บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
สิงหาคม 2557
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
10 สิงหาคม 2557
 

วิธีออกกำลังให้แข็งแรงเกินวัย+กระดูกไม่โปร่งบาง(พรุน)

ภาพ: ท่าบริหารกล้ามเนื้อโครงสร้าง = กล้ามเนื้อพยุงกระดูกสันหลังทางด้านหน้า-หลัง, ซ้าย-ขวา, รอบกระดูกสันหลัง 360 องศา

ทำดังภาพ จัดแนว" ไหล่-ลำตัว-สะโพก-ขา" ให้ตรงคล้ายไม้กระดาน (plank), หายใจเข้า-ออกช้าๆ, ค้างไว้ท่าละ 20-40 วินาที

อ.นพ.เกบ เมียคิน ตีพิมพ์เรื่อง "ทำอย่างไร__ แข็งแรงแบบคนอายุน้อยไป(อีก)นาน", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนเราแข็งแรงน้อยลงเร็ว คือ มวลกล้ามเนื้อคนเราลดลงตามอายุ 

อายุมากขึ้น เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ มวลกล้ามเนื้อน้อยลง

มวลกล้ามเนื้อที่น้อยลง

  • ทำให้อัตราการเผาผลาญกำลังงานลดลง
  • เพิ่มเสี่ยงน้ำหนักเกิน อ้วน น้ำตาลในเลือดสูง ไขมันหรือโคเลสเตอรอลในเลือดสูง

.

ถ้ามวลกล้ามเนื้อโครงสร้าง (core muscles) ที่พยุงกระดูกสันหลังด้านหน้า-หลัง, ซ้าย-ขวา หรือรอบตัว 360 องศาลดลง > จะเพิ่มเสี่ยง...

  • เคลื่อนไหวได้ช้าลง เชื่องช้า งุ่มง่าม ดูแก่เกินวัย > ถ้าเป็นนักกีฬา... โอกาสเป็นแชมป์โลกเกือบไม่มีเลย
  • พลิกตัว หรือลุกขึ้นลงจากเตียงได้ยาก

ผลรวม = เสี่ยงโรค "นอนติดเตียง (ลุกขึ้นนั่ง-ยืน-เดินไม่ได้)" เวลาอายุมาก หรือป่วยหนัก-ป่วยนาน

.

อายุที่มากขึ้น จะทำให้กล้ามเนื้อลดลง ทั้งมวลกล้ามเนื้อ (น้ำหนัก ปริมาตร) และความแข็งแรง

มวลกล้ามเนื้อ จะลดลงตามวัย (เฉลี่ย) ดังนี้ (อายุ)

  • 40-50 ปี > ลดประมาณ = 8%
  • หลัง 75 ปี > ลดประมาณ = 15%

.

.

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า คนที่ออกแรง-ออกกำลังน้อย มีแนวโน้มจะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อมาก และกลับบ้านเก่า (ตาย) เร็วขึ้น

คนสูงอายุที่เสียมวลกล้ามเนื้อมาก เพิ่มเสี่ยง...

  • เดินเองไม่ได้ > ต้องใช้เครื่องช่วยเดิน หรือเครื่องพยุง เช่น เครื่องพยุงเดิน 4 ขา (walkers) ฯลฯ มากขึ้น
  • เสี่ยงโรค "นอนติดเตียง" มากขึ้น 
  • น้ำหนักเกิน หรืออ้วนมากขึ้น

.

(ต่อ....)

  • หกล้มบ่อยขึ้น > เพิ่มเสี่ยงกระดูกหัก พิการหลังกระดูกหัก
  • ข้อเข่า-ข้อเท้าเสื่อม โรคหัวใจ กระดูกโปร่งบางหรือกระดูกพรุน มะเร็งเพิ่มขึ้น
  • น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เสี่ยงเบาหวานเพิ่มขึ้น
  • อายุสั้นลง

.

กล้ามเนื้อแต่ละมัดเกิดจากการรวมตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อ (muscle fibers) นับพันๆ จนถึงแสนๆ เส้นใย (หรือไฟเบอร์)

แต่ละเส้นมีเส้นประสาทไปเลี้ยง 1 เส้น (เพื่อให้หดตัวได้ คลายตัวได้)

เส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ ตายไปบางส่วนตามอายุที่มากขึ้น

ถ้าเส้นประสาทไปเลี้ยงเส้นใยกล้ามเนื้อเส้นใดตาย... กล้ามเนื้อนั้นจะเสื่อมสภาพ และทำงานต่อไปไม่ได้

.

กล้ามเนื้อหน้าขาท่อนบนตรงกลาง (vastus medialis) มีเส้นใยรวม = 800,000 เส้น = มีเส้นประสาทไปเลี้ยง 800,000 เส้นตอนอายุ 20 ปี

เส้นประสาทที่ลดลงตามวัย ทำให้เส้นใย หรือไฟเบอร์กล้ามเนื้อลดลงตามไปด้วย

เมื่ออายุ 60 ปี จะเหลือเส้นใย หรือไฟเบอร์กล้ามเนื้อ = 250,000 เส้น

= หายไป = 68.75% (มากกว่า 2/3), เหลือ = 31.25% (น้อยกว่า 1/3) ของตอนอายุ 20 ปี

.

ภาพ : ภาพล่างเป็นท่าสุริยนมัสการ = ไหว้พระอาทิตย์

การศึกษาเร็วๆ นี้พบว่า คนที่ฝึกท่านี้ มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น

กลไกที่เป็นไปได้ คือ การฝึกโยคะ มวยจีน ไทชิ-ชี่กง น่าจะมีการโน้มลำตัวไปทางโน้นทางนี้

การเกร็งกล้ามเนื้อต้านไว้ ไม่ให้ล้ม ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นได้มากในระยะยาว

ปัจจัยที่ทำให้กล้ามเนื้อเสื่อมเร็วมากเป็นพิเศษ คือ การไม่เคลื่อนไหว (inactivity)

เช่น กล้ามเนื้อในแขนขาที่ใส่เฝือก จะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อจำนวนมากไป ภายใน = 4 วันแรก

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ถ้าใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า ทำให้กล้ามเนื้อบางส่วนหดตัว-คลายตัวสลับกัน

จะลดลงการสูญเสียกล้ามเนื้อได้บ้างส่วน แต่ไม่ดีเท่ากับให้ออกแรง-ออกกำลัง

.

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การกินโปรตีน เช่น ถั่ว เนื้อ ไก่ ไข่ นม เมล็ดพืช เต้าหู้ โปรตีนเกษตร ฯลฯ "ไม่ช่วย" เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ

ทว่า... การออกแรง-ออกกำลังต้านแรง (resistance exercise) + อาหารครบทุกหมู่ ทำให้มวลกล้ามเนื้อในคนสูงอายุเพิ่มขึ้นได้

ตัวอย่างการออกกำลังต้านแรง คือ

  • เดินขึ้นลงเนิน ขึ้นลงบันได
  • ยกของ เช่น หิ้วถังน้ำรดน้ำต้นไม้ แทนการใช้สายยางฉีด ฯลฯ
  • ออกกำลังบริหารกล้ามเนื้อโครงสร้าง
  • ยกน้ำหนัก เล่นเวท กายบริหาร (บางท่า)

.

เส้นใย หรือไฟเบอร์กล้ามเนื้อมี 2 ชนิดใหญ่ได้แก่

(1). เส้นใยแบบหดตัวเร็ว (fast twitch fibers) > ทำหน้าที่สร้างแรงหนักๆ + ไม่นาน

เช่น วิ่งเร็วที่สุด 50 เมตร, ยกของหนักที่สุดทันที ฯลฯ

(2). เส้นใยแบบหดตัวช้า (slow twitch fibers) > ทำหน้าที่สร้างแรงเบาๆ นานๆ

เช่น เดินไม่เร็ว ไกลๆ ฯลฯ

.

กล้ามเนื้อที่เสื่อมเร็วตามวัย คือ กล้ามเนื้อแบบหดตัวเร็ว

ทำให้คนมีแรงน้อยลง เคลื่อนไหวช้าลง ตามวัยที่เพิ่มขึ้น

การศึกษาหนึ่ง ทำในกลุ่มตัวอย่างนักกีฬาที่ฝึกหนัก และเข้าร่วมการแข่งขันตลอดชีวิต (น่าจะเป็นนักวิ่ง จักรยาน) อายุเกิน 50 ปี

กลุ่มตัวอย่างฝึกหนัก 4-5 ครั้ง/สัปดาห์ พบว่า มวลกล้ามเนื้อ "ดีเกือบเท่า" คนอายุน้อย

.

.

การศึกษาอีกรายงานหนึ่ง ทำในนักวิ่งที่ฝึกหนัก + แข่งวิ่งตลอดชีวิต

พบว่า นักวิ่งที่อายุเกิน 60 ปี มีเส้นใย หรือไฟเบอร์กล้ามเนื้อ มาก = คนอายุ 25 ปี

นั่นคือ อายุกล้ามเนื้อ ต่ำกว่าอายุจริง = 35 ปี

การศึกษาที่ทำในหนูสูงอายุ หรือหนูแก่

.

นำคุณหนูแก่ไปฝึกวิ่งอย่างหนัก

พบว่า มีการสร้างเส้นใย หรือไฟเบอร์กล้ามเนื้อใหม่ หลังฝึกหนัก = 13 สัปดาห์

หนูบ้านมีอายุเฉลี่ย 1 ปี เนื่องจากมีสัตว์นักล่า เช่น แมว ฯลฯ

หนูที่ไม่ถูกล่า ส่วนใหญ่มีอายุ 2-3 ปี [ jax.org ][ wikipedia ]

.

อายุหนู 1 สัปดาห์ เทียบเท่าประมาณอายุคน = 30 สัปดาห์ (30 เท่า[ scilo.br ]

13 สัปดาห์หนู = 13*30 = 390 สัปดาห์ = 390/52 ปี = 7.5 ปี

สรุป คือ ถ้าเป็นคนสูงอายุที่ไม่ได้ออกแรง-ออกกำลังมานาน แล้วกลับมาฝึกออกกำลังต้านแรงหนักๆ ใหม่

แม้จะแข็งแรงขึ้นได้มาก + มวลกล้ามเนื้อใหญ่ขึ้นได้หลัง 6-8 สัปดาห์ (จำนวนเส้นใยเท่าเดิม แต่ขนาดเส้นใยใหญ่ขึ้น)

.

ภาพ: ท่า "ลุกขึ้นยืนสลับนั่ง" + "ท่ายืนเขย่งเท่าสลับยืนราบ" ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงด้วย เลือดลมไหลเวียนดีด้วย

ถ้าท่านนั่งนาน, ใช้ท่าเหล่านี้สลับการนั่งทุกๆ ชั่วโมง จะช่วยลดเสี่ยงโรค "นั่งนาน" ได้มาก

ทว่า... กว่าจะสร้างเส้นใย หรือไฟเบอร์กล้ามเนื้อใหม่ได้ อาจใช้เวลาเป็นปีๆ

ทางที่ดีกว่า คือ ออกแรง-ออกกำลังต้านแรงเป็นประจำ ตั้งแต่อายุน้อย

การศึกษาที่ทำในคนใส่เฝือก 5 วันขึ้นไป

พบว่า การกินโปรตีน (ถั่ว เนื้อ ไก่ ไข่ นม ฯลฯ) ไม่ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ

.

คนเราจะเพิ่มมวลกล้ามเนื้อได้ จะต้อง จะต้องฝึกออกกำลังต้านแรง + กินโปรตีนให้มากพอ ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 6-8 สัปดาห์ขึ้นไป

ถ้าเป็นคนสูงอายุ ต้องขอฝึกนานขึ้น + กินโปรตีนมากพอนานขึ้น

จึงจะเพิ่มมวลกล้ามเนื้อได้ คล้ายกับคนอายุน้อย

การกินโปรตีน + คาร์โบไฮเดรต (ข้าว แป้ง น้ำตาล) หลังออกแรง-ออกกำลัง = 1/2-17 ชั่วโมง จะได้ผลดีกว่าเวลาอื่นๆ

.

กลไกที่เป็นไปได้ คือ หลังออกแรง-ออกกำลังใหม่ๆ, กล้ามเนื้อจะ "หิว" น้ำตาล + โปรตีนมากเป็นพิเศษ

และดึง "น้ำตาล + โปรตีน" เข้าเซลล์ได้ โดยไม่ต้องพึ่งอินซูลิน (ฮอร์โมนที่ทำให้น้ำตาลเข้าเซลล์ได้)

กล้ามเนื้อจะดึงน้ำตาลเข้าเซลล์ได้ดีที่สุดตอนออกกำลัง (มากกว่าหลังออกกำลัง 1/2-17 ชั่วโมง)

อาหารที่ดีมากๆ หลังออกแรง-ออกกำลังใหม่ๆ ได้แก่ อาหารที่มีโปรตีน + คาร์บ (ข้าว-แป้ง-น้ำตาล)

  • นมถั่วเหลือง
  • นมจืด หรือนมจืดไขมันต่ำ
  • ถั่วต้ม เช่น ถั่วแดงหลวงต้ม ฯลฯ หรือเมล็ดพืช เช่น อัลมอนด์ ฯลฯ + ส้ม (หรือผลไม้อย่างอื่น)

.

.

การออกแรง-ออกกำลังต้านแรง หรือออกกำลังหนัก จะทำให้เส้นใย หรือไฟเบอร์กล้ามเนื้อฉีกขาดบางส่วน

จะทำให้เรามีอาการปวดเมื่อย 8-24 ชั่วโมง

ช่วงนี้... ร่างกายจะทำการซ่อมแซม 24-48 ชั่วโมง ทำให้ได้เส้นใยใหม่ที่หนาขึ้น แข็งแรงขึ้น

จึงมีคำแนะนำทั่วไปว่า น่าจะออกแรง-ออกกำลังต้านแรง หรือแบบ "หนักวันเว้นวัน" หรือแบบ "หนักวัน(สลับ)เบาวัน" มากกว่า "หนักเท่ากันทุกวัน"

.

การศึกษาใหม่พบว่า วิธีออกแรง-ออกกำลังที่ทำให้แข็งแรงขึ้น มวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ในคนวัยต่างๆ ไม่เหมือนกัน คือ

(1). คนอายุน้อย > เพิ่มแรงต้าน หรือน้ำหนัก = ยกของหนักมาก - ในเวลาสั้นๆ ดีกว่า

= เน้นความหนัก

(2). คนอายุมาก > เพิ่มเวลายกน้ำหนัก = ยกของหนักปานกลาง (ไม่หนักมาก) - ในเวลานานหน่อย ดีกว่า

= เน้นความนาน

.

ท่านที่ไม่มีโรคประจำตัว เช่น ไม่มีโรคหัวใจ ฯลฯ + ไม่มีความเสี่ยงต่อโรคสูง น่าจะปรึกษาหารือกับหมอใกล้บ้าน เลือกหมอที่มองโลกในแง่ดี โดยเฉพาะหมอที่สนับสนุนการออกแรง-ออกกำลังก่อน 

ฝึกจากเบาไปหาหนัก ไม่หักโหม

เน้นการใส่รองเท้าผ้าใบ ฝึกเดินสะสมเวลา (ไม่จำเป็นต้องเดินรวดเดียวต่อเนื่อง) ให้ได้ = 40 นาที/วัน + ขึ้นลงเนิน หรือขึ้นบันไดตามโอกาส (ถ้าไม่มีข้อเข่าเสื่อมแบบแรง)

พอแข็งแรงขึ้น 1-2 เดือนแล้ว ให้ฝึกเดินเร็วมากๆ เพิ่มขึ้นทีละน้อย จนถึงเร็ว 75-100 ก้าว/นาที ขึ้นไป 10 นาที/วัน

.

ทำอย่างนี้ให้ได้ 1-2 เดือนแล้ว ค่อยๆ เพิ่มการออกแรง-ออกกำลังต้านแรงเข้าไป

วิธีออกกำลังต้านแรงที่ดี คือ เลือกน้ำหนักที่ยกได้ประมาณ 10 ครั้ง/ยก (set/เซ็ต) หมดแรงพอดี

ทำแบบนี้ 3 ยก หรือ 3 เซ็ต, พักระหว่างยก 1 นาที 

ช่วงพัก, ควรเน้นเดินไปมา ไม่ใช่นั่งนิ่งๆ เฉยๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียนดี

.

ถ้าน้ำหนักหรือแรงต้านมากเกิน... คนเรามักจะยกได้ไม่ถึง 10 ครั้ง

และปวดเมื่อยรุนแรงเกิน 1 วัน

แบบนี้ น่าจะลดระดับการฝึกลง

ตรงกันข้าม...

.

ถ้าน้ำหนักหรือแรงต้านน้อยเกิน... คนเรามักจะยกได้เกิน 10 ครั้ง

และหลังฝึก มักจะไม่ปวดไม่เมื่อยใน 1 วันแรก

แบบนี้ น่าจะเพิ่มระดับการฝึกขึ้น

อย่าลืมเลือกรูปแบบการออกแรง-ออกกำลังที่ท่านชอบ

.

เพราะการออกแรง-ออกกำลังจะดีเท่าไร

ถ้าไม่ชอบก็จะดีไปได้ไม่นาน

ไม่เหมือนกับรูปแบบที่ท่านชอบ

.

สรุป คือ ถ้าไม่ออกแรง-ออกกำลังต้านแรงเลย

ท่านจะเสียโอกาสอายุยืนอย่างมีคุณภาพ

เสี่ยงที่จะเป็นโรค "นอนติดเตียง" + มีโรคมาก

คนส่วนใหญ่ออกกำลังต้านแรงได้ โดยการเดินขึ้นลงเนิน ขึ้นลงบันได + บริหารกล้ามเนื้อโครงสร้าง 

.

และอย่าลืมว่า ห้ามกลั้นหายใจตอนออกแรง-ออกกำลัง

ให้หายใจเข้าช้าๆ ออกช้าๆ ไว้เสมอ

ถ้ากลั้นหายใจจะเสี่ยงความดันเลือดสูง ซึ่งอาจทำให้หลอดเลือดสมองแตกได้

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

Thank Dr.Gabe Mirkin's ezine//drmirkin.com/fitness/preventing-loss-of-muscle-with-aging.html

.




Create Date : 10 สิงหาคม 2557
Last Update : 10 สิงหาคม 2557 9:41:53 น. 3 comments
Counter : 2181 Pageviews.  
 
 
 
 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ดอยสะเก็ด Literature Blog ดู Blog
Opey Art Blog ดู Blog
เนินน้ำ Food Blog ดู Blog
ฝากเธอ2 Blog about TV ดู Blog
นพ.วัลลภ Health Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

มีประโยนช์มากๆ
แวะมาทักทายครับ
 
 

โดย: puzzles (เตยจ๋า ) วันที่: 13 สิงหาคม 2557 เวลา:8:14:45 น.  

 
 
 
`



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
นพ.วัลลภ Health Blog ดู Blog
 
 

โดย: newyorknurse วันที่: 17 สิงหาคม 2557 เวลา:17:11:00 น.  

 
 
 
ขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกๆท่านเช่นกันครับ...
 
 

โดย: นพ.วัลลภ วันที่: 24 สิงหาคม 2557 เวลา:14:58:57 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com