บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
สิงหาคม 2557
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
24 สิงหาคม 2557
 

วิธีใช้ยากันแดด

.

ความเข้าใจผิด หรือความเชื่อฝังลึกแบบผิดๆ (myth) ในเรื่องยากันแดด คือ

.

(1). ไม่ต้องใช้ ถ้าแดดไม่แรง หรือเป็นคนผิวคล้ำ-ผิวดำ

คนที่มีผิวสีคล้ำหรือดำ มีแนวโน้มจะมองเห็นสีแดงจากผิวไหม้แดดน้อยลง

ทว่า... ยังมีความเสี่ยงจากผิวหนังเสื่อมสภาพ แก่เกินวัย หรือมะเร็งผิวหนังได้ จึงควรใช้ยากันแดด

.

(2). กลัวแพ้ยากันแดด

ยากันแดดชนิดที่ใช้สารเคมี อาจทำให้เกิดอาการแพ้ หรือคันได้ในบางคน (แต่ก็พบน้อย)

ส่วนยากันแดดที่มีผงโลหะผสม เช่น ผงสังกะสี (zinc oxide / ซิ้งค์ ออกไซด์), ผงไทเทเนียม (titanium dioxide / ไทเทเนียม ไดออกไซด์) ฯลฯ ชนิดทา เช่น โลชั่น ฯลฯ มักจะไม่ทำให้แพ้

.

.

(3). ไม่ทดสอบ

วิธีทดสอบยาทาที่นิยมใช้ คือ ซื้อขนาดเล็กมาก่อน

ทาลงบนผิวหนังด้านหน้าของแขนท่อนล่างบางๆ เป็นวงเล็กๆ ขนาดประมาณเท่าเล็บนิ้วก้อย ก่อนนอน

.

ใช้ปากกาลูกลื่น เขียนวงกลมหรือวงรีไว้รอบๆ

แล้วสังเกตตอนเย็นวันรุ่งขึ้นว่า แพ้หรือไม่

ถ้าไม่แพ้... ค่อยซื้อขนาดใหญ่ขึ้นมาใช้

.

(4). เสื้อผ้าดีกว่ายา

การสวมหมวกปีกกว้าง แว่นตา เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เพื่อปกปิดร่างกาย มักจะกันแดดได้ดีกว่ายากันแดด

ยากันแดดส่วนใหญ่จะต้องทาซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะถ้ามีเหงื่อออก หรือสัมผัสน้ำ

.

ถ้าจะเล่นน้ำ หรืออาบน้ำกลางแดด, ควรทาก่อนลงน้ำ 15-30 นาที

เพื่อให้สารกันแดด เกาะติดกับผิวหนังได้ก่อนสัมผัสน้ำ

ถ้าจะเล่นน้ำ หรือเล่นกีฬา-ออกกำลังกลางแดดแบบเหงื่อตก

ควรเลือกชนิดกันน้ำ (waterproof), หรือกันเหงื่อ (sweatproof)

.

(5). แต่งหน้า (makeup / เมคอัพ) แล้วไม่ต้องใช้ยากันแดด

ทุกวันนี้แดดแรงขึ้น... ยากันแดดควรใช้ขนาด (SPF) ระดับ 30 หรือมากกว่านั้น

.

เครื่องสำอางค์แต่งหน้า หรือเมคอัพส่วนใหญ่ กันแดดได้

แต่ไม่ถึงระดับ SPF = 30

.

.

(6). ยากันแดดดีเท่ากันทุกยี่ห้อ+ทุกขวด

ยากันแดดที่ดี ควรกันได้ทั้ง UVA & UVB (broad-spectrum = ออกฤทธิ์ป้องกัน UV ได้หลายระดับ)

.

คณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (US FDA) แนะนำให้ใช้ยากันแดดระดับ SPF = 15 ขึ้นไป

สถาบันแพทย์ผิวหนังสหรัฐฯ แนะนำให้ใช้ยากันแดดระดับ SPF = 30 ขึ้นไป

สารกันแดดที่ค่อนข้างทนแดดได้นาน คือ ผงโลหะซิ้งค์ หรือไทเทเนียม 

หรือสารกันแดดรุ่นใหม่ เช่น เฮลิโอเพล็กซ์ (Helioplex), เมอร็อกซิว เอสเอ็กซ์ (Meroxyl SX) ฯลฯ

.

(7). ไม่จำเป็นต้องใช้แว่นกันแดด

การใช้แว่นกันแดด ช่วยป้องกันผิวหนังรอบๆ ตาได้ดี

.

ป้องกันเลนซ์ตา (ถ้าโดน UV มากจะเพิ่มเสี่ยงต้อกระจก)

และจอรับภาพ หรือเรตินาในลูกตาจาก UV

แว่นกันแดดขนาดใหญ่มีแนวโน้มจะดีกว่าขนาดเล็ก

แบบขาแว่นกว้าง คล้ายแว่นกันแดดนักจักรยาน จะกัน UV เข้าตาทางด้านข้างได้ดีกว่าแบบขาแว่นเล็ก หรือผอม

.

(8). "เล่นหูเล่นตา (กับแดด)" + "เล่นปากเล่นคอ" กับแดด (UV)ได้เลย

คนส่วนใหญ่จะทายากันแดดทั่วตัว

แต่ลืมทายากันแดดที่ใบหู หนังหัว (โดยเฉพาะถ้าผมบาง ผมน้อย หรือผมสีอ่อน เช่น สีขาว ฯลฯ), ลำคอ

การใช้หมวกป้องกันหนังหัว แว่นกันแดดป้องกันตา-ผิวหนังรอบตา มักจะใช้ได้ผลดีกว่าการทายากันแดด

.

ส่วนใบหู + ลำคอนั้น... ควรทายากันแดดด้วย

และอย่าลืม... ทาลิปมัน (ลิปสติก) กันแดดที่ริมฝีปาก โดยเลือกยาระดับ SPF = 30 ขึ้นไป

.

.

(9). ปรึกษาเภสัชกร (ผู้รู้เรื่องยา) หรือหมอก่อนสัมผัสแดด... ถ้าใช้ยา

ยาปฏิชีวนะ (ฆ่าเชื้อแบคทีเรียก) ที่ใช้รักษาสิว คือ ดอกซีไซคลิน อาจทำให้เกิดการแพ้ยา หลังได้รับแสงแดดได้

.

ถ้าเป็นมะเร็ง และใช้ยาเคมีบำบัด... ผิวหนังจะบอบบาง แพ้แสงแดดง่าย [ breastcancer ]

ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดจ้าในระหว่างการรักษา ไปจนถึงหลังรักษา 1-2 เดือน (หรือมากกว่านั้นถ้าหมอที่รักษาท่านแนะนำ)

.

(10). ซื้อขวดใหญ่-ใช้ได้หลายปี

ยาทาสารพัดชนิด เช่น โลชั่น ครีม น้ำมันหรือออยล์ ฯลฯ มักจะมีวันหมดอายุ (expired date / EXP.)

ก่อนซื้อ... แนะนำให้เช็ควันหมดอายุเสมอ

และอย่าลืมว่า ยาทาส่วนใหญ่จะมีวันหมดอายุ "สั้นลง" หลังเปิดขวด โดยมักจะเหลือ 1 ปี หรือน้อยกว่านั้น

.

วิธีที่น่าจะดีสำหรับยาทา โลชั่น ครีม น้ำมันหรือออยล์ คือ 

ซื้อพอใช้ ไม่เกิน 1 ปี (หรือน้อยกว่านั้น ถ้าเภสัชกร หรือผู้รู้เรื่องยาแนะนำ)

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

Thank WebMD > //www.webmd.com/beauty/sun/sunscreen-myths

Thank nytimes > //well.blogs.nytimes.com/2014/08/22/ask-well-are-spray-on-sunscreens-safe/?src=me

Thank ConsumerReport > //www.consumerreports.org/cro/news/2011/07/don-t-spray-sunscreens-on-kids-at-least-for-now/index.htm

.




Create Date : 24 สิงหาคม 2557
Last Update : 24 สิงหาคม 2557 14:57:11 น. 0 comments
Counter : 1115 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com