เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์

โสรวารสิริสวัสดิ์ - มานมนัสสวัสดิ์สิริ ทึ่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ค่ะ


อักษรย่อ ร.ม.ภ.
ประเทศ ประเทศไทย
ข้อมูลทั่วไป
วันสถาปนา 12 มิถุนายน 2505
ผู้สถาปนา พระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภูมิพลอดุลยเดช
ประธาน พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย
ประเภท สายสะพายและดารา (ชั้นเดียว)
ผู้สมควรได้รับ ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ
มอบเพื่อ การเจริญสันถวไมตรีกับต่างประเทศ
สถิติการมอบ
จำนวนสำรับ ไม่จำกัดจำนวน
รายแรก สมเด็จพระราชาธิบดีซยิดปุตราอิบนิ
อัล-มาร์ฮุมซยิดฮัสซัมจามาลุลลีล
แห่งมาเลเซีย
20 มิถุนายน 2505
รายล่าสุด สมเด็จพระราชาธิบดี สุลตาน มีซาน ไซนัล อาบิดีน
สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย
9 มีนาคม 2552
ทั้งหมด 27 ราย
ลำดับเกียรติ
รองมา มหาจักรีบรมราชวงศ์


เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ เรียกโดยย่อว่า "ร.ม.ภ." เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งประเทศไทยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2505

โดยเหตุที่ว่าได้มีการผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น จึงสมควรที่จะมีเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์จัดเป็นเครื่องราชอิสริยภรณ์ที่มีลำดับเกียรติสูงที่สุดของไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ มีพระมหากษัตริย์เป็นประธานของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และทรงมีพระราชอำนาจที่จะพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้แก่ประมุขของรัฐต่างประเทศ ซึ่งมีการพระราชทาน ร.ม.ภ. แล้วรวมทั้งสิ้น 27 สำรับ


องค์ประกอบของ ร.ม.ภ.


เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบ มีนายสนิท ดิษฐพันธุ์เป็นช่างผู้เขียนแบบและหม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ทรงควบคุม โดย 1 สำรับ ประกอบด้วย

1. ดวงตราสำหรับสายห้อยสร้อย มีรูปจักรและตรีศูลขัดกัน ประดับเพชรอยู่ในวงกลมบนพื้นสีขาบ ขอบวงกลม เป็นเพชรสร่งเงินมีรัศมีทองแปดแฉก ด้านหลังมีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "ภ.ป.ร." อยู่ในวงกลมบนพื้นลงยาสีขาว ขอบวงกลมสีน้ำเงิน

เบื้องบนด้านหน้ามีอุณาโลมและพระมหามงกุฎทองมีรัศมีทองห้อยกับสายสร้อยทองรูปดอกชัยพฤกษ์สลับกนกเกลียว ตรงที่ห้อยดวงตรามีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "ภ.ป.ร." ประดับเพชร อยู่ในรูปปทุมลงยาสีเหลือง ใช้สำหรับสวมคอ

2. ดวงตราสำหรับห้อยสายสะพาย มีลักษณะเช่นเดียวกับดวงตราสำหรับห้อนสายสร้อย แต่มีขนาดเล็กกว่า รูปจักรและตรีศูลลงยาสีขาวด้านหลังไม่มีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ห้อยกับสายสะพายแพรแถบสีเหลืองขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร มีริ้วสีขาวกว้าง 5 มิลลิเมตรใกล้ขอบทั้งสองข้าง ริมริ้วสีขาวทั้ง 2 ข้าง มีเส้นสีน้ำเงิน สะพายบ่าขวางเฉียงลงทางซ้าย

3. ดารา มีรูปนารายณ์ทรงครุฑทองอยู่ในวงกลมบนพื้นลงยาสีขาบขอบวงกลมเป็นเพชนสร่งเงินมีรัศมีทองแปดแฉก ประดับที่อกเสื้อด้านซ้าย
สำหรับประมุขของรัฐต่างประเทศที่เป็นสตรีดวงตรา ดารา และสายสร้อยจะมีขนาดเล็กกว่า รวมทั้ง ใช้สายสะพานขนาดกว้าง 7 เซนติเมตร

นอกจากนี้ ยังมีเครื่องหมายสำหรับประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยมีลักษณะเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑทองอยู่ในวงกลมบนพื้นลงยาสีขาบและเครื่องหมายที่ใช้เป็นดุมเสื้อเป็นรูปดอกไม้จีบด้วยแพรแถบของเครื่องราชอิสริยาภรณ์

มีสิทธิใช้ประดับเป็นดุมเสื้อเวลาแต่งเครื่องสากลโดยให้ประดับที่รังดุมคอพับของเสื้อชั้นนอกเบื้องซ้าย และสามารถใช้ประดับเมื่อสวมชุดไทย โดยบุรุษมีสิทธิใช้ประดับเป็นดุมเสื้อเวลาแต่งเสื้อชุดไทยสีสุภาพ โดยประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย บริเวณปากกระเป๋าเสื้อ

ส่วนสตรีนั้น มีสิทธิใช้ประดับเป็นดุมเสื้อเวลาแต่งเสื้อชุดไทยเรือนต้น ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยอมรินทร์ และชุดไทยบรมพิมาน โดยประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย


รายพระนามและรายนามผู้ได้รับ ร.ม.ภ.
ประมุขของประเทศที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ จนถึง พ.ศ. 2535 มีทั้งสิ้น 27 สำรับ เช่น


พระนามและนาม ประเทศ วันที่ได้รับพระราชทาน โอกาส อ้างอิง

สมเด็จพระเจ้าซยิด ปุตรา อิบนิ อัล-มาร์ฮุม ซยิด ฮัสซัม จามา ลุลลีล ยังดี เปอร์ตวน อะกงแห่งมาเลเซีย - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2505 - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหพันธ์มลายาอย่างเป็นทางการ

ดร. ไฮน์ริช ลุบเก ประธานาธิบดีแห่งเยอรมัน - 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 - เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

พลเอกเน วิน ประธานสภาปฏิวัติแห่งพม่า - 14 ธันวาคม พ.ศ. 2505 - เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

สมเด็จพระเจ้าปอลที่ 1 แห่งเฮล์ลีนส์ พระมหากษัตริย์แห่งกรีซ - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา พระมหากษัตริย์แห่งลาว - 22 มีนาคม พ.ศ. 2506 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์ - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2506 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น - 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ

ฟรานซ์ โยนาส ประธานาธิบดีแห่งออสเตรีย - 17 มกราคม พ.ศ. 2510 -เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

เฟอร์ดินันด์ อี มากอส ประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์ - 15 มกราคม พ.ศ. 2511 - เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

สมเด็จพระราชธิบดีอัลมูตาวัคคิล อัลลาลาฮ์ สุลต่าน อิสกานดา อัล-ฮัจ อิบนิ อัล-มาฮุม สุลต่านอิสไมล์แห่งมาเลเซีย - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2528 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

สมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนดระ พีระ พีกรัม ชาห เดว สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนปาล - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

พลเอก โมฮัมหมัด เซีย อุล ฮัก ประธานาธิบดีแห่งปากีสถาน - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2530 - เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสเปน - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

สมเด็จพระราชาธิบดี อัชลัน ชาห์ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2533 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น - 21 กันยายน พ.ศ. 2534 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

สมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่านซาลาฮุดดิน อับดุล อาซิซ ชาห์ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย - 24 มีนาคม พ.ศ. 2543 - เสด็จฯเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์

สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์

สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสวีเดน - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์

สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์ - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์

สมเด็จพระราชาธิบดี สุลตาน มีซาน ไซนัล อาบิดีน สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย - 9 มีนาคม พ.ศ. 2552 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์โสรวาร - กมลมานเจิดจรัส ที่มาอ่านค่ะ



Create Date : 14 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2552 18:54:31 น.
Counter : 1612 Pageviews.

0 comments
วิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป.6) เรื่องคำสุภาพ นายแว่นขยันเที่ยว
(25 มิ.ย. 2568 00:05:44 น.)
วันอังคารที่1กค มีงานนำเสนอสตาร์ทอัพ"ไทย"ที่พร้อมไปบุกตลาดจีน💡   peaceplay
(22 มิ.ย. 2568 12:57:29 น.)
สวนรถไฟ : นกเฉี่ยวบุ้งใหญ่ ผู้ชายในสายลมหนาว
(19 มิ.ย. 2568 13:46:10 น.)
Generative AI in Education peaceplay
(4 มิ.ย. 2568 19:10:15 น.)

Vinitsiri.BlogGang.com

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]

บทความทั้งหมด