กรกฎาคม 2555
Last Update : 31 กรกฎาคม 2555 11:44:50 น.
Counter : 3856 Pageviews.

0 comments
"เรื่องที่มักเข้าใจผิด" อาจารย์สุวิมล
(25 มิ.ย. 2568 10:56:08 น.)
สวนรถไฟ : นกเฉี่ยวบุ้งใหญ่ ผู้ชายในสายลมหนาว
(19 มิ.ย. 2568 13:46:10 น.)
กำแพงแสน : นกตบยุงเล็ก ผู้ชายในสายลมหนาว
(12 มิ.ย. 2568 08:52:18 น.)
กำแพงแสน : นกกระปูดใหญ่ ผู้ชายในสายลมหนาว
(6 มิ.ย. 2568 11:30:07 น.)

Vinitsiri.BlogGang.com

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]

บทความทั้งหมด