บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
กรกฏาคม 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
29 กรกฏาคม 2557
 

ปัจจัยเสี่ยง___ การเมือง(ปั่น)ป่วน

.

.

นิตยสาร "ดิ อีโคโนมิสต์" วิเคราะห์ไว้เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2011/2554 ว่า 

ปัจจัยที่มีผลต่อความปั่นป่วนใน "โลกอาหรับ" มี 5 ปัจจัยได้แก่

.

(1). years in power

= จำนวนปีที่ (จอมเผด็จการ) อยู่ในอำนาจ

ไม่ว่าจะเป็นเผด็จการแบบบุคคล,​ คณะบุคคล หรือสถาบันใด

ยิ่งครองอำนาจนาน, ยิ่งเพิ่มโอกาสสังคมปั่นป่วน

.

กลไกที่เป็นไปได้ คือ ยิ่งอยู่นาน ยิ่งเกิดกลุ่มอิทธิพล หรือกลุ่มอภิสิทธิ์ชน (elite) = "คนพิเศษกลุ่มน้อย"

ทำให้คนที่ "ไม่พิเศษกลุ่มใหญ่" เสียโอกาสในการศึกษา ทำมาหากิน และอะไรๆ อีกหลายอย่าง

ความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ทำให้คนกลุ่มใหญ่ไม่พอใจ

ความไม่พอใจ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

.

(2). population under 25, % of total

= ร้อยละของประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี (จากทั้งหมด)

คนอายุน้อยรุ่นใหม่ มีโอกาสดู TV (ภาพยนต์ ข่าวต่างประเทศ ฯลฯ) + ใช้อินเตอร์เน็ต + ได้ฟังเรื่องราวจากคนที่ไปทำงานต่างประเทศ_อพยพไปต่างประเทศ

ทำให้อยากเห็นบ้านเมือง (อาหรับ) เจริญแบบโลกตะวันตกบ้าง

.

ความกดดันนี้จะเพิ่มขึ้น ถ้าคนอายุน้อย "ตกงาน"

ความกดดันจากการตกงานในโลกอาหรับมีความรุนแรงสูงกว่าส่วนอื่นของโลก

เนื่องจากธรรมเนียมของที่นั่น ไม่นิยมให้ผู้หญิงทำงานนอกบ้าน

ผู้ชายอาหรับที่จะเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดีได้... จะต้องมีรายได้มากพอที่จะจัดงานแต่งงาน

.

แต่งงานแล้ว ฝ่ายผู้หญิงจะทำหน้าที่แม่บ้าน + มีลูก (มากๆ)

หัวหน้าครอบครัว (อาหรับ) ที่ดี จะต้องมีงาน (ที่ดี) ทำ จึงจะเลี้ยงครอบครัวลูกดกได้

.

(3). population under 25, million

= ประชากรอายุต่ำกว่า 25 ปี อย่างน้อย 1 ล้านคนขึ้นไป

ถ้ามีคนอายุน้อยมากพอ จะขับเคลื่อนการประท้วงใหญ่ได้ง่ายขึ้นมาก

.

(4). GDP (ผลผลิตประเทศ)

ประเทศอาหรับที่มีการเมืองนิ่ง จะต้องมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่

ใหญ่พอที่จะทำให้คนในประเทศมีงาน (ที่ดี) ทำ

แถมผลผลิตประเทศ หรือเศรษฐกิจจะต้องโตขึ้นเฉลี่ยทุกปี

.

เพื่อรองรับอัตราการเพิ่มของประชากรในวัยทำงานได้

(ถ้าเศรษฐกิจโตไม่พอ หรือไม่โตขึ้น,​ จะทำให้สัดส่วนคนว่างงานเพิ่มขึ้น)

สัดส่วนคนว่างงานประเทศใด, สูงเกิน 10%

ประเทศนั้นจะเริ่มเสี่ยงการเมืองไม่นิ่ง

.

(5). ระบอบประชาธิปไตย

ประเทศใดมีการปกครองแบบประชาธิปไตยในระดับสูง

ประเทศนั้นมักจะมีการเมืองนิ่ง

ประเทศใดมีการปกครองแบบประชาธิปไตยในระดับต่ำ หรือมีความเป็นเผด็จการสูง

ประเทศนั้นมักจะมีการเมืองไม่นิ่ง

.

(6). คอรัปชั่น_โกงกิน

ประเทศใดมีอัตราการคอรัปชั่น โกงกินสูง,

ประเทศนั้นมักจะมีการเมืองไม่นิ่ง

ประเทศที่เข้าสูตรนี้ค่อนข้างมาก คือ อินเดีย

.

อินเดียเป็นประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยสูง

แต่การเมืองไม่นิ่ง

เนื่องจากเป็นประชาธิปไตยแบบ "ไส้กลวง"

ยังไม่เลิกการแบ่งชนชั้นวรรณะ + มีการคอรัปชั่นสูง

.

(7). press freedom

= เสรีภาพของสื่อมวลชน

ประเทศที่สื่อมวลชน ทั้งรูปแบบเดิม เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์​ ฯลฯ

และรูปแบบดิจิตอล เช่น การแสดงความคิดเห็นผ่านอินเตอร์เน็ต สำนักข่าวออนไลน์ บล็อกเกอร์ ฯลฯ

.

ประเทศใดที่สื่อมวลชนมีเสรีภาพต่ำ ถูกควบคุมเข้มงวด แสดงความคิดเห็นไม่ได้

ประเทศนั้นจะเสี่ยงการเมืองไม่นิ่งในระยะยาว

นิตยสาร "ดิ อีโคโนมิสต์" วิเคราะห์ดัชนีชี้วัด หรือปัจจัยเสี่ยง "บ้านเมืองป่วน" ของโลกอาหรับไว้ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2011/2554 = 2 ปี 5 เดือน ว่า ประเทศอาหรับที่น่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือบ้านเมืองป่วนมากที่สุดได้แก่

  • (1). เยเมน
  • (2). ลิเบีย
  • (3). ซีเรีย
  • (4). อิรัก
  • (5). อียิปต์

.

ตรงกันข้าม,​ ประเทศที่มีสัดส่วนคนอายุน้อยต่ำ มีจำนวนคนอายุน้อยต่ำ เศรษฐกิจดี มีแนวโน้มจะมีบ้านเมืองป่วนน้อยได้แก่

  • (1). กาตาร์
  • (2). คูเวต
  • (3). ยูเออี หรือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 
  • (4). เลบานอน
  • (5). บาห์เรน

.

การสำรวจเร็วๆ นี้พบว่า อัตราการว่างงานในโลกอาหรับสูงมากที่ชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา

อัตราการว่างงานที่นั่นสูงกว่า 40%

ก่อนหน้านี้มีการนำแผนที่อากาศ (อุตุนิยมวิทยา) ย้อนหลังมาใช้พยากรณ์ว่า

ประเทศใดจะเกิดความไม่สงบ

.

ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศพบว่า

ปรากฏการณ์ฝนแล้ง_ฝนทิ้งช่วง มีส่วนเพิ่มความไม่สงบ หรือเปลี่ยนแปลงการปกครอง

เช่น ภัยแล้งเริ่มในรัสเซีย ทำให้รัสเซียงดส่งออกข้าวสาลีที่ใช้ทำขนมปัง 1 ปี

ทำให้ราคาข้าวสาลีในตลาดโลกสูงขึ้น

.

ราคาอาหารที่สูงขึ้น เพิ่มเงินเฟ้อ

และมีส่วนในการเกิด "อาหรับสปริง" ในเขตซะฮารา

ซะฮารา = เขตแขกขาว หรืออาหรับในอาฟริกาตอนบนสุด

ต่างจากซับซะฮารา = เขตคนดำ หรืออาฟริกันแท้ในทวีปอาฟริกา

.

ปรากฏการณ์ฝนทิ้งช่วง 2 ปีเศษ

เกิดก่อนประเทศอิรักแตก

กลุ่ม ISIL/ISIS ยึดอำนาจได้

และตั้งประเทศ "คอลีฟะ" ใหม่ ระหว่างซีเรียกับอิรัก

.

เรื่องนี้บอกเป็นนัยว่า 

ถ้าเราอยากให้การเมืองนิ่งขึ้น... 1 ในเรื่องที่น่าทำที่สุด คือ ทำการศึกษาแบบที่ "จบมาแล้วมีงานทำ"

.

แทนที่เราจะผลิตสาขาที่จบมาแล้วไม่มีงานทำ เป็นหมื่น เป็นแสนคนต่อปี

เราน่าจะเพิ่มการผลิตสาขาที่จบมาแล้วมีงานทำ คือ

  • (1). พยาบาล
  • (2). ผู้ช่วยพยาบาล
  • (3). หมอฟัน
  • (4). หมอ
  • (5). นักบิน
  • (6). นักบัญชี
  • (7). ช่าง_อาชีวะ (สาขาขาดแคลน)
  • (8). วิศวกร_สถาปนิก (สาขาขาดแคลน)

ถ้าเพิ่มการผลิตสาขาที่จบมาแล้วมีงานทำ จะทำให้เด็กรุ่นใหม่มีขวัญ​ มีกำลังใจ

มีความหวัง มีพลังคิดไปถึงอนาคต

เมื่อคนรุ่นใหม่มีงานทำ จะไม่ว่างงาน

เมื่อไม่ว่างงาน จะฟุ้งซ่าน ป่วนบ้านป่วนเมืองน้อยลง

.

เมื่อมีงานทำ จะมีเงินเลี้ยงแม่เลี้ยงพ่อ เลี้ยงครอบครัว

จะมีเงินเสียภาษี

และจะเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศชาติไปสู่หนทางที่ดีขึ้น

ประเทศไทยประสบความสำเร็จสูงในด้านการท่องเที่ยว + เมดิคัลฮับ (ท่องเที่ยว + รักษาพยาบาล) แล้ว

.

ถ้าทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาสุขภาพของอาเซียน

โดยเฉพาะ ถ้าทำให้ชาวพม่า ลาว กัมพูชา + ชาติอาเซียนอื่นๆ เข้ามาเรียนในไทยได้

ประเทศไทย น่าจะมีรายได้จากการศึกษา ค่าหอพัก ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าท่องเที่ยว (จากนักศึกษา_ผู้ปกครอง) มากขึ้นในระยะยาว

คล้ายๆ กับที่ออสเตรเลีย มีรายได้จากการศึกษาแบบนานาชาติมาแล้วเช่นกัน

.

ถึงตรงนี้...​ ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

Thank The Economist > https://www.youtube.com/watch?v=P30s4-94C1A&list=PLBD4DD2C0D4598CF2&index=10




 

Create Date : 29 กรกฎาคม 2557
0 comments
Last Update : 29 กรกฎาคม 2557 0:43:54 น.
Counter : 662 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com