"ศรีศักร วัลลิโภดม" พาตะลุยทัวร์ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : เมืองโบราณอู่ทอง สุพรรณบุรี

 





















ต้นกำเนิดประวัติศาสตร์ สยามสุวรรณภูมิ


ร่วมไขปริศนาจุดเริ่มต้นการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิและสุวรรณภูมิอยู่ที่ไหน?

จากหลักฐานทางโบราณคดีในขณะนี้เชื่อกันว่าเมืองโบราณอู่ทองและเขตปริมณฑลลุ่มแม่น้ำแม่กลอง-ท่าจีน
เป็นจุดเริ่มต้นของการเผยแพร่พระพุทธศาสนาดังนั้นพื้นที่ดังกล่าวจึงน่าจะเป็นสุวรรณภูมิ โดยมี “รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม” นักวิชาการด้านมานุษยวิทยาและโบราณคดีนักประวัติศาสตร์ เป็นวิทยากรนำย้อนรอยประวัติศาสตร์

เมืองโบราณอู่ทองได้รับการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เนื้อที่ 38.16 ตารางกิโลเมตร เมืองโบราณอู่ทองถือเป็นเมืองในประวัติศาสตร์ยุคแรกสุดของไทย ตั้งอยู่พื้นที่ตำบลอู่ทอง (เดิมชื่อตำบลท่าพระยาจักร) มีผังเมืองเป็นรูปวงรี ปรากฏหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย

 


 รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการด้านมานุษยวิทยาและโบราณคดี

 

รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการด้านมานุษยวิทยาและโบราณคดี กล่าวไว้ว่า “เมืองอู่ทองและปริมณฑลคือบริเวณศูนย์กลางของรัฐและแคว้นสำคัญที่พัฒนาขึ้นในสมัยสุวรรณภูมิ ที่มีโบราณสถานวัตถุสนับสนุนมากกว่าที่อื่น ๆ เพราะตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เป็นศูนย์กลางของการคมนาคม ทั้งจากเส้นทางที่ข้ามคาบสมุทรจากฝั่งมหาสมุทรอินเดียมายังฝั่งทะเลจีนในอ่าวไทย อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางที่จะติดต่อทางทะเลไปยังบ้านเมืองทางตะวันออก

นอกจากนั้น เมืองอู่ทองยังเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางบกที่ผ่านลุ่มน้ำเจ้าพระยาทางซีกตะวันออกเข้าลุ่มน้ำลพบุรี-ป่าสัก ไปยังที่ราบสูงโคราชในลุ่มน้ำมูล-ชี และแม่น้ำโขงอีกด้วย อีกสิ่งหนึ่งที่จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในเขตเมืองอู่ทองและปริมณฑลก็คือ ได้พบร่องรอยของคนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมและศาสนา อันแสดงให้เห็นถึงการเป็นสังคมนานาชาติได้ดีกว่าที่อื่น ๆ”

นอกจากนั้น อาจารย์ตรี อมาตยกุล นักประวัติศาสตร์คนสำคัญของประเทศไทย ได้กล่าวถึงเมืองโบราณอู่ทองไว้ว่า เมืองอู่ทองเป็นเมืองร้างอยู่ทางฟากตะวันตกลำน้ำจระเข้สามพัน เป็นเมืองเก่าแก่ใหญ่โตมีปราการก่อด้วยดิน ตัวเมืองเป็นรูปวงรี กว้างประมาณ 1 กิโลเมตร ยางประมาณ 2 กิโลเมตร มีคูล้อมแนวปราการด้านหน้าซึ่งสูงราว 3 เมตร ต่อจากนั้นเป็นแผ่นดินต่ำลงไปจนถึงท่าพระยาจักร

แต่เดิมแม่น้ำจระเข้สามพันเป็นแม่น้ำใหญ่ นานเข้ากระแสน้ำเปลี่ยนเส้นทางทำให้ตื้นเขินและแคบเข้าจนเกิดแผ่นดินที่ราบริมตลิ่ง เนื่องจากแม่น้ำตื้นเขิน จึงเกิดกันดารน้ำขึ้นในฤดูแล้ง จึงปรากฏว่ามีการขุดสระขนาดใหญ่ในตัวเมืองหลายสระซึ่งยังมีซากหลงเหลือจนถึงทุกวันนี้

 พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อู่ทอง


 โดยห้องจัดแสดง 1 บอกเล่าเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์และการรับวัฒนธรรมจากภายนอก โบราณวัตถุที่สำคัญ เช่น ลูกปัดทองคำ ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินสมัยทวารวดี แผ่นดินเผาพระภิกษุอุ้มบาตรถือเป็นโบราณวัตถุซึ่งได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดีย ส่วนห้องจัดแสดง 2 อู่ทองศรีทวารวดี บอกเล่าเรื่องในสมัยประวัติศาสตร์ยุคแรกของไทย เป็นศูนย์กลางการค้าและศูนย์กลางพระพุทธศาสนาก่อนขยายความเจริญไปสู่ชุมชนโบราณในที่อื่น ๆ

 


 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแสดงแบบจำลองเมืองโบราณอู่ทอง

 

 วีดิทัศน์บอกล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์เมืองโบราณอู่ทอง

 

 

ลูกปัดแก้ว ศิลปะทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-12 หรือราว 1,400-1,500 ปีที่ผ่านมา
พบภายในเมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

 


 พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม

 

วัดเขาดีสลัก

บนยอดเขาวัดดีสลัก เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธบาทจำลองนูนต่ำ ทำเป็นลายกลีบบัวโดยรอบพระบาท ปลายนิ้วพระบาทยาวไม่เสมอกัน ข้อนิ้วพระบาทมีเพียง 2 ข้อ โดยข้อนิ้วพระบาทแรกทำขมวดเป็นรูปก้นหอย รอยพระพุทธบาทเขาดีสลัก ค้นพบเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2534

และได้รับการพิสูจน์จากนักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ว่าเป็นรอยพระพุทธบาทที่มีอายุการสร้างอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-19

ทั้งนี้ จังหวัดสุพรรณบุรีร่วมกับกรมศิลปากร ได้พัฒนาและปรับปรุงวัดเขาดีสลักขึ้นโดยเริ่มดำเนินงานตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2537 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2542

 

 

 รอยพระพุทธบาทเขาดีสลัก ขนาดกว้างประมาณ 65.5 เซนติเมตร ยาว 141.5 เซนติเมตร


คูน้ำคันดินรูปวงรีนอกเหนือจากโบราณวัตถุและโบราณสถานที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในอดีต คูเมืองโบราณยังเป็นหลักฐานสำคัญที่บอกให้ทราบถึงลักษณะการอยู่อาศัยและบ้านเมืองที่ผ่านมา ซึ่งจากการสำรวจของนักโบราณคดีพบหลักฐานว่า

ภายในตัวเมืองอู่ทองและบริเวณโดยรอบมีเนินโบราณสถานกระจายอยู่ไม่น้อยกว่า 20 แห่ง เนินดินเหล่านี้เป็นที่ตั้งของสถูป เจดีย์โบราณ ต่อมากรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่ง พบว่าเป็นศาสนสถานในสมัยทวารวดี ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของกลุ่มโบราณสถานคอกช้างดิน เป็นกลุ่มศาสนสถานและสิ่งก่อสร้างเนื่องในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย

 

 คูน้ำคันดินรูปวงรี เมืองโบราณอู่ทอง

 

คอกช้างดิน

“คอกช้างดิน” แต่เดิมเชื่อกันว่าเป็นเพนียดคล้องช้าง โดยปรากฏในบทความของบวสเซอร์ลิเยร์ (Jean Boisselier) นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส โดยเป็นข้อมูลที่อาจได้จากการสัมภาษณ์ชาวบ้าน แต่เมื่อบวสเซอร์ลิเยร์กลับมาสำรวจเมืองอู่ทองในช่วง พ.ศ. 2506 – 2508

แต่หากพิจารณาจากหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศ มีความเป็นไปได้ที่แหล่งโบราณสถานแห่งนี้เป็นสิ่งก่อสร้างด้วยดินประกอบตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในจุดที่สามารถรับน้ำจากธารน้ำตกพุม่วงผนวกกับร่องรอยที่กรุด้วยก้อนหิน ซึ่งใช้สำหรับบังคับน้ำให้ไหลเข้าสู่คอกช้างดิน จึงสันนิษฐานว่าคอกช้างดินคือระบบชลประทานเมืองโบราณอู่ทอง

ปัจจุบันการรวบรวมและสร้างความรู้ทางประวัติศาสตร์จากหลักฐานทางโบราณคดี (cultural ecology) ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนักในสังคมไทย และดูเหมือนว่าการเชื่อมโยงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์จากหลักฐานทางโบราณคดีจะหยุดนิ่งแค่เพียงรูปแบบทางศิลปกรรมของโบราณวัตถุเป็นส่วนใหญ่ ปราศจากซึ่งการเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมของผู้คนที่ดำเนินในยุคสมัย

การได้ศึกษาโบราณวัตถุอันทรงคุณค่าเปรียบกับเครื่องมือสร้างองค์ความรู้เพื่อทำความเข้าใจสภาพสังคม การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมของบรรพชนในอดีต

สนใจรายละเอียดการเดินทางเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ มติชนอคาเดมี โทรศัพท์  : 02-954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124 โทรศัพท์เคลื่อนที่ : 082-993-9105, 082-993-9097

 

จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2502 เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุที่ได้จากการบูรณะเมืองโบราณอู่ทอง ต่อมากรมศิลปากรทำการสำรวจขุดแต่งเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2504 ซึ่งได้ค้นพบโบราณวัตถุสมัยทวารวดีจำนวนมาก ภายในพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยห้องจัดแสดง 2 ห้อง

 

 

ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม

สิริสวัสดิ์อาทิตยวารค่ะ




Create Date : 22 กรกฎาคม 2555
Last Update : 16 ตุลาคม 2555 19:51:26 น.
Counter : 4773 Pageviews.

0 comments
อย่ามาบ้ง!นะ peaceplay
(5 เม.ย. 2567 15:53:18 น.)
เมนูที่เต็มไปด้วยคุณค่าอาหาร ข้าวยำ สมาชิกหมายเลข 4313444
(4 เม.ย. 2567 00:28:04 น.)
วิธีถามราคาสินค้าเป็นภาษาอังกฤษ khatha0808
(2 เม.ย. 2567 00:05:26 น.)
สรุปวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.5) เรื่องเอกซ์โพเนนเชียล & ลอการิทึม นายแว่นขยันเที่ยว
(27 มี.ค. 2567 00:52:25 น.)

Vinitsiri.BlogGang.com

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]

บทความทั้งหมด