บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
สิงหาคม 2557
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
1 สิงหาคม 2557
 

น้ำดื่ม ATM... ไอเดียดีจากอินเดีย

.

.

วิดีโอ 1: ภาพตู้ ATM จ่ายน้ำสะอาดในเดลลี เมืองหลวงอินเดีย

.

ภาพ 1: แผนที่อินเดีย (รูป 4 เหลี่ยมตะแคง คล้ายว่าวลอยลม)

  • มีส่วนยื่นออกไปทางตะวันออก, ใต้ส่วนยื่น คือ บังคลาเทศ (บังลา)
  • ประเทศที่อยู่ทางเหนือของอินเดีย คือ เนปาล ภูฏาน

คนไทยไปอินเดียเพื่อกราบนมัสการสังเวชนียสถาน ณ รัฐพิหาร (= วิหาร) + อุตตรประเทศ (= อุดร/เหนือ, คล้ายๆ จังหวัดอุดรธานี) ปีละหลายหมื่นคน 

รัฐพิหาร + อุตตรประเทศ อยู่ใกล้เนปาล

กรุงเดลลีอยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย (จุดสีส้ม มีสีขาวด้านใน)

.

ภาพ 2: แผ่นกรองน้ำระบบออสโมซิสกลับทิศ (reverse osmosis / RO) เป็นแผ่นที่มีรูพรุนขนาดจิ๋ว เหนียวบาง สลับกับตะแกรงหลายชั้น พันทับซ้อนกัน

การพันทับซ้อน จะทำให้ท่อๆ เดียว กรองได้หลายครั้ง = จำนวนชั้นที่พันทับซ้อนกัน

.

ภาพ 2: แผ่นกรองน้ำระบบรีเวิร์ส ออสโมซิส (RO) เริ่มจากการนำน้ำที่มีเกลือ หรือสารละลายสูง เช่น น้ำทะเล ฯลฯ มาผ่านทางด้านนอกของท่อ

ท่อนี้มีแผ่นกรอง RO หลายชั้น

แรงด้นด้านนอกที่สูง (อาจใช้ปั๊มพ์แรงดันสูงช่วย) จะทำให้น้ำซึมผ่านแผ่นกรอง RO หลายชั้น

และมีสารละลายน้อยลงไปทีละชั้นๆ

ในที่สุดจะได้น้ำจืด RO = น้ำจืดเกือบบริสุทธิ์ น้องๆ น้ำกลั่น ใช้ดื่มได้ ทางด้านใน (ท่อสีฟ้า มีรูหยดน้ำไหลออก)

.

ภาพ 3: ภาพซ้าย = ออสโมซิสทั่วไป (osmosis) > น้ำจะไหลผ่านแผ่นกรองที่ยอมให้น้ำ "ซึมผ่านได้บางส่วน (semipermeable membrane)" โดยมีทิศทางการไหลจากด้านน้ำบริสุทธิ์ (น้ำจืด) ไปยังด้านที่มีสารละลายเข้มข้นกว่า (น้ำเค็ม)

ภาพซ้ายสุด > ด้านซ้าย = น้ำจืด, ด้านขวา = น้ำเค็ม

ถ้าทิ้งไว้นานพอ > น้ำจืด จะซึมไปหาน้ำเค็ม

ได้สารละลาย 2 ด้านที่มีความเข้มข้นใกล้เคียงกัน (ภาพซ้าย)

.

ภาพขวา = ออสโมซิสกลับทิศ (reverse osmosis / RO) > ถ้าเราเพิ่มแรงดันด้านสารละลายที่มีความเข้มข้นสูงกว่ามากขึ้นเรื่อยๆ

ถึงจุดหนึ่งจะเกิดการไหลของน้ำ ผ่านแผ่นกรอง RO แบบกลับทิศ จากด้านที่มีสารละลายเข้มข้นกว่า (น้ำเค็ม) > ไปสู่ด้านที่มีสารละลายเจือจางกว่า (น้ำจืด)

= ทำให้ได้ "น้ำใหม่" ที่มีความเข้มข้นสารละลายต่ำมาก = น้ำจืด RO ทางด้านซ้ายมือ

ถ้าทำอย่างนี้หลายๆ รอบ ผ่านการพันแผ่นกรอง RO ซ้อนทับกัน (ดังภาพ 1-2)

จะทำให้ได้น้ำสะอาดที่ "เกือบบริสุทธิ์" = น้ำ RO

.

.

ภาพ 4: ภาพซ้ายสุด = ออสโมซิสทั่วไป / ออสโมซิสทางตรง (direct osmosis) > น้ำจะซึมผ่านแผ่นกรอง RO จากด้านที่มีความเข้มข้นต่ำกว่า หรือน้ำจืด (สีฟ้าจาง) ไปด้านที่มีความเข้มข้นสูงกว่า หรือน้ำเค็ม (สีฟ้าเข้ม)

เช่น จากน้ำจืดไปทางด้านน้ำเค็ม ฯลฯ

ถ้าทิ้งไว้นานพอ > จะได้สารละลายที่มีความเข้มข้นเท่ากัน 2 ด้าน (สีเข้มเท่ากันในภาพกลาง)

ภาพขวาสุด = ออสโมซิสกลับทิศ (reverse osmosis / RO) > มีการเพิ่มแรงดันด้านที่สารละลายมีความเข้มข้นสูงกว่า จะทำให้เกิดการซึมผ่านของน้ำกลับทิศ

.

เช่น จากด้านน้ำเค็มไปทางด้านน้ำจืด ฯลฯ

ถ้าทิ้งไว้นานพอ > จะได้น้ำกรอง RO ที่สะอาดน้องๆ น้ำกลั่น = น้ำดื่ม RO

ทุกวันนี้มีการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล และทำการบำบัดน้ำให้สะอาดขึ้น ผ่านกระบวนการ RO ในหลายประเทศ

เช่น สิงคโปร์ ซาอุดีอาระเบีย ฯลฯ

สำนักข่าว BBC นำเสนอเรื่อง "ATM น้ำสะอาด__ ไอเดียดีๆ จากอินเดีย", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

เดลลีเป็นเมืองหลวงของอินเดีย แถมยังมีประชากรระดับ 11M = 11 ล้านคนขึ้นไป [ ปี 2011/2554 - wikipedia ]

ปัญหาเรื้อรังของเดลลี คือ น้ำสะอาดไม่พอ 

ทำให้ผู้คนต้องพากันซื้อน้ำสะอาดไว้ดื่ม ไว้หุงหาอาหารในราคาแพง

.

จึงมีการทดลองทำตู้ ATM น้ำดื่ม

เพียงวางถังน้ำไว้ให้เข้าที่เข้าทาง

แตะบัตรกับเครื่อง

จะได้น้ำตามโควต้า 20 ลิตร/คน/วัน = ประมาณ 1 ถังน้ำขาวขุ่น

.

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า

โรงเรียนที่ส่งเสริมสุขภาพ จัดให้มีน้ำดื่มสะอาดมากพอ

อาจช่วยลดการดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มเติมน้ำตาลให้น้อยลงได้

วิธีที่น่าทำ คือ โรงเรียนสุขภาพ โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีเด็กแรงดี ตีกันบ่อย

.

อาจทำบัตรสุขภาพคล้ายๆ กับของอินเดีย

เด็กคนไหนดื่มน้ำสะอาดต่อหน้า 1 แก้ว

ให้รูดบัตร เก็บคะแนนสุขศึกษาสะสมไปเลย

เด็กคนไหนอยากได้คะแนนมากกว่านั้น

.

ให้ไปปั่นจักรยานออกกำลัง 20-30 นาทีขึ้นไป

ครบเวลาแล้วได้คะแนนพลศึกษาไปเลย

ถ้าจะให้ดีขึ้น, น่าจะนำไปปั่นไฟฟ้าไว้ใช้ด้วย

จะทำให้คนรุ่นใหม่เข้าใจซึ้ง ถึงคุณค่าของพลังงานว่า สร้างใหม่ยากเพียงไร

.

สถาบันการศึกษาที่มีจักรยานให้ใช้

อาจติดชิพ (chips) แล้วให้นักศึกษารูดบัตร

ถ้าปั่นได้เท่านั้นเท่านี้กิโลฯ ต่อสัปดาห์

รับคะแนนพลศึกษาไปฟรีๆ เลย

.

สถาบันการศึกษาอาจให้คะแนน "ลงมือทำดี" แบบนี้กับกิจกรรมอื่นๆ ได้มากมาย

เช่น บริจาคเลือดแถมคะแนนสุขศึกษา

เช่น ทำงานอาสาสมัครได้คะแนนพลศึกษา หรืออะไรก็ได้

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

Thank BBC & YouTube > https://www.youtube.com/watch?v=ahh4coSh8ec

.




Create Date : 01 สิงหาคม 2557
Last Update : 1 สิงหาคม 2557 12:50:17 น. 0 comments
Counter : 917 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com