บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
พฤศจิกายน 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
20 พฤศจิกายน 2556
 

วิธีป้องกันโรค TIA (อัมพฤกาษ์ อัมพาตชั่วคราว)

เฮ้วต์เดย์ (Healthday) ตีพิมพ์เรื่อง 'อัมพฤกษ์อัมพาตชั่วคราว (TIA) ทำลายชีวิตเรากี่ปี', ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

ภาพที่ 1: น้องใหม่ของเราชื่อ 'TIA' = ที.ไอ.เอ. (ถ้าจำไม่ได้ จะจำว่า "เตี่ย" ก็ได้)

  • T = transient = ชั่วคราว ไม่ถาวร ไม่ยั่งยืน น้อยกว่า 24 ชั่วโมง
  • I = ischemic = ขาดเลือด (ไม่ใช่แบบตกเลือด หรือหลอดเลือดสมองแตก)
  • A = attack = โจมตี จู่โจม ทำร้าย อันตราย (จากโรค)

.

ภาพที่ 2: อาการน้องใหม่ TIA หรือน้องเตี่ย มาคล้ายอัมพฤกษ์-อัมพาต คือ FAST = 'fast' = เร็ว

  • F = face = ใบหน้า = หน้าเบี้ยว ใบหน้าอ่อนแรง มุมปากตก
  • A = arms = แขน = ให้ยื่นแขนไปข้างหน้า มักจะพบแขนข้างใดข้างหนึ่งตกลง
  • S = speech = การพูด = ให้พูด จะพบพูดไม่ชัด พูดไม่เป็นคำ พูดเบลอๆ
  • T = time = เวลา = ให้รีบไปโรงพยาบาล ถ้าเร็วพอ... มีโอกาสได้ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งจะเพิ่มโอกาสหายมากขึ้นแยะเลย

ภาพที่ 3: น้อง TIA (เตี่ย) คล้ายสโตรค (stroke) หรือกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต ทั่วไป

.

ความต่างกันอยู่ที่ว่า TIA เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบตันชั่วคราว

ทำให้สมองส่วนใหญ่ขาดเลือดชั่วคราว เซลล์สมองตายน้อยกว่าสโตรคทั่วไป

.

ภาพที่ 4: สโตรค (stroke) = กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

(1). หลอดเลือดสมองแตก (ภาพซ้าย)

(2). หลอดเลือดสมองตีบตัน (ภาพขวา)

.

หลอดเลือดสมองแตก พบบ่อยในสมองที่ "อยู่ลึก" (แถบสีม่วงเทา) ทำให้การผ่าตัดเอาก้อนเลือดออกทำได้ยาก

สมองของคนเราอ่อนนุ่มนิ่ม คล้ายเต้าหู้อ่อนหรือเนยที่ไม่แข็งนัก

การผ่าตัดเข้าไปสมองส่วนลึกจะทำให้สมองส่วนนอกบางส่วนบาดเจ็บ ชอกช้ำ เสียหาย

หลอดเลือดสมองตีบตัน พบบ่อยในสมองที่อยู่รอบนอก หรือ "อยู่ตื้น" (แถบสีม่วงเทา)

.

ถ้าไปโรงพยาบาลเร็วพอ และตรวจสแกน(เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง) ไม่พบตกเลือดในสมอง

แพทย์อาจพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือด เพื่อเพิ่มโอกาสหายจากอัมพฤกษ์ อัมพาต

.

ภาพที่ 5: TIA หรือกลุ่มโรคอัมพฤกษ์-อัมพาตชั่วคราว มักจะเกิดจากหลอดเลือดตีบตันบางส่วน (ไม่ถึง 100%), ไม่ได้อุดตันไปหมด 100% (ภาพขวา)

พื้นที่สมองขาดเลือดในภาพ คือ แถบสีเทา

.

TIA หรือกลุ่มโรคสมองตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาตชั่วคราว น้อยกว่า 24 ชั่วโมง (TIA/mini-stroke) [ stroke ]

40% ของคนที่เป็น TIA จะเป็นสโตรค หรืออัมพฤกษ์-อัมพาตถาวร

  • 5% เป็นใน 2 วัน
  • 10-15% เป็นใน 3 เดือน

.

ทางที่ดี คือ เมื่อพบ TIA จะต้องรีบไปโรงพยาบาล ลดปัจจัยเสี่ยง และใช้ยาตามที่หมอแนะนำ เช่น

  • ถ้าพบความดันเลือดสูง, น้ำตาลในเลือดสูง, โคเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดสูง > ต้องรักษาให้ต่อเนื่อง
  • ถ้าสูบบุหรี่ > ต้องหยุดก่อนเป็นอัมพาต
  • ถ้าดื่มหนัก > ต้องหยุดก่อนเป็นอัมพาต

.

อัมพฤกษ์-อัมพาต เป็นโรคที่ป้องกันได้มากถึง 80% ถ้าลดปัจจัยเสี่ยงทุกอย่างได้ต่อเนื่อง

การศึกษาใหม่ ทำในกลุ่มตัวอย่างคนไข้ที่เป็นอัมพฤกษ์-อัมพาตชั่วคราว หรือ TIA = เกือบ 750 คน

.

ผลการศึกษาพบว่า สโตรค หรือโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาตถาวร

  • ทำให้อายุสั้นลง = 1.71 ปี
  • ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง = 1.08 ปี

คนที่เป็นอัมพฤกษ์-อัมพาตชั่วคราว หรือ TIA ก่อน และเป็นสโตรค (อัมพฤกษ์-อัมพาตถาวร) ซ้ำ และมีชีวิตที่เหลือแย่ลงมาก คือ

  • คนสูงอายุ
  • ผู้หญิง

.

กลไกที่เป็นไปได้ คือ ความสามารถในการปรับตัวหลังป่วยหนัก มักจะแปรตามระดับความฟิต

  • คนสูงอายุมักจะแข็งแรงน้อยกว่าผู้ใหญ่ทั่วไป
  • ผู้หญิงมักจะแข็งแรงน้อยกว่าผู้ชาย (ทางร่างกาย)

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ป้องกัน TIA & stroke (อัมพฤกษ์-อัมพาตชั่วคราว, ถาวร) ดังนี้

(1). ป้องกัน-รักษาโรคความดันเลือดสูง + น้ำตาลในเลือดสูง (เบาหวาน - ภาวะก่อนเบาหวาน) + โคเลสเตอรอล (ไขมันในเลือด) สูง

(2). ป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน-โรคอ้วน

(3). ไม่สูบบุหรี่ + ไม่ีหายใจเอาควันบุหรี่เข้าไป โดยเฉพาะในห้องแอร์

(4). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ

.

(5). ไม่นั่งนานเกิน 1 ชั่วโมง/ครั้ง > ลุกขึ้นยืน หรือเดินสลับ

(6). ไม่ดื่มหนัก > ดื่มหนัก ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้นได้มาก

(7). กินอาหารสุขภาพ

  • เปลี่ยนข้าวขาว เป็นข้าวกล้อง
  • เปลี่ยนขนมปังขาว เป็นขนมปังโฮลวีท (เติมรำ)
  • เปลี่ยนน้ำผลไม้ เป็นผลไม้ที่ไม่หวานจัดทั้งผล
  • ลดเครื่องดื่มเติมน้ำตาล

.

  • ลดอาหาร "ปิ้ง-ย่าง-ทอด"
  • ลดการไปงานเลี้ยง อบรม สัมมนา สังสันทน์ที่ไม่จำเป็น > ยิ่งร่วมงาน ยิ่งเสี่ยงอ้วน
  • กินผักผลไม้หลายชนิด ให้ได้อย่างน้อย 3 สีจราจร (เขียว-เหลือง-แดง) หรือ 7 สีรุ้ง (ม่วง-คราม-น้ำเงิน-เขียว-เหลือง-แสด-แดง) + สีขาว (เช่น หอม กระเทียม ฯลฯ) ทุกวัน

 (8). ดื่มน้ำให้พอ โดยเฉพาะช่วงเช้า ให้ล้างมือด้วยสบู่ บ้วนปาก แล้วดื่มน้ำ 1-2 แก้วเป็นประจำ

ภาวะขาดน้ำ ทำให้เลือดข้นหนืด ไหลเวียนช้าลง เพิ่มเสี่ยงอัมพฤกษ์-อัมพาต

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีุสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

Thank Healthday & source by Healthday > Oct. 9 issue of the journal Neurology > //consumer.healthday.com/cognitive-and-neurological-health-information-26/brain-health-news-80/even-minor-strokes-reduce-quality-of-life-lifespan-680930.html




Create Date : 20 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 20 พฤศจิกายน 2556 11:49:04 น. 0 comments
Counter : 1014 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com