ตะพาบกม.ที่ 299 สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เขาเล่ามา ชวนดูรายการชนช้างกราฟฟิกปี 7 ช่อง 34



เมื่อเวลา 13.30 น. ของวันอังคารที่ 22 มีนาคม 2565
นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
มาเป็นประธานในพิธีมอบรางวัล “โครงการพัฒนาศักยภาพนักออกแบบรุ่นใหม่ (ชนช้างกราฟิกปีที่ 7)”
โดยมีนางสาวเพชรรัตน์ สายทอง ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้แทนปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
นายโกวิท ผกามาศ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
นางรวงทอง พลธิราช วัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย
พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการ ผลงานการออกแบบสินค้าของชุมชนทั้ง 5 ชุมชนในจังหวัดหนองคาย
ได้แก่ ชุมชนบ้านไชยา ชุมชนบ้านสีกายเหนือ ชุมชนบ้านโพธิ์ตาก ชุมชนบ้านวังน้ำมอก ชุมชนบ้านดงป่าเปลือย

ได้ร่วมเป็นเกียรติในพิธีมอบรางวัลให้แก่ทีมนักออกแบบ
พร้อมทั้งมอบแผนการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการฉบับสมบูรณ์
ให้แก่ผู้แทนจากทั้ง 5 ชุมชน
ณ ห้องออดิทอเรียม หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน

โดยมีผลการแข่งขันดังต่อไปนี้
รางวัลชนะเลิศได้แก่ ทีม No sleep No work
นายธีร์ทัศน์ เจียรธีระกุลและนายสมศักดิ์ บุตรสอน จากคณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีมอรุ่มเจ๊าะ
นางสาวพัณณิตา ประสงค์แสงสุขและนางสาวปริฉัตร ศรีเจริญ จากคณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีมขบวนการเหมียวเหมียว
นางสาวกัญญาวีร์ วิลามาศและนางสาวอภิรดี อรัณยะนาค วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

รางวัลชมเชย ได้แก่ ทีม Fight Hundred
นางสาวชมัยพร ธัญญเจริญและนายธราเทพ อนันสลุง จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

และทีม Takumi นางสาวหฤทัย น่วมเจิม และนางสาววรัญญา เนตรบุญ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

สามารถได้ติดตามผลงานการออกแบบของนักออกแบบรุ่นใหม่ทั้ง 5 ทีม
ได้ในรายการชนช้างกราฟิก ซีซั่น 7 เริ่มออกอากาศตอนแรก
ในวันที่ 23 มีนาคม 2565ทางสถานีโทรทัศน์อัมรินทร์ทีวี ช่อง 34
ทุกวันพุธและพฤหัสบดี เวลา 16.15 – 16.45 น.



เพราะการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญของการดำเนินชีวิต
และการท่องเที่ยวสอดคล้องกับชุมชน
เป็นการขยายผลและต่อยอดให้ท้องถิ่นเพิ่มมูลค่าที่มีคุณภาพที่ยั่งยืน
ดังนั้น เมื่อนำความรู้ที่มีอยู่มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน
สอดประสานกับคำว่า "เขาเล่ามา" ผสมกับคำว่าไปลงพื้นที่จริง
เห็นจริง ทำจริง ได้ประสบการณ์จริง ได้ใช้ความรู้จริง
เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ได้อย่างมั่งคั่งและยั่งยืน



ถนนสายนี้มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 299 "เขาเล่ามา"
โจทย์ครั้งนี้ คุณ จันทราน็อคเทิร์น เป็นคนกำหนด ไม่จำกัดรูปแบบงานเขียน
โจทย์คราวนี้หัวข้อคือ "เขาเล่ามา"



เขาเล่ามาว่า สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
ขอเชิญชมรายการ CHONCHANG GRAPHIC DESIGN BATTLE 2022
(ชนช้างกราฟิก ปีที่ 7)
ในวันพุธที่ 6 เมษายน 2565 เวลา 16.15 น.
พบกับเรื่องราวการออกแบบกราฟิกดีไซน์
โดยทีม ขบวนการเหมียว เหมียว จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ
ที่ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชนบ้านวังน้ำมอก อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
โดยการผสมผสานทักษะและความสามารถ
ทางด้านการออกแบบกับภูมิปัญญาและวัฒนธรรมชุมชน
จนกลายเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่น ติดตามชมได้ทางอัมรินทร์ทีวี เอชดี ช่อง 34





นายโกวิท ผกามาศ
ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
เปิดเผยว่า
กิจกรรมชนช้างกราฟฟิกเป็นปีที่ 7
มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสร้างนักออกแบบรุ่นใหม่ทางด้าน "เรขศิลป์"
และในขณะเดียวกันเพื่อที่จะสร้างสินค้าและบริการให้กับชุมชน
ได้มีเอกลักษณ์ได้มี packaging ได้มีการพัฒนาสินค้าของชุมชน
ให้มีความคิดสร้างสรรค์และในขณะเดียวกันชุมชนมีผลิตภัณฑ์
จะทำให้สินค้านั้นมีความน่าสนใจขึ้นสามารถทำยอดขายได้
แล้วก็มีการพัฒนา packaging ให้ดูดี นี่คือประเด็นที่ชุมชนจะได้
เป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน อีกทั้งยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจว่าน้องๆ
ที่เขาอยู่ในวัยการศึกษาปีสามปีสี่ซึ่งยังอยู่ในแนวคิดสร้างสรรค์
เด็กๆ ได้ทดลองในสนามจริง ได้ลงพื้นที่จริง ได้สัมผัสกับสินค้าจริง
ได้ใช้ชีวิตจริง และเมื่อจบจากสถาบันการศึกษาการใช้ชีวิตกับสังคม

การมาสร้างงานสร้างสรรค์นั้นเขาควรจะทำอย่างไรใ
ห้เขาได้สัมผัสของจริงในพื้นที่ได้ลงพื้นที่จำนวน 2 ครั้ง
จะทำให้เขาได้เรียนรู้ว่า
เมื่อเดินออกจากรั้วมหาวิทยาลัยสู่อาชีพการประกอบการงานเขาเป็นอย่างนี้
ซึ่งจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ คนอื่นๆ
ที่ได้รับทราบข้อมูลนี้ได้ดูข่าวได้ดูรายการโทรทัศน์ของรายการนี้
ได้เกิดมีความสนใจมีแนวความคิด มีพลังบวกในการที่จะทำสิ่งดีดี
และพัฒนาวิชาชีพของตัวเอง
และในขณะเดียวกันได้พัฒนาลงไปถึงชุมชน ซึ่งอยู่ในพื้นที่แต่ละจังหวัด
จะเป็นผลบวกที่เราเรียกว่า Winwin Situration
ก็คือได้กับได้ทุกส่วน

ทางด้านส่วนราชการก็คือ "สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย"
ที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงวัฒนธรรม
ให้ดำเนินการนี้ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ทั้งต่อสังคน
ทั้งต่อเด็กและเยาวชนที่เป็นนักศึกษาที่ออกแบบทางด้าน "เรขศิลป์"
ทั้งต่อชุมชนในพื้นที่ ผลผลิตสามารถที่จะไปต่อยอดได้
และข้อสำคัญทำอย่างไรที่จะให้ยั่งยืนต่อในปีต่อๆ ไป
โดยได้มอบลักษณะของการออกแบบยังไม่ถึงเชิง "เรขศิลป์"
แต่ว่าเป็นลักษณะออกแบบให้กับชุมชนนำไปใช้นำไปพัฒนาในสิ่งอื่นๆ ต่อไป
ให้เป็นประโยชน์
และโครงการฯ นี้จะจัดไปอย่างต่อเนื่องแล้วอาจจะขยายในเรื่องของกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น
ตามกำลังตามความสามารถที่สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยมีอยู่ครับ



นายเดชา อนันต์อิทธิ
อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัย/ที่ปรึกษาอิสระ
เปิดเผยว่า
กิจกรรม "ชนช้างกราฟฟิกปีที่ 7" เรามีแนวความคิดว่า
อยากจะให้เด็กที่มีวิถีในเมืองให่เขาได้สัมผัสวิถีชุมชน
ซึ่งชุมชนมีความต้องการในการพัฒนาอยู่แล้วเพียงแต่ว่าเขา"ขาด"
ทางโครงการก็เลยถือเป็นโอกาสที่เด็กๆ จะได้เข้าไปสัมผัสและเรียนรู้
ที่จะนำวิถีชีวิตใหม่ๆ ในเมืองเข้าไปที่จะไปแลกเปลี่ยนและพัฒนาเป้าหมาย
กล่าวคือ ทำอย่างไรให้เป้าหมายคือชุมชนต่างจังหวัดนั้นสามารถทีาจะสร้างมูลค่าเพิ่มได้
นั่นคือเป้าหมายของ Project นี้
ซึ่งเป็นสิ่งที่ให้เด็กๆ เข้าไปเรียนรู้ด้วย
เด็กสามารถได้เข้าไปเรียนรู้วิถีชีวิตแต่ละพื้นที่แต่ละชุมชน

เพราะแต่ละชุมชนทั้ง 5 ชุมชนมีความแตกต่างกันนี่ได้กลาย "โจทย์"
ว่าสิ่งที่แตกต่างกันนี้จะพัฒนาได้อย่างไรให้สามารถสอดคล้อง
นั่นก็คือ ผลิตภัณฑ์จะถูกการพัฒนาเพิ่มมูลค่าให้สอดคล้องกีบวิถีชีวิตปัจจุบันได้
เพื่อให้เกิดการขายได้สร้างมูลค่าเพิ่มได้ แต่เดิมชุมขน
เขาจะคิดเองชุมชนเขาก็จะมองแต่มุมตัวเอง
ซึ่วจะทำให้สินค้าของเขาเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม สินค้าทางภูมิปัญญา เป็นสินค้าทางวิถีชีวิตของเขาเอง

แต่พอกลุ่มเด็กๆ ที่เข้าไปพัฒนาเด็กเขาจะมีความคิดที่เป็นวิถีชีวิตของเขาเอง
ซึ่งเด็กเขาจะมองว่า "อะไร" ที่เขาสามารถที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มได้
แล้ว "อะไร" เป็นสิ่งที่เขามีความ "ต้องการ"
เขาจึงนำความคิดนี้ไปใช้ในการพัฒนาและสร้างสิ่งที่สามารถตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่เห็นสินค้าแล้วอยากจะซื้อกลับ
นั่นคือสิ่งที่เป็นเป้าหมายที่วางไว้ คือในกระบวนการนี้
เด็กๆ จะได้สัมผัสถึงการเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นภูมิปัญญา
ที่เขาไม่เคยได้สัมผัสเพราะเขาเป็นคนในเมือง
การที่เขาเข้าไปสัมผัสวิถีชุมชนถือเป็นการแลกเปลี่ยน
และในขณะเดียวกันชุมชนก็ได้เรียนรู้วิถีชีวิตในเมืองจากเด็ก
ซึ่งต่างคนก็ต่างแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันแล้วก็จะเจอ "จุด"
ที่ทำให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นมาได้
นั่นคือสิ่งที่น่าสนใจและได้ทำให้ช่องว่างนั้นหายไปและเด็กจะมีความรู้สึกว่าอยากเรียนรู้ชุมชนไปด้วย
และเขาก็จะมองเห็นความเป็น "อัตลักษณ์" ของชุมชน
และนี่คือความเป็นเสน่ห์ในการสร้าง Project นี้ครับ







ขบวนการเหมียวเหมียว ประกอบด้วย
นางสาวกัญญาวีร์ วิลามาศ
นางสาวอภิรดี อรัณยะนาค
นักศึกษาปีที่ 3 มศว วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม
ได้รับรางวัลที่ 3









ขบวนการเหมียวเหมียว
ประกอบด้วยนางสาวกัญญาวีร์ วิลามาศ และนางสาวอภิรดี อรัณยะนาค
นักศึกษาปีที่ 3 มศว วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม
ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2
เล่าให้อุ้มสีฟังว่า จากที่ได้ลงพื้นที่ชุมชนไปหาข้อมูลความเป็นชุมชน
"บ้านวังน้ำมอก" อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดหนองคาย
ชุมชนมีจุดเด่นอยู่ที่ "ถิ่นสองล้านสองเวียง”
เพราะมีประวัติศาสตร์ว่าพื้นที่ "สองล้าน.สองเวียง"
เคยอยู่ด้วยกัน ส่งผลให้ตัวอำเภอศรีเมืองใหม่ได้รับอิทธิพลมาจาก "สองล้านสองเวียง"
พวกเราจึงนำแนวความคิดนี้มากใช้ในการออกแบบหลัก
ใช้ออกแบบโลโก้และได้นำเอาผลิตภัณฑ์ที่เป็นเมนหลักมาใช้ในการออกแบบด้วยเช่นกัน
อาทิ แพทเทิร์นลายผ้า
ซึ่งชุมชนเห็นโลโก้แล้วชอบเพราะสามารถนำไปใช้จริงๆ
และสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้ด้วย

พอได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2
รู้สึกสนุกและคุ้มกับการมาร่วมแข่งขันเพราะได้ทั้งประสบการณ์
ได้ค่าตอบแทนและที่สำคัญได้ช่วยชุมชน "วังน้ำมอก" อีกด้วย
ชุมชนที่จะขายความเป็นธรรมชาติ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
แต่สิ่งที่หนูประทับใจในเวลากลางคืน
และที่ชุมชนบ้านวังน้ำมอก มีกิจกรรมอย่างมากมายดึงดูดให้คนรุ่นใหม่
ให้ได้เข้าไปสัมผัสและอยากกลับไปเยือนชุมชนอีกครั้งหนึ่ง





รางวัลชนะเลิศได้แก่ ทีม no sleep no work
ประกอบด้วยนายธีร์ทัศน์ เจียรธีระกุล และนายสมศักดิ์ บุตรสอน
ปีสาม มศว คณะศิลปกรรมศาสตร์ เอกออกแบบสื่อสาร
เล่าให้อุ้มฟังว่า
แรงบันดาลใจในการออกแบบได้มาจากธรรมชาติ
เพราะธรรมชาติคือจุดเด่นของหมู่บ้าน "ดงป่าเปลือย"
เพราะธรรมชาติคือจุดเด่นของหมู่บ้านดงป่าเปลือย
จุดเด่นอยู่ที่ต้น "ตะแบก" ที่อยู่รายล้อมรอบหมู่บ้าน
จึงเป็นที่มาของหมู่บ้านดงป่าเปลือย เราจึงนำเอาความเป็นธรรมชาติที่มีความอ่อนหวานอ่อนไหวมาเป็นโลโก้
พวกเราทำงานกันเป็นทีม มีการคิด concept มีการออกแบบควบคู่กับแนวคิดกันไปตลอด

จากการลงพื้นที่ชุมชนเราเห็นถึงความเป็นธรรมชาติ
มีทรัพยากรป่าไม้อุดมสมบูรณ์ เราจึงนำมาเป็นอนวคิดที่จะขยายผลต่อยอดสู่สังคมเมือง
ซึ่งกว่าจะออกแบบมาเป็นโลโก้ตัวนี้ใช้เวลานานมาก
แต่ผลมาคุ้มค่าและค่อนข้างภูมิใจในผลงานเป็นอย่างยิ่ง
และรู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ
เพราะเรามีแนวคิดที่จะออกแบบให้ดูทันสมัยและเป็นสากล
สามารถนำไปขยายผลต่อยอดในตัวเมืองได้อย่างสวยงามและโดดเด่นและเข้าถึงง่าย และ

อยากขอบพระคุณอาจารย์เดชา ขอบคุณพี่พี่ทีมงาน
ขอบคุณทุกอาจารย์ที่เข้ามาให้ความรู้
ทำให้ทีมเราได้ถ่ายทอดผลงานออกมาได้อย่างดีที่สุดและใช้งานได้จริงกับชุมชน
และสามารถจำหน่ายได้จริง

สำหรับชนช้างกราฟฟิกปีหน้า
อยากให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ มาสมัครเพื่อเรียนรู้ประสบการณ
เพราะเราได้ลงพื้นที่จริง ได้คุยกับชาวบ้านจริงเพื่อหาข้อมูลมานต่อยอดได้จริง
ขอเชิญมาสมัคร เพราะโครงการนี้เป็นโครงการที่ดี
เพราะได้พัฒนาศักยภาพของตัวเอง และได้โชว์ศักยภาพตัวเองออกมาในการนำเสนอผลงานให้เห็นได้จริง
และเป็นการช่วยเหลือชุมชนที่ขาดแคลนในเรื่องของดีไซน์ไม่ว่าจะเป็น packaging หรือ Logo
เราได้เข้าไปช่วยถือว่าดีมากๆ เลยครับโครงการนี้















รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีมอรุ่มเจ๊าะ
นางสาวพัณณิตา ประสงค์แสงสุขและนางสาวปริฉัตร ศรีเจริญ
คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปี 4



ทีมอรุ่มเจ๊าะ ประกอบไปด้วย
นางสาวพัณณิตา ประสงค์แสงสุข-นางสาวปริฉัตร ศรีเจริญ
นักศึกษาปี 4 คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
เล่าให้ฟังถึงแรงบันดาลใจในการออกแบบให้กับชุมชนบ้านโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคายว่า
แรงบันดาลใจมาจากจุดเด่นของ "ชุมชนบ้านโพธิ์ตาก" จังหวัดหนองคาย
ที่มีเอกลักษณ์มีอัตตลักษณ์ของชาติพันธุ์ไทยพวน
เราหยิบยกในส่วนนั้นมาเป็นแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ

จากการลงชุมชนได้ไปพูดคุยและสอบถามรายละเอียดต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนจากพ่อเฒ่าแม่แม่บ้านโพธิ์ตาก
เพื่อที่จะนำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบตัวผลิตภัณฑ์ต่างๆ
จะเห็นว่าตัวภาพประกอบเรานำมาจากสิ่งของจักสาน
และจะเป็นลวดลายของผ้า, ลวดลายของผลิตภัณฑ์ทอผ้า
และในส่วนของประเพณีต่างๆ
นำมาเป็นแนวทางในการทำภาพประกอบ
เพื่อที่จะนำภาพประกอบเหล่านี้ไปอยู่ในสื่อต่างๆ สำหรับตัวโลโก้นั้นจะมาจากคำขวัญของบ้านโพธิ์ตาก
คือ "สตรีสีสดสวย"
เราจึงได้นำมาวาดภาพสตรีให้เป็นตัวแทนของบ้านโพธิ์ตาก
โดยมีการติดเข็มกลัดที่หน้าอกข้างซ้าย ซึ่งเป็นรูปใบโพธิ์
ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ของบ้านโพธิ์ตาก
ในส่วนที่ทีมเราได้ทำการออกแบบให้กับชุมชน
และชุมชนจะนำงานออกแบบของทีมเราได้พัฒนาต่อยอด
เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน



รางวัลชมเชย ได้แก่ทีม Fight Hundred ซึ่งมีนายธนาเทพ อนันสลุงนางสาวชมัยพร ธัญญเจริญ
นักศึกษาปี 4 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
เล่าให้อุ้มสีฟังว่า
แรงบันดาลใจเราได้มาจากการที่เราลง "ชุมชนบ้านไชยา จังหวัดหนองคาย"
จากการที่ได้ไปสัมผัสกับวิถีชีวิตของชุมชนจริงๆ แล้วเรารู้สึกว่า "ชุมชนบ้านไชยา"
เป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตที่มีความเรียบง่ายมากได้สัมผัสถึง
เราจึงใช้ความเรียบง่ายความเป็นตัวตนมาเป็นโจทย์ในการต่อยอด
เป็นผลงานการออกแบบที่สามารถนำไปใช้อย่างยั่งยืนได้
โดยชุมชนมีภูมิปัญญาที่มีวิถีชีวิตเราเพียงไปเพิ่มเติมให้เพิ่มขึ้นมาดูมีอะไรขึ้น
คือเพิ่มเติมจากอันเก่าโดยเราไม่ได้ทำใหม่
อาทิ "สายคาด" คือตัวของผ้า
กล่าวคือ "ชุมชนบ้านไชยา" มีผ้าที่สวยงามและมีคุณภาพดี"

แต่ว่ายังไม่มี Logo หรือ packaging
ที่บ่งบอกถึงความเป็น "ชุมชนบ้านไชยา"
เราจึงนำ "ลายผ้ามาใส่" เป็นสายคาดด้วยแล้วเพิ่มในส่วนของความแข็งแรง
โดยการนำตัวผ้าไปใส่ไว้ในกล่องเพื่อป้องกันผ้า
ไม่ให้มีรูและเป็นการเพื่มมูลค่าอีกด้วย
แต่เราก็ไม่ได้ใส่อะไรเข้าไปมากมายจนเกินไป
เพราะมองว่าสามารถนำไปทำอย่างอื่นได้อีก คือผมมองว่า "สายคาด"

ไม่ได้ใช้แค่ตัวผ้าอย่างเดียวแต่สามารถประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์อย่างอื่นได้
อาทิ เสื้อผ้า, หมอน, เสื่อ วิถีชีวิตที่บ้านไชยาจังหวัดหนองคาย
ที่สะท้อนถึงความเป็นชนบทที่หาได้ยากในชุมชนเมือง
เราจึงมองเห็นในความเป็นตัวตนของชุมชน
และเสน่ห์ของคุณพ่อคุณแม่คุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยาย
ดูแลพวกเราเหมือนเป็นคนในครอบครัว ถ้ามีโอกาสอยากไปหาคุณแม่คุณป้า

























ถนนสายนี้มีตะพาบ หลักกม.ที่ 299 "เขาเล่ามา"
เขาเล่ามาว่า วันที่ 6 เมษายน 2565 เปิดทีวีช่อง 34
รายการชนช้างกราฟิกปี 7 เวลา 16.15 น. ทางช่อง 34 อัมรินทร์ทีวี



ขอขอบคุณ

นายโกวิท ผกามาศ
ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม

นางเกษร กำเหนิดเพ็ชร
รองผู้อำนวยการ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

ดร.วิมลลักษณ์ ชูชาติ
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านส่งเสริมศิลวัฒนธรรมร่วมสมัย

นางรพีพร คล่องธนาคม
เลขานุการกรมฯ

นางสาวสมลักษณ์ คล่องแคล่ว
ผู้เชี่ยวชาญด้านส่งเสริมงานวิจิตรศิลป์ ทัศนศิลป์ (ชช.)

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม

และขอบน้ำใจ
น้องแบ๊งค์-น้องปุ๊ก-น้องแกง-น้องฝ้าย-น้องเบียร์



เพลง : ก้าวใหม่ : เป้สีน้ำ
BG : คุณลักกี้ / กล่องเขียนคอมเม้นท์ : คุณ lozocat
ของแต่ง BLOG : ป้ามด-ดอกหญ้าเมืองเลย-ชมพร-ญามี่-เนยสีฟ้า



Create Date : 01 เมษายน 2565
Last Update : 27 เมษายน 2565 3:50:29 น. 24 comments
Counter : 1037 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณSertPhoto, คุณเจ้าหญิงไอดิน, คุณปรศุราม, คุณhaiku, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณnewyorknurse, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณทนายอ้วน, คุณmultiple, คุณเริงฤดีนะ, คุณกิ่งฟ้า, คุณนกสีเทา, คุณเจ้าการะเกด, คุณStand by bowky, คุณNoppamas Bee, คุณtoor36, คุณlovereason, คุณSweet_pills, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณกะว่าก๋า, คุณชีริว, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณสองแผ่นดิน, คุณทูน่าค่ะ, คุณnonnoiGiwGiw, คุณ**mp5**


 
วันนี้ส่งการบ้านตะพาบ โหวตหมดเร็วมากครับ พรุ่งนี้มาใหม่นะครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 1 เมษายน 2565 เวลา:15:35:25 น.  

 
หวังว่าจะเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์
และเปิดโอกาสให้นักออกแบบรุ่นใหม่
ได้มีเวทีแสดงความสามารถกันนะครับพี่อุ้ม



ปล. ผมเองยังโดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์
โทรมาหาสามครั้งครับ
ฟังแป๊บเดียวผมก็กดสายทิ้งเลย



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 1 เมษายน 2565 เวลา:18:07:59 น.  

 
เป็นโครงการที่ดีครับ


โดย: SertPhoto วันที่: 1 เมษายน 2565 เวลา:20:48:15 น.  

 
เป็นโครงการที่ดีมากค่ะ


โดย: เจ้าหญิงไอดิน วันที่: 1 เมษายน 2565 เวลา:20:51:24 น.  

 

,เป็นโครงการที่ดีมากค่ะ


โดย: newyorknurse วันที่: 2 เมษายน 2565 เวลา:2:57:58 น.  

 
มาอ่าน/ดูภาพเรื่องเล่าครับ


โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 2 เมษายน 2565 เวลา:5:50:59 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่อุ้ม



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 เมษายน 2565 เวลา:7:25:11 น.  

 
ดีงาม


โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 2 เมษายน 2565 เวลา:8:10:49 น.  

 
ผลิตภัณฑ์ ท้องถิ่น หรือโอท็อปนี่ จริงๆของเรามีดีๆแยะเลยนะครับ แต่ชาวบ้าน เค้าไม่ได้ มีความรู้เรื่อง บรรจุภัณฑ์ ที่จะนำเสนอ

เดี๋ยวนี้สินค้า ถ้า packaging design ไม่ดี มักจะถูกมองข้ามไปแต่แรก ทำตลาดก็ลำบาก
ถ้าได้มีคนมาช่วยคิด ช่วยออกแบบพัฒนากันแบบนี้
สินค้าไทยต้อง ต่อยอดออกไปสู้กับของนอก ได้แน่นอนนะครับ



โดย: multiple วันที่: 2 เมษายน 2565 เวลา:9:19:09 น.  

 


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 2 เมษายน 2565 เวลา:9:57:16 น.  

 
สวัสดีค่ะน้องอุ้ม ขอบคุณมากที่ไปให้กำลังใจบล็อกตะพาบนะคะ

ตามมาชมโครงการดีๆที่ทำให้เด็กๆได้มีพลังสร้างเสริมสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สังคมโดยส่วนรวมและกลุ่มเพื่อนๆนะคะ

โหวตตะพาบค่ะ



โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 2 เมษายน 2565 เวลา:12:34:30 น.  

 
ผมรอดมาได้ยังไงก็ไม่รู้ครับพี่อุ้ม 555
นั่งจกส้มตำกับหมิง
นอนห้องเดียวกับมาดาม
ไมไ่ด้ใส่หน้ากากด้วย 555



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 เมษายน 2565 เวลา:13:33:30 น.  

 
เป็นกิจกรรมที่ยอดเยี่ยมมาก
ปรบมือให้ค่ะ


โดย: นกสีเทา วันที่: 2 เมษายน 2565 เวลา:16:14:16 น.  

 
เป็นกิจกรรมที่ดี เปิดโอกาสได้โชว์ของเต็มที่เลย


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 2 เมษายน 2565 เวลา:17:11:50 น.  

 
สวัสดีครับคุณอุ้ม

อย่างโลโก้รายการชนช้างกราฟิกผู้จัดเอง ก็ออกแบบได้สวยเลยครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจด้วยนะครับ


โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา วันที่: 2 เมษายน 2565 เวลา:20:43:41 น.  

 
วัตถุประสงค์ของกิจกรรมดีจังค่ะคุณอุ้ม
นำไปใช้ประโยชน์ได้จริงด้วย เยี่ยมมากค่ะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 2 เมษายน 2565 เวลา:23:57:33 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่อุ้ม



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 เมษายน 2565 เวลา:6:58:38 น.  

 
น้องๆสมัยนี้ไอเดียดีๆ และมี tools ต่างๆ มาช่วยทำผลงานได้ดีกว่ารุ่นก่อนๆมากเลยครับ


โดย: ชีริว วันที่: 3 เมษายน 2565 เวลา:10:19:19 น.  

 
ภาษาเหนือจะบอกว่า
ลายมือแบบผม คือ

"สามตัวคั่วแค"

คือ ตัวใหญ่มาก เต็มหน้ากระดาษไปหมดครับ 555


โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 เมษายน 2565 เวลา:13:26:03 น.  

 
สวัสดี จ้ะ น้องอุ้มสี
ตะพาบ เรื่อง เขาเล่ามา
ที่น้องอุ้มเล่ามาเป็นเรื่องดีมี
ประโยชน์มาก จ้ะ ส่งเสริม
ความสามารถของนักศึกษา
ได้แสดงความสามารถของ
ตนเองออกมา ถือเป็นโครงการที่ดี ควรส่งเสริม
มากเลยจ้ะ
โหวดหมวด ตะพาบ


โดย: อาจารย์สุวิมล วันที่: 3 เมษายน 2565 เวลา:14:38:04 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่อุ้ม



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 เมษายน 2565 เวลา:6:22:29 น.  

 
ผมมีลายเซ็นบางลายเซ็นที่เคยใช้
ใครเห็นก็งงครับพี่อุ้ม
เดี๋ยวพรุ่งนี้ลงให้ดูครับ 5555



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 เมษายน 2565 เวลา:14:07:56 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่อุ้ม



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 เมษายน 2565 เวลา:6:20:27 น.  

 
แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ


โดย: **mp5** วันที่: 6 เมษายน 2565 เวลา:11:06:09 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

BlogGang Popular Award#20


 
อุ้มสี
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 119 คน [?]






ผล BlogGang Popular Award #16
จากวันที่ 1 ม.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63
ขอบคุณนะคะที่โหวตให้อุ้มสี


ผล BlogGang Popular Award #15
จากวันที่ 1 ม.ค. 62 - 31 ธ.ค. 62
ขอบคุณนะคะที่โหวตให้อุ้มสี



ขอบคุณหัวใจ 266 ดวง
ที่แปะให้อุ้มตลอดเดือน ก.พ.60





ขอบคุณผลโหวต
BlogGang Popular Award # 12
ปี พ.ศ.2560


ขอบคุณหัวใจ 499 ดวง
ที่แปะให้อุ้มตลอดเดือน ก.พ.59


ขอบคุณผลโหวต
BlogGang Popular Award # 11
5 มีนาคม 2559



กิจกรรมในเดือนแห่งความรัก
ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2558
กราบขอบพระคุณทุกท่าน
แปะหัวใจให้ถึง 351 ดวง


ปี พ.ศ. 2558
BlogGang Popular Award # 10


ขอบคุณทุกคะแนนโหวตค่ะ
ซาบซึ้ง อบอุ่น ตื้นตัน



กิจกรรมในเดือนแห่งความรัก
ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2557
กราบขอบพระคุณทุกท่านค่ะ

คลิกที่นี่:: Interview .. the Blogger :: ~ อุ้มสี ~



ปี พ.ศ.2557
BlogGang Popular Award # 9
ขอบคุณทุกคะแนนโหวตค่ะ
ซาบซึ้ง อบอุ่น ตื้นตัน




ปี พ.ศ.2556
BlogGang Popular Award # 8
ขอบคุณทุกคะแนนโหวตค่ะ
ซาบซึ้ง อบอุ่น ตื้นตัน




Group Blog
 
<<
เมษายน 2565
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
1 เมษายน 2565
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add อุ้มสี's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.