ม.ราชภัฏนครราชสีมา กับการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ชุมชนด่านเกวียน











มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีเป้าหมายเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยของปวงชน
ที่เน้นคุณภาพการผลิตบัณฑิตและการวิจัย เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
ตามวิสัยทัศน์ "เป็นผู้นำการศึกษา เพื่อพัฒนาท้องถิ่น สู่ความยั่งยืน"
และสืบสานศิลป-วัฒนธรรมของชาติและสร้างสรรค์คุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นก้าวไกลสู่สากล

จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันผู้ประกอบการเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ
และสืบเนื่องจากวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19
ตลอดทั้งวิกฤติการณ์ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ส่งผลให้สินค้าเครื่องปั้นดินเผาจำหน่ายได้น้อยลงแต่ราคาต้นทุนสูงขึ้น
ซึ่งเป็นปัญหาในการผลิตส่งผลต่อช่างปั้นและผู้ที่ทำมาค้าขายในชุมชนด่านเกวียน

ซึ่งกิจกรรม “การสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนให้เหมาะกับบริบทของชุมชน”
ภายใต้โครงการสร้างชุมชนต้นแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรมต่อยอดภูมิปัญญาด้านการผลิต
และยกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ของกลุ่มอาชีพชุมชนอย่างยั่งยืน
ของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในครั้งนี้
จะสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ดินเผาด่านเกวียน
ให้สามารถพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา
ให้มีความหลากหลาย เป็นที่พึงพอใจมากยิ่งขึ้นและเกิดช่องทางการจำหน่ายมากยิ่งขึ้น
มีการสร้างแบรนด์ให้สามารถเกิดความจดจำเพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำ
มีการส่งเสริมผู้ประกอบการและช่างปั้นที่มีการพัฒนา
และที่สำคัญคือเรื่องต้นทุน
ซึ่งในโครงการได้ให้ความสำคัญตั้งแต่การทำบัญชีต้นทุน
และการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อลดต้นทุนที่สูงในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา
เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนหรือผู้ประกอบการ

ดังนั้น “การสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน
ให้เหมาะกับบริบทของชุมชน”
ภายใต้โครงการสร้างชุมชนต้นแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรมต่อยอดภูมิปัญญาด้านการผลิต
และยกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ของกลุ่มอาชีพชุมชนอย่างยั่งยืน
ในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลด่านเกวียน และโค้งพันล้าน ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
จึงได้บังเกิดขึ้นมาเพื่อสร้างความมั่งคั่งและยั่งยืนให้กับชุมชนต่อไป





















(จากภาพขวาไปซ้าย)

นายวิเชียร จันทรโณทัย
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา

ผศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ดร.สุรชัย วงษ์ฟูเกียรตื
คณบดี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา



อาจารย์ณภัค คณารักษ์เดโช
อาจารย์ประจำสาขาการตลาด คณะวิทยาการการจัดการ ม.ราชภัฏนครราชสีมา
กล่าวว่า
โดยส่วนตัวลงเริ่มลงพื้นที่ไปช่วยให้ความรู้ด้านการตลาด
กับชุมชนด่านเกวียนมาตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว
และก็ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นระยะ
ทำให้เห็นปัญหาของผู้ประกอบการเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน
ที่ยังไม่สามารถพัฒนาเพื่อการแข่งขันได้ ทั้งในด้านรูปแบบของผลิตภัณฑ์และช่องทางการตลาด
ซึ่งปัญหาที่ส่งผลกระทบคือ เตาเผาดิน ซึ่งมีขนาดใหญ่
งานชิ้นเล็กต้องรอให้เตามีชิ้นงานเผาเต็มเตา จึงจะได้เผา
ซึ่งบางครั้งต้องรอนานมาก
ไม่สามารถสนองความต้องการของลูกค้าคนรุ่นใหม่ที่ชอบความรวดเร็ว
อีกทั้งต้นทุนเชื้อเพลิงก็สูงขึ้นเรื่อยๆ

ดังนั้นการจะพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน
จึงจำเป็นต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กันทั้งทางด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
ที่แตกต่างไปจากเดิม
พัฒนาการเผาที่รวดเร็วขึ้นและสามารถลดต้นทุนได้จริง
โดยผู้ประกอบการต้องสามารถรู้ต้นทุนการผลิต ต้นทุนการตลาดได้อย่างชัดเจน
โดยการทำบัญชีต้นทุนได้อย่างถูกต้อง
ซึ่งจะทำให้สามารถวางแผนการตลาดได้อย่างเหมาะสม
รวมถึงการสร้างแบรนด์ที่ทำให้ลูกค้าจดจำได้
แนวคิดการพัฒนาดังกล่าวจึงเป็นที่มาของโครงการ "สร้างชุมชนต้นแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรมต่อยอดภูมิปัญญาด้านการผลิต
และยกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ของกลุ่มอาชีพชุมชนอย่างยั่งยืน"







นายชรินทร์ เปลี่ยนกระโทก
นายกเทศมนตรีตำบลด่านเกวียน ขึ้นมากล่าวต้อนรับ





จากนั้น ดร.สุรชัย วงษ์ฟูเกียรตื
คณบดี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กล่าวรายงานต่อประธานในพิธี
คือ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา







นายวิเชียร จันทรโณทัย
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
กล่าวว่า
วันนี้เราจำเป็นต้องมาดูว่าปัญหาอยู่ที่อะไร ทำไมผลิตภัณฑ์ขายไม่ได้
เราต้องย้อนกลับมามองว่าต้นทางอยู่ที่อะไร
วันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เข้ามาช่วย
เราต้องดูว่า "ด่านเกวียน" เราขายอะไรได้บ้าง
เรามาดูว่าเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน สินค้าที่เป็นสินค้าหลัก
เรื่องของการออกแบบให้เข้ากับตลาดผู้บริโภค
แต่คนในด่านเกวียนต้องค้นหาว่าเรามีอย่างอื่นที่มากกว่าเครื่องปั้นดินเผา
ผมคิดว่าเราไม่จำเป็นต้องขายแต่เครื่องปั้นดินเผาแต่เราควรขายในเรื่องของ "วัฒนธรรม" ด้วย
ขายเรื่องของ "โฮมสเตย์"
ตลอดระยะเวลาการทำงานของผมๆ ไม่สามารถปลุกกระแสเรื่องของโฮมสเตย์ให้เป็นที่รู้จักได้
ผมยังรู้สึกเสียใจอยู่ทุกวันนี้
ผมคิดว่าจำเป็นต้องขายสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมควบคู่กับเครื่องปั้นดินเผา
และชุมชนเราเองต้องมีการพ้ฒนารูปแบบของเครื่องปั้นดินเผาให้สอดคล้องกับสังคม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จะต้องเข้าไปช่วย
แต่ท้ายสุดทั้งหมดทั้งมวลผู้นำชุมชนต้องเข้มแข็ง
ผมอยากเห็นด้านเกวียนมีถนนคนเดินเดือนละครั้ง
ผมคิดว่าถึงวันนั้นจะมีความยั่งยืน
เพราะชื่อเสียงของด่านเกวียนมีมานาน
ทำอย่างไรให้พี่น้องในขุมชนจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและยืนยาว
พี่น้องในขุมชนต้องข่วยกันไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ
ทั้งทางจังหวัดทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและทางเทศบาลเอง

ทำอย่างไรที่จะลดต้นทุนการผลิต
วันนี้ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นำเสนอเรื่อง "เตาเผา"
ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกท่าน ซึ่งทำอย่างไรให้มีรูปแบบที่สอดคล้องกับการตลาด
และที่สำคัญอย่าขายเฉพาะเครื่องปั้นดินเผา
ให้ขาย "วัฒนธรรม" และ "องค์ความรู้" ด้วย
วันนี้ผมขอขอบคุณทางมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ที่ได้มายกระดับผลิตภัณฑ์ของด่านเกวียน
มาให้ความรู้ด้านการออกแบบเรื่องของการผลิต
ซึ่งวันนี้เป็นวันดีสำหรับพี่น้องในชุมชนด่านเกวียน
และที่สำคัญยังมีการสอนในเรื่องของต้นทุน
เรื่องของการใช้เทคโนโลยีต่างๆ
ที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องชุมชนด่านเกวียนทุกคน
ต้องขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย



ผศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
เปิดเผยว่า
สำหรับกิจกรรม การสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาให้เหมาะกับบริบทของชุมชน
ภายใต้โครงการ สร้างชุมชนต้นแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรมต่อยอดภูมิปัญญาด้านการผลิต
และยกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ของกลุ่มอาชีพชุมชนอย่างยั่งยืน
สิ่งหนึ่งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้นำเสนอจนกระทั่งท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
นายวิเชียร จันทรโณทัย ได้ให้ความสนใจมาเยี่ยมชมในวันนี้
นั่นก็คือ การช่วยพื้นที่ดั้งเดิมของจังหวัดนครราชสีมา นั่นก็คือ ตำบลด่านเกวียน
ที่ในเขตเทศบาลด่านเกวียน
ซึ่งมีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ประสบปัญหา
ในเรื่องของการใช้เชื้อเพลิงและการที่จะต้องรอระยะเวลาของวัตถุดิบ
ซึ่งคือ ประเภทของเครื่องปั่นดินเผาต่างๆ ที่นำมาหลอมมารวมกันภายในเตาขนาดใหญ่
แล้วค่อยจุดไฟเผาพร้อมกันโดยใช้เชื้อเพลิง
คือ เชื้อเพลิงไม้
ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
จะได้ช่วยพัฒนานวัตกรรมเพื่อที่จะลดต้นทุนในส่วนนี้
กล่าวคือ โดยได้รับการสนับสนุม "น้ำมันดำ"
จากบริษัท โตโยต้า ทองรวยสีมา จำกัด
ตลอดทั้งนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยฯ ของเราเอง
มาทำการผลิตโดยใช้น้ำมันเครื่องซึ่งเป็นวัสดุที่เหลือใช้จากรถยนต์มาผสมกับอากาศ
แล้วใช้เชื้อเพลิงที่เป็น "ฟืนไม้" เพียงเล็กน้อย
จะสามารถทำให้เกิดพลังงานช่วยในเผาเครื่องปั้นดินเผา
อีกทั้งยังสามารถผลิตเป็นเตาเผาเครื่องเล็กๆ โดยไม่ต้องรอเปิดเตาเผาใหญ่รอเผาพร้อมกัน
ซึ่งส่งผลดีทำให้ย่นระยะเวลาและลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี

เพราะฉะนั้นจึงเป็นผลิตภัณฑ์และเป็นนวัตกรรมที่จะมาช่วยลดต้นทุนของชุมชนด่านเกวียน
และที่สำคัญเป็นการนำทรัพยากรที่เหลือทิ้งนำกลับคืนมาใช้ใหม่
สอดคล้องกับเรื่องของ BCG ขานรับนโยบายของ U.N.
และของประเทศไทยและทั้งโลกอีกด้วย ที่จะช่วยลดมลภาวะ
นี่เป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
เราจะต้องพัฒนาตรงนี้ให้กับพี่น้องในชุมชนด่านเกวียน
ผู้ประกอบการทั้งหมด
และตอนนี้เราจะมาช่วยในเรื่องของการขาย การจำหน่าย และนี่คือภารกิจของเราในวันนี้ครับ



จากนั้นผศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
มอบของที่ระลึกแก่นายวิเชียร จันทรโณทัย
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา



ผศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
มอบของที่ระลึกแก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับงานในวันนีิ





อาจารย์ชาญศักดิ์ ตรีพบ
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม หลักสูตรวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
กล่าวว่า
ที่มาของโครงการเป็นโครงการยุทธศาสตร์ งบประมาณ ปี พ.ศ.2565

ชุมชนด่านเกวียน เป็นชุมชนเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนครราชสีมา
ที่นี่มีความโดดเด่นในเรื่องเครื่องปั้นดินเผา
แต่ ณ ปัจจุบันต้นทุนของขบวนการผลิตของเครื่องปั้นดินเผาก็คือ
"ขบวนการเผาเพราะใช้เชื้อเพลิงจากไม้"
เป็นต้นทุนที่สูงมาก
ในกระบวนการเผาแต่ละครั้งและเตาแบบดั้งเดิมของชุมชนด่านเกวียนจะมีขนาดใหญ่
และตัวผู้ประกอบการเองจะมีค่าใช้จ่ายในการเผาจากเชื้อเพลิงไม้ที่มีต้นทุนสูง
และผู้ประกอบการในแต่ละขุมชนปั้นไม่เยอะ

ดังนั้นภายในชุมชน และผู้ประกอบเองก็ต้อง "รอ"
และเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของเชื้อเพลิงเองนั่นก็คือ "ฟืน"
ซึ่งกว่าจะเต็มเจาเผาขนาดดั้งเดิมขนาดใหญ่ จะใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน
อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการเผาเครื่องปั้นดินเผา จะใข้งบประมาณหมื่นกว่าบาทนับเป็นต้นทุนที่สูง
และมีค่าจ้างของใส่ฟืนคนเผาอีกต่างหาก

ดังนั้นจึงเกิดการแก้ปัญหาดังนี้
ได้มีการจัดการทำเตาเผาเครื่องปั้นดินเผาขนาดเล็ก
ที่มีการใช้เชื้อเพลิงต้นทุนที่ถูก
และสามารถที่ให้ความร้อนถึงกระบวนการเคลือบเซรามิก
โดยการนำ "น้ำมันเครื่องเก่า" ที่ทิ้งแล้วจากบริษัท โตโยต้า ทองรวยสีมา จำกัด
ที่ให้ความร้อนได้ถึง 1,000 องศาเซลเซียส
และสิ่งสำคัญนั่นคือ นวัตกรรมที่สำคัญ คือ "หัวเผาที่สามารถใช้กับเตาเผาดั้งเดิม"
ของชุมชนด่านเกวียนได้เป็นอย่างลงตัว
อีกทั้งสามารถลดต้นทุนไม่ต้องใช้ "ฟืนไม้"
เป็นการช่วยลดต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการอย่างมหาศาล
เมื่อต้นทุนถูกผู้ประกอบการจะมีกำไรและมีความมั่งคั่งและยั่งยืนต่อไป
และนี่คือเป้าหมายหลักของโครงการนี้ครับ











นายฉัตรพงศ์ ตรีจรัสโรจน์
หัวหน้าฝ่ายกิจกรรมพิเศษ โตโยต้า ทองรวยสีมา จำกัด
เปิดเผยว่า
ผมเป็นตัวแทนของบริษัท โตโยต้า ทองรวยสีมา จำกัด
ผมรู้สึกมีความยินดีที่ได้ร่วมสนับสนุนโครงการนี้มาอย่างต่อเนื่อง
โดยทางบริษัทจะสนับสนุนในเรื่องของ "น้ำมันดำ"
ซึ่งเป็นนโยบายหลักของบริษัทในการช่วยเหลือสังคมโดยสนับสนุน "น้ำมันดำ เดือนละ 200 ลิตร"
กล่าวคือซึ่งน้ำมันดำนี้เป็นน้ำมันที่ลูกค้าที่มาใช้บริการที่บริษัท โตโยต้า ทองรวยสีมา จำกัด
ได้เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเก่าแล้วไม่นำกลับคืน
เฉลี่ยวันละ 60 คัน
ดังนั้นในอนาคตถ้าโครงการนี้ต้องการสิ่งใดขอให้แจ้งมาที่บริษัท
ทางบริษัท โตโยต้า ทองรวยสีมา จำกัด จะร่วมพิจารณาและจะสนับสนุนต่อไปครับ



































นายฐานันดร ศรีเพ็ญ
ผู้ประกอบการร้าน ออตโตฟาร์มสตูดิโอ (จากภาพอยู่ซ้ายมือ)
เปิดเผยว่า
เนื่องด้วยกิจกรรม "การสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาให้เหมาะกับบริบทของชุมชน
ภายใต้โครงการ สร้างชุมชนต้นแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรมต่อยอดภูมิปัญญา
ด้านการผลิตและยกระดับผลิตภัณฑ์
เพื่อสร้างรายได้ของกลุ่มอาชีพชุมชนอย่างยั่งยืน"
โดยการส่งเสริมของ "มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา"
ได้ผลต่อการพัฒนาทั้งสองภาคส่วน นั่นคือ ส่วนผู้ประกอบการและส่วนชุมชน
โดยในส่วนของผู้ประกอบการเช่นผมกับกิจการ ออตโตฟาร์มซูวิเนียร์นั้น
ผมได้เรียนรู้เรื่องราวของนวัตกรรมใหม่ๆ และการใช้พลังงานทดแทนเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตสินค้า
อีกทั้งยังได้เรื่องของเตาเผาขนาดเล็กที่เป็นนวัตกรรม
ที่จะช่วยให้มีความคล่องตัวในการผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับรูปแบบ
และทันต่อความต้องการของตลาด
ซึ่งนอกจากเตาเผาขนาดเล็กแล้วนั้น
ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมายังได้สนับสนุน
โดยมอบองค์ความรู้ไว้ให้เป็นต้นแบบและสร้างรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ตรงนี้เอง ผมและออตโตฟาร์มซูวิเนียร์
ต้องกราบขอบพระคุณทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไว้ ณ ที่นี่ด้วยครับ
และในส่วนของชุมชนเองนั้น นวัตกรรมชุดให้พลังงานความร้อนแบบไฮบริด
ยังสามารถนำไปปรับใช้ได้กับตัวตัวเผาดั้งเดิมของชุมชนโดยอาศัยการดัดแปลงเพียงเล็กน้อย
จุดนี้เป็นจุดสำคัญที่เราเชื่อว่าจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน
ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุนการผลิต
ลดมลภาวะจากควันที่เกิดจากการเผา
และเป็นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าในแนวทาง Zero Waste Concept
ซึ่งเป็นแนวทางในอนาคตอันใกล้ที่หากเราไม่ได้เรียนรู้
หรือได้รับความช่วยเหลือด้านต่างๆ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ผมคงก้าวไม่ทันกับกระแสโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง
สำหรับผมล้วความสำเร็จของโครงการที่เกิดขึ้นนั้นชี้ให้เราชาวชุมชนตระหนักได้ว่า
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นที่พึ่งของชุมชนอย่างแท้จริง
กราบขอบพระคุณอีกครั้งหนึ่งครับ





















เมื่อมาเยี่ยมชมที่ร้าน Otto Farm Studio มีให้ลูกค้าเรียนปั้นกันด้วยนะคะ
อย่างวันนี้ครูนกสอนนักเรียนออและนักเรียนธงปั้นแก้วกาแฟค่ะ
สนใจสอบถามมาที่ ร้านออตโต้ฟาร์ม ซูวิเนียร์
Studio งานเซรามิกดินเผาจากลุ่มแม่น้ำมูล
โค้งพันล้าน ต.ด่านเกวียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา
โทร.083 128 0751 และโทร.081 584 8600









ขอขอบคุณ

ผศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

อาจารย์ณภัค คณารักษ์เดโช
อาจารย์ประจำสาขาการตลาด คณะวิทยาการการจัดการ ม.ราชภัฏนครราชสีมา

อาจารย์ชาญศักดิ์ ตรีพบ
อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมการจัดการอุตวาหกรรม
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม.ราชภัฏนครราชสีมา

นางอรวรรณ กอบวิทยา
ประธานอนุกรรมการสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอำเภอสีคิ้ว

นายฐานันดร ศรีเพ็ญ
ผู้ประกอบการร้าน ออตโตฟาร์มสตูดิโอ

นายฉัตรพงศ์ ตรีจรัสโรจน์
หัวหน้าฝ่ายกิจกรรมพิเศษ โตโยต้า ทองรวยสีมา จำกัด

เพลง : ด่านเกวียน : อัลบั้ม แป๊ะขายขวด วงคาราบาว
BG : คุณลักกี้ / กล่องเขียนคอมเม้นท์ : คุณ lozocat
ของแต่ง BLOG : ป้ามด-ดอกหญ้าเมืองเลย-ชมพร-ญามี่-เนยสีฟ้า




Create Date : 06 กรกฎาคม 2565
Last Update : 8 กรกฎาคม 2565 12:13:58 น. 15 comments
Counter : 1144 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณทนายอ้วน, คุณnonnoiGiwGiw, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณกะว่าก๋า, คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku, คุณnewyorknurse, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณเริงฤดีนะ, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณmultiple, คุณเนินน้ำ, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณtoor36, คุณกิ่งฟ้า, คุณSweet_pills, คุณเจ้าหญิงไอดิน


 


โดย: อุ้มสี วันที่: 6 กรกฎาคม 2565 เวลา:13:01:20 น.  

 
ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมนะคะ



โดย: ภาวิดา คนบ้านป่า วันที่: 6 กรกฎาคม 2565 เวลา:13:50:06 น.  

 
สวัสดี จ้ะ น้องอุ้มสี
ตามมาเที่ยวด่านเกวียน
เครื่องปั้นดินเผาที่นี่ มีชื่อเสียงนะ เคยได้ยินชื่อบ่อย ๆ
โหวดหมวด ท่องเที่ยว


โดย: อาจารย์สุวิมล วันที่: 6 กรกฎาคม 2565 เวลา:17:14:58 น.  

 
ด่านเกวียนดังมากจริงๆครับพี่อุ้ม
ในเรื่องเครื่องปั้นดินเผา



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 กรกฎาคม 2565 เวลา:21:59:50 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่อุ้ม



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 7 กรกฎาคม 2565 เวลา:5:17:19 น.  

 


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 7 กรกฎาคม 2565 เวลา:8:32:09 น.  

 
นั่งดูภาพ การผลิตการเผา..
ยังคิดเลยว่า
ทำไมไม่พูดถึง เรื่องการขายและขายที่ไหน ใครเป็นลูกค้า..... อ้อ.มีจริงด้วย

ดีใจที่เขามองออก..

แต่น่าคิด ว่าสินค้าที่ผลิต
ลูกค้าที่ชอบสะสม..ศิลป
มีมากน้อย หรือมากกว่าสินค้า พื้น ๆ เช่นสินค้าใน
ฉีก จับอี๊ก.. ที่ขายถูกแต่ได้
จำนวนมากกว่า

ผมมองในแง่คนเคยค้าขาย
ไฮเอ็น แล้วมาขายสินค้าที่
ชาวบ้านเขากินเขาใช้นะครับ.. (กำไรน้อยแต่กำไรมาก)

ให้ความเห็นแบบนี้ คงมีคน
ค้อนแน่เลย หุ หุ


โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 7 กรกฎาคม 2565 เวลา:8:38:21 น.  

 
เตาเผาแบบเก่า นี่ ชาวบ้านคุ้นชินอยู่แล้ว สมัยก่อนฟืนหาง่าย ถ้าปรับปรุง เพิ่มเทคโนโลยี ใช้วัสดุทิ้งแล้ว
อย่างน้ำมันเครื่องเก่ามาเป็นเชื้อเพลิงก็น่าจะลดต้นทุนได้พอสมควร

ส่วนเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ ก็ต้องพึ่งมหาวิทยาลัยนี่แหละครับ
ค่อยๆปรับ ค่อยๆเปลี่ยน design ให้มีรูปแบบเป็นสากลขึ้นมา ก็จะเพิ่มมูลค่าได้ เห็นตัวอย่าง ถ้วยกาแฟ สี+texture สวยงามมาก
แต่ พอบอก cup b แล้วนึกถึงเรื่องอื่นทุกทีเลยนะครับ เย้ย 555



โดย: multiple วันที่: 7 กรกฎาคม 2565 เวลา:9:23:09 น.  

 
พัฒนาเครื่องปั้นดินเผาให้หลากหลาย รวดเร็วขึ้นและลดต้นทุนได้ ดีมาก ๆ เลยค่ะ


โดย: เนินน้ำ วันที่: 7 กรกฎาคม 2565 เวลา:13:05:28 น.  

 
หลวงปู่สายพระป่า
มักจะมีวิธีสอนหรือคำสอนที่โดนใจมากเลยครับพี่



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 7 กรกฎาคม 2565 เวลา:15:31:23 น.  

 
มีให้ได้ลองด้วย แบบญี่ปุ่นเลยครับ


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 7 กรกฎาคม 2565 เวลา:20:12:50 น.  

 
สวัสดีค่ะน้องอุ้ม ขอบคุณที่ไปให้กำลังใจบล็อกแกงส้มนะคะ

ตามมาชมเครื่องปั้นดินเผาด้วยค่ะ คิดถึงถ้วยชามเซรามิคที่ลำปางเลยค่ะ

โหวต Topical



โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 7 กรกฎาคม 2565 เวลา:23:02:56 น.  

 
กิจกรรมเรียนปั้นน่าสนใจจังค่ะคุณอุ้ม
เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนสวยมากค่ะ

ขอบคุณคุณอุ้มสำหรับกำลังใจนะคะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 7 กรกฎาคม 2565 เวลา:23:40:04 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่อุ้ม



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 8 กรกฎาคม 2565 เวลา:6:01:30 น.  

 
เปฌนข่าวที่อ่านเพลิดเพบิน
ชมภาพสวยสวยลงตัว
เก่งนะคะคนไทย


โดย: เจ้าหญิงไอดิน วันที่: 8 กรกฎาคม 2565 เวลา:14:49:02 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุ้มสี
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 118 คน [?]






ผล BlogGang Popular Award #16
จากวันที่ 1 ม.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63
ขอบคุณนะคะที่โหวตให้อุ้มสี


ผล BlogGang Popular Award #15
จากวันที่ 1 ม.ค. 62 - 31 ธ.ค. 62
ขอบคุณนะคะที่โหวตให้อุ้มสี



ขอบคุณหัวใจ 266 ดวง
ที่แปะให้อุ้มตลอดเดือน ก.พ.60





ขอบคุณผลโหวต
BlogGang Popular Award # 12
ปี พ.ศ.2560


ขอบคุณหัวใจ 499 ดวง
ที่แปะให้อุ้มตลอดเดือน ก.พ.59


ขอบคุณผลโหวต
BlogGang Popular Award # 11
5 มีนาคม 2559



กิจกรรมในเดือนแห่งความรัก
ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2558
กราบขอบพระคุณทุกท่าน
แปะหัวใจให้ถึง 351 ดวง


ปี พ.ศ. 2558
BlogGang Popular Award # 10


ขอบคุณทุกคะแนนโหวตค่ะ
ซาบซึ้ง อบอุ่น ตื้นตัน



กิจกรรมในเดือนแห่งความรัก
ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2557
กราบขอบพระคุณทุกท่านค่ะ

คลิกที่นี่:: Interview .. the Blogger :: ~ อุ้มสี ~



ปี พ.ศ.2557
BlogGang Popular Award # 9
ขอบคุณทุกคะแนนโหวตค่ะ
ซาบซึ้ง อบอุ่น ตื้นตัน




ปี พ.ศ.2556
BlogGang Popular Award # 8
ขอบคุณทุกคะแนนโหวตค่ะ
ซาบซึ้ง อบอุ่น ตื้นตัน




Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2565
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
6 กรกฏาคม 2565
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add อุ้มสี's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.