บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
ตุลาคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
13 ตุลาคม 2556
 

อยู่เวร+ทำงานกะ(บ่าย ดึก)____เสี่ยงสมองเสื่อมไหม

สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง "อยู่เวร + ทำโอ (OT = ทำงานล่วงเวลา)

  • [ overtime ] > [ โอ๊ _ เว่อ _ ถ่าย _ อึ่ม (เสียงพ่นลม เบา สั้น); ให้ออกเสียงท้ายคำเร็วๆ จนเสียงคล้าย "โอ๊ _ เว่อ _ ถ่าม" ] > //www.thefreedictionary.com/overtime > noun = (การ)ทำงานล่วงเวลา (บ่าย ดึก ฯลฯ)
  • [ work shift ] = ทำงานเป็นกะ แบบงานในโรงงาน ค่ายทหาร รปภ. โรงพยาบาล (เช้า บ่าย ดึก ฯลฯ)
  • [ night shift ] = เวรดึก กะดึก

การศึกษาใหม่ ทำในกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงวัยกลางคนที่ทำงานกะดึก หรือเวรดึก (night shifts)

ศึกษาผลกระทบต่อความสามารถในการคิด (thinking skills)

.

ผลการศึกษาพบว่า การทำงานกะดึก หรือเวรดึก ไม่เพิ่มเสี่ยงสมองเสื่อมในระยะยาว (no long-term impairment) ทั้งด้านความจำ และความสามารถในการคิด-ตัดสินใจ

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การทำงานเป็นกะ (work shifts) หรืออยู่เวร ทำให้นาฬิกาธรรมชาติ (circadian rhythms) ที่บอกเวลากลางวัน-กลางคืนตีรวน

การศึกษาใหม่ ทำโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาสุขภาพพยาบาล (Nurses' Health Study)

รวมกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงที่ทำงานกะดึก หรือเวรดึกในช่วงอายุ 58-68 ปี มากกว่า 16,000 คน ซึ่งทำติดต่อกันมาหลายสิบปี เริ่มตั้งแต่ปี 1976/2519

.

กลุ่มตัวอย่างทำงานทั้่งกะเช้า (regular day shifts), กะบ่าย (evening shifts), แถมยังอยู่เวรดึก (night shifts) อย่างน้อย 3 เวร/เดือน

ทำการทดสอบสมรรถภาพสมอง ทั้งด้านความคิดอ่าน และความจำในกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป

กลุ่มตัวอย่าง "สว. (สูงวัย)" = 70up = 70 ปีขึ้นไป

  • มากกว่า 6,000 คนไม่เคยอยู่เวรบ่าย-ดึก, ทำงานเฉพาะตอนกลางวันตลอด
  • 1,000 คนอยู่เวรบ่าย-ดึก อย่างน้อย 20 ปี (นับย้อนหลังตั้งแต่เริ่มเป็นพยาบาล)

.

การศึกษานี้พบว่า พยาบาลผู้หญิงที่อยู่เวรดึกหลายๆ ปี มีระดับการศึกษาต่ำกว่า

เช่น จบอนุปริญญา ฯลฯ มากกว่าพยาบาลที่ "ลอยเช้า" หรือไม่อยู่เวร (เช่น จบปริญญาตรีขึ้นไป ฯลฯ)

พยาบาลผู้หญิงที่อยู่เวรดึกมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยมากกว่าคนที่ไม่อยู่เวร ซึ่งอาจเป็นผลจากการอดนอน ทำให้หิวอาหารกลุ่ม "หวาน-มัน-เค็ม" มากกว่าคนที่ไม่อดนอน

.

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การอยู่เวร หรือทำงานเป็นกะ (shift work) เพิ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง เช่น

  • มะเร็ง
  • โรคหัวใจ
  • น้ำหนักเกิน-โรคอ้วน
  • เบาหวานชนิดที่ 2  (พบมากในผู้ใหญ่ และเด็กอ้วน)

.

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า คนที่ทำงานเป็นกะ หรือเข้าเวรบ่าย-ดึก ควรระวังการขับขี่ และการใช้เครื่องจักรกลต่างๆ มากเป็นพิเศษ

เนื่องจากภาวะอดนอนเพิ่มเสี่ยงอุบัติเหตุ และเสี่ยง "หลับใน" มากขึ้น

.

ท่านที่อยู่เวร หรือทำงานเป็นกะ ควรใส่ใจสุขภาพดังนี้

(1). เตรียมอาหารสุขภาพก่อนไปทำงาน หรือเข้าเวร-เข้ากะ

เน้นลด "หวาน-มัน-เค็ม", หลีกเลี่ยงอาหารทอด-ฟาสต์ฟูด-อาหารซื้อ

อาหารกลุ่มสลัด ต้ม นึ่ง แกงน่าจะดีที่สุด, อาหารผัดดีรองลงไป

อาหารทอด-ปิ้ง-ย่าง-เนื้อสำเร็จรูป เช่น ไส้กรอก หมูหยอง หมูแผ่น หมูยอ ฯลฯ แย่ที่สุด

.

(2). นอนชดเชยให้พอ

เน้นเข้านอนให้เร็วขึ้น ตื่นตรงเวลา ก่อนและหลังวันเข้าเวร

(3). สวมหมวกกันน็อค หรือคาดเข็มขัดนิรภัยตอนขับรถทุกครั้ง

(4). เมาไม่ขับ + ง่วงไม่ขับ

.

(5). ไม่สูบบุหรี่ + ไม่หายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่่นสูบเข้าไป

และอย่าลืม... ไม่เผาขยะ-ใบไม้, ไม่จุดธูปในที่อับอากาศ ไม่ใช้ฟืนในบ้าน

(6). ไม่ดื่มหนัก

(7). ไม่ไปงานเลี้ยงบ่อย

ยิ่งไปงานเลี้ยง อบรม สังสันทน์ หรือแม้แต่งานอื่นๆ เช่น งานศพ ฯลฯ บ่อย, ยิ่งเสี่ยงอ้วน

.

พยาบาลในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เกิดในยุคเบบี้บูม (1946-1964/2489-2507) = 50up = 50 ปีขึ้นไป กำลังทยอยกันเกษียณอย่างรวดเร็ว

ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า ประเทศที่ผลิตพยาบาลได้มาก โดยเฉพาะฟิลิปปินส์ มีความได้เปรียบประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะการเข้าไปทำงานในทุกประเทศที่ขาดพยาบาล

กราบเรียน เรียนเสนอรัฐบาล โปรดรีบเพิ่มการผลิตพยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยดูแลคนสูงอายุ-คนไข้-เด็ก หมอฟัน นักบัญชี นักบิน หมอ และสาขาที่จบมาแล้วมีงานทำ เพื่อเป็นขวัญ เป็นกำลังใจ เป็นโอกาสให้เด็กไทย

รัฐบาลไหนทำได้ (เพิ่มการผลิตสาขาที่จบมาแล้วมีงานทำ)... รัฐบาลนั้นจะมีโอกาสชนะการเลือกตั้งสูง

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

ขอขอบพระคุณสำนักข่าวรอยเตอร์ / Thank Reuters & source by Reuters > SOURCE: American Journal of Epidemiology, online September 27, 2013.




Create Date : 13 ตุลาคม 2556
Last Update : 13 ตุลาคม 2556 9:08:44 น. 0 comments
Counter : 2410 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com