บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

 
กรกฏาคม 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
22 กรกฏาคม 2556
 

ออกกำลังแบบนี้___ช่วยอายุยืนขึ้นกี่ปี

.
การโน้มตัวไปทางโน้นทางนี้ ทำให้เกิดการเกร็งต้านแรงดึงดูดของโลก ได้ออกกกำลัง, แถมการทรงตัวยังดีขึ้น ป้องกันการหกล้ม
.
"หกล้ม" เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้กระดูกต้นขาท่อนบน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อสะโพกหักในคนสูงอายุ
.
ถ้าท่านจำท่าจำนวนมากไม่ได้... เรียนเสนอให้จำท่าที่ชอบไว้ 3-4 ท่า (ไม่จำเป็นต้องทำจนครบทุกท่า)
.
ทำเป็นประจำ เช่น ทุกเช้า ทุกเย็น ทุกวันที่ว่าง ฯลฯ แบบนี้ก็ดีกับสุขภาพได้ในระยะยาว
.
.
สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง "ออกกำลังแบบไหน อายุยืนขึ้นเท่าไร"
, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
.
.
ภาพที่ 1-3: ท่าออกกำลังต้านอ้วน และป้องกันโรคแทรก (ถ้าเป็นเบาหวาน)
.
(1). เดินสะสมเวลา 30-40 นาที/วัน
.
เคล็ดลับ คือ อย่างน้อยให้มีช่วงเดินเร็วติดต่อกัน 10 นาที/วัน, หรือมีช่วงเดินเร็วมากสลับเดินช้าบ่อยๆ
.
วิธี ฝึกเดินเร็วที่ดี คือ ใส่รองเท้าวิ่ง นับจำนวนก้าวใน 15 วินาที, คูณ 4 จะได้จำนวนก้าวต่อนาที, ฝึกเดินให้เร็วขึ้นจาก 45 > 50 > 55 > 60 > 65 > 70 > 75 > 80 > 85 > 90 > 95 > 100 ก้าว/นาที
.
(2). ขึ้นลงบันได 4 นาที/วัน
.
ฝึกจับขั้นบันไดให้เป็นนิสัย ฝึกเดินทั้งแบบเต็มเท้า และเขย่งเท้า
.
(3). โน้มตัวไปข้างหน้า ดันกำแพง
.
ช่วงแรกให้ยื่นขาข้างหนึ่งไปข้างหน้า อีกข้างไปข้างหลัง, ดันค้างไว้โดยไม่กลั้นหายใจ 30 วินาที แล้วสลับขาซ้าย-ขวา
.
.
.
ภาพที่ 4-6: ท่าออกกำลังต้านอ้วน และป้องกันโรคแทรก (ถ้าเป็นเบาหวาน)
.
(4). ฝึกลุกขึ้นยืนสลับนั่งยกละ 10 ครั้ง 3 ยก
.
กล้าม เนื้อหน้าขาท่อนบนช่วยทำให้เข่ากระชับ ไม่กลิ้งไปทางข้างซ้าย-ขวา ป้องกันข้อเข่าเสื่อม ป้องกันขาอ่อนที่ทำให้หกล้ม หรือกระดูกหักได้
.
(5). ยืนด้านหลังเก้าอี้ เขย่งเท้าทีละข้าง (ซ้าย-ขวา) สลับกัน
.
(6). จับเก้าอี้ ขาข้างหนึ่งอยู่หน้า อีกข้างอยู่หลัง ย่อตัวลง ไม่กลั้นหายใจ 30 นาที แล้วสลับขาซ้าย-ขวา
.
.
.
ภาพที่ 7-9: ท่าออกกำลังต้านอ้วน และป้องกันโรคแทรก (ถ้าเป็นเบาหวาน)
.
(7). ยืนตรงเต็มเท้า สลับเขย่งเท้า
.
(8). ยืนข้างโต๊ะ จับขอบโต๊ะกันล้ม แกว่งขวาไปหน้า-หลังทีละข้าง
.
(9). นั่งลง ท้าวแขนไปทางด้านหลัง ยกเท้าขึ้น แกว่งขา-สะบัดขาสลับกัน ทำไปจนหายเมื่อย
.
การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า ไทชิ (tai chi) ซึ่งประสานการเคลื่อนไหว + จังหวะการหายใจเข้า-ออกช้าๆ มีส่วนช่วยให้สุขภาพดีขึ้นในหลายมิติ
.
เช่น ลดเครียด เพิ่มความยืดหยุ่น-ความทนทานในการออกกำลัง ช่วยการทรงตัวดีขึ้นในคนไข้โรคตัวสั่นพาร์คินสัน
.
ทีมวิจัยจากสหรัฐฯ เข้าไปทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างคนวัยกลางคน และสูงอายุชาวเซี่ยงไฮ้มากกว่า 61,000 คน ติดตามไป 5 ปี
.
กลุ่มตัวอย่างเกือบ 22,000 คน หรือประมาณ 1/3 ออกกำลังอย่างน้อย 1 ครั้ง/สัปดาห์, ที่เหลือไม่ออกกำลังอะไรเลย
.
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ออกกำลังเสียชีวิตก่อนวัยอันควร หรือตายเร็วลดลง = อายุยืนขึ้นดังนี้
  • ไทชิ > ลดเสี่ยงเสียชีวิต 20%
  • เดิน > ลดเสี่ยงเสียชีวิต 23%
  • วิ่งเร็ว / จอกกิ้ง > ลดเสี่ยงเสียชีวิต 27%
.
ถ้าไม่ค่อยได้ออกกำลัง... การฝึกไม่นั่งนานเกิน 1 ชั่วโมง/ครั้ง
.
ลุกขึ้นยืนสลับนั่ง หรือเดินไปมาให้เร็วหน่อยบ่อยๆ สะสมเวลาเดินรวมกันให้ได้ 40 นาที/วัน, ขึ้นลงบันไดให้ได้ 4 นาที/วัน... ก็ช่วยได้มากเช่นกัน
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

.

 > [ Twitter ]

  • ขอขอบพระคุณ / Thank Reuters Source > American Journal of Epidemiology, online June 27, 2013.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. 21 กรกฎาคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้



Create Date : 22 กรกฎาคม 2556
Last Update : 22 กรกฎาคม 2556 0:16:59 น. 0 comments
Counter : 1609 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com