เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก

สวัสดิ์สิริศุกรวาร - กมลมานเปรมปรีดี ที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ค่ะ


เครื่องหมายแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก (The Most Exalted Order of the White Elephant) เป็นตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หนึ่งใน 8 ตระกูล

ที่สำหรับพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดี ทั้งบุรุษและสตรี โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกนี้ สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน

โดยการพิจารณาเสนอขอพระราชทานของรัฐบาล เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศอย่างสูง แก่ผู้ได้รับพระราชทาน พระราชทานทั้งบุรุษและสตรี หากทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แล้ว ให้ประกาศรายนามในราชกิจจานุเบกษา

ปรกติแล้วจะประกาศในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ของทุกปี แยกเป็น 2 ฉบับ คือชั้นต่ำกว่าสายสะพาย และชั้นสายสะพาย เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกนี้

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2404 แต่มิได้กำหนดให้มีสายสะพาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2412 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดชั้นและสายสะพายประกอบ

ประเภท ลำดับชั้น และลำดับเกียรติ

แพรแถบย่อ ชั้น ชื่อ อักษรย่อ ชื่อเดิม วันสถาปนา ลำดับเกียรติ

ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ม.ป.ช. - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 8
ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก ป.ช. มหาวราภรณ์ พ.ศ. 2412 10
ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก ท.ช. จุลวราภรณ์ พ.ศ. 2412 15
ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก ต.ช. นิภาภรณ์ พ.ศ. 2412 23
ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก จ.ช. ภูษนาภรณ์ พ.ศ. 2412 28
ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก บ.ช. ทิพยาภรณ์ พ.ศ. 2416 33
ชั้นที่ 6 เหรียญทองช้างเผือก ร.ท.ช. - 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 -
ชั้นที่ 7 เหรียญเงินช้างเผือก ร.ง.ช. - 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 -


ลักษณะ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้มีทั้งหมด 8 ชั้น


มหาปรมาภรณ์ช้างเผือกชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก 1 สำรับ ประกอบด้วย

1.ดวงตรา ด้านหน้าเป็นรูปช้างไอราพตลงยาสีขาวอยู่บนพื่นทองในดอกบัวบาน กลีบลงยาสีชมพูสลับแดง เกสรเงิน รอบนอกมีกระจังทองลงยาสีเขียวสี่ทิศ มีรัศมีเปลวเงินตามระหว่าง

ด้านหลังเปลี่ยนรูปช้างเป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ม.ป.ร. ลงยาสีแดง เบื้องบนมีอุณาโลมเงินและพระมหามงกุฎทองมีรัศมี ห้อยกับแพรแถบขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร สีแดงริมเขียว มีริ้วเหลืองและน้ำเงินขนาดเล็กควบคั่นทั้ง 2 ข้าง สำหรับสะพายบ่าซ้ายเฉียงลงทางขวา

2.ดารา ด้านหน้ามีลักษณะเช่นเดียวกับดวงตราแต่ขนาดย่อมกว่า ซ้อนอยู่บนรัศมีสีเงิน จำหลักเป็นเพชรสร่ง 4 แฉก รัศมีทอง 4 แฉก ประดับที่อกเสื้อด้านซ้าย

ดวงตรา ดารา และสายสะพายสำหรับพระราชทานสตรีนั้นจะมีขนาดย่อมกว่าบุรุษ นอกจากนี้ ยังมีเครื่องหมายประดับแพรแถบย่อและดุมเสื้อ มีลักษณะเป็นรูปช้างไอราพตลงยาสีขาว

ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก 1 สำรับ ประกอบด้วย

1.ดวงตรา ด้านหน้าเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นอยู่บนพื้นทองในดอกบัวบาน กลีบลงยาสีแดง เกสรเงิน รอบนอกมีกระจังเงิน 8 ทิศ มีกระจังแทรกตามระหว่าง

ด้านหลังเปลี่ยนรูปช้างเป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ม.ป.ร. ลงยาสีแดง เบื้องบนมีพระมหามงกุฎทองมีรัศมี ห้อยกับแพรแถบขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร สีแดงริมเขียว มีริ้วเหลืองและน้ำเงินขนาดใหญ่ควบคั่นทั้ง 2 ข้าง สำหรับสะพายบ่าขวาเฉียงลงทางซ้าย

2.ดารา ด้านหน้ามีลักษณะเช่นเดียวกับดวงตราแต่กระจังยาวกว่า ด้านหลังเป็นทอง สำหรับประดับอกเสื้อเบื้องซ้าย

ดวงตรา ดารา และสายสะพายสำหรับพระราชทานสตรีนั้นจะมีขนาดย่อมกว่าบุรุษ นอกจากนี้ ยังมีเครื่องหมายประดับแพรแถบย่อและดุมเสื้อ มีลักษณะเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นอยู่ในดอกบัวบาน กลีบลงยาสีแดงสลับเขียว เกสรเงิน

ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก 1 สำรับ ประกอบด้วย

1.ดวงตรา มีลักษณะเช่นเดียวกับชั้นประถมาภรณ์ แต่ขนาดย่อมกว่า และที่พระมหามงกุฎไม่มีรัศมี ด้านหลังเป็นทองเกลี้ยง ใช้ห้อยกับแพรแถบขนาดกว้าง 4 เซนติเมตร

สำหรับบุรุษใช้สวมคอ ส่วนดวงตราสำหรับพระราชทานสตรีนั้น มีลักษณะเช่นเดียวกับบุรุษแต่ขนาดย่อมกว่า ใช้ห้อยกับแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ สำหรับประดับเสื้อที่หน้าบ่าซ้าย

2.ดารา มีลักษณะเช่นเดียวกับชั้นประถมาภรณ์ สำหรับประดับอกเสื้อเบื้องซ้าย ส่วนดาราสำหรับพระราชทานสตรีนั้น มีลักษณะเช่นเดียวกับบุรุษแต่ขนาดย่อมกว่า

นอกจากนี้ ยังมีเครื่องหมายประดับแพรแถบย่อและดุมเสื้อ มีลักษณะเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นอยู่ในดอกบัวบานทอง เกสรเงิน

ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก
สำหรับบุรุษห้อยแพรแถบสวมคอ สำหรับสตรีห้อยแพรแถบผูก เป็นรูปแมลงปอประดับเสื้อหน้าบ่าซ้าย

ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
สำหรับบุรุษห้อยแพรแถบประดับอกเสื้อเบื้องซ้าย สำหรับสตรีห้อย แพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอประดับเสื้อหน้าบ่าซ้าย ดวงตราชั้นที่ 4 เล็กกว่าดวงตราชั้นที่ 3 และมีดอกไม้จีบติดบนแพรแถบ

ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
ดวงตราชั้นที่ 5 เหมือนดวงตราชั้นที่ 4 แต่ไม่มีดอกไม้จีบติดบน แพรแถบวิธีประดับเหมือนชั้นที่ 4

ชั้นที่ 6 เหรียญทอง (ร.ท.ช.) วิธีประดับเหมือนชั้นที่ 4

ชั้นที่ 7 เหรียญเงิน (ร.ง.ช.) วิธีประดับเหมือนชั้นที่ 4

การขอพระราชทาน

การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลช้างเผือกนี้ กำหนดให้พิจารณาถึงตำแหน่ง ระดับ ชั้น ชั้นยศ กำหนดระยะเวลา และความดีความชอบ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2536 โดยให้เริ่มจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกสลับกัน ดังนี้


พระราชลัญจกรประจำเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก

1.ชั้นที่ 7 เหรียญเงินมงกุฎไทย
2.ชั้นที่ 7 เหรียญเงินช้างเผือก
3.ชั้นที่ 6 เหรียญทองมงกุฎไทย
4.ชั้นที่ 6 เหรียญทองช้างเผือก

ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย

1.ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
2.ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
3.ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
4.ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
5.ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
6.ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก
7.ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
8.ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก

ชั้นสายสะพาย

1.ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (สายสะพาย 1)
2.ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (สายสะพาย 2)
3.ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (สายสะพาย 3)
4.ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (สายสะพาย 4)


การพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่ง
การเสนอขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มีทั้งหมด 44 บัญชี

1.บัญชี 1 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่องคมนตรี
2.บัญชี 2 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่รัฐมนตรี
3.บัญชี 3 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการการเมืองและคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะกรรมการประสานงานวุฒิสภา
4.บัญชี 4 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในรัฐสภาและตุลาการรัฐธรรมนูญ

5.บัญชี 5 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการการเมืองในกรุงเทพมหานคร
6.บัญชี 6 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่สภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
7.บัญชี 7 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการ ยกเว้นที่ปรากฏในบัญชีอื่น
8.บัญชี 8 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการทหาร

9.บัญชี 9 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการตำรวจ
10.บัญชี 10 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการตุลาการ
11.บัญชี 11 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการอัยการ
12.บัญชี 12 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

13.บัญชี 13 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องถิ่น
14.บัญชี 14 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่องค์การมหาชน พนักงานองค์การของรัฐ หรือพนักงานหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ยกเว้นที่ปรากฏในบัญชีอื่น ๆ
15.บัญชี 15 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ลูกจ้างประจำ
16.บัญชี 16 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ดะโต๊ะยุติธรรมและผู้พิพากษาสมทบ

17.บัญชี 17 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่เจ้าหน้าที่สภากาชาดไทย
18.บัญชี 18 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีลักษณะพิเศษ
19.บัญชี 19 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ราชบัณฑิตและกรรมการตามกฎหมายที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
20.บัญชี 20 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ชาวต่างประเทศ

21.บัญชี 21 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสองคมนตรี
22.บัญชี 22 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสรัฐมนตรี
23.บัญชี 23 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสสมาชิกรัฐสภา (บางตำแหน่ง)
24.บัญชี 24 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสผู้ดำรงตำแหน่ง (สมาชิกรัฐสภา/ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่/ทหารชั้นผู้ใหญ่/ตำรวจชั้นผู้ใหญ/ตุลาการ และอัยการ

25.บัญชี 25 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่กรรมการการเลือกตั้ง
26.บัญชี 26 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
27.บัญชี 27 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
28.บัญชี 28 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา

29.บัญชี 29 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ตุลาการศาลปกครอง
30.บัญชี 30 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติและกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
31.บัญชี 31 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
32.บัญชี 32 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่พนักงานราชการ

33.บัญชี 33 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสกรรมการการเลือกตั้ง
34.บัญชี 34 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
35.บัญชี 35 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
36.บัญชี 36 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา

37.บัญชี 37 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสตุลาการศาลปกครอง
38.บัญชี 38 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติและกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
39.บัญชี 39 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
40.บัญชี 40 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

41.บัญชี 41 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการตามระบบจำแนกประเภทตำแหน่ง
42.บัญชี 42 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่พนักงานของหน่วยธุรการขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นข้าราชการ
43.บัญชี 43 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
44.บัญชี 44 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่คู่สมรสกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

กรณีข้าราชการพลเรือน
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการพลเรือน ต้องมีระยะเวลาในการรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ก่อนถึงวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอไม่น้อยกว่า 60 วัน โดยมีแนวทางยึดตามระดับตำแหน่ง ดังนี้

ประเภททั่วไป

ระดับปฏิบัติงาน เริ่มขอ บ.ม. ถึง จ.ช.
ระดับชำนาญงาน เริ่มขอ ต.ม. (ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ต.ช.)
ระดับอาวุโส เริ่มขอ ท.ม. (ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ท.ช.)
ระดับทักษะพิเศษ ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ม.ว.ม. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ป.ช.)

ประเภทวิชาการ
ระดับปฏิบัติการ เริ่มขอ ต.ม.
ระดับชำนาญการ เริ่มขอ ต.ช. (ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับชำนาญการพิเศษ ขอ ท.ม.- ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับชำนาญการพิเศษมาแล้ว 5 ปี ขอ ท.ช.)

ระดับชำนาญการพิเศษ เริ่มขอ ท.ช. (ได้รับเงินเดือนขั้นสูงและได้ ท.ช. มาแล้ว 5 ปี ขอ ป.ม.)
ระดับเชี่ยวชาญ ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ม.ว.ม. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ป.ช. เว้นกรณีลาออก)

ระดับทรงคุณวุฒิที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 13,000 บาท เลื่อนชั้นตราตามลำดับได้ทุกปีจนถึง ป.ม. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ม.ว.ม. - ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ม.ป.ช. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ม.ว.ม. เว้นกรณีลาออก)

ระดับทรงคุณวุฒิที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 15,600 บาท ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ม.ว.ม. - ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ม.ป.ช. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา เว้นกรณีลาออก)

ประเภทอำนวยการ
ระดับต้น เริ่มขอ ท.ช. (ได้รับเงินเดือนขั้นสูงและได้ ท.ช. มาแล้ว 3 ปี ขอ ป.ม.)
ระดับสูง ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ม.ว.ม. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ป.ช. เว้นกรณีลาออก)

ประเภทบริหาร

ะดับต้น ได้ ท.ช. มาแล้ว 3 ปี ขอ ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้ว 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้ว 5 ปี ขอ ม.ว.ม. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ป.ช. เว้นกรณีลาออก)

ระดับสูงที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 14,500 บาท เลื่อนชั้นตราตามลำดับได้ทุกปีจนถึง ป.ม. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ม.ว.ม. - ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ม.ป.ช. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ม.ว.ม. เว้นกรณีลาออก)

ระดับสูงที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 21,000 บาท ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ม.ว.ม. - ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ม.ป.ช. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา เว้นกรณีลาออก)

กรณีข้าราชการทหาร
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการทหาร มีแนวทางยึดตามระดับดังนี้...

กรณีข้าราชการการเมืองในกรุงเทพมหานคร
กรณีข้าราชการอัยการ
กรณีข้าราชการตุลาการ


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์ศุกรวาร - ปรีดิ์มานกมลสันติ์ ที่มาอ่านค่ะ



Create Date : 13 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2552 23:40:15 น.
Counter : 1305 Pageviews.

0 comments
ข้อคิด สะกิดจิต สะกิดใจ ตอนที่ 4 อาจารย์สุวิมล
(3 ก.ค. 2568 15:24:41 น.)
พ่อแม่ที่ติดโทรศัพท์ มีผลต่อลูกอย่างไร newyorknurse
(22 มิ.ย. 2568 21:04:21 น.)
สวนรถไฟ : นกเฉี่ยวบุ้งใหญ่ ผู้ชายในสายลมหนาว
(19 มิ.ย. 2568 13:46:10 น.)
สวนรถไฟ : นกสีชมพูสวน ผู้ชายในสายลมหนาว
(16 มิ.ย. 2568 15:03:09 น.)

Vinitsiri.BlogGang.com

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]

บทความทั้งหมด